NEXT GEN

4 คำประกาศ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ “องค์กรไร้ขยะพลาสติกและโฟม”

29 สิงหาคม 2562…ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่บุคคลากรและนักศึกษา ให้คำมั่นเริ่มในองค์กร พร้อมทยอยแจ้งผู้ใช้บริการ เพื่อ “วิถียั่งยืน” ก่อนใช้อาคารใหม่ 400 เตียง ซึ่งขอ LEED Platinum ตั้งแต่ก่อสร้าง เป็นโรงพยาบาลแรก

คำประกาศเจตนารมณ์ “องค์กรไร้ขยะพลาสติกและโฟม” ณโถงชั้น ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นำโดยศ.นพ.นิธิ

“พวกเราคณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่บุคลครและนักศึกษาของราชวิทยาลัยจุพาภรณ์ ขอ
ประกาศเจดนารมณีนการขับคลื่อนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สู่ “องค์กรไร้ขยะพลาสติกและโฟม”
ภายในปี 2565 ดังนี้

1.ร่วมมือกันปฏิบัติตามนโยบายด้านการจัดการขยะพลาสติกและโฟมอย่างเคร่งครัด
โดยงดการนำผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟมทุกชนิดเข้ามาบริเวณพื้นที่ของราช
วิทยาลัยจุพาภรณ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

2.ให้การกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะพลาสดิกและโฟม ทำแผนปฏิบัติการ
และกิจกรรม ตลอดจนกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลอย่างมีมาตรฐาน เป็น
พันธกิจหลักของทุกฝ่ายและทุกส่วนงานในสังกัดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

3.ดูแล สนับสนุนและกวดขันให้ผู้ที่ดำเนินธุรกิจและผู้ที่เข้ามาภายในบริเวณพื้นที่ของ
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกและโฟม และปฏิบัติตาม
นโยบายด้านกาจัดการขยะพลาสติกและโฟมของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

4.ร่วมรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากขยะประเภท
พลาสติกและโฟมในสังคมอย่างจริงจัง และเป็นองค์กรแบบอย่างในการบริหารจัดการ
ปัญหาด้านขยะและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

“การมุ่งเป้าสู่องค์กรไร้ขยะพลาสติกและโฟม ต้องมีงบประมาณเพิ่มขึ้นแน่นนอน แต่เราเตรียมงบสำหรับเรื่องนี้ โดยช่วงนี้จะสิ้นปีงบประมาณอยู่แล้วอีกไม่กี่เดือน อยากให้ทุกคนลองทำงบประมาณขึ้นมาดูก่อน ซึ่งการจะวางงบประมาณนั้นจะต้องมีตัวชี้วัดชัดเจน เมื่อตัวชี้วัดชัดเจน วัดได้ เรายินดีให้ทำเลยเป็นตัวอย่าง โดยจะใช้งบกลางที่เหลืออยู่ก่อน ตรงนี้ถือเป็นภารกิจหนึ่งของราชวิทยาลัยจุพาภรณ์ ในเรื่องสิ่งแวดล้อม”

ศ.นพ.นิธิ ขยายความต่อเนื่องว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่างบประมาณจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แต่เมื่อเริ่มลองลงมือทำก็จะพอทราบ ยกตัวอย่าง “ห้องยา” ที่ทำไปแล้ว ไม่สนับสนุนการใช้ถุงพลาสติก ก็จะมีคนไข้ที่ไม่ได้เอาอะไรมาใส่ยาอยู่ ให้ห้องยาลองวัดดูว่า เดือนหนึ่งยังใช้ถุงพลาสติกกี่ใบ ลดลงมาเท่าไหร่ ซึ่งผลก็ลดลงทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง อันนี้เป็นตัวชี้วัดง่ายๆ
หรือเรื่องแยกขยะ ก็จะไปดูตัวชี้วัดตรงนั้นว่าถูกต้องไหม เมื่อแยกถูกต้องเราก็วัดปริมาณขยะพลาสติก ชั่งน้ำหนักเหลือเท่าไหร่

“เมื่อเรื่องนี้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพราะฉะนั้นต้องมี Comittment ร่วมกันที่จะทำ แต่ละส่วนในองค์กรก็เสนอโครงการเข้ามา เราบังคับอย่างเดียวไม่ได้ ทุกหน่วยต้องมีโครงการตามนโยบาย และเรามีเงินสนับสนุน ส่วนผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยที่ถือเข้ามา ผมให้เจ้าหน้าที่แนะนำว่า เป็นโรงพยาบาลไร้พลาสติกและโฟม ครั้งต่อไปขอให้ใช้ถุงผ้าแทนครับ เราก็มีถุงแจกให้อยู่”

ศ.นพ.นิธิ กล่าวในท้ายที่สุดว่า “องค์กรไร้ขยะพลาสติกและโฟม” จะต้องใช้ในอาคารหลังใหม่ 400 เตียงที่กำลังก่อสร้าง โดยราชวิทยาลัยฯ ได้ขอ LEED Platinum ตั้งแต่ตอนก่อสร้าง และเป็นโรงพยาบาลแรกที่ได้ LEED Platinum มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 25%

“ปัจจุบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมบุคลากรทางการแพทย์ และที่เกี่ยวข้อง รวมสถานที่ สิ่งแวดล้อมไว้ทุกด้านสำหรับการให้บริการ”

 

 

You Might Also Like