NEXT GEN

AIS ตอกย้ำแบรนด์ยั่งยืน ส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ พร้อมส่งต่อผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลสู่การพัฒนาทักษะให้คนไทย

27 สิงหาคม 2567…. AIS เปิดผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 นับเป็นปีที่ 2 มีความเข้มข้น ชี้คนไทยเกินครึ่งขาดทักษะความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมเปิดตัวเครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ Digital Health Check ครั้งแรกในไทย

AIS ตั้งใจและมุ่งมั่นในการเป็น Digital Life Service Provider ขับเคลื่อนให้ทุกคนได้ใช้เทคโนโลยีอย่างดีที่สุด ด้วยแนวทาง ESG ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ SDGs ตามเป้าหมายที่ 4 และ 16 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาทักษะดิจิทัล และส่งเสริมการใช้งานที่มีความปลอดภัยสร้างสังคมที่เป็นสุข ซึ่งภายใต้บทบาทดังกล่าว นอกจากธุรกิจแล้ว บริษัทจะต้องคำนึงถึง Stakeholder อื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคสังคมที่ไม่เพียงช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังรวมถึงการป้องกันภัยไซเบอร์

การมีเครื่องมือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) จะเป็นตัวชี้วัดว่า การใช้งานดิจิทัลของคนไทยเป็นอย่างไร มาตรวัดดัชนีดังกล่าวนี้เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้เพื่อร่วมกันการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในปีที่แล้วซึ่งเป็นปีแรกของTCWI พบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวถึงภาพรวมของTCWI ในปีที่ 2 มีการวัดจาก 50,965 ตัวอย่าง ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัยทุกอาชีพทุกการการศึกษาที่หลากหลาย

 

“ดัชนีเราแบ่ง 3 กลุ่ม เด็ก 10 -12 ปี กลุ่มต่อมา คือเยาวชน 13-15 ปี สุดท้ายวัยเกษียณ การมีประสบการณ์ในชีวิตไม่ได้มีเครื่องการันตีว่าคุณจะเอาตัวรอดได้เวลาคุณอยู่บนโลกออนไลน์ ทักษะทั้ง 7 เรื่องที่ TCWI วางไว้จึงเป็นเครื่องมือในการตรวจวัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทักษะการใช้ดิจิทัล ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล”

สายชลขยายความเพิ่มเติม ในการใช้เครื่องมือ TCWI และ AIS พัฒนาเครื่องมือ Digital Health Check เช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล เป็นครั้งแรกในไทยที่ทุกคนสามารถประเมินระดับความสามารถในการรับมือจากภัยไซเบอร์พร้อมศึกษาความรู้จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์เพื่อยกระดับทักษะดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง คือ

-AIS Secure Net เครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ ที่วันนี้ได้เพิ่มการปกป้องที่ครอบคลุมมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเว็บไซต์อันตรายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้า AIS ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างอุ่นใจ ปลอดภัย ไร้กังวล และที่สำคัญลูกค้า AIS สามารถใช้บริการ AIS Secure Net ได้ฟรี เป็นระยะเวลา 12 เดือน

ส่วนเด็ก AIS x Google มีบริการ Family Link ที่ผู้ปกครองสามารถช่วยกรองเรื่องราวทางออนไลน์บนสมา์ทโฟนลูกหลานได้

 

“AIS ยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” สายชล กล่าวในท้ายที่สุด

ผู้ที่สนใจตรวจเช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th และสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index

 

You Might Also Like