17 เมษายน 2563…ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง จะได้รับผลกระทบอย่างหนักท้ังในแง่การประคับประคองกิจการ การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากการทำงานท่ีลดลง
-มาตรการภาครัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ประกาศใช้ทั้งมาตรการ Lockdown และ การรณรงค์ด้าน Social Distancing มีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจและการจ้างงาน
– สาหรับตลาดแรงงานไทยพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างสูงสุด และกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมดเป็นการจ้างงานในธุรกิจ SME ซึ่งมีความเปราะบางกว่าธุรกิจรายใหญ่
-KKP Research คาดว่าในกรณีที่สถานการณ์การระบาดชะลอลงภายในสิ้นไตรมาส 2 แต่ยังมีมาตรการ Lockdown บางส่วนต่อเนื่องในไตรมาส 3 จะส่งผลให้มีการเลิกจ้างหรือถูกพักงานโดยไม่มีรายได้ เพิ่มสูงสุดถึง 4.4 ล้านคน ส่งผลให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.9 ล้านคน (13.2% ของแรงงานไทย) และยังมีความเสี่ยงต่อการ เลิกจ้างเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้
– รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจรักษาการจ้างงาน เร่งลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ และเสริม ทักษะแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นได้โดยเร็วเมื่อสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย เพิ่มเติมจากมาตรการเชิงเยียวยาที่ทยอยออกมาก่อนหน้านี้
COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างท่ีไม่เคยปรากฏมาก่อน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มีลักษณะเฉพาะ และแตกต่างจากวิกฤตเศรษฐกิจอื่น ๆ ท่ี เคยมีมา เนื่องจากเป็นวิกฤตทางสุขภาวะที่กระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นปกติ กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริง ลดลงอย่างรุนแรง อีกทั้งการระบาดท่ีเกิดข้ึนเป็นวงกว้างทั่วโลก ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศตัดสินใจปิดประเทศ และออกมาตรการให้ประชาชนอยู่บ้าน (lockdown) หรือรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) กลายเป็นความเสี่ยง จากนโยบายที่กระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคบริการท่ีจาเป็นต้องมีการติดต่อพบปะกัน (physical presence) ในการดาเนินธุรกิจ (อ่านเพิ่มเติมใน KKP Insight “จากภัย COVID-19 สู่ความเสี่ยงวิกฤตรอบใหม่”)
ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง จะได้รับผลกระทบอย่างหนักท้ังในแง่การประคับประคองกิจการ การว่างงานที่ เพิ่มขึ้น และรายได้จากการทำงานท่ีลดลง
ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอาจแจกแจงได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่
1) การถูกส่ังปิดกิจการชั่วคราวโดยอานาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
2) รายรับท่ีลดลงอย่างมากจากมาตรการ lockdown หรือการรณรงค์ให้มีระยะห่างทางสังคม
3) กระบวนการผลิตชะงักงันจากการรับมอบวัตถุดิบหรือส่งมอบสินค้าท่ีไม่เพียงพอหรือไม่ทันการ (supply chain disruption)
4) ลูกค้าธุรกิจชะลอการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ (trade credit) ซึ่งในแต่ละกรณีจะส่งผลต่อการตัดสินใจด้านการจ้างงานของนายจ้าง ทั้งในแง่จานวนการจ้างงานหรือการปรับลดชั่วโมงทำงาน (ตารางท่ี 1) เพราะค่าจ้างถือเป็นต้นทุนในการดำเนินงาน (operating cost) หลักในหลายธุรกิจ ผลกระทบจากการลดการจ้างงานจะสูงที่สุดใน กลุ่มลูกจ้างท่ีไม่อยู่ในระบบประกันสังคม (มาตรา 33) เช่นเดียวกับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่รายได้จะลดลงอย่างมากจากกำลังซื้อที่หดตัว
