27 ธันวาคม 2563… เพื่อสนับสนุนความพยายามในการย้อนทวนวงจรความอุดมสมบูรณ์ของทะเลที่ลดลง และรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับท้องทะเลทั่วโลก ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกัน ที่จะทำให้แน่ใจว่าวิทยาศาสตร์ทางทะเลสามารถสนับสนุนบรรดาประเทศต่าง ๆ ในการปรับปรุงเงื่อนไขที่กำลังคิดค้นขึ้น สำหรับการพัฒนาที่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ดินแดนทางทะเลเป็นส่วนประกอบใหญ่ที่สุดของระบบโลก เป็นปัจจัยที่รักษาสภาพอากาศให้คงที่ สนับสนุนการดำรงชีวิตบนโลก และความเป็นอยู่ของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม องค์กร First World Ocean Assessment ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลเมื่อปี 2016 ระบุว่า ขณะนี้ท้องทะเลส่วนใหญ่เสื่อมโทรมอย่างมาก โดยมีการเปลี่ยนแปลง และการสูญเสียโครงสร้างหน้าที่และผลประโยชน์ของระบบ
นอกจากนี้ ผลกระทบซึ่งเกิดมาจากแรงกดดันหลายปัจจัยต่อท้องทะเลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคน ภายในปี 2050
ข้อมูลข้างต้น ทำให้การใช้กลยุทธ์การปรับตัว และการตอบสนองนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกกลายเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน
ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการตอบสนองของท้องทะเลต่อแรงกดดัน และบริหารจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การสังเกตการณ์และการวิจัยเกี่ยวกับท้องทะเล ยิ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำนายผลของการเปลี่ยนแปลงที่มีอย่างต่อเนื่อง การออกแบบที่เหมาะสม และแนวทางการปรับตัว
ทั้งนี้ ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (the Intergovernmental Oceanographic Commission -IOC) ของยูเนสโก จะทำหน้าที่ประสานการเตรียมการ โดยเชิญชวนให้ประชาคมทั่วโลกวางแผนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล รวมถึงเทคโนโลยี สำหรับ 10 ปีข้างหน้า เพื่อส่งมอบท้องทะเลที่มนุษยชาติต้องการ เพื่ออนาคตที่ทุกคนต้องการร่วมกัน
ที่มา