NEXT GEN

วิสาหกิจเพื่อสังคม Thankyou ออกแคมเปญช่วยกันหยุดภาวะยากจนขั้นรุนแรงผ่านการขอความร่วมมือจาก P&G และ Uniliver

1 ตุลาคม 2563…แคมเปญที่ชื่อว่า No Small Plan เพื่อโน้มน้าวใจบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ให้สนับสนุนการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ Thankyou นำเสนอสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายไปจนถึงของใช้สำหรับเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์อันแน่วแน่ในการจัดหาเงินทุนให้กับโครงการที่เปลี่ยนแปลงชีวิตอีกมากมาย

แดเนียล ฟลินน์ ผู้ก่อตั้ง Thankyou เมื่อปี 2551 ร่วมกับจัสทีน ฟลินน์ และจาร์ริด เบิร์นส์ กล่าวว่า

“ขณะที่ผู้คนใช้จ่ายไปกับสินค้าอุปโภคบริโภคด้วยเงิน 63 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในแต่ละปี ก็ยังมีผู้คนอีก 736 ล้านคนที่ต้องจมปลักอยู่กับความยากจนสุดขีด เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจตามปกติมันไม่ปกติเลย แต่เรายังเชื่อมั่นว่าหากเราทุกคนร่วมมือกัน ทั้งผู้คนมากมายและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่ของโลกทั้งสอง เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงความยากจนข้นแค้นนี้ได้ โดยการระดมเม็ดเงินที่ใช้จ่ายไปกับสินค้าดังกล่าวไปช่วยยุติภาวะยากจนขั้นรุนแรงนี้”

Thankyou ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 โดยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย และภายในระยะเวลาเพียง 12 ปี ได้เติบโตขึ้นเป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวของผู้คนนับล้านที่พร้อมลงมือทำสิ่งเล็กๆ มากมายสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ชุมชนเครือข่ายของ Thankyou ประสบความสำเร็จในการยื่นคำร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งในออสเตรเลียจัดสต็อกผลิตภัณฑ์ของ Thankyou ไว้ในคลังสินค้า นอกจากนี้ผู้สนับสนุน Thankyou ยังร่วมมือร่วมใจช่วยกันระดมทุนจนบรรลุเป้าหมาย 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรในอนาคตสู่หมวดหมู่เรื่องราวใหม่ๆ อีกทั้งยังเปิดตัวในนิวซีแลนด์ด้วยการส่งเสริมหนังสือ “Chapter One” หนังสือจ่ายเท่าที่พอใจของ Thankyou

ปัจจุบัน Thankyou ได้ระดุมทุนกว่า 17 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย สำหรับพันธมิตรสำคัญที่ทำงานและให้บริการแก่ประชากรที่ยากจนที่สุดในโลก ในช่วง 11 ปีแรก พันธมิตรสำคัญของ Thankyou ได้ช่วยเหลือผู้คนกว่า 857,000 รายใน 22 ประเทศทั่วโลกให้เข้าถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ พันธมิตรมากมายกว่า 14 องค์กรนั้นทำงานกับผู้นำท้องถิ่นและชุมชน เพื่อจัดการปัญหาตั้งแต่เรื่องน้ำดื่ม สุขภาพ อนามัย โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ไปจนถึงโครงการอนามัยแม่และเด็กในชุมชนที่มีรายได้น้อย ภาคส่วนต่างๆ ที่พันธมิตรสำคัญของ Thankyou ทำงานด้วยนั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้วมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความยากจนขั้นรุนแรง (ผู้คนที่ใช้ชีวิตด้วยค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน)

Thankyou มุ่งมั่นอนุรักษ์โลกใบนี้ด้วยการช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกใบเดียวกัน พร้อมด้วยเป้าหมายทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจุบัน Thankyou วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใน 2 ประเทศที่เล็กที่สุดในโลกเท่านั้น ซึ่งก็คือออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้ตัวเลขความยากจนทั่วโลกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เช่น เจลล้างมือ ทางบริษัทจึงตระหนักว่าถึงเวลาแล้วสำหรับการขยายธุรกิจ และต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วย ทั้งนี้หาก พี แอนด์ จี และ ยูนิลีเวอร์ เลือกตอบรับคำเชิญของ Thankyou พวกเขาอาจพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ และกำหนดเส้นทางของเม็ดเงินผู้บริโภคหลายล้านดอลลาร์เพื่อยุติความยากจนขั้นรุนแรง

ในส่วนของการจูงใจให้ พี แอนด์ จี และ ยูนิลีเวอร์ ตอบรับคำเชิญว่า “I’m in” และร่วมงานกับ Thankyou เพื่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ Thankyou เชื่อว่าสองบริษัทยักษ์ใหญ่ควรได้รับรู้ถึงเสียงส่วนรวมที่สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่จากผู้คนทั่วโลกที่มารวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อยุติภาวะความยากจนขั้นสุด ซึ่งคุณสามารถสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้กับ Thankyou ได้ด้วยการแชร์วิดีโอนี้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียโดยทำตามขั้นตอนดังนี้

  • โพสต์รูปภาพหรือแชร์ข้อความของแคมเปญบนโซเชียลมีเดียว่า “I’m in, are you?”
  • แท็ก @proctergamble และ @unilever
  • ติดแฮชแท็ก #thankyoutotheworld
  • แชร์วิดีโอของ Thankyou ให้กระจายออกไปอย่างแพร่พลาย

Thankyou จะนำผลตอบแทนทุกบาททุกสตางค์หลังจากหักต้นทุนทั้งหมดในการดำเนินการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพเยี่ยมให้แก่ผู้คนเพื่อการยุติภาวะยากจนขั้นรุนแรง โดย Thankyou หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถพลิกกระแสบริโภคนิยมได้ยั่งยืนตลอดไป

ที่บังคลาเทศ

Thankyou จะมีการจัดประชุมออนไลน์ (Virtual Meetings) กับทางพี แอนด์ จี และ ยูนิลีเวอร์ เมื่อแคมเปญสิ้นสุดลง และในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ Thankyou จะประกาศว่าบริษัทใดตกลงจะ “ร่วมด้วย” ผ่านหนึ่งในจอดิจิทัลบิลบอร์ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ไทม์สแควร์ ในมหานครนิวยอร์ก

แคมเปญของ Thankyou มีชื่อว่า “No Small Plan” เพราะการเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งประวัติศาสตร์โดยการปรับเส้นทางของเม็ดเงินผู้บริโภคหลายล้านดอลลาร์ไปสู่การยุติภาวะความยากจนขั้นสุดในช่วงชีวิตนี้ไม่ใช่แผนการเล็กๆ อย่างแน่นอน

 

You Might Also Like