แรงงานนอกระบบประกันสังคมมาตรา 33 และแรงงานที่ อยู่ในธุรกิจ SME เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างเป็นลำดับแรก
การจ้างงานมากกว่าครึ่งหนึ่งในตลาดแรงงานไทยเป็นการจ้างงานนอกระบบ ซึ่งรวมถึงการจ้างงานเกือบทั้งหมดในภาคเกษตร (24%) และแรงงานท่ีไม่ได้ลงทะเบียนในระบบประกันสังคม (31%) (รูปที่ 1)
และหากนับรวมแรงงาน และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ประกันตนเองโดยสมัครใจในระบบประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการว่างงานแล้ว (10%) เท่ากับว่าในการจ้างงานทั้งหมดประมาณ 38 ล้านคน มีแรงงานถึงราว 2 ใน 3 ที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองและค่าชดเชยใด ๆ ทั้งจากนายจ้างและระบบประกันสังคมในกรณีถูกเลิกจ้าง แรงงานนอกระบบจึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างฉับพลันสูงสุดในกรณีที่ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บันเทิงและนันทนาการ ค้าปลีกและค้าส่งที่มีการจ้างงานนอกระบบสูงกว่าค่าเฉลี่ย (รูปที่ 2) และยังเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 สูงท่ีสุด
ยิ่งไปกว่านั้น การจ้างงานกว่า 70% ในโครงสร้างแรงงานไทยเป็นการจ้างงานในธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม หรือ SMEs ที่มักมีสถานะทางการเงินและทางเลือกในการระดมทุนจากัดกว่าธุรกิจ รายใหญ่ อีกทั้งการจ้างงาน SME มีความเข้มข้นสูงในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 (รูปที่ 3) จึงมี โอกาสจะได้รับผลกระทบในแง่การจ้างงานหรือรายได้สูง
ประเมินผลกระทบจาก COVID-19
ภาคธุรกิจใดจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดจาก COVID-19 ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจว่าอ่อนไหวเพียงใดต่อภาวะ เศรษฐกิจและมาตรการของภาครัฐ เราใช้เกณฑ์ 3 ด้านในการพิจารณาความรุนแรงของผลกระทบ ได้แก่
1) ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็น (discretionary spending) ซึ่งจะถูกตัดออกจากการใช้จ่ายเป็นลำดับต้น ๆ ในภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย
2) ความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจจากที่บ้าน (work from home)
3) ความสามารถในการขายสินค้าหรือ บริการแก่ลูกค้าภายใต้การรักษาระยะห่างทางสังคม (value delivery under social distancing)
การประเมินภายใต้เกณฑ์ ร่วมทั้ง 3 ด้านน้ี พบว่าภาคธุรกิจท่ีคาดว่าจะได้รับผลกระทบต่อการจ้างงานมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ การขนส่ง การค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ (ตารางที่ 2) ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากรายได้หดตัว แรงงานปรับรูปแบบเป็นการทางานจากที่บ้านได้ยาก และมีช่องทาง ค่อนข้างจำกัดในการส่งสิ นค้าหรือบริการโดยไม่ต้องพบปะกัน
KKP Research คาดการว่างงานจะพุ่งสูงถึงกว่า 5 ล้านคน
ภายใต้สมมติฐานที่สถานการณ์การระบาดจะชะลอลงภายในสิ้นไตรมาส 2 แต่ยังคงมีมาตรการปิดเมืองบางส่วนต่อเนื่องในไตรมาส 3 และใช้ระดับการประเมินผลกระทบรายธุรกิจตามเกณฑ์ข้างต้น ประกอบกับการปรับให้แรงงานนอกระบบได้รับ
ผลกระทบมากกว่าแรงงานในระบบในแต่ละภาคธุรกิจ เราคาดว่าจะมีการเลิกจ้างงานหรือถูกพักงานโดยไม่มีรายได้ เพิ่มข้ึน จาก COVID-19 อีกกว่า 4.4 ล้านคน ส่งผลให้การว่างงานโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.9 ล้านคนหรือคิดเป็น 13.2% ของกำลังแรงงานไทย (รูปท่ี 4) โดยภาคธุรกิจท่ีจะมีการเลิกจ้างหรือพักงานมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ธุรกิจโรงแรมและบริการอาหาร ซึ่งคาดว่าจะมีการจ้างงานลดลงถึง 1.5 ล้านคน (-25%) และ 9.9 แสนคน (-34%) ตามลำดับ (รูปที่ 5)
นอกจากนี้ การจ้างงานในธุรกิจบันเทิง ก่อสร้าง และธุรกิจขนส่ง จะได้รับผลกระทบสูงถึงราว 24-28% ขณะที่ในภาคการผลิต ท่ีได้รับผลกระทบทั้งจากคำสั่งซื้อจากในและต่างประเทศที่ลดลง การติดขัดในห่วงโซ่การผลิต และสต๊อกสินค้าคงคลังเดิมที่อยู่ ในระดับสูง คาดว่าการจ้างงานจะลดลง 5.8 แสนคนหรือ 10% จากระดับการจ้างงานก่อนสถานการณ์ COVID-19 ท้ังนี้ ยังมี ความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างเพิ่มข้ึนหากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าท่ีประเมินไว้
ภาคการเกษตรไม่อาจเป็นแหล่งรองรับแรงงาน จากเมืองได้เหมือนแต่ก่อน
แรงงานท่ีถูกเลิกจ้างในภาคบริการและภาคการผลิต จะประสบปัญหาในการหางานใหม่ในเขตเมืองในห้วงเวลาที่ทุกองคาพยพของเศรษฐกิจไทยต่างได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในขณะที่ภาคเกษตรท่ีเคยเป็นแหล่งรองรับการไหลกลับของแรงงานจากเมืองจากวิกฤตคราวก่อน ๆ อาจไม่มีความสามารถในการจุนเจือรายได้ให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้าง ท้ังด้วยจำนวนผู้ที่จะตกงานท่ีคาดว่าจะสูงเป็นประวัติการณ์
ด้วยปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลต่อเนื่องให้ปริมาณผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักลดลง (รูปที่ 6) โดยเฉพาะ ข้าวซึ่งแม้ราคาตลาดโลกจะเพิ่มสูงข้ึนมาก แต่ครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งชลประทานได้ หรือยังประสบภาวะภัยแล้ง จึงไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ เพียงพอต่อการสร้างรายได้
นักศึกษาที่กำลังจบใหม่ จะไม่สามารถหางานได้หรืออาจต้องทางานต่ำกว่าระดับความสามารถ
KKP Research คาดว่าในช่วงกลางปีนี้ จะมีนักศึกษาจบใหม่ที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานราว 340,000 คน อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจทำให้มีเพียงราว 1 ใน 3 ของบัณฑิตจบใหม่เหล่านี้ท่ี สามารถหางานท่ีเหมาะสมกับระดับทักษะได้ โดยจะเป็นกลุ่มที่ศึกษามาในสายวิชาชีพหรือเทคโนโลยี ท่ียังเป็นที่ต้องการในหลายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจสารสนเทศ และการสื่อสารที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง และได้รับผลกระทบจำกัดจากสถานการณ์ COVID-19
บัณฑิตจบใหม่จำนวนมาก อาจจำเป็นต้องเลือกทำงานต่ำกว่าระดับ หรือตัดสินใจไม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน และยังขาดช่องทางในการเสริมทักษะจากความไม่พร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นค่าเสียโอกาสสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะหาก เศรษฐกิจต้องอยู่ในภาวะชะงักงันเป็นเวลานาน
รัฐควรมีมาตรการสนับสนุนการจ้างงาน เพื่อใหเ้ ศรษฐกิจกลับฟื้นขั้นได้โดยเร็ว เมื่อสถานการณ์ COVID-19 เร่ิมคลี่คลาย
