7-8 มิถุนายน 2566…การทำงานเพื่อลดการสูญเสียอาหารและของเสียลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 จะช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมวงกว้าง ความร่วมมือและข้อตกลงในห่วงโซ่อุปทานที่ให้ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมหลายเรื่องมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เมื่อเดือนของการคุ้มครองโลกผ่านไป ดูเหมือนเป็นเวลาเหมาะสมที่จะคุยเกี่ยวกับปัญหาซับซ้อนที่สุด คือการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานอาหารและเครื่องดื่มของประเทศ ซึ่งก็คือ เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 3 (Scope 3 emissions) และแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้
ความท้าทาย
ทำความเข้าใจการปล่อยมลพิษในขอบเขตที่ 3
การเรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยังคงดังขึ้นเรื่อยๆ ปี 2021 นักวิทยาศาสตร์พบว่าความเข้มข้นของ CO₂ ในชั้นบรรยากาศของโลกพุ่งขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ 416 ส่วนในล้านส่วน
ผู้นำระดับโลกและผู้บริโภคต่างก็ระบุถึงความสำคัญของการลดการปล่อยมลพิษผ่านทั้งกฎหมายและตลาด เมื่อต้องหาแนวทางใหม่ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร บริษัทต่างๆ จึงหันมาใช้การรายงานคาร์บอนเพื่อระบุและวัดว่าการปล่อยก๊าซเกิดขึ้นที่ใด โดยเน้นการปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
พิธีสาร GHG ซึ่งเปิดตัวในปี 2001 เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการรายงานความยั่งยืน จำแนกการปล่อยมลพิษทางอ้อม และทางตรงของกิจการออกเป็น 3 ขอบเขต
ขอบเขตที่ 1 การใช้พลังงานโดยตรง — เช่น ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงดีเซล น้ำมันเบนซิน
ขอบเขตที่ 2. การใช้พลังงานทางอ้อม — เช่น ไฟฟ้า คือการปล่อยก๊าซที่มีเจ้าของหรือซื้อ โดยองค์กร
การเป็นเจ้าของโดยตรงและการควบคุมการปล่อยมลพิษในขอบเขตที่ 1 และ 2 ทำให้ง่ายต่อการระบุและวัดปริมาณ ซึ่งมักจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการลดเบื้องต้นของบริษัท
ในทางกลับกัน การปล่อย Scope 3 เป็นการปล่อยทางอ้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงซัพพลายเออร์และผู้บริโภค เป็นผลให้ Scope 3 เป็นส่วนใหญ่ที่สุดของการปล่อย รวมถึงเป็นเรื่องยากที่สุดในการคิดบัญชีและการลด
สำหรับธุรกิจจำนวนมาก การปล่อย Scope 3 มักมีสัดส่วนมากกว่า 70% ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ดังนั้นจึงมีความสำคัญสูงสุดสำหรับบริษัทต่างๆ ในการประเมินและจัดการกับเรื่องนี้
ตัวอย่าง บริษัทสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับทำปุ๋ยหมักหรือรีไซเคิล หลังการใช้งานเพื่อปรับปรุงการใช้งานและการปล่อยมลพิษ แต่ผู้บริโภคที่ไม่รู้อาจทิ้งผลิตภัณฑ์ลงในถังขยะ ซึ่งเป็นการทำสิ่งตรงข้ามกับความพยายามทำเรื่องความยั่งยืนของบริษัท และวัตถุประสงค์ของการใช้วัสดุ ความพยายามของบริษัทในการจัดการกับการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ 3 จำเป็นต้องให้ซัพพลายเออร์และลูกค้าที่มีอยู่มีส่วนร่วม ให้ข้อมูลแก่ทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่า
บทบาทของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ตามขอบเขตที่ 3
เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ห่วงโซ่คุณค่าอาหารและเครื่องดื่มมีการปล่อย Scope 3 อย่างมีนัยสำคัญ ทุกๆ ปี อาหารที่กินได้ประมาณหนึ่งในสามจะถูกทิ้งหรือสูญเปล่า เมื่ออาหารไปถึงหลุมฝังกลบ กระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ และอื่นๆ ก็จะสูญเปล่าไปด้วย การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าและการสลายตัวของอาหารในหลุมฝังกลบก่อให้เกิด GHG ที่เป็นอันตราย
