13 ธันวาคม 2562…ปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังห้อมล้อมรอบตัวเรา ไม่ว่าจะหันไปทางไหน เรามักจะเจอกับปัญหาไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ขยะล้นเมือง ขยะลอยในแม่น้ำ และทะเล หรือแม้แต่ภัยพิบัติธรรมชาติที่ดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งระดับน้ำที่ท่วมสูง แต่กลับเกิดภัยแล้งเร็วและรุนแรงกว่าเดิม เหตุการณ์แผ่นดินไหว ตลอดจนไฟป่าที่ทำลายป่าไม้ที่มีน้อยอยู่แล้วให้เหลือน้อยลงไปอีก
ในขณะที่ทรัพยากรน้อยลง แต่ความต้องการที่จะบริโภคกลับโตขึ้นสวนทางกัน โดยคาดการณ์ว่า ปี 2050 ประชากรโลกจะพุ่งขึ้นเป็น 8.3 พันล้านคน โดย 1 พันล้านคนจะมีอายุมากกว่า 65 ปี และมีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอีก 60% ตัวเลขนี้กำลังจะหมายถึง ดีมานด์ด้านพลังงาน และการบริโภคอาหารมากขึ้นกว่าเดิม 1 เท่าตัว
นั่นหมายถึง เราต้องมีโลกถึง 3 ใบเพื่อรองรับดีมานด์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า !
ท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมากมายนั้น มีอยู่ 3 ประเด็นด้วยกันที่รุนแรงเกินระดับที่โลกสามารถรองรับได้อย่างปลอดภัยแล้ว อย่างแรกคือ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดจากการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ทั่วโลก อย่างที่สองคือ ปัญหาจากไนโตรเจน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปุ๋ยทางการเกษตรที่ปนเปื้อนดินและน้ำ และอย่างที่สามคือ ปัญหาวิกฤติภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนนั่นเอง
ปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจยิ่งขึ้น เมื่อบรรดาเหล่านักวิทยาศาสตร์ออกมาชี้แจงว่า หากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว หรือปล่อยให้อยู่ในภาวะที่เกินขีดความสามารถของโลกที่จะรับได้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกอย่างถาวรไม่หวนกลับ
โลกในอนาคตจะยังคงสวยงามอยู่หรือไม่ แค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับทุกคนว่า จะออกแบบให้โลกในวันนี้เป็นอย่างไร แต่คำถามต่อมาก็คือ แล้วเราจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เมื่อไหร่
ไม่น่าเชื่อว่ามีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่มีคำตอบอยู่ในใจแล้ว และเป็นกลุ่มที่ลุกขึ้นมาผลักดันประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นั่นก็คือ “เด็กรุ่นใหม่” เพราะเขาไม่สามารถรอคำตอบจากผู้ใหญ่ได้ เราจึงเห็นเด็กทั่วโลกกลายเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้การยอมรับ
Greta Thunberg เด็กสาววัย 16 ปีจากสวีเดนเป็นตัวอย่างหนึ่ง โดยเธอเป็นผู้ริเริ่มขบวนการหยุดเรียนเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Strike) หรือขบวนการวันศุกร์เพื่ออนาคต (Fridays for Future) เพื่อให้นักการเมืองและรัฐบาลในประเทศของตนดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง จากการเริ่มต้นเล็ก ๆ ในปี 2019 มีผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหว Climate Strike เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 ล้านคนใน 135 ประเทศทั่วโลก เป็นแรงบันดาลใจให้ Isra Hirsi วัย 16 ปี ร่วมขบวนในฐานะเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง US Youth Climate Strike เพื่อเคลื่อนไหวด้านภูมิอากาศทั่วโลกเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีเยาวชนอาเซียนที่เป็นนักเรียนทุนเอสซีจี ได้เรียกร้อง Save Our World !! บนเวทีเสวนานานาชาติ SCG SD Symposium 10 Years ‘Circular Economy: Collaboration for Action’ เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา
เสียงนี้ยังกึกก้องต่อผู้ฟังชาวไทยและนานาชาติไม่ว่าจะเป็น
“เราต้องการคุณ และทุกคนที่นี่ให้มามีส่วนร่วม เริ่มจาก รัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม สื่อมวลชน และภาคประชาสังคมร่วมแก้ปัญหานี้ด้วยกัน เพราะนี่คือโลกของเรา โอกาสเดียว โอกาสของเรา รักษาโลกของเรา” จากเยาวชนอินโดนีเซีย มาถึงเยาวชนสปป.ลาว ที่เกริ่นนำถึงความเหือดแห้งของแม่น้ำโขง ว่ามีสาเหตุหลักมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
“ถ้าคุณยังทำเหมือนเดิมอยู่ ในอนาคตอันใกล้ ลูกชาย ลูกสาวของคุณอาจจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติมากมาย เช่นน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย หรือสูญเสียแม้กระทั่งชีวิต ถ้าคุณรักลูกหลานคุณ ได้โปรดเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ด้วย เพราะอนาคตของพวกเราอยู่ในมือคุณ”
ต่อเนื่องมาถึงเยาวชนจากประเทศไทย
“วันนี้จะพูดถึงมาเรียม ลูกพะยูนตัวน้อยของไทยที่เพิ่งตายไปเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพบเศษถุงพลาสติกในกระเพาะของเธอ เราจะไม่ยอมให้ใครต้องตายแบบนี้อีกแล้ว เราจะช่วยเขาได้โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา เช่น ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล ในเวลาเดียวกัน เราก็ได้ช่วยรักษาโลกใบนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปด้วย”
เมื่อพลังวัยใสมีพลานุภาพพอที่จะกระตุ้นจิตสำนึกให้กับคนรุ่นอื่นๆ “เอสซีจี” จึงออกแคมเปญโฆษณา “คบเด็กสร้างโลก (Voice of the Next Generation)” เพื่อสื่อสารเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านพลังของเด็กๆ โดยหวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้ทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่หันมาช่วยกันดูแลโลกของเราไปด้วยกัน
หนึ่งในนั้นคือนักเรียนทุนของเอสซีจี ปวน ฮาลีซา ลินตัง ปุตรี (Puan Haliza Lintang Putri) เด็กสาววัย 16 ปีจากประเทศอินโดนีเซีย เธอเป็นประธานกลุ่มวิทยาศาสตร์เยาวชนในโรงเรียนมัธยม SMAN 1 Tangerang Selatan เธอมีความฝันอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้นโดยใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเครื่องมือ
“มันสำคัญมากที่จะทำให้โลกนี้เป็นสีเขียว เราจะต้องจัดการกับขยะและทำให้มันเป็นของที่มีค่า เพื่อให้เรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
เธอขุดหลุมฝังเศษอาหารขึ้นในบริเวณบ้านของเธอเอง ซึ่งหลุมนี้มีประโยชน์ในการดูดซับน้ำจากผิวดิน ลดการเกิดน้ำท่วม เพิ่มระดับน้ำใต้ดิน และเพิ่มการย่อยสลายขยะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ !!
โดยแคมเปญโฆษณา “คบเด็กสร้างโลก” ได้ถูกเล่าผ่านบทเพลงที่เด็กๆ ร่วมกันร้องถึงโลกที่สวยงาม ทว่าภาพที่อยู่ตรงหน้าเขาเหล่านั้น กลับเต็มไปด้วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะ ทุกคนจึงร่วมมือกันคนละไม้คนละมือเพื่อทำให้โลกน่าอยู่ตามบทเพลงที่เปล่งออกมา
เพราะถึงเวลาแล้วที่เด็ก ๆ จะลุกขึ้นมาบอกว่าพวกเขาก็เป็นเจ้าของโลกใบนี้เช่นกัน และเชื่อว่าโลกยังมีความสวยงามอยู่ทุกที่ และพวกเขาพร้อมจะสร้างมัน…ขึ้นมาจากมือ
เสียงที่เชิญชวนให้เราเริ่มจับมือ ช่วยกันสร้างโลกที่ดีขึ้น ด้วยมือเราทุกคน
ทั้งการทิ้งให้ถูกที่ แยกขยะให้ถูกถัง ใช้น้อย ใช้ซ้ำ หมุนเวียนกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า
เพราะไม่ว่า จะมือเล็ก หรือมือใหญ่ ก็หมุนโลกให้กลับมาสดใสได้แน่นอน
โปรดติดตามคลิปวิดีโอ “คบเด็กสร้างโลก (Voice of the Next Generation)” จากเอสซีจีได้ทางเว็บไซต์ https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/ เพื่อช่วยกันจับมือพวกเขา แล้วสร้างโลกที่ดีขึ้น…ไปด้วยกัน #SCGCircularWay #BeTheChange