6 มีนาคม 2562…ยกตัวอย่างที่นี่ เมื่อเรียบร้อย จะประหยัดไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 4.3 ล้านบาท ลดปริมาณ CO2 ในอากาศได้กว่า 740 ตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 43,000 ต้นต่อปี ลดการใช้น้ำได้กว่า 1.5 ล้านลิตรต่อปี โดยมาจากการติดแผงโซลาร์บนหลังคา
สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อสานต่อกลยุทธ์ Greener & Smarter ของกลุ่มบ้านปูฯ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีด้านพลังงานของบ้านปูฯ มุ่งมั่นคัดสรรนวัตกรรมและให้บริการพลังงานสะอาดในราคาที่เหมาะสม มีความสเถียร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอสมาร์ทซิตี้โซลูชันที่ดีที่สุดมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายเพื่อให้คนไทยในทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ในรูปแบบเฉพาะของประเทศไทยที่ยั่งยืน
“การร่วมทำงานกับโรงเรียนนานาชาติรักบี้ ประกอบด้วยนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ระบบไมโครกริด ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS ระบบการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และ สถานีประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะมีพลังงานสะอาดใช้อย่างยั่งยืน โดยเราลงทุนเบื้องต้น 20 ล้านบาทในเฟสแรกมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมราว 1 เมกะวัตต์ ในเฟสแรกของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อรองรับระบบไมโครกริด”
แม้จะเพียงเริ่มต้นด้วย 1 เมกกะวัตต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ นับเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนของเด็กยุคใหม่ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในสมาร์ท แคมปัส แคมปัส
ทยา ทีปสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงเรียนนานาชาติรักบี้ ประเทศไทย อธิบายต่อเนื่อง ถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการทำงานของบ้านปูฯ
“ปกติโรงเรียนปลูกฝังให้นักเรียนคำนึงถึงการรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการที่ทางบ้านปูฯ ได้เข้ามาติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวมถึงสมาร์ทซิตี้โซลูชันให้นั้น นอกจากจะช่วยให้โรงเรียนสามารถเดินหน้าพัฒนาเป็นสมาร์ทแคมปัสอย่างยั่งยืนได้เร็วยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการใช้พลังงานสะอาดผ่านประสบการณ์จริง และคุ้นชินกับการเอาเทคโนโลยีมาส่งเสริมการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน พร้อมยังกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมพลังงานในหมู่คนรุ่นใหม่อีกด้วย”
ด้วยรูปแบบการทำงานตั้งแต่ต้นของบ้านปูฯ และโรงเรียน พนักงานของบ้านปูฯ ได้เข้ามาเรียนรู้ความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองในทุกมิติของในโรงเรียน เพื่อจัดวางเทคโนโลยีพลังงานสะอาดให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ต่างๆ ในโรงเรียน
นอกจากจะติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่หลังคาของโรงเรียนและบริเวณลานจอดรถแล้ว ยังมีการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานอื่นๆ เช่น โซลาร์คีออส (Solar Kiosk) ระบบออนและออฟกริด ที่ใช้ได้ทั้งไฟบ้านและพลังงานแสงอาทิตย์ และโซลาร์แชร์ (Solar Chair) ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แบบ 100% ตั้งอยู่บริเวณจุดรับรองผู้ปกครองและแขกของโรงเรียนให้สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือหรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ รวมถึงการอำนวยความสะดวกแก่อาจารย์ในการเดินทางภายในโรงเรียนด้วยรถพลังงานไฟฟ้า (EV) คือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า อีกด้วย
ในเฟสต่อไปนั้น บ้านปูฯ มีแผนจะพัฒนาและนำเสนอสมาร์ทซิตี้โซลูชันอื่นๆ ที่เหมาะสมตามการเติบโตของโรงเรียน หรือความต้องการของนักเรียนและครู มาให้บริการที่โรงเรียนเพิ่มเติม
สมฤดีกล่าวในท้ายที่สุดว่า นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงเรียนขนาดเล็ก หรือสถานที่อื่นๆ ทุกประเภท โดยเลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน