10 มีนาคม 2563… สิ่งแรกที่บรรดาบริษัทเบียร์ถาม McKinsey คือ“ การตั้งเป้าหมายนี้เป็นไปได้จริงหรือไม่? คณะจัดการกำลังตั้งเป้าหมายเป็นไปไม่ได้หรือ?”
แน่นอน บริษัทเบียร์รู้เกี่ยวกับเรื่องยีสต์ ข้าวบาร์เลย์ และฮ็อพ แต่โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องก๊าซเรือนกระจก และค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ผลิตเบียร์ทั่วโลกหันมาหาบริษัทที่ปรึกษา เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อพวกเขาตั้งเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครึ่งหนึ่ง และประหยัดเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกระบวนการนี้
ทีม McKinsey ประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบที่เป็นไปได้โดยการพัฒนาต้นแบบเบียร์ 4 ชุดตามขนาดและโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกัน จากนั้นจึงระบุระดับการลดคาร์บอนแตกต่างกัน 150 แบบ ทั้งหมดนั้นเป็นโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดทั้งกระบวนการดำเนินงาน ตั้งแต่โรงเบียร์ ไปจนถึงการล้างขวดในพื้นที่บรรจุภัณฑ์
ขั้นต่อไปคือ การพัฒนารูปแบบการทำงานที่จัดลำดับโปรแกรม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม กำหนดสิ่งที่ควรปฏิบัติก่อน เพื่อผลรับสูงสุดในโรงงาน 100 แห่งทั่วโลก
ในที่สุด บริษัทได้สรุปเป็นแผน 5 ปี ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการ เทคโนโลยี ความต้องการ การลงทุน และมูลค่าที่ประหยัดได้ ทีม McKinsey ทำงานร่วมกับบริษัทเบียร์เพื่อทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เกิดขึ้นจริง และเพื่อค้นหาว่ามีช่องว่างใดหรือไม่ที่ยังต้องเติมเต็ม นอกจากนั้น ยังมีงานส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น จัดทำแผนการเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) เพื่อสื่อสารกลยุทธ์ และความคิดริเริ่มแก่ผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานระดับ Regional โรงงานในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมในภาพรวม
หนึ่งในแง่มุมที่คุ้มค่ามากที่สุดของงานนี้ ถูกเรียกว่าเป็น “การมีส่วนร่วมที่สร้างแรงบันดาลใจ” คือความสามารถในการแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไป 50% นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้จริง โดยไม่ต้องมีต้นทุนเพิ่มใด ๆ ยิ่งกว่านั้น การประหยัดที่เกิดจากโปรแกรมก็มีมูลค่ามากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เรื่องนี้ได้กลายเป็นกรณีศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผู้สนใจเรื่อง Sustainability ทั่วโลกสามารถนำไปเป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า ผลกำไรและหลักการ สามารถทำงานร่วมกันได้
ที่มา