มาตรการจากทางการท่ีออกมาก่อนหน้าน้ี ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเงินโอน 5,000 บาท (“เราไม่ทิ้งกัน”) การพักชาระหน้ี ชั่วคราว หรือการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่า (Soft loans) ผ่านสถาบันการเงินให้แก่ธุรกิจ เป็นมาตรการเชิงเยียวยาเพื่อบรรเทา ผลกระทบต่อลูกจ้างและภาคธุรกิจ โดยมีการจ้างงานเป็นเพียงเหตุผลหน่ึง แต่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขหลักในการขอรับความช่วยเหลือ อีกท้ังข้อมูลของภาครัฐที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดพลาด ยังทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติท้ังที่ความช่วยเหลือจำเป็นต้องถึงมือผู้ท่ีประสบปัญหาจริง และด้วยความรวดเร็วทันการ จึงอาจก่อให้เกิดภาระแก่รัฐมากเกินความจำเป็น (Moral Hazard and Inefficiency)
มาตรการเชิงรุกเพื่อรักษาการจ้างงานของภาคธุรกิจ
KKP Research มองว่า นอกจากมาตรการเชิงเยียวยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทางการควรมีมาตรการเชิงรุกเพื่อรักษาการ จ้างงานให้อยู่ระดับที่พร้อมต่อการขับเคลื่อนธุรกิจเมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งอาจทำได้โดย
1) การกำหนดเงื่อนไขในการรักษาระดับการจ้างงานขั้นต่ำในการขอรับความช่วยเหลือ โดยอาจมีข้อยกเว้นได้ในบางกรณี
2) การอุดหนุน การจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างเป็นสัดส่วนตามผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากคำสั่งปิดเมืองของภาครัฐ
3) การออกแบบโครงสร้างความช่วยเหลือให้ผู้ที่อยู่ในการจ้างงาน และธุรกิจที่คงตำแหน่งงาน ได้รับประโยชน์จากมาตรการไม่น้อยไปกว่าการพักงานหรือการเลิกจ้าง เพื่อลดปัญหา Moral Hazard
4) สนับสนุนให้แรงงานนอกระบบเข้าระบบประกันตนเองในภาคสมัครใจเพิ่มมากขึ้น โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อเป็นแรงจูงใจมากกว่า การสงเคราะห์อุดหนุนจากภาครัฐในแบบเดิม โดยอาจให้หน่วยงานของรัฐจ่ายเงินสมทบ เพื่อลดภาระทางการคลังในอนาคต และเพื่อสร้างฐานข้อมูลด้านการจ้างงานที่ครอบคลุมและถูกต้อง พร้อมต่อการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีในระยะต่อไป
เร่งสร้างงานในท้องถิ่นและส่งเสริมการเพิ่มทักษะใหม่
นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างเพื่อให้แรงงานยังสามารถรักษาทักษะ มีรายได้ และเเพิ่มทักษะใหม่เพื่อรองรับงานประเภทใหม่ได้ ทั้ง
1) การขยายการลงทุนในท้องถิ่นเพื่อสร้างตำแหน่งงานใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์จริงต่อเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง หรือลงทุนด้านระบบบริหารจัดการน้ำในเขตอุตสาหกรรม อีกทั้งอาจลงทุนในด้านสุขอนามัย และเวชภัณฑ์ มีการจ้างงาน ด้านสาธารณสุขเพื่อเป็นผู้ให้ความรู้ หรือรณรงค์ด้านอนามัย หรือเป็นผู้ช่วยแพทย์และพยาบาล ในห้วงเวลาปัจจุบันท่ีโรค COVID-19 และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจะยังดำรงอยู่ไปอีกพักหน่ึง
2) การเสริมทักษะแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อให้แรงงานสามารถพัฒนาศักยภาพของตน หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อประโยชน์ในการหางานในอนาคตเมื่อสถานการณ์ COVID-19 บรรเทาลง โดยโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นควรมีการปรึกษาร่วมกันทั้งในแง่ความต้องการและความเป็นไปได้กับ หน่วยงานท้องถิ่น และอาจเป็นการต่อยอดจากโครงการเดิมหากยังมีอยู่เพื่อสร้างงานและเพิ่มเม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจได้โดย เร็วที่สุด