NEXT GEN

50 ปี Starbucks ประกาศ มุ่งมั่นสร้างอนาคตกับ 5 กลยุทธ์ +3 เป้าหมาย

28 มกราคม 2563…ความมุ่งมั่นเรื่อง Sustainability ของ Starbucks ฝังลึกอยู่ในกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร ในหัวใจ และความคิดของผู้นำ ผู้นำที่อาวุโสสูงสุดของพวกเขาร่วมทำแผนนี้ตั้งแต่ต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม

ภายหลังมีการแถลงจากผู้นำอุตสาหกรรมที่ก้าวล้ำในหลายสัปดาห์ก่อนหน้าอย่าง Microsoft ต่อมา Kevin Johnson ซีอีโอ Starbucks ระบุไว้ใในจดหมายเปิดผนึกสู่สาธารณะว่า ความมุ่งมั่นในหลายทศวรรษนับจากนี้ พวกเชาจะเป็น บริษัท ที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า – ต้องการเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับจากโลกใบนี้ การแถลงดังกล่าวรวมถึงเป้าหมายเบื้องต้นด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับการลดการปล่อยคาร์บอน การใช้น้ำ และของเสียภายในปี 2030 รวมถึงระบุกลยุทธ์ 5 ข้อที่จะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่วางไว้

“ขณะที่เราเข้าใกล้ครบรอบ 50 ปีของ Starbucks ในปี 2021 เรากำลังมองไปข้างหน้าด้วยความรู้สึกกระตือรือร้น และความเชื่อมั่นว่า จะต้องท้าทายตัวเอง คิดการณ์ใหญ่ขึ้น และทำงานลักษณะพันธมิตรกับองค์กรอื่น ๆ ให้มากขึ้น เพื่อดูแลโลกที่เราอยู่ร่วมกัน  ปณิธานของเรา คือ การเป็นองค์กรที่ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับจากโลก   เก็บกักคาร์บอนมากกว่าที่ปล่อยออกมา กำจัดของเสีย และจัดหาน้ำสะอาดที่สะอาดกว่าที่เราใช้ ปณิธานนี้ถูกบรรจุลไปใน Mission ของสตาร์บัคส์ ด้วยเป้าหมายการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความทัดเทียม และ Value Proposition แก่โลกใบนี้ในระยะยาวสำหรับบริษัท เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด”

ด้วยความช่วยเหลือขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ( WWF ) และ Quantis องค์กรตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน โดยใช้แนวทาง Data-Driven การใช้น้ำ และขยะในการดำเนินงานทั่วโลกและห่วงโซ่อุปทานของสตาร์บัคส์ประกอบขึ้นเป็นกลยุทธ์ 5 เรื่อง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน

1.ขยายตัวเลือกจากฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอง ไปสู่เมนูที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2.เปลี่ยนจากบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ไปเป็นแบบใช้ซ้ำได้ การเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นแล้วผ่านความร่วมมือทำแบบ Closed Loop กับ NextGen Cup Challenge ซึ่งเป็นพันธมิตรในเรื่องนี้
3. การลงทุนในนวัตกรรมและการปฏิบัติปฏิรูปการเกษตร การปลูกป่า การอนุรักษ์ป่า และการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน
4. ลงทุนหาวิธีที่ดีกว่าเดิมในการจัดการของเสีย – ทั้งในร้าน Starbucks และในชุมชน – เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิลและกำจัดเศษอาหารได้มากขึ้น
5. นวัตกรรมในการพัฒนาให้เป็นร้านที่ยั่งยืนมากขึ้น ทั้งเรื่องการดำเนินงาน การผลิต และการส่งมอบสินค้าและบริการ

Johnson ยังให้รายละเอียดเป้าหมายเบื้องต้น 3 เรื่อง สำหรับปี 2030

  • ลดการปล่อยคาร์บอน ลง 50% จากการดำเนินการ และซัพพลายเชนของ Starbucks

  • ลดการใช้น้ำลง 50% สำหรับการดำเนินงานปกติ และการผลิตกาแฟจะได้รับการอนุรักษ์ หรือสร้างประโยชน์สูงสุด โดยให้ความสำคัญกับชุมชน และแอ่งน้ำที่มีความเสี่ยงสูง

  • การลดของเสียที่จะส่งไปยังหลุมฝังกลบจากร้านค้าและโรงงานลง 50% โดยได้การสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงที่มีขอบเขตกว้างขึ้นจากการทำ Circular Economy

