NEXT GEN

สู่ Net Zero คือกลยุทธ์องค์กรเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบ

28 มีนาคม 2566…มีความท้าทาย 2 ประการในการผลักดันให้เกิดการปฏิวัติการปล่อยคาร์บอนต่ำทั้งระบบเศรษฐกิจหลัก และการ Disrupt การเปลี่ยนผ่านให้เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเรียกร้องให้ผู้นำบริษัทปรับเปลี่ยนแนวทางเชิงกลยุทธ์

Jon Creyts ซีอีโอของ RMI มีชื่อเต็มคือ Rocky Mountain Institute และ Scott Corwin จาก Deloitte US Sustainability บรรลุผลสำเร็จในการลงมือแก้ปัญหาสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว โดยเรียกร้องให้มี “ความร่วมมือที่จริงจังอย่างไม่เคยมีมาก่อน” ของภาครัฐและเอกชน เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกไปพร้อม ๆ กัน, โดยร่วมกันบรรยายผ่านเว็บคาสต์ หัวเรื่อง “System Change for a Sustainable World” ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส

ในการพูดคุยกับ Sharon Thorne ประธานคณะกรรมการระดับโลกของ Deloitte นั้น Creyts หัวหน้าของ Think Tank องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเน้นไปที่การเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านการใช้พลังงานของโลก และ Corwin ได้แนะนำให้ใช้แนวคิดกลยุทธ์แก้ปัญหาแบบเร่งด่วน ซึ่งเป็นประเด็นหลักในรายงานฉบับใหม่ของ Deloitte และ RMI ถึงวิธีที่องค์กรต่าง ๆ สามารถปรับใช้แนวทางที่สอดคล้องกับระบบ เพื่อกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนต่ำทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า และเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ Climate Economy

Scott Corwin จาก Deloitte US Sustainability กล่าวว่า มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย หลายบริษัทได้ประกาศแผนตั้งเป้า Net Zero นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศใหม่ ๆ กำลังเริ่มขยายขนาด และรัฐบาลทั่วโลกกำลังออกนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจโลกเป็น Net Zero ภายในปี 2593 แต่เราก็ยังคงเผชิญกับช่องโหว่ขนาดใหญ่ระหว่างที่ที่เราอยู่ในปัจจุบันกับที่ที่เราคิดว่าอยากให้เป็นในอนาคต หากต้องการทำตามเป้าจำกัดภาวะโลกร้อน ให้อุณหภูมิไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม

“เรารู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อลดคาร์บอนของระบบที่เชื่อมต่อกันซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเรา เช่น พลังงาน การคมนาคม และการขนส่ง อุตสาหกรรม การผลิต และอาหาร และเรามีอยู่แล้ว หรือกำลังพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ความท้าทายอยู่ที่จะทำอย่างไรให้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะภายในทศวรรษนี้ เพราะไม่มีองค์กรหรือรัฐบาลเดียวที่สามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น วิธีรับมือกับความท้าทายนั้นก็คือการใช้พลังและขนาดของบริษัทที่ทำงานร่วมกันในห่วงโซ่คุณค่าต่าง ๆ สร้างแรงกระตุ้นอุปสงค์และอุปทาน เพื่อกระตุ้นตลาดคาร์บอนต่ำอย่างรวดเร็ว พลังงานและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์ที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก”

ที่มา…คลิกภาพ

งานที่ Deloitte กับ RMI กำลังทำร่วมกัน เน้นหาวิธีที่ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้การคิดเชิงระบบเพื่อพัฒนากลยุทธ์การเติบโตขององค์กรที่มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันกับบริษัทอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นและคว้าโอกาสทางการตลาดที่พวกเขาช่วยเหลือ สร้างให้เกิดขึ้นจริง

Jon Creyts ซีอีโอของ RMI กล่าวว่า เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ยุคฟอสซิล เช่น การเปลี่ยนการให้ความร้อน จากไอน้ำเป็นก๊าซธรรมชาติ ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นพลังงานแสงอาทิตย์และลม จากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากโมเลกุลที่มีส่วนประกอบของปิโตรเลียมและมีเทนเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจน

“การเปลี่ยนแปลงแต่ละอย่างอยู่ในขั้นตอนที่แตกต่างกัน แต่เนื่องจากพวกมันเชื่อมโยงถึงกัน เราจึงต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดำเนินไปพร้อมกันภายใน 30 ปีข้างหน้า เพราะนั่นคือเวลาที่เราต้องป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกรวน”

การเร่งวิถีของ S-curve แบบดั้งเดิมของการเปลี่ยนแปลงในระบบเหล่านั้น ไม่ใช่แค่ระบบใดระบบหนึ่ง แต่รวมถึงหลายระบบพร้อมกันและเน้นใช้ความเร็ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เป็นไปตามเป้า Net Zero ภายในปี 2593 และเป็นรากฐานของการวิเคราะห์และการวิจัย Deloitte และ RMI กำลังดำเนินการเพื่อแจ้งกลยุทธ์เชิงปฏิบัติ และการตัดสินใจสำหรับธุรกิจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามนี้

