4 กุมภาพันธ์ 2564…กว่า 10 ปีที่จัดงานประชุมสัมมนานานาชาติด้านความยั่งยืนของแบรนด์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดมาแล้วนั้น และ SD Perspectives มีโอกาสติดตาม จะแตกต่างอย่างมากจากครั้งล่าสุดที่จะจัด 24-25 ก.พ.นี้ โดยเป็นครั้งแรกที่ 4 ประเทศร่วมมือจัดงานพร้อมกันคือ ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และไทย และยังเป็นครั้งแรที่ประชุมแบบ Hybrid โดย On ground ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือจะเป็น Virtual และปีนี้เป็นครั้งแรกลงทะเบียน ดูและฟังฟรี!!
ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ Sustaianable Brands ประเทศไทย กล่าวกับ SD Perspectives ถึงการจัดงาน SB’2021ในปีนี้ว่า Sustainable Brands Global ต้องการที่จะผนึก Sustaianable Brands ในแต่ละภูมิภาค ร่วมกันถ่ายทอดแนวคิด กลยุทธ์ การลงมือทำกรณีศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของแบรนด์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการประชุมเช่นปีนี้ จะช่วยให้ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงมุมมอง ประสบการณ์ จากนักวิชาการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักCSR รวมถึงผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำในทุกระดับมากกว่า 40,000 คน และแบรนด์ชั้นนำของโลกมากกว่า 1,200 แบรนด์
“จากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนไป และอีกหลายเรื่องจะต้องปรับตัว แบรนด์ก็เช่นเดียวกัน SB’2021 ASIA PACIFIC ครั้งนี้จะจัดภายใต้แนวคิด Regenerative Brands. Better Future เน้นการปรับตัว ปรับ Business Model ปรับแบรนด์อย่างไร เพื่อก้าวสู่มิติใหม่ที่จะนำพาทุกคนทุกส่วนในสังคมไปสู่ความยั่งยืนร่วมกันเพื่ออนาคตที่ดีกว่า”
ดร.ศิริกุล ขยายความต่อเนื่องของ Regenerative Brands อนาคตของแบรนด์จะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อแบรนด์ต้องรู้จักปรับตัวเองให้มีคุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางแบรนด์อาจจะปรับเพียงบิสสิเนส โมเดล เช่น ไม่เคยใช้ช่องทางดิจิทัล ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะเข้าช่องทางนี้ จุดที่เป็น Resilient หรือความยืดหยุ่นที่จะทำให้แบรนด์นั้น ๆ ต่อยอดได้ และจะอยู่จุดใด ในปีนี้ Sustaianable Brands จะถูกสื่อสารเรื่องนี้ตลอด เพราะแบรนด์จะต้องมีการปรับตัว
สำหรับผู้สนใจที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้ว ช่วงเช้าของวันที่ 24 และ 25 กุมภาพันธ์ จะได้พบกับผู้นำทางความคิดระดับโลกมากมาย อาทิ KoAnn Vikoren Skrzyniar (Founder/CEO Sustainable Brands Worldwide), Marc Buckley (UN SDG Advocate), Thomas Kolster (Goodvertising) รวมถึงดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในส่วนภาคบ่ายเฉพาะประเทศไทย จะเป็นประเทศเดียวที่จะจัด Workshop สำหรับผู้มี Passion เรื่อง Circular Economy และ Local Economy จำนวน 40 คน สามารถเข้าร่วมงานได้ที่ FutureTales Lab, True Digital Park เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เน้นการสร้างแผนงานในการพัฒนา Circular Economy และ Local Economy ที่ยั่งยืนเป็นรูปธรรมสำหรับการนำไปใช้ขยายผลต่อในประเทศไทย
“Circular Economy เป็นทางออกในอนาคต ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของ Regenerative Brands คนพูดถึงเรื่อง Circular Economy มาก แต่บางทีนึกไม่ค่อยออกว่าจะนำมา Implement อย่างไร ในวันที่ 24 ภาคบ่าย เราจัดเรื่องนี้จะเน้นที่การเกษตร เพราะว่าไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ปัจจุบันหลายคนกลับไปทำการเกษตร เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดทั้ง Food Lost และ Food Waste มาก ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะ Regenerative พวกนี้ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติโดยใช่เหตุ เรื่อง Circular Economy เป็นหนึ่งในทางออกของแบรนด์ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เราจะลุกขึ้นมาสร้างอนาคตให้กับตัวเราเองโดยที่เราไม่เข้าใจ Circular Economy จะลำบากมาก และจะนึกไม่ออกว่าเราจะเอาส่วนไหนไปอยู่ในซัพพลายเชน เพราะฉะนั้น Circular Economy จะตอบโจทย์ประเทศเชิงของการบริหารจัดการทั้ง Food Lost และ Food Waste”
ทั้งนี้ สปีกเกอร์ในช่วงWorkshop ในประเทศไทยทั้ง 2 วัน นับเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ทั้ง 3 ด้านโดยตรง Chris Oestereich อยู่ในประเทศไทย 4-5 ปี เป็นหนึ่งในวิทยากรของ UN เมื่อจะพูดเรื่อง Food Waste มีดร.สุทัศน์ รงรอง CEO ดูอินไทย มาช่วยด้านภาษาไทย และยังมีดร.สิงห์ อินทรชูโต คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อรุษ นวราช แห่งสามพราน ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ จากททท. เป็นต้น
ดร.ศิริกุลกล่าวต่อเนื่อง ถึงวันรุ่งขึ้นภาคบ่ายของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โฟกัสเรื่อง Local Economy เป็นจุดเริ่มต้น Green Economy เมื่อพูดถึงเรื่อง Local Economy จะครอบคลุมเรื่องการเกษตร การท่องเที่ยวก็มี Cultural Economy นำเรื่องวัฒนธรรมเพราะเป็น Core Element ของคำว่าท้องถิ่น เวลาเราไปชุมชนอะไรก็ตาม จะเริ่มต้นด้วยการเกษตรก่อน ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ สวยงาม ก็จะเป็นที่มาของการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นหากเราไม่รู้จักการดูแลสิ่งที่เป็นท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติที่มีแต่ละชุมชน ถ้าสิ่งที่ถูกนำมาใช้โดยที่ไม่ดูแลเลย ถึงจุดหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติจะหมดไปเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า Workshop ทั้ง 2 วัน Local Economy, Cultural Economy กลับไปเชื่อม Circular Economy เรื่องการเกษตรทั้งหมด แม้จะบอกว่าประเทศไทยเน้นเรื่องเฮลท์แคร์ หรืออะไรก็ตาม Element หนึ่งของเฮลท์แคร์ก็มาจากเกษตร
“ภายใต้สถานกรณ์โควิด-19 ที่เรายังต้องรักษาระยะห่าง ทำให้การจัดงาน SB’2021 ASIA PACIFIC ใช้ช่องทางออนไลน์ และสมัครได้ฟรี เพื่อร่วมชมและรับฟังงาน เพื่อให้ได้ประโยชน์กับคนที่สนใจในเรื่องนี้ได้วงกว้าง ได้ความรู้ได้มากสุด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม นับเป็นครั้งแรกกับงานประชุมแบบ Hybrid ของชุมชนแบรนด์ยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แปซิฟิคที่เกิดจากความร่วมมือของ 4 ประเทศ ได่แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และไทย” ดร.ศิริกุล กล่าวในท้ายที่สุด