16 ธันวาคม 2562… แนวโน้มของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ความต้องการความโปร่งใส และปัจจัยทางสังคม นับเป็นเทรนด์ เป็นความเสี่ยงด้าน ESG โอกาสสำหรับนักลงทุนสถาบันจะชัดเจนขึ้น
การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ การลงทุนเรื่องเกี่ยวกับความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นไม่มากนักในช่วงปี 1970 แต่มันก็กลายเป็นกระแสรุนแรงได้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
มีการประมาณการแบบอนุรักษ์นิยมว่า มูลค่าของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการด้าน ESG มีมากกว่า 20 ล้านล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวช่วงต้นปี 2018 สินทรัพย์การลงทุนที่ยั่งยืนมีมูลค่าถึง 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราเติบโต 38% นับจากปี 2016 เป็นต้นมา แนวโน้มนี้ไม่ได้เกิดจากการเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น มีหลักฐานทางวิชาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการรวม ESG ในกลยุทธ์การลงทุน และผลประกอบการทางการเงินในภาพรวมของบริษัท
นอกเหนือจากผลการดำเนินงานด้านการเงินแล้ว ปัจจุบัน ทั้งนักลงทุนและผู้นำองค์กรต้องพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ ESG ข้ามชาติที่มีอยู่นอกเหนือจากประเด็นเรื่องกฎหมายด้วย แม้งานด้าน ESG ขององค์กรจะไม่ได้ถูกให้ความสำคัญลำดับต้น ๆ ว่ามีความสำคัญทางธุรกิจ แต่การเพิ่มกิจกรรมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG นั้นน่าจะส่งเสริมการปฏิรูปองค์กรในด้านนี้ การทำความเข้าใจการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักลงทุน บริษัท และรัฐบาลจะช่วยให้ผู้นำสามารถรับมือกับความเสี่ยงใหม่เหล่านี้ได้ดีขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ความต้องการความโปร่งใส และปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิด ปฎิสัมพันธ์เหล่านั้น จากการประเมินอุตสาหกรรมบำเหน็จบำนาญตามแนวโน้มทั้งสามนี้ ความเสี่ยงและโอกาสสำหรับนักลงทุนสถาบันจะชัดเจนขึ้น
3 แนวโน้มหลักในการลงทุน ESG
1.เทคโนโลยี
แนวโน้มสำคัญซึ่งผลักดันการลงทุน ESG ที่เพิ่มขึ้น คือ ความสามารถของเทคโนโลยีใหม่ในการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนได้มากขึ้นแม้แหล่งข้อมูลจะเพิ่มเป็นทวีคูณก็ตาม
แหล่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึง: แหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Asset Footprint ต่างๆ สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน เป้าหมายความหลากหลายผ่านการใช้แบบสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการอื่น ๆ
ในด้านขององค์กรการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ รองรับมาตรฐานการรายงานใหม่ ซึ่งท้ายที่สุด แจ้งให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ ผู้ถือหุ้นไปจนถึงผู้จัดการสินทรัพย์สามารถเข้าใจผลกระทบที่เกิดกับแต่ละ Location และต่อทุนได้ดีขึ้น
ความพร้อมใช้งานที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บข้อมูลประเภทนี้ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบแบบครบวงจรต่อมาตรฐานทางกฎหมาย รวมถึงความคาดหวังของนักลงทุนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการการเปิดเผยข้อมูล ทำให้บริษัทใด ๆ ก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบของวัฏจักรนี้อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านกฎหมายและการเงินที่เพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์นี้จะเพิ่มขึ้นเฉพาะเมื่อข้อมูลและเทคโนโลยีสามารถผูกผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ากับผลกระทบของสินทรัพย์
2. ความโปร่งใส
