5-6 ตุลาคม 2562…ลูกค้า คู่ค้า Suppliers พนักงาน สื่อมวลชน คือ Primary Stakeholders ที่อยู่ในพื้นที่เวทีคอนเสิร์ต ฉลองครอบรอบขึ้นปีที่ 30 ของเอไอเอส ได้ฟัง Commitment ขององค์กรจาก CEO โดยตรง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม เปิดภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม E-Waste
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ถอดอุปกรณ์เชื่อมโยงหุ่นยนต์ผ่านระบบ 5 G แล้วก็เริ่มพูดคุยกับทุกคน
“ขอโอกาสนี้พูดกับพวกเราหน่อย ขอบคุณคู่ค้า พาร์ทเนอร์ สื่อมวลชน ขอบคุณน้อง ๆ ทุกคน ที่ให้เกียรติกับเอไอเอสมากเลย”
วันนี้ครบรอบ 29 ปี เข้าสู่ปีที่ 30 อยากบอกพวกเราว่า ตลอดระยะเวลา 29 ปีที่ผ่านมา เราเป็นบริษัทที่ลงทุนเป็นเงินถึง 1 ล้านล้านบาทแล้ว เป็นเงินใหญ่มาก เราลงทุนในเรื่องระบบที่น้อง ๆ สื่อสารกันไม่มีหลุดนั้นเราลงุทนไป 4 แสนกว่าล้าน และเรายังลงทุนเรื่องคลื่นความถี่ต่าง ๆ การลงทุนไปทั้งหมดเพื่อให้เมืองไทยมีโครงสร้าง โครงข่ายทางโทรคมนาคมที่ดีและแข็งแรงต่อประเเทศชาติ
นอกจากนี้เอไอเอสได้ทำเรื่องสาธารณประโยชน์มากมาย โครงการทางสังคมต่างๆ ถังน้ำใจ และอื่น คงไม่ลงรายละเอียดมาก แต่ถ้าหากน้อง ๆ ในฐานะลูกค้าเอไอเอสมีเรื่องราวต่าง ๆ อยากให้เอไอเอสดูแลช่วยเหลือ หรือบางคนหมู่บ้านห่างไกลมีโรงเรียนยากจน มีวัดที่ต้องการถังน้ำ สามารถติดต่อมาได้ เรายังมีเรื่องผ้าห่มกันหนาวช่วยเหลือประชาชนในทุก ๆ ปีกับกองทัพเรือ มีการให้รถพยาบาลฉุกเฉินกับหน่วยพยบาลจำนวนมาก อันนี้ทำมาตลอด
“โครงการหนึ่งที่ผมอยากเสนอ ผมภูมิใจมากคือ สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง เราเห็นเด็กบางคนเป็นเด็กดี แต่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา พวกเราได้ยินเรื่องทุนการศึกษามามาก แต่ส่วนใหญ่เป็นทุนการศึกษาเด็กเรียนเก่ง แต่สำหรับเอไอเอสเอง คุณจะเรียนเก่ง หรือไม่เก่ง ไม่เป็นไร ขอให้คุณเป็นคนดี เราสนับสนุนเขา ช่วงเวลา 29 ปีที่ผ่านมา เราได้ช่วยเด็กกว่า 900 คน พร้อมครอบครัว และเราส่งเรียนตั้งแต่เด็ก ๆ จนจบปริญญาตรี 100 กว่าคนแล้ว เพราะฉะนั้นอยากฝากว่า ใครที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี สามารถส่งเรื่องราวมาที่เอไอเอสได้”
สมชัยกล่าวต่อเนื่อง 29 ปีที่ผ่านมา เอไอเอสภูมิใจมาก ๆ คือการได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย แต่ที่ภาคภูมิใจมากคือได้รับรางวัลที่มีน้องลิซ่าขึ้นมา เป็นเบอร์ 1 ได้รับรางวัลเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ดีสุดของโลกจาก Brand Finance เป็นรางวัลที่คนเอไอเอสภาคภูมิใจ
“นอกจากนี้เราตั้งใจที่จะทำธุรกิจคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ในปีนี้เราได้รับการจัดลำดับให้อยู่ใน บริษัทที่มีการทำธุรกิจแบบยั่งยืน ใน DJSI หมายถึงบริษัททำธุรกิจที่คำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย เราได้ทั้งตลาดเกิดใหม่คือตลาดเล็กๆในประเทศไทย เอเชีย รวมถึงได้ดัชนีดาวโจนส์ ระดับโลกด้วย นั่นคือความภาคภูมิใจ เมื่อใช้เอไอเอสแล้วมีส่วน Contribute ให้กับสังคม และสิ่งแวดล้อม และน้อง ๆ ได้ใช้สินค้า บริการระดับโลกด้วยครับ”
ท่ามกลางกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงในทุกมิติจากอิทธิพลของ Digital Disruption เอไอเอสต้องพลิกวิธีคิด วิธีทำงาน วิธีมองใหม่ทั้งหมด เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทีมผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งหนึ่งในนี้คือ ภารกิจเพื่อความยั่งยืน Mission Green 2020 ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ E-Waste รณรงค์ให้คนไทยนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งเพื่อเข้าสู่การจำกัดอย่างถูกวิธี
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นขยะอีกชนิดที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรา และเป็นอีกหนึ่งปัญหาประชากรของโลกที่ยังขาดความใส่ใจเกี่ยวกับอันตราย ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้รับการทิ้งให้ถูกที่ และจัดการอย่างถูกวิธี จึงก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อม, สังคม และส่งผลเสียในระยะยาว โดยเอไอเอสได้ผลิตนวัตกรรมถังขยะอัจฉริยะ IoT สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ ตั้งอยู่ ณ AIS SHOP และศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัลทั่วประเทศ
ถังขยะ E-Waste วัสดุทำมาจากไม้อัดรีไซเคิล โดยเป็นการดีไซน์จากนิสิตนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และทีมงานโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) โดย AIS ได้ต่อยอดนำเทคโนโลยี IoT เข้ามามีส่วนช่วยในการนับชิ้นขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Real-time เพื่อ Convert ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ลดลงและแสดงบนเว็บไซต์ www.ewastethailand.com โดยขยะจากถัง จะถูกนำไปจัดการ และทำลายอย่างถูกวิธี ด้วยกระบวนการ Zero landfill (กระบวนการจัดการขยะ ทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีก)
เอไอเอส ตั้งเป้าว่าภายในปี 2563 จะสามารถช่วยลดค่า CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ได้จำนวน 1 ล้าน kgCO2e และจัดการกับขยะ E-Waste ได้ทั้งสิ้น 1 แสนชิ้น
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น Committment จาก CEO ส่งตรงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก กับแบรนด์เอไอเอส ด้วยมิติเศรษฐกิจ (การตลาด) สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 30 ของธุรกิจ