มีคำถามว่า องค์กรต่าง ๆ ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ความร่วมมือบรรลุเป้าที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว และใช้ระบบเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าคาร์บอนต่ำ

Creyts กล่าวว่า เรื่องนี้จะต้องเกิดขึ้นทั้งในระดับห่วงโซ่คุณค่าที่ใหญ่ที่สุดและระดับบริษัทแต่ละแห่ง สิ่งที่เกิดขึ้นกับพลังงานหมุนเวียนแสดงให้เห็นว่าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไรในทางปฏิบัติและเป็นรูปธรรมที่สุด ไม่นานมานี้ พลังงานหมุนเวียนมีราคาแพงสำหรับลูกค้ามากกว่าน้ำมันและก๊าซอย่างเห็นได้ชัด แต่บริษัทใหญ่ ๆ จำนวนหนึ่งในห่วงโซ่พลังงานหมุนเวียนได้ลงทุนเพื่อขยายขนาด และลดต้นทุนด้วยวิธีที่ทำให้ผู้ใช้ระดับองค์กรสามารถปฏิบัติตามพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมโดยการจัดหาพลังงานทดแทนโดยตรง

ชมคลิปวิดีโอ คลิกภาพ

ความร่วมมือดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า Clean Energy Buyers Alliance ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 350 แห่งทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผู้ซื้อ นักพัฒนา ไปจนถึงตัวกลางทางการตลาดและลูกค้า โดยทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นและเพิ่มความสามารถในการซื้อพลังงานหมุนเวียนจำนวนมาก ปัจจุบัน พลังงานทดแทนใหม่ประมาณครึ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาในสหรัฐอเมริกาทุกปีมาจากการซื้อโดยตรงจากองค์กร ที่ช่วยให้ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้

ซีอีโอของ RMI เพิ่มเติมว่า องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์เร่งด่วนนี้ ก็คือการคิดรูปแบบการทำงานร่วมกันที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งบริษัทของเราสามารถทำได้เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แนวคิดหลัก คือ การชนะความกังวลที่อยากเป็น first-mover ของแต่ละบริษัทเรื่องลดการปล่อยคาร์บอน ด้วยการสร้างแรงจูงใจและแนวร่วมที่ช่วยให้ทุกๆคนสามารถดำเนินการโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อลดคาร์บอน

ตัวอย่าง มีรายละเอียดกรณีศึกษาเรื่องหนึ่งระบุว่าในปี 2018 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการเดินเรือซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 3% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก ได้มารวมตัวกันใน Global Maritime Forum ร่วมกับนักการเงินรายใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมเพื่อสร้างชุด ของหลักการที่บูรณาการการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเข้ากับการตัดสินใจให้สินเชื่อในอุตสาหกรรม

“ผมอยากยกตัวอย่างพื้นที่ทางใต้ของโลกด้วย เพราะในขณะที่ผมมั่นใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าเราจะทำให้ครึ่งหนึ่งของโลกทำได้ตามเป้า Net Zero ในปี 2050 แต่ผมก็ไม่มั่นใจเลยว่า เราจะมีทางออกสำหรับอีกครึ่งหนึ่งของโลก และถ้าเราทุกคนไม่เข้าเส้นชัยพร้อมกัน ก็ต้องบอกว่าเราแพ้”

มีคำถามว่า มีกลยุทธ์ใดบ้างหรือไม่ ที่บรรดาองค์กรผู้นำทางธุรกิจสามารถนำไปใช้เร่งการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าคาร์บอนต่ำ รักษา หรือพัฒนาสถานะการแก้ปัญหาสภาพอากาศให้ดีขึ้น

ในอินเดีย รัฐบาลได้ก้าวเข้ามามีบทบาทการนำ โดยมองเห็นศักยภาพที่จะเติบโตและสร้างห่วงโซ่คุณค่าทางอุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการ และช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพื่อขยายการใช้งาน EV พวกเขามุ่งเน้นไปที่การเริ่มต้นจากด้านล่างของปิรามิดขึ้นไป เริ่มจากรถเมล์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ และโดยการส่งมอบไฟฟ้าในเมืองภายใต้โครงการที่พวกเขาตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วชื่อ Shoonya ซึ่งแปลว่าศูนย์ในภาษาสันสกฤต

พวกเขาสร้างเครือข่ายบริษัทจัดส่งและกระจายสินค้ารายใหญ่ประมาณ 130 แห่งที่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการด้านซัพพลายเชน ปีที่แล้ว พวกเขาใช้รถ EV ทั้งแบบ 2 และ 3 ล้อในการส่งของมากกว่า 100 ล้านครั้ง แพลตฟอร์มดังกล่าวกำลังขยายไปทั่วโลก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำ และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสะอาด ไม่เพียงแต่สำหรับบริษัทในตลาดซีกโลกเหนือที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ในตลาดโลกใต้ด้วย

