30 มกราคม 2564…นักลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและธรรมาภิบาล (ESG) คาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่การหาแนวทางใหม่ในประเด็นความเหลื่อมทางสังคมในปี 2021 เนื่องจากแนวทางดั้งเดิมในการจัดการกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายใต้กรอบ ESG ได้แสดงให้เห็นช่วงการระบาดใหญ่ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหา ส่งผลให้นักลงทุนหันมาใช้เป้าหมายการพัฒนาสังคม (SDGs) ของสหประชาชาติเพื่อกำหนดแนวทางแทน
นอกจากนั้น พวกเขายังต้องยอมรับความเสี่ยงบางเรื่อง จากการใช้วิธีการใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากการแก้ปัญหาการลงทุนสําหรับปัญหาทางสังคมค่อนข้างแตกต่างจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาล
รายงานเรื่อง “2021 ESG Trends to Watch” ของ MSCI ระบุว่า ความท้าทายสําคัญสําหรับนักลงทุนเป็นเรื่องความเครียด ระหว่างความปรารถนาเพื่อให้ได้ผลที่สร้างความมั่นใจว่า การลงทุนจะมีผลลัพธ์ทางสังคมที่ต้องการ และความจําเป็นในการลองสิ่งใหม่ ๆ ก่อนที่จะสามารถพัฒนาคําจํากัดความ และเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนได้
นักลงทุนยังเห็นภาพไม่ชัดเจนว่า อะไรคือข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่ถูกต้องตามกฎหมายและสิ่งที่อาจเป็น social washing
ทั้งนี้ ก่อนการระบาดใหญ่ ยามที่นักลงทุนเข้าร่วมลงทุนประเด็นทางสังคมมักจะได้มีส่วนร่วมกับแต่ละบริษัท ส่วนใหญ่ มักมีโอกาสเปลี่ยน Practice หรือแนวทางปฎิบัติเดิมของพวกเขา แต่บางครั้ง มันก็อาจไม่เพียงพอ เมื่อปัญหามีความเป็นระบบ. วิธีการใหม่บางอย่างนำมาซึ่งความท้าทาย ซึ่งขยายเกินกว่าขอบเขตที่เดิมเรียบง่ายของแต่ละบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกทางการเงินเดิม ๆ เช่น พันธบัตรทางสังคม หรือ Social Bonds.
อย่างไรก็ตาม MSCI เตือนว่าการหาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริงสําหรับการแก้ไขปัญหาทางสังคมและการจัดหาเงินทุนภายในกรอบ ESG จะทําให้นักลงทุนเต็มใจที่จะเสี่ยงต่อความล้มเหลวเล็กน้อยระหว่างทาง
รายงานของ MSCI ยังระบุต่อไปอีกว่า “เสมือนหนึ่ง Covid-19 ได้กดนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบนช่วง 1% ของสเกลระดับความมั่งคั่ง ซึ่งผลก็คือ แทบไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เลย เมื่อเทียบกับช่วง 1 ทศวรรษของการต่อสู้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันมากขึ้นในสังคม”
แม้จะเป็นแค่ค่าทางด่วน ก็สามารถนับคำนวณว่าเป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมหรือไม่ ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เครื่องมือทางการเงินที่นักลงทุนทั่วไปใช้อยู่ก็ไม่เคยพร้อมสำหรับจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเลย
การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ตัวอักษร “S” ใน ESG นั้น มีบริบทแตกต่างจากปัญหาด้านธรรมาภิบาลและสิ่งแวดล้อมทั่วไป ตัวอย่างเช่น ปัญหาการกํากับดูแลของ บริษัท มีแนวโน้มที่จะเป็นรูปธรรมในช่วงเหตุการณ์เชิงลบเช่น เรื่องอื้อฉาวการลาออก หรือการเบิกเงินที่สําคัญ ในทางตรงกันข้าม การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี สามารถประจักษ์เองจากความสามารถในการแข่งขัน และมูลค่าราคาหุ้นของแต่ละบริษัทที่ค่อยๆลดลงทีละเล็กทีละน้อย
แต่เมื่อ บริษัท พบปัญหาทางสังคม เช่น การจัดการแรงงาน พวกเขาอาจได้รับผลกระทบจากทั้งสองฝ่ายด้วยปรากฎการณ์เชิงลบในแต่ละห้วงเวลา เช่น การฟ้องร้อง การนัดหยุดงาน ผลิตภาพที่ลดลง และนวัตกรรมที่ไม่ลื่นไหลเหมือนอดีต
รายงานของ MSCI ยังเพิ่มเติมว่า “การดําเนินการของบริษัทเป็นจุดสําคัญ แต่ก็มีข้อจํากัดในสิ่งที่บริษัทแต่ละแห่งสามารถทําได้ในการจัดการกับต้นเหตุของความไม่เท่าเทียมกัน ตราบใดที่ต้นเหตุยังคงอยู่ ความไม่เท่าเทียมกันและความเสี่ยงก็ยังคงอยู่เช่นกัน ซึ่งเราก็จะเห็นนักลงทุนถูกปลุกขึ้นมาพบความเป็นจริง และเริ่มเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น”
ประการแรกนักลงทุนบางรายหันมาใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) เป็นกรอบในการพัฒนาแนวทางของพวกเขาในการให้คำจำกัดความเรื่องความไม่เท่าเทียม
แม้จะเหลือเพียง SDG 10 (ลดความเหลื่อมล้ำภายใน และในหมู่ประเทศ) โดยเน้นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เป้าหมายปัญหาที่เกี่ยวข้องเช่นความยากจน (SDG 1), ความหิว (SDG 2), สุขภาพ (SDG 3), การศึกษา (SDG 4), ความเท่าเทียมทางเพศ (SDGs และการทํางานที่ดี (SDG 8)
รายงานของ MSCI ชี้ว่า ไม่ว่าจะมองในมุมของแรงจูงใจ คือ การลดความเสี่ยงหรือความรู้สึกเรื่องความยุติธรรมก็ตาม นักลงทุนจำนวนมากต่างก็กําลังเฝ้ามองเรื่องการจัดสัดส่วนพอร์ตโฟลิโอของพวกเขาให้เหมาะสม ไม่ว่ามันจะออกมาเป็นบวกหรือลบกับแต่ละ SDGs เพราะการสรุปครั้งแรกที่พวกเขาอาจจะทั้งดีมากและแย่มากก็เป็นไปได้
“เช่น นักลงทุนบางรายอาจตัดสินใจมุ่งเน้นไปที่ SDGs ที่เฉพาะเจาะจงเช่นงานที่ดี (SDGs 8) เป็นรากฐานสําคัญของความคืบหน้า เพราะเงินลงทุนภาคเอกชนบรรลุเป้าหมายได้ชัดกว่าวิธีอื่น ที่ดูเหมือนกระจัดกระจายก็เป็นได้”
ประการที่สองในช่วงปีที่ผ่านมา ในตลาดมีการนำเสนอพันธบัตรทางสังคมจำนวนมาก ซึ่งหลายคนมุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบเชิงลบของการระบาดใหญ่
สัญญาณเริ่มต้นเผยให้เห็นความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนสําหรับเครื่องมือเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นในเดือนตุลาคม 2020 สหภาพยุโรปออกพันธบัตรทางสังคมมูลค่า 17 พันล้านยูโร ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นการออกพันธบัตรมูลค่ารวมสูงสุดเท่าที่เคยมีมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
พันธบัตรเหล่านี้ มุ่งเป้าไปที่บรรเทาปัญหาการระบาดใหญ่ รวมถึงเชื่อมโยงกับ SDG 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) และ SDG 8 (การทํางานที่ดี และการเติบโตทางเศรษฐกิจ) อย่างชัดเจน ขณะที่การตอบรับของตลาดก็สามารถใช้คำว่าล้นหลาม
ในที่สุดแล้ว โซลูชั่นเน้นนวัตกรรมตามแนวทาง SDGs จำเป็นต้องมีทัศนคติที่ปราศจากความกลัว
ที่มา