NEXT GEN

เผยผลวิจัย เด็กไทยเสี่ยงภัยบนโลกออนไลน์ใช้ถึง 12 ชม./ 1 วันหยุด แนะใช้วัคซีน DQ ฉลาดใช้ดิจิทัล

15 เมษายน 2563…เมื่อหยุดเพราะ COVID-19 ถึงเลื่อนเปิดเทอม ต้องรุกหนักจากปีที่แล้ว เร่งพัฒนาทักษะ DQ ของเด็กไทย พร้อมส่งชุดการเรียนรู้ DQ สุดสนุกให้ครอบครัวไทยได้ทำร่วมกัน ส่งเสริมการรู้เท่าทันและผลักดันสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน


เวลาปกติเราก็ขาดอุปกรณ์ดิจิทัลโดยเฉพาะมือถือไม่ได้ ยิ่งขณะนี้เวลาที่เราอยู่ในยุค COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) การเรียนจากที่บ้าน (Learn From Home) หรือการเลื่อนเปิดเทอม วิถีชีวิตของหลายคนเปลี่ยนมาก ทำให้ทุกคนผูกติดอยู่กับสื่อดิจิทัลออนไลน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่เว้นเด็กที่เป็น Generation Z ซึ่งเกิดในปี 2541 มีอายุต่ำกว่า 21 ปี ซึ่งจากรายงานของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) พบว่ามีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตในวันหยุดเฉลี่ยอยู่ที่ 12 ชั่วโมง 1 นาทีต่อวัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เยาวชนที่ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงผลกระทบอีกด้านที่ตามมาคือ ภัยบนโลกไซเบอร์

นอกจากนี้ ผลสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI ; Child Online Safety Index) ซึ่งจัดทำโดยสถาบัน DQ (DQ Institution) ที่เอไอเอสได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ นำชุดการเรียนรู้ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ มาให้คนไทยได้ใช้งานฟรีนั้น ได้เผยผลสำรวจ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนตั้งแต่ปี145,426 คน ใน 30 ประเทศสมาชิก พบว่าจำนวน 2 ใน 3 ของเด็ก กำลังเผชิญอันตรายในโลกไซเบอร์

แน่นอนว่า เด็กไทยเองก็จัดอยู่ในกลุ่มที่เผชิญอันตรายดังกล่าวด้วย

Cyber Pandemic หรือ การระบาดของโรคไซเบอร์

ผลสำรวจในประเทศไทย พบว่า เด็กไทยมีความเสี่ยงในโลกไซเบอร์ที่น่าเป็นห่วง 3 ประการ ได้แก่

1.การถูกรังแกบนออนไลน์ (Cyberbullying) เช่น การโพสต์ดูหมิ่นกลั่นแกล้ง การร่วมกันเพิกเฉยและชักชวนให้คนอื่นไม่คบหาพูดคุยด้วยในออนไลน์
2.การกระทำที่จะทำให้เสียชื่อเสียง (Reputation Risks) เช่น การโพสต์ประจานล้อเลียน การโพสต์รูปหรือคลิปที่แอบถ่ายหรือไม่เหมาะสมเพื่อสร้างความขบขัน ให้ผู้อื่นอับอาย
3.ความเสี่ยงในการติดต่อออนไลน์ (Risky Contacts) เช่น การถูกล่อลวงเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สิน หรือข้อมูล และการล่อลวงเพื่อทำไปสู่การคุกคามในชีวิตจริง

ทั้งนี้ยังพบอีกว่าเด็กไทยควรได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้สื่อและอุปกรณ์ดิจิทัล ใน 4 ประการ ได้แก่

1.การสร้างอัตลักษณ์ออนไลน์ (Digital Citizen Identity) ใช้ตัวตนจริงบนโลกออนไลน์ไม่ปลอมแปลงโปรไฟล์,
2.การรับมือเมื่อถูกรังแกออนไลน์ (Cyberbullying Management) สามารถรับมือและจัดการกับการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม,
3.การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่ปรากฏในโลกออนไลน์
4.การจัดการกับข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงนโยบายของบริษัทในส่วนแกนทำธุรกิจอย่างยั่งยืนรับผิดชอบต่อสินค้า และบริการให้กับผู้บริโภคหรือ Cyber Wellness Online Safety

“ความปลอดภัยในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แกนนี้เราเชื่อว่าจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในยุค 5 G ซึ่งวันนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นบททดสอบที่เราเห็นได้ชัดเลยว่า เราต้องไปใช้ดิจิทัลมากขึ้น และเทคโนโลยี 5 G จะทำอะไรหลายอย่างให้ดีขึ้นมากมาย มีคำถามหลักเรื่อง ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว จะเป็นคำถามที่ Critical มากในอนาคต เรื่องของ Ethic ในการใช้พื้นที่ออนไลน์จะเป็นอย่างไร เรื่องนี้จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ Telco แต่เป็นเรื่องตั้งแต่ระดับรัฐบาลต้องมีนโยบายในการบริหารจัดการ เพราะตอนนี้ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง Cyber Wellness จะเป็นประเด็น Cyber Bully ในช่วง5-8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลายประเทศออกข้อกำหนด มีไกด์ไลน์ไปถึงโรงเรียนด้วยว่า หากพบเหตุการณ์แบบใดแบบหนึ่ง โรงเรียนจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร”

อย่างไรก็ตาม Cyber Bullying เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ของ Cyber Wellness ที่จะต้องเรียนรู้ พัฒนาทักษะก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนพฤติกรรม จึงต้อง “ฉลาดใช้ดิจิทัล” ให้ปลอดภัย เกิดประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์ โดยในปี 2562 เน้นในส่วนปลอดภัย ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ พร้อมให้เกิดประสิทธิภาพ และให้เด็ก ๆ รู้ว่าใช้ดิจิทัลมีผลกระทบเชิงบวกในชุมชน สังคม ได้ภายใต้พื้นฐาน Digital Citizenship

