NEXT GEN

🏳️‍🌈👩‍❤️‍👩👨‍❤️‍👨💖23 มกราคม 2568 จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์”สมรสเท่าเทียม”ในประเทศไทย

3 มกราคม 2568…ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้เตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้วสำหรับการให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมตามกฎหมายใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อของ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม”


อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมการปกครองจัดการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านข้อกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติ และการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่ต้องการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายใหม่

กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการปรับปรุงระเบียบการจดทะเบียนครอบครัว รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ นายทะเบียน และทดลองระบบคอมพิวเตอร์ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าในวันที่ 23 มกราคม 2568 ที่ว่าการอำเภอและสำนักงานเขตทั่วประเทศจะพร้อมให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

ไตรศุลี กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายและกรอบระยะเวลาอย่างครบถ้วน เพื่อให้การประกาศใช้กฎหมายและการให้บริการเป็นไปอย่างราบรื่น และเน้นย้ำว่ากระทรวงพร้อมสนับสนุนสิทธิที่เท่าเทียมกันของทุกคู่สมรส

ข่าวนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสู่ความเท่าเทียมทางกฎหมายในประเทศไทย

*จดทะเบียนสมรสแล้วมีสิทธิอะไรบ้าง

1.คู่สมรสมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
2. คู่สมรสมีสิทธิในการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสอีกฝ่าย
3. มีสิทธิจัดการทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส หรือที่เรียกว่าสินสมรสร่วมกัน
4. มีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน มีสิทธิรับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
5. มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
6. สามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ตามกฎหมาย เมื่อพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสและชู้
7. ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
8. คู่สมรสที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
9. การจดทะเบียนสมรสทำให้คู่สมรสฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกโจรปล้น คู่สมรสอีกฝ่ายก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแทนได้

You Might Also Like