NEXT GEN

สินเชื่อคำนึง ESG สร้าง “เสียง- มีความหมายมากกว่าการได้ยิน”

3 กันยายน 2562…สินเชื่อเพื่อผู้ใช้ประสาทหูเทียม ของทีเอ็มบี ได้ตอบข้อจำกัดและอุปสรรคของเด็ก,ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง วันนี้สินเชื่อพร้อม เช่นเดียวกับ สมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) เปิดเป็นทางการ

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เคยกล่าวถึงการที่ทีเอ็มบีมองเห็นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มพ่อแม่ หมอและอาจารย์ในชมรมประสาทหูเทียมฯ ที่ร่วมมือกันมายาวนานถึง 5 ปีในการก่อตั้งเป็นชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย เพื่อให้การแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต ทีเอ็มบี จึงให้การสนับสนุนการยกระดับชมรมประสาทหูเทียมฯ เพื่อก้าวไปสู่การจัดตั้งเป็นสมาคมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย และรับเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่องไปอีก 1 ปี

ล่าสุด กาญจนา โรจวทัญญู หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ตัวแทนจากกลุ่มอาสาสมัครทีเอ็มบี เข้าร่วมแสดงความยินดีในงานเปิดตัว สมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) อย่างเป็นทางการ นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์อันชอบธรรม รวมถึงในการเป็นศูนย์กลางต่อผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน และเผยแพร่ความรู้เรื่องประสาทหูเทียมเพื่อให้คนในสังคมมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อช่วยการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต

ประสาทหูเทียม หรือ อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ ทำหน้าที่แทนเซลล์ประสาทในโคเคลียของหูชั้นใน ในการแปลงพลังงานเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินและสมองให้รับรู้ แต่ข้อจำกัดและอุปสรรคประกอบด้วย

1.ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ค่าผ่าตัดและค่าเครื่องฯ รวมกันแล้วเฉียดล้านยังไม่รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังการผ่าตัดอีก เช่น ค่าฝึกฟังและพูด ค่าแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องหากมีการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมใช้ ทุกวันคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อปี ค่าซ่อมบำรุงและค่าอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อสิ้นสุดการรับประกันจากบริษัท ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ประมาณ 977,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายเลยทีเดียว
2.อาจได้รับผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น ใบหน้าชา ฯ
3.ผู้ใส่ประสาทหูเทียมต้องหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระแทกสูง
4.ความทุ่มเทและเวลาที่ต้องใช้ในการเข้ารับการฟื้นฟูทักษะการฟัง การพูด หลังผ่าตัด

ภาพบนจากซ้าย : สรเทพ โรจน์พจนารัช อุปนายกผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) กาญจนา โรจวทัญญู หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี ดร.เกียรติยศ โคมิน ประธานสมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) อินทิรา โจคานิ อุปนายกผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) ที่ สมาคมผู้ใช้ประสาทหูเทียม (ประเทศไทย) …คลิกภาพชมคลิปวิดีโอ…เสียง มีความหมายมากกว่าการได้ยิน

การเกิด “สินเชื่อเพื่อผู้ใช้ประสาทหูเทียม ของทีเอ็มบี” ได้ตอบข้อจำกัดและอุปสรรคในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันเป็นไปตามแนวทางปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ตามแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารเพื่อความยั่งยืน คำนึงถึง ESGโดยมีแนวทาง 4 ข้อ คือ

1.การแสดงเจตนารมณ์ในการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ
2.การคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
3.การกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานภายใน
4.การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสประกอบการให้สินเชื่อ

เฉพาะเคส สินเชื่อเพื่อผู้ใช้ประสาทหูเทียม ของทีเอ็มบี เมื่อครอบครัวได้โอกาสจากเงินก้อนนี้ คงไม่ต้องเขียนต่อว่า ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างไร  แต่ที่แน่ ๆ เป็นไปตามปรัชญา Make THE Difference ของทีเอ็มบี

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

You Might Also Like