ประเด็นที่ระบุได้ยากสำหรับกองทุน ESG คือมาตรฐานการรายงาน และมาตรฐานการจัดอันดับที่ขัดแย้งกัน ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก ความสับสนที่เกิดจากมาตรฐานที่แตกต่างเหล่านี้ให้ข้อมูลที่ขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดการลงทุนไม่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแล และอุตสาหกรรมการลงทุนกำลังพยายามแก้ไขกันอยู่
ตัวอย่าง ด้านความโปร่งใสของสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น คณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (the Task Force on Climate-related Disclosure-TCFD) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 เพื่อพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศทั้งภาคการเงิน และอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การเงิน TCFD ได้กลายเป็นภาระอุตสาหกรรมสำหรับวิธีการรวบรวม การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและมีผลกระทบที่ไกล ถึงแม้เป็นเรื่องที่รวมอยู่ในกฎระเบียบแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปหรือ EC ได้รวมข้อเสนอแนะจำนวนมากจาก TCFD ไว้ในข้อเสนอทางกฎหมายและข้อบังคับของพวกเขา
เดือนมีนาคม 2018 คณะกรรมาธิการยุโรปเผยแพร่แผนปฏิบัติการเรื่องการจัดหาเงินทุนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนซึ่งเสนอแผนครอบคลุมเพื่อใส่เรื่องความยั่งยืนเข้าไปกับเรื่องการเงินด้วย
เดือนมิถุนายน 2018 คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคด้านการเงินที่ยั่งยืน (Technical Expert Group on sustainable finance-TEG) เพื่อช่วยเหลือใน 4 ประเด็นสำคัญของแผนปฏิบัติการผ่านการพัฒนาดังต่อไปนี้: 1) ระบบการจำแนกประเภทแบบครบวงจรสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน 2) มาตรฐานพันธบัตรสีเขียวของสหภาพยุโรป 3) เกณฑ์มาตรฐานสำหรับกลยุทธ์การลงทุน Low-Carbon และ 4) แนวทางปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
TEG เผยแพร่ความคิดเริ่มต้นในรายงานของเดือนมกราคม 2019 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจชัดเจนจาก TCFD เห็นได้จากภาษาที่คล้ายกันเกี่ยวกับความโปร่งใส ผ่านการแลกเปลี่ยนทุนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ข้อมูลการรายงานที่ไม่ใช่ทางการเงินในอนาคต (NFRD) อ้างอิงคำแนะนำของ TCFD ชัดเจน
ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่จะสันนิษฐานว่าข้อกำหนด TCFD ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้กับกฎระเบียบของยุโรป และการนำเรื่อง ESG ไปใช้จริง จะกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ทั้งทวีป
3.Climate Change และจิตสำนึกทางสังคม
ขณะที่จำนวนของความกังวลที่ครอบคลุมภายใน ESG กำลังขยายตัว รวมถึงเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการล่วงละเมิดทางเพศ (ถูกเอ่ยถึงด้วย แต่ไม่มากนัก) ความกังวลสำคัญที่สุดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ หลายคนยังคิดว่า เมื่อพูดถึง ESG เกือบทุกคนตีความว่าเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับองค์กรในภาพรวม
ประการแรก บริษัทที่มีความเสี่ยงทางกายภาพ เมื่อเผชิญกับความโกลาหลของสภาพภูมิอากาศ พร้อม ๆ กับการเพิ่มขึ้นของการเกิดเพลิงไหม้ น้ำท่วม และการเคลื่อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
ประการที่สอง มีความเสี่ยงด้านกฎหมายเนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการตอบสนองของรัฐบาลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันที่จริงเราได้เห็นการเกี่ยวข้องของกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เมื่อพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามในปี 1997 เพราะมีกฎหมายหรือนโยบายที่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นเพียง 70 ฉบับเท่านั้น ขณะที่ในปี 2018 จำนวนกฎหมายและการดำเนินการในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,500 ฉบับ ทั้งนี้ เป็นไปได้สูงมากว่า บริษัททั้งหลายจะไม่สนใจเรื่องความเสี่ยงเท่าไหร่ หากไม่ได้รวมประเด็นด้านความยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์ขององค์กร
