NEXT GEN

ทิศทางโลกยุคใหม่ (แบบฉบับย่อ)

11 ตุลาคม 2567… เป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์ ที่ความสนใจของทั้งโลกไปรวมอยู่ที่มหานครนิวยอร์ก เพื่อรอดูว่าจะมีสัญญาณอะไรบ้างจากการประชุม UN General Assembly ซึ่งปีนี้ดูจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะโลกกำลังอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เปราะบาง และต้องตัดสินใจว่าจะไปข้างหน้าต่ออย่างไรและในทิศทางใด การตัดสินใจดังกล่าวก็เป็นการตัดสินใจบนความไม่ชัดเจนที่ต้องใช้ Leadership และ Commitment มหาศาล

ในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ระหว่างสัปดาห์การประชุม UN General Assembly ปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด และประธาน BRANDi Institute of Systematic Transformation (BiOST) ได้เข้าร่วมประชุมสำคัญหลายประชุม เจอผู้นำระดับโลกจำนวนมาก ตั้งแต่เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานาธิบดี และมีโอกาสได้ยินได้ฟังเรื่องราวเชิงลึกจากบุคคลที่รู้จริง ทำจริง ทั้งประเด็นของ Geopolitics and Economics รวมถึง Society and Technology และ Nature and Environment

 

การแก้ปัญหาในประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับ Sustainomy หรือระบบเศรษฐกิจใหม่ที่แบรนดิกำ ลังพยายามนำเสนอ ดังนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการมองภาพและวางแผนอนาคต ปิยะชาติจึงได้ฝาก Key Takeaway ที่ไปได้ยิน ได้ฟัง และได้พูดมา โดยมีรายละเอียดโดยย่อ จาก 3 ประเด็นหลักข้างต้น ดังนี้

1.Geopolitics and Economics
(ด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ)

-โลกในปัจจุบันไม่สามารถแยกอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้เด็ดขาดออกจากกันอีกต่อไป ทำให้นักธุรกิจข้ามชาติจำเป็นต้องมีความสามารถควบคู่กันไปทั้งสองด้าน
-การคว่ำบาตรและนโยบายกีดกันทางภาษีจะยังคงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้ตอบโจทย์นโยบาย Protectionism มากขึ้น
-ประเด็นในเรื่อง Green Transition จะเป็นประเด็นที่ยังคงสำคัญอย่างแน่นอน แต่ใครจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานสากลที่ทุกภาคส่วนยอมรับและนำไปใช้
-แนวคิดเศรษฐกิจใหม่ในปัจจุบันมีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มักขาด Scale-Ability จึงทำให้เกิด
Soft-Landing
-ปัญหาใหญ่ของโลก คือ โครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น Outdated ไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
ทำอะไรแทบไม่ได้
-ปัญหาหนี้จัดเป็นปัญหาที่ใหญ่และรุนแรงที่สุดทั้งในส่วนของ Size และ Impact ซึ่งไม่มีทางหนี มีแค่การ Prolong
-ทวีปยุโรปยังคงเป็นทวีปที่มีความ Resilience มาก แม้ว่าจะเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตาม เช่น
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยุโรปก็สามารถกลับมายืนหยัดได้เสมอ
-การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ จะมีความสุดขั้วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าใครจะได้รับตำแหน่งก็ตาม
-สงครามในหลายภูมิภาคจะยังดำเนินต่อไปแบบไม่หยุดและไม่ขยาย ตราบเท่าที่จะสามารถสร้างข้อต่อรองเชิงเศรษฐกิจได้
-คนส่วนใหญ่จะพูดถึงจีนและเอเชีย แต่แอฟริกาก็เป็นที่น่าจับตามองเช่นกัน เพราะมีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ
-การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและสร้าง Ownership ให้กับกลุ่ม เช่น South-South Cooperation จะมีบทบาทสำคัญสำหรับการแข่งขันในอนาคต
-คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) จำเป็นที่จะต้อง ได้การปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยด่วน เพื่อให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง

 

2.Society and Technology
(ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี)

 

-ประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ด้วยโครงสร้างที่ต่างไปจากเดิม การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อ Compensate กันจึงจำเป็น
-ปัญหารากเหง้าของการพัฒนาระยะยาว คือ ประเทศจำนวนมากไม่มีระบบการศึกษาที่ Future-Proof
-รัฐต้องแบกรับต้นทุนในการดูแลประชาชนที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันมีความสามารถในการหารายได้น้อย (รัฐที่อัตราภาษีสูงอยู่แล้วได้เปรียบ)
-การเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น AI จะเป็น Next Big Thing แต่ต้องมี Position ที่ชัด เพราะหากไม่ชัด
จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กว่าเดิม
-เทคโนโลยีในการจับ จัดเก็บ นำไปใช้ Carbon ที่มีประสิทธิภาพจะเป็น Next Billion Dollar Business
-การพัฒนาในเชิงชุมชนหรือ Ecosystem มีความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอก
-ผู้คนร่วมมีอาการป่วยจากความเครียดที่มากขึ้น Mental Health จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก
-Digital Literacy จะกลายเป็นภาษาพื้นฐานที่ปลดล็อคความสามารถในการเรียนรู้
-ช่องว่างทางสังคมระหว่างคนแต่ละ Generation จะรุนแรงขึ้น ในระดับที่สามารถขยายผลไปเป็นความขัดแย้งได้
-การขับเคลื่อนแบบพหุภาคีนิยมมีความจำเป็นมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ทุกอย่างช้าลง
-คนนิยมการทำงานเชิงอิสระมากขึ้น ทำให้ระบบที่เป็น Foundation ของสังคมอ่อนแอลง (เพราะไม่มีใครอยากทำ)
-Governing Model ในสังคมจะยากขึ้นจนไม่สามารถทำให้มีประสิทธิภาพได้ Alignment ในเชิงคุณค่าและวัฒนธรรมจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
-ความท้าทายขององค์การสหประชาชาติ คือ จะทำอย่างไรให้ Pact for the Future รวมถึง Global Digital Compact และ Declaration of Future Generation เป็นมากกว่าข้อตกลงบนกระดาษ

 

 

3.Nature and Environment
(ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

 

-Critical Minerals มีบทบาทสำคัญใน Energy Transition เพื่อการดำเนินการอุตสาหกรรมใหม่
-ธุรกิจพลังงานส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานจะช้าลง ทำให้พลังงานสะอาดไม่ได้
โตเร็วอย่างที่ควร
-เงินการกุศล (Philanthropic Capital) จากเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน เพราะมีความคล่องตัว
-การโยกย้ายเงินที่ง่ายและยากที่สุดในเวลาเดียวกัน คือ การโยกเงินที่ Subsidy Fossil Fuel
มาลงใน Low Carbon
-ต้นทุนความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจะสูงมากในระดับที่สามารถทำให้ธุรกิจล้มละลายได้ หากละเลย
-ที่ผ่านมา การผลักดันเศรษฐกิจสีเขียวเป็นเรื่องของการขอความร่วมมือ อีกไม่นานจะกลายเป็นกฎหมายทั้งหมด และกลายเป็นมาตรฐานในการแข่งขัน
-ประเทศพัฒนาแล้วต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประเทศเล็ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน
-สิ่งที่เป็นคอขวดใหญ่ของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ การขาดข้อมูลที่ดีพอและการขาดความสามารถในการร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-โรคอุบัติใหม่อันเนื่องมาจาก Biodiversity Loss จะเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น
-โลกต้องมีโมเดลในการสร้างผลตอบแทนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ชัด เพื่อทำให้เกิด Business Agenda และผลลัพธ์ก็จะตามมา
-โดยพื้นฐานแล้ว การใช้โลกน้อยลงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องเดียวกัน
การเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเรื่อง Luxury สำหรับประเทศที่มีความพร้อมเท่านั้น (ซึ่งก็ยังทำได้ยาก)

“ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของใจความสำคัญสำหรับโลกที่เรากำลังจะต้องเผชิญหน้าในอนาคต ประเด็นหลักที่ต้องยอมรับกันให้ได้เสียก่อน คือ โลกของเราในอนาคตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การทำเหมือนเดิมไม่ใช่ไม่ดี แต่จะไม่ Relevant ไปเลย เราควรเข้าใจโครงสร้าง และมี Leadership เพียงพอที่จะปรับตัวได้ต่อความท้าทายและไม่ชัดเจนในโลกปัจจุบัน เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของทางออก และเป็นส่วนหนึ่งของ Commitment ในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของเราทุกคนต่อไป” ปิยะชาติกล่าวในที่สุด

 

You Might Also Like