15 มีนาคม 2567…Good Energy ที่ปรึกษาด้านการเล่าเรื่อง (Storytelling) ที่ไม่แสวงหาผลกําไร เชื่อว่า ฮอลลีวูดอยู่ในสถานะโดดเด่นกว่าใคร หากจะเป็นผู้โน้มน้าวการสนทนาเกี่ยวกับปัญหาโลกรวน (Climate Change) ด้วยการทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างดาราหรือพิธีกรดัง กับผู้เชี่ยวชาญการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ที่ต้องการสื่อสารประเด็นสำคัญนี้ผ่านหน้าจออย่างมีความหมายในทุกประเภทสื่อ
“เหตุใดวิกฤตสภาพภูมิอากาศจึงหายไปจากหน้าจอของเรา” Anna Jane Joyner ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Good Energy ตั้งคำถาม เมื่อสังเกตเห็นรูปแบบในอุตสาหกรรมบันเทิงว่า การกล่าวถึงปัญหาโลกรวน ส่วนใหญ่ไม่มีอยู่ในสคริปต์ ทั้ง ๆ ที่อุตสาหกรรมเองมีส่วนรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตั้งแต่การทําให้คําว่า “ปัจจัยขับเคลื่อนหลัก” เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ไปจนถึงการเพิ่มแนวทางปฏิบัติด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกทั้งในและนอกจออย่างมีนัยสําคัญ
Joyner อธิบายกับ Sustainable Brands® ว่า แม้ Storytelling เกี่ยวกับการแก้ปัญหาโลกรวน จะมีคนเคยทำมาแล้วในอดีต แต่ส่วนใหญ่เป็นสารคดี เช่น An Inconvenient Truth (2006) หรือภาพยนตร์เรื่องเล่าวันสิ้นโลก เช่น The Day After Tomorrow (2004) หรือ Snowpiercer (2013) สิ่งนี้นําไปสู่การสนใจอ่าน ฟังอย่างลึกซึ้งและยาวนานทั่วฮอลลีวูด
ระหว่างนั้น Joyner ได้ยินว่าครีเอทีฟหลายคน รวมถึงโปรดิวเซอร์ ผู้กํากับ และผู้บริหาร ต่างกระตือรือร้นที่จะพูดคุย และถ่ายทอดความเป็นจริงของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เข้าใจได้ว่า กลัวการแบ่งขั้ว หากหัวข้อนั้น ๆ ไม่ได้นําเสนอโดยแบ็คอัพด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องสมบูรณ์
Joyner ก่อตั้ง Good Energy ในปี 2019 เพื่อช่วยให้นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านความบันเทิงอื่น ๆ รับมือกับประเด็นภาวะโลกรวนด้วยความมั่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทําให้การเล่าเรื่องเป็นกระแสหลักสําหรับผู้ชมทุกคน
นําพลังความดี
เล่าเรื่องดีๆ
ปี 2022 Good Energy และ Media Impact Project ของ USC Norman Lear Center นำเสนอรายงานการสำรวจความเห็น หัวเรื่อง Glaring Absence: The Climate Crisis เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลสคริปต์ทีวี และภาพยนตร์ 37,453 รายการ ตั้งแต่ปี 2016-2020
มีการสำรวจความเห็นผู้ใหญ่ชาวสหรัฐ 2,000 คน ข้อมูลระบุว่า
1.น้อยกว่า 3 % ของทีวีและภาพยนตร์ที่มีสคริปต์ เคยเสนอเรื่องภาวะโลกรวน
2. มากกว่าสามในสี่ (77 %) ตอบว่า เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมจากทีวี
3. มี 25 % ที่บอกว่าเคยได้ยิน (แต่ไม่ใส่ใจ) เรื่องภาวะโลกรวน จากละครทีวี หรือหนังที่ฉายตามโรงภาพยนตร์
Joyner กล่าวว่า การศึกษานี้ช่วยให้ Good Energy พัฒนาทรัพยากรเพื่ออํานวยความสะดวกในการบูรณาการ เป็นตัวแทนการเล่าเรื่องของสื่อเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโลกรวนที่มีจริยธรรมและถูกต้อง ขณะนี้มีเวิร์กช็อป การให้คําปรึกษา และแหล่งข้อมูลหลัก The Playbook for Storytelling in the Age of Climate Change เป็นเครื่องมือดิจิทัลแบบโอเพ่นซอร์สที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ ซึ่งเปิดตัวในเดือนเมษายน 2022 ช่วยให้ทีมสร้างสรรค์พัฒนาเรื่องเล่า โดยมีโอกาสได้ทํางานร่วมกับลูกค้า เช่น Apple TV+, CBC, CBS, Showtime และ Spotify และได้รับการแนะนําในสื่อเกือบ 50 แห่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
เรื่องเล่าการแก้ปัญหาโลกรวน
ในสังคม
Dorothy Fortenberry นักเขียนและโปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังซีรีส์ Apple TV แนวดิสโทเปียเรื่อง Extrapolations ให้ความเห็นว่า ถ้าปัญหาโลกรวนไม่ได้อยู่ในเรื่องของคุณ นั่นก็เป็นได้แค่นิยายวิทยาศาสตร์
ผลกระทบของภาวะโลกรวนเกิดบ่อย และรุนแรงขึ้นทุกวัน ตั้งแต่คลื่นความร้อน ไฟป่า พายุรุนแรง ไปจนถึงธารน้ําแข็ง และภูเขาน้ําแข็งที่ลดน้อยลง เพราะปัญหาภาวะโลกรวนเพิ่มขึ้นทุกวัน
Good Energy ระบุว่า ทุกวันนี้ ทุกคนบนโลกล้วนมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกรวน การได้เห็นตัวละครสะท้อนความเป็นจริงหน้าจอ สามารถช่วยให้ผู้ชมรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง มีแรงบันดาลใจ แทนที่จะวิตกกังวลหรือสิ้นหวัง
Storytelling ถูกนํามาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลง สังคมต้องการแนวทางที่เป็นหนึ่งเดียวในการแก้ไขปัญหา สิ่งมีชีวิตทุกชนิด และทุกมุมโลก ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกรวน ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เป็นแค่ “ปัญหาอื่น ๆ” แต่เป็นฉากหลังที่เป็นสากลสําหรับชีวิตของเรา
ฉากหลังนี้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ สําหรับเรื่องราวสะท้อนสังคมนับไม่ถ้วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องราวที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น
ที่มา