20 พฤษภาคม 2563…ความไม่สามารถของเราที่จะชี้ชัดเรื่องความไม่เท่าเทียมที่กำลังมีมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน้อยที่สุด การเจริญเติบโตสําหรับบรรดาสุภาพสตรี เป็นเรื่องที่แย่ลง
แต่ในช่วงวิกฤต Covid – 19 เรื่องข้างต้นอาจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เป็นความเห็นของ Lise Kingo CEO และ Executive Director ของ UN Global Compact
ก่อน Covid-19 สหประชาชาติเตือนว่า ความไม่เท่าเทียมกันมีการเติบโตมากกว่า 70% ของประชากรโลก ทําให้หน่วยงานมีความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงขัดขวางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ผลกระทบเลวร้ายที่สุด เป็นข้อมูล Gender Gap Report ของ World Economic Forum’s 2020 ที่ระบุว่า ต้องใช้เวลาถึง 257 ปี เพื่อให้บรรลุความเท่าเทียมกันทางเพศทางเศรษฐกิจ – หรือ 10 รุ่นของสุภาพสตรีนับจากวันนี้
Lise Kingo ให้ความเห็นว่า อาจกล่าวได้ว่า เป็นความล้มเหลวของเราในการสร้างความเป็นสังคมมากขึ้น ในโลก ช่วงก่อน Covid-19 เพราะได้กลายเป็นเรื่องเลวร้ายที่มีนัยสําคัญภายใต้วิกฤตปัจจุบัน และมันอาจขัดขวางความสามารถของเราในการทำให้ชุมชนทั่วโลกฟื้นตัวได้ดีขึ้นเร็วขึ้น
ขณะที่องค์กร UN Global Compact ถูกตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า และยังพยายามกระตุ้นธุรกิจและรัฐบาล ในการกําหนดเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในเส้นทางที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ที่จะทำให้การฟื้นตัวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น และรวดเร็วขึ้น
ที่ด่านหน้าของ Covid-19 สุภาพสตรีมีบทบาทล้ำค่า พวกเธอมีจำนวนคิดเป็น 70% ของแรงงานสุขภาพทั่วโลก แต่ก็เสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของตัวเองในการดูแลผู้อื่น โดยส่วนใหญ่มักไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เพียงพอ สุภาพสตรีมักจะต้องแบกภาระในประเทศ ทั้งดูแลครอบครัว ญาติและผู้สูงอายุซึ่งป่วย โดยสุภาพสตรี ได้รับผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจาก Covid-19 อย่างหนัก
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ประมาณการว่า ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า เราจะเห็นการตกงานเต็มเวลาเท่ากับ 200 ล้านตำแหน่ง ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า มีคนใกล้ ๆ 50 ล้านคนจะยากจนมาก แทบจะกล่าวได้ว่า ความมานะพยายามของการทำงานในช่วงเวลา 20 ปีสูญสลายหายไปหมด
จำนวนสูงสุดของคนที่มีความเสี่ยงคือ 2 พันล้านคนที่จะกลายเป็นคนยากจน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา โดยจำนวนมากเป็นสุภาพสตรี พวกเธอล้วนอยู่บนชายขอบของความยากจน โดยไม่มีประกันสังคม
แน่นอนว่า ปัจจุบัน ธุรกิจจํานวนมากกําลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของพวกเขา และภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกบีบบังคับให้บรรดาบริษัทต่างๆ คิดถึงการเอาตัวรอดระยะสั้นมากกว่า แต่สิ่งสําคัญไม่แพ้กัน คือ ต้องเน้นย้ำว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องตรงข้ามกัน
Lise Kingo กล่าวว่า เราต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่บริษัทจะใช้คำว่า
“ตอนนี้ เรากําลังรับมือกับ Covid-19 เราจะกลับไปสนใจเรื่องความเสมอภาคทางเพศอีกก็ต่อเมื่อเรื่องโรคระบาดคลี่คลายแล้ว”
ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาทางศีลธรรมและสังคม แต่ยังเป็นเรื่องท้าทายทางเศรษฐกิจที่สําคัญด้วย ผลการศึกษาของ McKinsey Global Institute ระบุว่า มูลค่าความแตกต่างเรื่องความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างชายและหญิงสามารถเพิ่มได้เป็น 28,000 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26% ของ GDP ประจําปีทั่วโลก