ประการที่สาม มีความเสี่ยงทางการเงิน ที่ติดอยู่กับสินทรัพย์ที่ภาษาการเงินใช้คำว่า “Stranded Assets” (สินทรัพย์ที่ล้าสมัยหรือได้รับผลกระทบจากการลดราคา / การประเมินค่าที่ไม่คาดคิด) อันเป็นผลจากการที่กฎหมายจำกัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่มีน้ำหนักมาก เช่นบทสนทนาบางส่วนเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นของ Aramco ไม่ได้มุ่งเน้นที่มูลค่าที่แนะนำ แต่เป็นการคาดการณ์ระยะยาวในโลกที่คำนึงถึง ESG
ประการสุดท้าย อำนาจของผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นทางออกสำหรับปฏิกิริยาทางสังคมต่อความกังวลของ ESG จะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายผู้บริหารของบริษัทที่พวกเขารู้สึกว่าจะบอกให้ทำอะไรก็ได้ เมื่อเผชิญกับ Landscape ของ ESG ที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ หนี้สินของกรรมการและคณะจัดการ ซึ่งเกี่ยวพันกับสภาพภูมิอากาศ ก็มีผลกระทบกับบริษัท ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพคล่องด้วยเหมือนกัน ดังนั้น กรรมการผู้ระแวดระวังสามารถเริ่มเน้นใส่ใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ของตนเอง
ESG มีอิทธิพลอย่างไรต่อตลาดบำนาญทั่วโลก
สหรัฐอเมริกา
ในสหรัฐอเมริกา เงินคงคลังและกองทุนเกษียณอายุมีสินทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 6.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แคลิฟอร์เนียเป็นตลาดบำนาญใหญที่สุด หน่วยงาน Corporate Governance ของ California ผู้ดูแลระบบการเกษียณอายุของครูทั้งรัฐ ที่มีมูลค่า 236.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่งรีแบรนด์ใหม่เป็น Sustainable Investment Unit เพื่อประเมินกลยุทธ์ การดูแล โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและการลงทุนระยะยาว รัฐเลือกผู้จัดการกองทุน ESG ทั่วโลก 3 รายเพื่อบริหารที่แยกเป็นส่วนๆมูลค่ากองทุนละประมาณ 750 ล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้บริหารรัฐและท้องถิ่นอื่น ๆ กำลังดำเนินการตามกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้น ESG ตัวอย่างเช่น New Jersey, Oregon, Chicago และ Boston
สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรมีตลาดบำนาญที่มีขนาดใหญ่และลงหลักปักฐานแข็งแกร่งยาวนาน แต่กลับมีระดับความผูกพัน ESG ค่อนข้างต่ำ การตอบรับกับประเด็นนี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 กระทรวงแรงงาน และบำนาญ กำหนดให้นักลงทุนแสดงอย่างเป็นทางการว่าพวกเขากำลังรวมมาตรฐาน ESG ไว้อย่างไร
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้ดูแลจะต้องพิสูจน์ว่า เพิกเฉยต่อ ESG เปลี่ยนกระบวนการจากการไม่เข้าร่วมเป็นไม่เข้าร่วมหรือไม่ การผลักดันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการเรื่องบำเหน็จบำนาญของสหราชอาณาจักรล่าช้ากว่าของสหรัฐอเมริกาและดัตช์ในแง่ของการใช้ ESG ซึ่งรัฐบาลอังกฤษมองว่าเป็นความเสี่ยงสำหรับภาคธุรกิจที่มีศักยภาพและการปกครองในระยะยาว
ฝรั่งเศส
สินทรัพย์เกี่ยวกับบำนาญส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่มีกองทุนจำนวนมากจัดการโดยบรรดา Insurer แนวโน้มเหล่านี้ – รวมถึงการขาดการลงทุนในหุ้นที่สำคัญ – จำกัดการนำ ESG ไปใช้ในฝรั่งเศส นี่คือประเด็นสำคัญ
และเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าฝรั่งเศสเป็นผู้นำในด้านการเงินที่ยั่งยืนอื่น ๆ เช่น ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2019 ฝรั่งเศสแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำการสนับสนุนพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) มีมูลค่ารวมราว 15,000 ล้านยูโร เนื่องจากบริษัทฝรั่งเศสเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์ใหม่นี้
การตัดการเชื่อมต่อ รวมถึงการตระหนักถึงเรื่อง ESG ทั้งภาคการเงิน และตลาดบำนาญ ของฝรั่งเศสที่นับวันมีแต่จะขยายกว้างมากขึ้น ทำให้เกิดความกังวลว่า อาจทำให้ฝรั่งเศสล้าหลังนักนวัตกรรมในยุโรปและอเมริกาเหนือ
เนเธอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์มีกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มีฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีความเชี่ยวชาญและการมีส่วนร่วมของรัฐบาลที่น่าประทับใจ พวกเขาเป็นผู้นำในด้าน ESG โดยมีการรวมตัวกันในระดับพื้นฐานมากที่สุดถึง 90% ของ AUM ทั้งหมดในภาคบำนาญของดัตช์
นอกเหนือไปจากนี้ในเดือนธันวาคม 2018 กองทุนบำเหน็จบำนาญกว่า 70 แห่งที่มีสินทรัพย์รวมกว่า 1.2 ล้านล้านยูโรได้ลงนามในข้อตกลงกับองค์กรพัฒนาเอกชนสหภาพการค้าและรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายที่จะแสดงพลังไปในระดับโลก ซึ่งก็คือการผลักดันการลงทุน ทั้งประเด็นสิ่งแวดล้อมและปัญหาทางสังคม ผู้ลงนามทั้งหมดจะต้องรวมแนวทางของ OECD ในการติดตามและรายงานความเสี่ยงในนโยบาย ESG ภายในสิ้นปี 2020
ญี่ปุ่น
รูปแบบของกองทุนที่เคลื่อนสู่ดัชนีการลงทุน ESG ยังคงดำเนินต่อไป กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (GPIF) ของญี่ปุ่น มูลค่า 1.36 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ใช้แนวทางที่แตกต่าง การลงทุน ESG กองทุนดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการคัดกรองเชิงลบ (โดยตัดบริษัทที่ไม่มีนโยบายสอดคล้องกับเป้าหมาย ESG ออกไป) แต่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับบริษัท ในเรื่องนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแทนการขายเงินลงทุน
กองทุนนี้ให้ความสำคัญอย่างมากกับบริษัทที่มี Carbon Efficiency สูง และมีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยที่เหมาะสมและ บริษัท ที่มีน้ำหนักน้อยซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในหมู่รัฐบาลทั่วโลกที่จะมุ่งเน้นการลงทุน ESG แต่กลยุทธ์ของญี่ปุ่นนั้นโดดเด่นเนื่องจากขาดการคัดกรองเชิงลบ
เกาหลีใต้
งานด้านบำเหน็จบำนาญของรัฐบาลเกาหลีใต้ (GEPS) มีงบประมาณจำนวน 100 พันล้านวอน (88.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยให้กองทุนหุ้นทุนพิจารณาปัจจัย ESG ในการลงทุนมาตั้งแต่ปี 2018 อย่างไรก็ตามจากปี 2018-2019 กองทุนนี้มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าอีก 9 กองทุนในเกาหลีที่พิจารณาปัจจัย ESG ด้วย
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวมของทั้ง 10 กองทุนลดลง 22.2% เหลือเพียง 140.7 พันล้านวอน (125.19 ล้านเหรียญสหรัฐ) แม้ว่าโดยทั่วไปกลยุทธ์การลงทุนของเกาหลีใต้จะเป็นตัวบ่งชี้ Global Trend แต่ผลการดำเนินงานของกองทุนเหล่านี้แสดงถึงความท้าทายสำหรับผู้สนับสนุนดัชนีการลงทุน ESG
จีน
กองทุนของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในจีนรวมถึง China Investment Corp (CIC) ผู้บริหารเงินบำนาญและสำนักงานประกันสังคมแห่งชาติยังไม่ได้กำหนดเป้าหมาย ESG ที่ชัดเจน แม้ว่ารัฐบาลจีนกำลังดำเนินการเพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับองค์กร ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของจีนได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ออกหุ้นกู้ต้องเปิดเผยความเสี่ยงด้าน ESG นอกจากนั้น จีนยังวางแผนที่จะขยายขอบเขตของหลักทรัพย์ รวมถึงสินเชื่อและพันธบัตรสีเขียว ขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้เข้าร่วมการริเริ่มโครงการ Sustainable Stock Exchanges ของสหประชาชาติ
จีนยังเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมระดับโลกที่สนับสนุนการขับเคลื่อนโดยกระตุ้นองค์กรที่มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ ESG ชัดเจน โดยปักกิ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกของหลักการลงทุนสีเขียวสำหรับโครงการ the Belt and Road เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม โครงการนี้นำผู้นำโลกจากกว่า 150 ประเทศมารวมกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับเป้าหมายการลงทุนสีเขียว
ที่มา