Scott Corwin จาก Deloitte US Sustainability กล่าวว่า ถ้าดูจากวิธีที่บริษัทส่วนใหญ่พัฒนากลยุทธ์ มันมักเน้นไปที่การเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดหลัก ขยายไปสู่ตลาดที่อยู่ติดกัน หรือทำงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าผู้นำตลาดในหลากหลายอุตสาหกรรมกำลังจัดการการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตเรื่องการปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยทำตามขั้นตอนเล็กๆ สร้างทางเลือก และขยาย Timeline ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจริงเมื่อไหร่ แต่ช่วงที่ทุกอย่างถูก disrupt แบบนี้ การตอบสนองด้วยการริเริ่มที่เพิ่มขึ้นหรือแบ่งทำเป็นส่วนๆ อาจนำไปสู่การพลาดโอกาสทางธุรกิจ และสถานะทางการตลาดที่ลดลง

พูดกว้างๆ กลยุทธ์เร่งด่วนนี้ใช้มุมมองของระบบ เน้นไปที่วิธีที่บริษัทสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีบทบาทในระบบหลักอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีบทบาทต้นน้ำและปลายน้ำในห่วงโซ่คุณค่าของพวกเขา ช่วยให้ผู้นำรับรู้และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เสนอการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน เช่น การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ปล่อยมลพิษต่ำ ในกรณีศึกษาหนึ่ง เราสนใจ Maersk ที่ตั้งเป้าทำทั้งห่วงโซ่อุปทาน ให้เป็น Net Zero ภายในปี 2583 ครอบคลุมการปล่อยก๊าซโดยตรงและโดยอ้อมทั้งหมดอย่างไร

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 บริษัทได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงที่จะซื้อวัสดุ Green Methanol ในอนาคตจากซัพพลายเออร์ในสหรัฐฯ โดยเพิ่ม MOU ดังกล่าวหลายชุดที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งการผลิตเชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษต่ำสำหรับการขนส่งทางทะเล ความมุ่งมั่นลักษณะนี้ลดความเสี่ยงของการลงทุนล่วงหน้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างแหล่งอุปทานใหม่ และห่วงโซ่อุปทานที่ตามมา ช่วยให้อุตสาหกรรมที่เพิ่งตั้งไข่ใช้ประโยชน์จากผลการเรียนรู้ และการประหยัดจากขนาด

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า มีการเติบโตที่สำคัญเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเติบโตเกี่ยวกับเรื่อง clean เพราะมีมูลค่ามากมายที่จะถูกสร้างขึ้นจากบริษัทต่างๆ ในระบบเหล่านี้ทั้งหมด ผู้เข้าใจถึงความจำเป็นเร่งด่วน และโอกาสทางธุรกิจของการลดคาร์บอนในระบบเศรษฐกิจ การสร้างแบบจำลองเศรษฐกิจโดย Deloitte Access Economics แสดงให้เห็นว่าการมุ่งสู่อนาคตการปล่อยคาร์บอนต่ำจะสร้างมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 78 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 50 ปี

ที่มา…คลิกภาพ

เนื่องจากมีผู้พร้อมให้สินเชื่อมากพอ ที่ลงนามใน Poseidon Principles พวกเขาจึงสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจว่าส่วนแบ่งตลาดจะไม่เสียไป นับจากนั้นเป็นต้นมา ผู้ให้สินเชื่อธุรกิจขนส่งมากกว่า 70% ได้ปฏิบัติตามหลักการนี้ MOU แบบเดียวกันกำลังถูกทำซ้ำในอุตสาหกรรมเหล็ก ภายใต้ความพยายามที่จะลดคาร์บอนเหมือนกัน โลกต้องการให้มีการทำแบบนี้มากขึ้น เมื่อห่วงโซ่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง และมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงคาร์บอนต่ำเกิดขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว

Scott Corwin กล่าวว่า ทุกบริษัทจะต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากลยุทธ์ของตน

-ประการแรก พวกเขาต้องคิดให้หนักเกี่ยวกับวิธีสร้างกระบวนการใหม่ที่ยั่งยืน
-ประการที่สอง พวกเขาจะดูแนวทางการลงทุนในนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ โดยหวังว่าจะเป็นนวัตกรรมที่เท่าเทียมมากขึ้น
-ประการที่สาม พวกเขาต้องลงลึกในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับ Climate Economy ที่เกิดขึ้นใหม่นี้

“เรากำลังพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เปลี่ยนแปลงภาคส่วนหลักและทุกระบบหลักอย่างลึกซึ้ง มันอาจจะซับซ้อน และเป็นเรื่องของการถูก Disrupt แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว และบริษัทต่างๆ ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้กำลังวางตำแหน่งตัวเองในฐานะผู้นำด้าน Climate Economy”

ที่มา

 

You Might Also Like