Lise Kingo ผู้บริหารของ UN Global Compact ให้ข้อมูลโครงการ Target Gender Equality Programme ซึ่งออกแบบมาเพื่อเร่งความคืบหน้าในการมีส่วนร่วมของสุภาพสตรีกับ Top Management และคณะกรรมการกํากับดูแลของบริษัท ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจาก Women’s Empowerment Principles (WEPs) ทำให้ได้เห็นภาพวิธีการที่บริษัท สามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น
ให้โอกาสสุภาพสตรีนั่งบนโต๊ะด้วย – ภาพที่คนทั่วไปมักเห็นคือ ถ้ามี 4 คนถูกกล่าวถึงในสื่อ จะเป็นผู้ชาย 3 คน และเป็นสุภาพสตรีเพียงคนเดียว เพื่อรับรองความเท่าเทียมกันของชายและหญิงในการตัดสินใจ ขั้นตอนหลักที่ทุกๆบริษัทสามารถใช้ คือ มุมมองของสุภาพสตรี ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการรับมือกับ Covid-19 และกลยุทธ์เพื่อการฟื้นตัวของบริษัท จะถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการ และคณะจัดการของบริษัท
ส่งเสริมการแบ่งงานที่เท่าเทียมกันทั้งงานในระดับท้องถิ่นและการดูแล – ทุกธุรกิจสามารถส่งเสริมการแบ่งส่วนเท่ากันของงานในประเทศและการดูแล โดยสนับสนุนนโยบายการลาคลอดโดยจ่ายเงินเดือน และนโยบายทํางานที่บ้าน พวกเขาสามารถประยุกต์ใช้บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการทํางานแบบ Telecommuting และความยืดหยุ่นระหว่างการล็อคดาวน์ช่วง Covid-19 เพื่อสร้าง New Normal และพัฒนาเป็นแผนระยะยาวเพื่อสนับสนุนพนักงานทั้งองค์กรต่อไป
ส่งเสริมธุรกิจที่สุภาพสตรีเป็นเจ้าของ – ต้องทำให้แน่ใจว่า บรรดาสุภาพสตรี ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจจะได้รับเงินแบบให้เปล่าอย่างน้อย 30% เพื่อการฟื้นตัว รวมถึงเงินที่รัฐบาลทั่วโลกประกาศว่าจะช่วยเหลือ บรรดาองค์กรธุรกิจสามารถสนับสนุนธุรกิจและผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเป็นสุภาพสตรีอย่างแข็งขัน เพื่อการก่อร่างสร้างตัว และทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของพวกเธอเติบโตขึ้นมาใหม่
สนับสนุนการทํางานหนักในห่วงโซ่อุปทาน – ทํางานร่วมกับซัพพลายเออร์ทั่วโลก เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานสุภาพสตรีสามารถเข้าถึงงานที่ดี ได้รับสิทธิประกันสังคม และโอกาสที่เท่าเทียมกันโดยไม่ต้องกลัวการเลือกปฏิบัติ การละเมิด หรือสูญเสียอิสรภาพ
Lise กล่าวต่อเนื่อง Covid-19 ระบาดไปทั่วโลกในปีเดียวกันกับที่สหประชาชาติเป็นฉลองครบรอบ 75 ปี มันเตือนเราว่า ในฐานะที่เป็นชุมชน มนุษย์สามารถที่จะยกตัวเองขึ้นจากส่วนลึกที่สุดและมืดมิดที่สุด เพื่อสร้างโลกใหม่ และดีขึ้น ด้วยชุดของค่านิยมและหลักการใหม่ ที่ดีกว่าเดิมร่วมกัน
สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้น จากการถูกปลุกหลังสงครามโลก 2 ครั้ง ด้วยความเข้าใจว่า การปกป้องอนาคตของคนรุ่นต่อไป จากความโหดร้ายของสงคราม ประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือในระดับพหุภาคี เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ทุกคน วิสัยทัศน์ดังกล่าวเกี่ยวข้อง และมีความสําคัญ ไม่ต่างจากความร่วมมือร่วมใจซึ่งถูกปลุกขึ้น เป็นผลจากการระบาดครั้งนี้
CEO และ Executive Director ของ UN Global Compact สรุปว่า สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำขณะนี้ด้วย ก็คือ ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในเรื่องการทัดเทียมทางเพศ
“เราสามารถ Disrupt ทัศนคติเรื่องเพศแบบเดิม ๆ และแสดงให้เห็นว่า ความเป็นผู้นําและการตัดสินใจควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ลองสร้างโลกที่ให้คุณค่าของชายและหญิงเท่า ๆ กัน เพราะมันจะเป็นโลกที่ดีกว่าสําหรับทุกคน”
ที่มา