5-6 สิงหาคม 2566…วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวถึง Bio-based Plastic, Wooden Foodservice Packaging ซึ่งมีความก้าวหน้าใน Lab และเตรียมพัฒนาพันธุ์ “ไม้ตะกู” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจทำเป็นบรรจุภัณฑ์
หลังจาก SCGP ลงนามความร่วมมือ (Joint Development Agreement) กับ Origin Materials เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระดับโลก “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถนำไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นวัตถุดิบหมุนเวียนที่สามารถปลูกใหม่ทดแทนได้และเป็นพืชเศรษฐกิจ มาพัฒนาเป็น Bio-PTA (“Bio-Purified terephthalic acid”) เพื่อนำไปผลิตเป็น Bio-PET (“Bio-Polyethylene terephthalate”) ตอบโจทย์โซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ความยั่งยืน และส่งเสริมการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งมี 3 เฟสคือ1 ทดสอบในห้องทดลอง 2 ปรับคุณสมบัติ โดย 2 เฟสเสร็จเรียบร้อย พร้อมนำเข้าสู่การ Demonstrateเป็นเฟส 3 ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นสิ้นปีนี้ และจะวางแผนการลงทุนครั้งต่อไปจะต้องหาพันธมิตร และมีหลายรายที่เข้ามาหารือในการขยายธุรกิจ Bio-PET
“ผมไปโตรอนโต แคนาดา ดู Demonstration Plant แห่งแรกของโลกกำลังเดินเครื่องอยู่เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ทุกคนที่นั่นมี Passion น่าตื่นเต้นในการใช้ Bio-PET เพราะเขารู้สึกว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลก ตัวไฟเบอร์เราเอามาทำเป็นตัวละลายที่เป็นBio-Base ตั้งต้นทำพลาสติก ส่วนลินินที่เราเห็นเป็นตัวสีดำๆ จะเป็นผงคาร์บอนนำไปใช้ทำพลังงาน ยางรถยนต์ ปัจจุบันใช้อยู่”
วิชาญอธิบายต่อเนื่อง ปัจจุบัน SCGP เซ็ทอัพ Pilot Plant เล็กๆอยู่ที่กำแพงเพชร งานตรงนั้นเป็นการลงมือทำไปปรับไป โดยทีมทำงานพบว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยูคาลิปตัสสเขาจะมีตาดำ ๆ พอทำเป็นช้อนจะดูเป็นจุดสกปรก ตรงนี้ต้องแก้ปัญหา ต้องใช้เวลา อีกอย่างเรื่องยางของไม้ยูคาฯเอง
นอกจากนี้ SCGP ยังได้ทำการวิจัยและพัฒนา Wooden Foodservice Packaging จากไม้ยูคาลิปตัส ที่เห็นใกล้ตัวคือไม้ไอศกรีม ซึ่งไทยจะต้องนำเข้า ในขณะที่ SCGP กำลังพัฒนาให้เป็นช้อนส้อมมีด พัฒนาเป็นถ้วย Bio-Base แล้วย่อยสลายได้ ฟังดูเหมือนจะกลับไป 500-1,000 ปีที่แล้ว แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นทีมงานกำลังพัฒนาจากไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นไม้ที่เราปลูกใหม่ขึ้นมาได้
SCGP สนับสนุนการใช้ทรัพยากรทดแทน ตอบโจทย์เทรนด์การใช้บรรจุภัณฑ์อาหารรักษ์โลกที่สามารถย่อยสลายได้ และเพิ่มมูลค่าให้แก่ไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในอาเซียน และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นทางการปลูกจนถึงการแปรรูปไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
“อีกสิ่งหนึ่งที่เราเห็นและจะพัฒนาพันธุ์ไม้เพิ่มเติมคือไม้ตะกู ไม้ตะกูเป็นไม้ที่นำมาใช้ทำไม้ขีดไฟ แต่ปัจจุบันหาซื้อไม้ตะกูไม่ง่ายนัก เพราะไม่ใช้ไม้ขีดไฟ เลยไม่ได้ปลูก แต่เราสามารถพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เป็นการปลูกเพื่อจะเป็นพืชเศรษฐกิจ และทำเป็นบรรจุภัณฑ์ อันนี้เป็นไม้ที่เพิ่มเติมจากยูคาลิปตัส เราเห็นโอกาสพัฒนาไม้สปีชีที่เราใช้อยู่มาทำบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากไม้ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่แทนพลาสติก”
ส่วนผลการดำเนินงาน SCGC ไตรมาส 2 ปี 2566 ทำรายได้ 32,216 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่สามารถทำกำไรสำหรับงวดแข็งแกร่งที่ 1,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากไตรมาสก่อน จากการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และการมุ่งเน้นกลยุทธ์การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่เติบโตสูงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง การส่งออกอาหารแช่แข็งและอาหารกระป๋อง และการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศจีนที่เพิ่มขึ้น มองแนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง รุกกลยุทธ์ขยายการลงทุนในอาเซียน โดยเฉพาะในเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง
SCGP ขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวคิด ESG 4 Plus ทำให้บริษัทฯ เป็นที่ยอมรับและล่าสุด Sustainalytic ยังได้ประเมินอันดับ ESG Risk Ratings ของ SCGP ให้อยู่ในระดับ Low Risk ของกลุ่มอุตสาหกรรม Container & Packaging