“ฉลาดใช้ดิจิทัล ถูกสอดแทรกในบทเรียนทักษะ DQ หรือ Digital Quotient เมื่อปีที่แล้วที่เริ่มใช้ใน Q3/2562 มีเป้าหมาย 300 โรงเรียนทั่วประเทศ เข้าถึงนักเรียน 2,000-3,000 คน ถึงวันนี้เราได้พบสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้เริ่มที่คุณครู เพราะหลายครั้งที่ครูไม่รู้ตัวเช่นการนำภาพตลก ๆ ของเด็ก ๆ มานำเสนอบนออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นการ Bully สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับเด็ก ๆ แต่เมื่อได้ลองเวิร์คช้อป ทักษะ DQ กับทดสอบครูไอที ครูแนะแนว ครูเข้าใจอย่างดี ครูนำออกมาปรับใช้เป็นกิจกรรมที่จะเรียน 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเด็กวัย 8-12 ปีที่เรียน ป.3-ป.5 โดยในการทำงานเวิร์คช้อปปีนี้ ที่ยังมีสถานการณ์ COVID-19 จะต้องเปลี่ยนให้มาอยู่ในรูปแบบออนไลน์”

รุกต่อเนื่อง ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ ให้เด็กไทย (+AIS Secure Net +Google Family Link)

นัฐิยากล่าวถึงทักษะ 8 ด้านของ DQ โดยความต่อเนื่องของปีนี้ ต้องการให้พ่อแม่ผู้ปกครองโฟกัส 3 เรื่องมากขึ้นในสถานการณ์ที่ลูกหลานหยุดอยู่บ้านค่อนข้างนานจากสถานการณ์ COVID-19 และการเลื่อนเปิดเทอม

1.จัดเวลาอยู่หน้าจอ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเน้นการพูดคุย การสร้างข้อตกลงกับลูกหลาน เพื่อจัดเวลาอยู่กับออนลไน์อย่างเหมาะสม
2.เช็คก่อนเชื่อ เวลาที่อยู่บ้านนานมากขึ้นจะได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากมายจากทุกสารทิศ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสร้างให้เด็กรู้จักคิด และแยกแแยะให้เป็น ก่อนที่จะเชื่อ เช็คก่อนใช้ และเช็คก่อนแชร์
3.คิดก่อนโพสต์ พ่อเม่ผู้ปกครองต้องอธิบายเรื่องนี้กับลูกหลานให้ละเอียด เพราะหลายครั้งักจะคิดว่า โพสต์แล้ว “ลบแล้ว จบไป” แต่ข้อเท็จจริง อะไรที่อยู่บนโลกออนไลน์ จะไม่หายไปไหน

“เอไอเอสนำ DQ มาให้เด็ก ๆ ใช้ ซึ่งผู้ใหญ่ก็ใช้ได้ ทุกคนใช้ได้ฟรี ไม่จำเป็นต้องเป็นนลูกค้าเอไอเอส ส่วน AIS Secure Net มีคน ดาวน์โหลด 57,000 และ Google Family Link ดาวน์โหลด 5,000,000 คน ก็เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้งานฟรี ช่วยป้องกันภัยจาก Cyber”

นัฐิยาขยายความต่อเนื่องถึงตัวชี้วัดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ DQ นั้นเป็นเรื่องจำนวนโรงแรียน และจำนวนเด็ก ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ เพราะเชื่อว่านี่คือเนื้อหาที่ดี ซึ่งเมื่อ DQ เข้าสู่บทเรียนได้ จะมีการทำ Scrolling เนื้อหาตั้งแต่ก่อนเรียน จนกระทั่งเรียนจบครบแกน 8 ด้าน โดยข้อมูล Scrolling เป็นเรื่องส่วนบุคคลของเด็ก ๆ แต่ละคน และเป็นข้อมูลเฉพาะของโรงเรียน จึงไม่นำมาใช้เป็น KPI เอไอเอส แต่ถือว่าเป็นข้อแนะนำ สิ่งที่เน้นคือเรื่อง Report นักเรียนในห้องคุณครูมีเกณฑ์ด้านไหนที่ยังอ่อน สมควรได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม

บางส่วนของ DQ

อย่างไรก็ตาม รายงานชุดCOSI ระบุว่า ประเทศไทยมีได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานใน 2 เรื่องคือ

1. Access คือ มีความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน Digital Infrastructure ที่ดีและเสถียร ผู้คนในประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ดี
2. Cyber Security Infrastructure นโยบายของรัฐบาล รวมถึงจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจด้านโทรคมนาคม มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างป้องกันเด็กจากภัยในโลกออนไลน์

“ในฐานะ เอไอเอส เป็น Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ ถือเป็นพันธกิจสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัยมาให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดังนั้นการเสริมภูมิคุ้มกัน และจิตสำนึกบนโลกออนไลน์ จะเป็นการสร้างเกราะกำบังที่แข็งแกร่งทั้งในด้านภูมิปัญญา (Intellectual) และด้านจิตใจ อีกทั้งถือเป็นการติดอาวุธเสริมทักษะของคนไทยในยุคแห่งดิจิทัล (Digital Nation) อีกด้วย”

นัฐิยากล่าวในท้ายที่สุดว่า พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการลดอันตรายในโลกออนไลน์ วิธีที่ใช้แล้วเห็นผลมากที่สุดคือ พ่อแม่อบรมลูกให้มีระเบียบวินัยในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลตั้งแต่ลูกยังเล็ก และโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญในการสอนเรื่องการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital citizenship)

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

 

You Might Also Like