30 เมษายน 2563…แพคเกจจิ้ง ปรับซัพพลายเชน รับดีมานด์ที่สูงขึ้นจาก Social Distancing ส่วนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดย SCG HOME เดินหน้าสั่งของทางออนไลน์เพิ่มขึ้นตามแผนธุรกิจที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง และมีธุรกิจขนส่งสินค้าที่แข็งแกร่ง
รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ Covid-19 นั้น ใน BU ทั้งสามของเอสซีจี ก็ได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป
ธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยส่วนรวมยังไปได้ เพราะบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน ยังไปได้อยู่ ส่วนที่น่าจะมีผลกระทบถัดไปคือ สินค้าเครื่องใช้ที่ซื้อมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้เลย หรือว่านาน ๆ ทีใช้ครั้งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าต่อไปจะมีประเด็นตรงนี้ได้ รวมถึงเรื่องของแฟชั่นต่างๆ
ธุรกิจเคมิคอลส์ แบบของใช้ประจำวัน หรืออาหาร ยังไปได้สำหรับเคมิคอลส์ที่ขายไปในเซคเตอร์นี้ แต่บางเซตเตอร์ขายไป เช่นในยานยนต์จะกระทบค่อนข้างมากในระยะถัดไป
รุ่งโรจน์ กล่าวต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ใช่ผลกระทบโดยตรงคือ ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนมาก เพราะความต้องการน้ำมันลดลง เพราะเรื่องการท่องเที่ยวการเดินทางหายไป ราคาน้ำก็ลดลงไปจึงมีความผันผวน ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความผันผวนของราคาน้ำมันมีผลต่อธุรกิจเคมิคอลล์ทีเดียว
ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ผลกระทบยังไม่เห็นชัดในไตรมาสแรกที่ผ่านมา แต่ที่ภาพบางส่วน คือภาคเอกชนที่เป็นลูกค้าเอสซีจีนั้น จะเห็นถึงความท้าทายมาก เพราะอสังหาริมทรัพย์การก่อสร้างต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นระยะยาว เพราะฉะนั้นกำลังซื้อในระยะถัดไปหลังจากมีการส่งมอบอะไรต่าง ๆ ไปแล้ว คงมีผลกระทบค่อนข้างมาก เอสซีจีคาดหวังว่า โครงการของภาครัฐ จะคงนโยบายตรงนี้ไว้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยผยุงความต้องการสินค้าซีเมนต์ วัสดุ ก่อสร้าง อยู่ได้ อย่างน้อยในช่วงที่ก่อนสถานการณ์ Covid-19 จะคลี่คลายออกไป
พร้อม ๆ กับผลกระทบทางธุรกิจจาก Covid-19 ในด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนก็เปลี่ยนแปลงไปหลายเรื่องอย่างเห็นได้ชัด และได้กลายเป็น “ความปกติใหม่” ของวิถีการใช้ชีวิตขณะนี้ ซึ่งกลายเป็นโจทย์ให้ธุรกิจที่จะต้อง Shaping ตัวเองในสถานการณ์ Covid-19
รุ่งโรจน์ยกตัวอย่าง 2 BU ของเอสซีจีที่ตอบโจทย์ “ความปกติใหม่” และสามารถทำให้มีการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity Management)
“แพคเกจจิ้ง สิ่งที่เราเห็นเลยคือ Food Packaging เพราะเราไปทานข้าวนอกบ้านไม่ได้ ดังนั้นเรื่อง Food Packaging ไปได้ค่อนข้างดี ไปในแง่ของวัสุที่ใช้ในการผลิต ได้ทั้งพวกไฟเบอร์ และโพลิเมอร์ เบส ที่เราปรับคือการตอบโจทย์ตรงนี้ให้ดี เพราะว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นคือดีมานด์กลุ่มนี้โตอย่างรวดเร็วมาก สิ่งที่จะต้องทำคือ ทำอย่างไรจะตอบรับดีมานด์ที่โตขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ตรงนี้ได้ และลูกค้าสั่งของมาแล้วสามารถส่งมอบของได้ตามเวลาที่เขาต้องการ”
