NEXT GEN

เคยรู้สึกไหม? วัย 30 อยากจะคืนถิ่น ในฐานะ Smart Farmer

7 มกราคม 2562…เวที “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ตลอด 10 ปี ได้เห็นสิ่งที่พาดหัวเรื่องนี้ต่อนื่อง ยิ่ง4 ปีผ่านมา มีอดีต“พนักงาน” เป็น “เจ้าของสวนเกษตร” ชูจุดเด่นใช้ R&D สร้างสินค้า เครือข่ายในเวทีใกล้ชิดกันมาก

แม้ว่า จะไม่มีโอกาสติดตามเวที “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ตั้งแต่ปีแรกๆ ก็ตาม แต่ 4 ปีที่ได้ตามอย่างใกล้ชิด ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการพัฒนาอย่างเป็นนัยยะสำคัญ เมื่อคนหนุ่มสาวอยากจะเป็น “เจ้าของธุรกิจ” แล้วพ่อแม่พอมีเรือกสวนไร่นาอยู่บ้างแล้ว ดังนั้นการกลับบ้านเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ จึงเป็นความรู้สึกของใครหลายคน อยากจะทำ

บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เห็นเวทีนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยพันธมิตรที่ใกล้ชิดดีแทคมากที่สุดอย่างมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด การจับมือทำงานเพื่อสร้าง Smart Farmer อย่างเข้มข้นตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว จากผู้ชนะเลิศเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดสินค้าพื้นถิ่นแปรรูป มาเป็นเกษตรเจ้าของแบรนด์กาแฟ AKA AMA ได้รับรางวัลจากการประกวดเวทีระดับโลกด้านนกาแฟหลายเวที แล้วก็มาถึงปีที่แล้วผู้ชนะเลิศคือเกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่

ล่าสุด พิมพ์วรัตน์ เรืองประชา เกษตรกรไร่สตรอว์เบอร์รี จาก จ.สุพรรณบุรี ผู้ปลูกพืชเมืองหนาวในพื้นที่เขตร้อน คว้ารางวัลชนะเลิศเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2561 ชูจุดเด่น “ความกล้าคิดต่าง สานพลังชุมชน ฝ่าฟันอุปสรรคด้วยงานวิจัย”

ใครจะเชื่อว่า จะปลูกสตรอว์เบอร์รี่ได้ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี !? แต่ได้เกิดขึ้นแล้ว โดยมีการนำงานวิจัยด้านเทคโนโลยี และงานวิจัยทางการเกษตรจากสถาบันวิจัยเกษตรดอยปุยมาใช้

“เส้นแบ่งระหว่างความบ้า กับเป็นไปได้เป็นเส้นบางๆ เมื่อคิดจะปลูกสตรอว์เบอร์รี่ที่บ้าน และตัวเองไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวที่สถาบันวิจัยเกษตรดอยปุย แต่ศึกษาข้อมูล แล้วขึ้นไปขอคำปรึกษาว่าต้องการที่จะปลูกสตรอว์เบอร์รี่ที่บ้านสุพรรณบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ประสานงานจนกระทั่งพบอาจารย์ที่ทำงานวิจัยเรื่องนี้ แนะนำให้ลองปลูก ซึ่งก็ทำได้จริงๆ”

พิมพ์วรัตน์ ขยายความต่อว่า หลังจากมีไร่สตรอว์เบอร์รี่ ก็สร้างความตื่นตาให้กับชุมชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถี ไร่พิมพ์วรัตน์ สร้างรายได้ให้ชุมชน เป็นต้นแบบในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความคิดต่าง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ลลิดา คำวิชัย เกษตรกรชาวสวนมะม่วงแห่ง จ.สระแก้ว ในนาม “ไร่ ณ ชายแดน” ผู้นำในการรวมกลุ่มและพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงแก้วขมิ้นไร้สารเคมี ยึดหลักการตลาดนำการผลิต สร้างความเป็นเอกลักษณ์และสร้างรายได้ให้ชุมชน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 อาญาสิทธิ์ เหล่าชัย เกษตรกรนาข้าว “อารยะฟาร์ม” จ.ร้อยเอ็ด ผู้นำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ พลิกฟื้นผืนนาจากเกษตรเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำรวมกลุ่มวิสาหกิจผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ครบวงจร

ลักษณ์ วจนานวัช รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานมอบรางวัล “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” โดย บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด อเล็กซานดรา ไรช์ ระธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และทีมเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2561 ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เวที “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ครบรอบ 10 ปี ชูแนวคิด “ผู้นำเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” หนุนทำเกษตรยั่งยืน

บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวว่า “10 ปีของการดำเนินโครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เชิดชูเกษตรกรต้นแบบที่มีศักยภาพ พร้อมแบ่งปัน และเกิดการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรได้อย่างมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น เราได้เห็นพลังเครือข่ายเกษตรกรที่ก่อเกิดสิ่งใหม่ในหลากหลายมิติ เห็นความเข้มแข็งในชุมชนที่เพิ่มขึ้น คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรมากยิ่งขึ้น”

อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า เกษตรกรเผชิญความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ภาคการเกษตร ทั้งสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมผู้บริโภคและกลไกการตลาด ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้น

ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสังคมตามวิสัยทัศน์ Empowering Societies อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เอสเอ็มเอส โมบายแอปพลิเคชัน การตลาดออนไลน์ ตลอดจนเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง IoT และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งดีแทคเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรเผชิญหน้าการความท้าทายต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

“ดีแทคในฐานะผู้สนับสนุนโครงการฯ เล็งเห็นถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องภาคเกษตรกรไทย โดยเฉพาะกลุ่ม Young Smart Farmer ที่มีการรวมกลุ่มอย่างเหนียวแน่น และขยายแนวคิดการทำเกษตรครบวงจรในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนสู่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน” อเล็กซานดรากล่าว

ไม่เพียงเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวที “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ยังเห็นถึงเรื่อง CSV (Creative Share Value) ที่ดีแทคส่งต่อ Smart Farmer รายย่อย จำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งถ้าถอยอายุกลับไปได้สัก 22 ปี จะขอ กลับบ้านเป็น Smart Farmer !

 

You Might Also Like