ปัญหานี้ร้ายแรงมากจนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มถูกเรียกร้องให้ทั้งองค์กรระดับชาติและระดับโลกลดการสูญเสียอาหารและขยะลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 ด้วยความช่วยเหลือจากโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USDA’s Greenhouse Gas Accounting and Mitigation initiative, US EPA’s GHG Inventory Development program and United Nations’ Sustainable Development Goal 12 บริษัทต่างๆ สามารถค้นหาแนวทางที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ นอกจากนี้ การทำงานเพื่อลดการสูญเสียอาหารและของเสียลงครึ่งหนึ่งจะช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มลดก๊าซเรือนกระจกในทุกกิจกรรมที่ทำ มันเป็นงานหนักหนาสาหัสจริง แต่ก็มีวิธีแก้ไข
บริษัทอาหารและเครื่องดื่ม
เป็นผู้นำ
AB InBev ผู้ผลิตเบียร์ข้ามชาติมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้า net-zero ตลอดห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2040 เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ บริษัทได้พัฒนา timeline ให้สอดคล้องกับการลดอุณหภูมิให้ได้ 1.5° ของข้อตกลงปารีส เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายความยั่งยืนของบริษัท รวมถึงการกำจัดกาซตาม Scope 1-3 ให้ได้ 25 % ภายในปี 2025 – ทั้งหมดคืบหน้าไปตามกำหนดการ
จากผลการศึกษาที่ทำเมื่อปี 2021 AB InBev ประมาณการว่าการปล่อย Scope 3 คิดเป็น 85% ของ Footprint ทั้งหมดซึ่งนำไปสู่การมีส่วนร่วมกับพันธมิตรในห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ซัพพลายเออร์ไปจนถึงเกษตรกร เพื่อร่วมมือกันในการแก้ปัญหาลดการปล่อย GHG ส่งเสริม แนวทาง ปฏิบัติด้านการเกษตรแบบหมุนเวียน และปรับปรุงความยืดหยุ่นของสภาพอากาศ
อีกตัวอย่างหนึ่ง ในปี 2020 Smithfield Foods ได้ประกาศเป้าหมายปี 2030 เพื่อให้บรรลุผลการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ และการลดการปล่อยก๊าซลง 25 % ในขอบเขตที่ 1-3 ภายในปี 2025 ในฐานะสมาชิกของ Champions 12.3 . Smithfield Foods มองว่าพลังงานหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน บริษัทตั้งเป้าหมายใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 50% ภายในปี 2573
ปี 2022 บริษัทได้เข้าร่วมกับ Farm Powered Strategic Alliance ( FPSA ) ซึ่งเปิดตัวในปี 2020 โดย Vanguard, Starbucks , Dairy Farmers of America และ Unilever ซึ่งรวบรวมผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ เพื่อส่งเสริมการลดขยะอาหาร การรีไซเคิล และขยายการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วสหรัฐอเมริกา
ไม่มีธุรกิจใดที่สามารถรับมือกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียงลำพัง ทุก ๆบริษัทต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน แต่ไม่ว่าบริษัทจะมีขนาดเท่าใด ทุกธุรกิจมีหน้าที่ติดตามและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การดำเนินการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างทุกหน่วยงานในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท พันธมิตรข้ามอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันล่วงหน้าเช่น FPSA เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการมีส่วนร่วมในโซลูชันจริงและร่วมมือกับธุรกิจที่มีแนวคิดเดียวกันซึ่งมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน แต่แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดภายนอกจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจภายในของบริษัท บริษัทอาหารสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วย การช่วยให้สมาชิกทุกคนในห่วงโซ่อุปทานทำการปรับปรุงอย่างยั่งยืน
ด้วยผลกระทบที่แก้ไขไม่ได้ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ปรากฏขึ้น การจัดการกับการปล่อยก๊าซ Scope 3 จำนวนมหาศาลในห่วงโซ่คุณค่าอาหารและอื่น ๆ จึงเป็นงานที่หนักใจ อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันในห่วงโซ่อุปทานและการมีส่วนร่วมที่ให้ผลลัพธ์ที่มีผลกระทบนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ที่มา