28 กุมภาพันธ์ 2563… “เสื้อที่ผมใส่ ก็ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลผสมไหม” ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ซีอีโอ GC ยกตัวอย่างสิ่งใกล้ตัว ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์เปลี่ยนโลก มุ่งสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
GC ได้รับการจัดอันดับเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) หรือ DJSI ปี 2019 โดยได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วย Percentile 100 และอยู่ในระดับ Top 10 ของ DJSI World และ Emerging Markets ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ (Chemical Sector) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7
“เรื่องการลงทุนด้าน Sustainability ถือเป็นการลงทุนระยะยาว และทุกคนกำลังตระหนักมากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง GC ทำเรื่องนี้มานาน จึงมีการสั่งสมประสบการณ์การดำเนินการด้านนี้มาโดยตลอด และการทำเรื่องนี้จะต้องมีความเข้มข้นเข้าสู่กระบวนการทำงานในทุกธุรกิจของเราต่อไป”
ดร.คงกระพัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เริ่มต้นอธิบายถึงภาพใหญ่ในการดำเนินธุรกิจของ GC ทั้งนี้ ตามทิศทางการดำเนินงานของปี 2563 เป็นการทำผ่านกลยุทธ์ 3 Steps โดย 1 ในนั้นคือ Step Up
Step Up : สานต่อแนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่ง GC ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวคิด GC Circular Living โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อความยั่งยืนสูงสุด และต่อยอดบูรณาการให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ในทุกธุรกิจและกระบวนการของบริษัท
“เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็น Step Up เพราะเราเห็นถึงความสำคัญต้องยกระดับทำอย่างเต็มที่ ซึ่งผู้เล่นหลายรายต้องทำเรื่องนี้ให้ดี เราเองก็เช่นกัน สิ่งที่ GC โฟกัสเพื่อสร้างความยั่งยืนมี 2 ประเด็นหลัก คือ การลดก๊าซเรือนกระจก และ การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาปรับใช้”
1.การลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
“GC มุ่งมั่นในการผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายชัดเจนในด้านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) จากกระบวนการผลิตของบริษัทฯ โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ใน 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน สอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย และยังตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 52% ภายในปี 2593 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของโลกในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส”
ดร.คงกระพันกล่าวต่อเนื่องถึงผลิตภัณฑ์ที่ GC ดำเนินการผลิต ได้รับการรับรองเครื่องหมาย Carbon Footprint และ Carbon Footprint Reduction จาก องค์การก๊าซเรือนกระจก (TGO) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง GC มีการวางเป้าหมายที่จะมีผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Performance & Green Chemicals) เพิ่มเป็น 30% ภายในปี 2573 และยกเลิกการผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งใน 5 ปีข้างหน้าต่อไป ระดับ Top 10 ของ DJSI World และ Emerging Markets ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ (Chemical Sector) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7
2.การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ ซึ่งครอบคลุมใน 3 ส่วนหลักที่จะต้องอยู่ใน Performance ของบริษัทประกอบด้วย
• Smart Operating: สร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและนำมาหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
• Responsible Caring: เป็นการพัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดประสิทธิภาพการใช้งานยาวนานมากที่สุด โดยไม่ผลิตสิ่งที่ใช้แล้วทิ้ง
• Loop Connecting: เพิ่มพลังความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย และเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร โดยขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจรในโครงการ Upcycling by GC
ดร.คงกระพันยกตัวอย่างในส่วน Loop Connecting ที่ลงมือทำ และเห็นผลแล้วเช่น
- โครงการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า โดย GC สนับสนุนในด้านการจัดการขยะ และยังได้ร่วมกับวัดจากแดงในการผลิตจีวรจากพลาสติกรีไซเคิล โครงการธนาคารทิ้ง-ไซเคิล (ThinkCycle Bank)
- โครงการ Waste This Way ร่วมจัดการขยะในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้จำนวน 18,121 กิโลกรัม เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ จำนวน 2,013 ต้น
- โครงการทดสอบและพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) กับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศให้กับประชาชน
พร้อมกันนี้ ในเนื้อธุรกิจที่กำลังดำเนินงานอย่างเข้มข้นคือ โครงการพลาสติกรีไซเคิล เป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง GC Circular Living โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว มาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการรีไซเคิล (Recycle)ได้เม็ดพลาสติกคุณภาพสูงระดับ Food-Grade และ Packaging-Grade
- ร่วมมือกับพันธมิตร แอลพลา (ALPLA) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับโลก ปฏิวัติการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
- ตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO Limited) ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูง ชนิด rPET ขนาด 30,000 ตันต่อปี และ rHDPE ขนาด 15,000 ตันต่อปี จะเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2563 และคาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2564 มูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท
“GC Circular Living จึงเป็นสิ่งที่อยู่กับพนักงานเรา กับพาร์ทเนอร์เรา กับลูกค้า เรา เป็นการใช้ในชีวิต ประจำวัน ทำให้แบรนด์ GC ทำ Circular Living ให้ใกล้ชิด ใกล้ตัว ใช้ได้จริง” ดร.คงกระพัน กล่าวในท้ายที่สุด