16 พฤศจิกายน 2561…คนเอเชียจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคเบาหวาน ส่วนสังคมสูงวัยไทยจ่ายค่ารักษาสุขภาพมากขึ้น กระทบให้ขนาดของเศรษฐกิจไทยใน10ปีข้างหน้าลดลงราว -4.4% อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การขยายตัวของจำนวนประชากรสูงวัยร่วมกับความแพร่หลายของโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases) เป็นปัจจัยที่ทำให้การจัดสรรทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นเรื่องท้าทายอย่างต่อเนื่อง
ในทศวรรษหน้า คนเอเชียจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคเบาหวาน ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกนั้นต้องสั่นคลอน
คาดการณ์ว่า จะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานในเอเชียเป็นจำนวนสูงถึง 350 ล้านคนภายในปีพ.ศ.2583 หรือเพิ่มขึ้นราว 110 ล้านคนภายในระยะเวลาเพียงแค่ประมาณ 22 ปีเท่านั้น
ภายในปีพ.ศ. 2568 ราว 80% ของการเสียชีวิตของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชีย สาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อคือทั้ง 3 โรคที่เราคุ้นเคยข้างต้น
ในเวลาเดียวกัน เราจะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุในเอเชียยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ภายในปีพ.ศ.2573 เอเชียจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุในปีพ.ศ.2558 สิ่งนี้จะเพิ่มความยุ่งยากให้กับระบบเศรษฐกิจและการดูแลรักษาสุขภาพของทั่วทั้งเอเชีย
สำหรับในประเทศไทย แนวโน้มของจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ขนาดของเศรษฐกิจไทยภายในทศวรรษหน้าลดลงราว -4.4% อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การสนองตอบความต้องการดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องท้าทาย ในอีก 10 ปีข้างหน้า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะขาดแคลนบุคลากรด้านการดูแลรักษาสุขภาพเกือบถึง 18 ล้านคน ซึ่งปัญหานี้จะยิ่งแย่ลงเนื่องจากขาดระบบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ขาดความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และมีงบประมาณในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานนี้คาดว่าจะยิ่งขยายขึ้นเรื่อย ๆ ทุก ๆ ปี
นี่คือสิ่งที่ วงการดูแลสุขภาพกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่