รุ่งโรจน์กล่าวต่อเนื่อง ทั้งนี้ ลูกค้าเองไม่ต้องการมีสินค้าคงคลัง (Inventory) อยู่ที่ร้าน ต้องการสินค้าคงคลังที่สามารถนำไปใช้เลยมากกว่า เพราะฉะนั้นจุดที่ธุรกิจแพคเกจจิ้งปรับตัวคือ ให้ซัพพลายเชนเรามีความสามารถที่จะตอบรับได้ดี ไม่ใช่ว่าลูกค้าโทรมาแล้วส่งได้ เพราะจะเป็นการแก้ไขปลายเหตุ ต้นเหตุคือว่า เรามีความสามารถเข้าใจว่าพฤติกรรมการสั่งของลูกค้าเป็นอย่างไร พฤติกรรมในการใช้ของแต่ละเซคเตอร์เป็นอย่างไร มีความแตกต่างอย่างไร
“เราต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า นอกจากที่ปรับตรงนี้แล้ว ข้างในของเราก็ต้องทำได้เหมือนกัน เช่นลูกค้าบอกว่า ต้องส่งของเป็นอาหาร ต้องใส่แพคแบบนี้ ๆ ต้องส่งไปในหรือต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้ สมมติเดิมเราทำได้จากโรงงานเอ แต่เราสามารถทำได้ไหมว่า ของจากโรงงานบี ก็สามารถจะส่งไปได้เพื่อจะได้ช่วยกัน ช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการตอบโจทย์ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีความต้องการสูงขึ้นมา บางครั้งจะลดลง ถือเป็นเรื่องใช้เวลาในการปรับ แต่เราได้ปรับตัว ปรับปรุงเพื่อความยืดหยุ่นในการปรับตัวตรงนี้ได้อย่างรวดเร็ว”
มาถึงอีกตัวอย่างคือ ธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง เหมือนกับสินค้าทั่ว ๆ ไปพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนไปมาก เดิมต้องไปสั่งไปซื้อที่ร้านแล้วให้ไปส่ง หรือไปรับของเอง ตอนนี้ใช้ออนไลน์ภายใต้แบรนด์ SCG Home ที่ในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาส่วนนี้มาตลอด
“การทำงานตรงนี้ ไม่ใช่เปิดเว็ปขึ้นมาตอบโจทย์ลูกค้าได้ เพราะคนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน ความหมายคือว่า มีสินค้า มีซัพพลายเชนที่แข็งแรง สามารถรับตรงนี้ได้ นอกจากนี้ในการสั่งสินค้าออนไลน์ ก็มีความคาดหวังลูกค้าว่า จะต้องได้ของไปทันทีเลย หรือถ้าไม่ทันทีก็ต้องตรงตามเวลาที่เขาต้องการใช้ เพราะฉะนั้นเรื่อง Backbone Logistic จะต้องมีการซัพพอร์ต SCG Home อย่างดีด้วย พร้อมกันนี้ในระบบการซื้อขายได้นำเอา Blockchain เข้ามาใช้ทำให้เราตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเพิ่มปริมาณการขายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีข้อขัดข้องด้านประสิทธิภาพ”
รุ่งโรจน์กล่าวต่อเนื่อง เป็น 2 ตัวอย่างที่เอสซีจีทำไป และตอบโจทย์ตลาดช่วงนี้ คิดว่าเป็นการตอบโจทย์ระยะยาวต่อไปด้วย
ตัวอย่างของการ Shaping ดังกล่าวข้างต้น ช่วยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายได้ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ใกล้เคียงไตรมาสก่อน มุ่งพาสังคม คู่ค้า พนักงาน และธุรกิจ สู้วิกฤต Covid-19 ด้วยความทุ่มเทในการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินงานเชิงรุก ควบคู่การขานรับมาตรการภาครัฐอย่างเข้มงวด ดึงเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยส่งมอบโซลูชันสินค้าบริการสะดวก-ปลอดภัย เสริมภูมิคุ้มกันกลยุทธ์รับดิสรัปชันที่สร้างมา เร่งคว้าโอกาสใหม่ตอบความต้องการตลาดอย่างรวดเร็ว มั่นใจสถานะทางการเงินยังแข็งแกร่ง พร้อมเตรียมรับความท้าทายในอนาคต