NEXT GEN



ภายใต้ #COVID19 โลกต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร็ว


22 เมษายน 2563…ปฏิกิริยาต่อการระบาดของ Covid-19 แสดงถึงพลังของวิทยาศาสตร์ การทํางานร่วมกัน และการดําเนินการอย่างรวดเร็ว การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกัน


ภัยคุกคาม Covid-19 ได้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศตอบสนองอย่างรวดเร็ว และเฉียบขาดในวิกฤต รวมถึงประชาชนในทุกประเทศก็พร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาเพื่อประโยชน์สุขของมนุษยชาติ โลกตอนนี้ต้องนำแนวทางเดียวกันมาใช้เพื่อรับมือความท้าทายที่มีอยู่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกมุ่งเน้นไปที่การต่อสู้อย่างเร่งด่วนกับการระบาดของโรค Covid-19 องค์การอนามัยโลก รัฐบาล และธนาคารกลาง ได้ดําเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อบรรเทาผลกระทบของไวรัส ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ ผู้จัดทำนโยบาย และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ล้วนกำลังแบ่งปันข้อมูลที่สําคัญผ่านเครื่องมือการติดตามที่มีความซับซ้อนจากผู้ฟื้นตัวจากไวรัสจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทันเวลา

แต่นอกเหนือจากการตอบสนองรับมือภัยคุกคามอย่าง Covid-19 อย่างทันทีทันใด โลกยังเผชิญปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและธุรกิจต้องเริ่มหันมาสนใจประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้วิธีแก้ปัญหาและความเร่งด่วนแบบเดียวกันที่พวกเขาใช้ในการต่อสู้กับการกระจายของโรคระบาด

พิจารณาเรื่องมลพิษทางอากาศ ฆ่าคนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี ซึ่งแตกต่างจาก Covid-19, ภัยคุกคามนี้ไม่ใหม่เลย เพราะเกิดจากหลายแหล่ง มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับวิธีการที่เราทำให้บ้านอบอุ่นและมีแสงสว่าง เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ และจัดการกับของเสีย – นิสัยประจําวันที่ฝังลึกในการดําเนินชีวิตและระบบเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาที่ทั้งท้าทายและซับซ้อนเหล่านี้ต้องมีการดําเนินการแบบทันท่วงที เพื่อลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากยิ่งขึ้น

ในข้อเท็จจริง ขณะที่การตอบสนองต่อ Covid-19 ได้แสดงให้เห็นถึง “พลังของการวิทยาศาสตร์การทํางานร่วมกัน” และ “การจัดการกับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว”  มันก็ยังได้เน้นปัญหาลึก ๆ ที่จํากัดความสามารถในการตอบสนองต่อความท้าทาย เช่น การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกกําลังตื่นขึ้น กับความเป็นไปได้ของการระบาดกระจายครั้งใหญ่ และมาตรการเข้มงวดที่จะควบคุม – อาจส่งผลให้เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจลึกกว่าวิกฤตการเงินทั่วโลกในปี 2008

ลักษณะของความเสี่ยงดังกล่าว อาจเป็นเครื่องอธิบายว่า เหตุใดการดําเนินการเรื่องสภาพภูมิอากาศจนถึงวันนี้จึงยังไม่เพียงพอ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ชัดเจน: ถ้าโลกมีเป้าหมายต้องการป้องกันหายนะภาวะโลกร้อน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต้องลดลงประมาณ 45% จาก 2010 ภายในปี 2030 และกลายเป็นศูนย์สุทธิช่วงกลางศตวรรษ แม้ว่าความจําเป็นในการดําเนินการของรัฐบาลอย่างเร่งด่วน และเด็ดขาดในเรื่องนี้ไม่เคยมีมากขึ้น ในความเป็นจริง ไม่มีผู้นําทางการเมืองคนใดก้าวขึ้นมาชนะความท้าทายนี้เลย

ทั้งนี้ Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ เคยออกมาเตือนในงาน COP25 การประชุมสภาพภูมิอากาศ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วว่า “เรากำลังเรียนรู้ว่า เรากำลังทําลายระบบสนับสนุนที่ทําให้เรามีชีวิตอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ”

นี่อาจเป็นคำเตือนที่น่ากลัวที่สุด เพราะมนุษยชาติคงต้องลงทุนลงแรงมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างน้อย 5 เท่า โดยสหประชาชาติตั้งเป้าหมายภายใต้ข้อตกลงปารีส 2015 ให้ทุกประเทศร่วมกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยลดอุณหภูมิลง 1.5 ° C ภายในปี 2050

(ที่มา ความเห็นของแมรี่ โรบินสัน อดีตประธานาธิบดีของไอร์แลนด์และคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นประธานของ The Elders และผู้อุปถัมภ์ของสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ และดายา เรดดี้ ประธานสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ)

ที่มา

 

 

You Might Also Like