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในเรื่องดังกล่าว Starbucks ได้ลงนามความร่วมมือกับ มูลนิธิ Ellen MacArthur Foundation ซึ่งกำลังทำโครงการ New Plastics Economy Global Commitment ตั้งเป้าหมายของการทำ Circular กับบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของ Starbucks ในปี 2021 บริษัทจะทำด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับปี 2030 ให้เสร็จสมบูรณ์ โดยอาศัยการเรียนรู้ระหว่างนี้ Johnson ย้ำว่า ปี 2563 จะมีการวิจัยตลาด และการทดลองที่ครอบคลุมเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และสิ่งจูงใจ เพื่อส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีความสำคัญของการร่วมมือกับพันธมิตรของ Starbucks กับผู้อื่น บนเส้นทางสู่การเป็นบริษัทที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยพันธมิตรหลายราย ได้ให้ความเห็น ยกตัวอย่าง

Sheila Bonini รองประธานอาวุโสฝ่ายการมีส่วนร่วมของ WWF กล่าวว่า

“ ขณะที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลกกำลังสร้างความท้าทายใหม่ให้กับโลก Starbucks ได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่สูงมาก คือ เน้นการเป็นผู้ให้มากกว่าการเป็นผู้รับจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกนี่คือลักษณะของความเป็นผู้นำที่เราต้องการเห็นจากองค์กรธุรกิจ – เป็นโอกาสในการลงทุนเพื่ออนาคตของพวกเขาเอง ขณะเดียวกันก็ทำให้ลูกค้าทั่วโลกของพวกเขาเป็นหุ้นส่วนในการเดินทางสู่ความยั่งยืนนี้”

Sander Defruyt หัวหน้าโครงการ New Plastics Economy ของ Ellen MacArthur Foundation กล่าวว่า

“ พันธะสัญญาเรื่อง New Plastics Economy Global Commitment ทำให้องค์กรธุรกิจ หน่วยงานรัฐบาล และบรรดาผู้สนใจประเด็นนี้ร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับโลกที่ไม่เคยมองว่าพลาสติกเป็นขยะหรือทำให้เกิดมลพิษ เป้าหมายที่ตั้งไว้สูงมากนี้จำเป็นต้องบรรลุ การสร้าง Circular Economy เกี่ยวกับพลาสติกจะเป็นการเดินทางที่ท้าทายอย่างยิ่ง แต่ด้วยการลงนามใน Global Commitment การลงนามของผู้เกี่ยวข้องกว่า 450 ราย ร่วมกับ Starbucks จะทำให้เรื่องนี้เป็นไปได้จริง เราสนับสนุนให้ผู้สนใจอื่นๆเข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น และเมื่อมารวมกันแล้ว เราก็จะสามารถกำจัดพลาสติกที่เราไม่ต้องการ รวมทั้งคิดค้นให้พลาสติกที่เราต้องการนั้น สามารถหมุนเวียนนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัย และง่ายดายทำให้พวกมันอยู่ในระบบเศรษฐกิจ และออกจากวงจรการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม”

Mark Lee ผู้อำนวยการบริหารขององค์กร SustainAbility กล่าวว่า

“ มันเป็นเรื่องที่สร้างแรงกระตุ้นอย่างมาก ที่ได้เห็น Starbucks ยอมรับเรื่อง Data-Driven รวมถึงใช้การทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างอนาคตของการใช้ให้คุ้มค่าด้วยความสามารถของพวกเขาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถเข้าถึง Passion และความเชี่ยวชาญของคู่ค้าทั่วโลกผมมั่นใจว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จ และเรื่องนี้จะสร้างผลกระทบอย่างมาก  ความมุ่งมั่นเรื่อง Sustainability ของ Starbucks นั้นฝังลึกอยู่ในกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร ในหัวใจและความคิดของผู้นำ ผู้นำที่อาวุโสสูงสุดของพวกเขาร่วมทำแผนนี้ตั้งแต่ต้น และได้ทำทุกอย่างออกมาอย่างดีเยี่ยม เป็นผลจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม”

สิ่งนี้ทำให้สตาร์บัคส์อยู่ในแถวหน้าของผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร และหวังว่าธุรกิจจำนวนมากจะได้รับแรงบันดาลใจในการพัฒนาแนวทางที่แข็งแกร่งในทำนองเดียวกัน เพื่อจัดการกับแรงกดดันต่อเรื่อง Sustainability ที่ความท้าทายที่สุดในโลก

ที่มา

You Might Also Like