29 กุมภาพันธ์ 2563…ผู้สังเกตการณ์ในอุตสาหกรรมหวังว่า Helena Helmersson ซีอีโอคนใหม่ของ H&M Group จะผลักดันให้แฟชั่นมีความยั่งยืนมากขึ้น และบริษัทไม่ผลิตสินค้าล้นตลาด
การแต่งตั้งที่สร้างกระแสความฮือฮาในแวดวงผู้เกี่ยวข้องกับเรื่อง Sustainability นั่นคือ H&M ยักษ์ใหญ่ด้าน Fast Fashion จากสวีเดน ได้แต่งตั้งอดีตผู้อำนวยการฝ่าย Sustainability และ Chief Operating Officer (COO) ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
Helena Helmersson เส้นทางก่อนเป็น CEO
Helmersson เป็นผู้บริหารสูงสุดหญิงคนแรกของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเป็นเวลา 73 ปี แต่สิ่งที่นักกิจกรรมและคนในวงการแฟชั่นจับตามอง คือ 46 ปี ในเส้นทางอาชีพใน บริษัทที่เธอเข้าร่วมงานตั้งแต่ปี 1997
Helmersson เริ่มงานในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ในแผนกจัดซื้อของ H&M เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Sustainability เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2014 นอกจากนี้เธอเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่สำนักงานการผลิตใน Dhaka และยังเคยไปอยู่ที่ฮ่องกงเป็น Supply Chain manager สำหรับผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในด้วย เธอเป็น COO มานานกว่าหนึ่งปี ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็น CEO
บรรดาผู้สังเกตการณ์ ให้ความเห็นเรื่องการแต่งตั้ง Helmersson ว่าเป็นการปรับเชิงบวก และหวังว่ามันจะเร่งความพยายามของยักษ์ใหญ่ด้านแฟชั่นรายนี้ในการรับมือกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีต่อธุรกิจ
“เป็นเวลานานมาแล้ว ที่เรื่อง Sustainability เป็นพื้นที่เล็กๆของอุตสาหกรรมแฟชั่น และการแต่งตั้ง Helmersson เปรียบเสมือนการส่งข้อความที่ยอดเยี่ยม เป็นอีกหนึ่งความหวัง ที่จะนำเรื่องความยั่งยืนมาสู่ห้องประชุมคณะกรรมการมากขึ้น” คริสตินา ดีน ผู้ก่อตั้ง Redress และ The R Collective บริษัทด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น NGO ในฮ่องกงกล่าว
ทั้งนี้ Redress พยายามลดปริมาณขยะในอุตสาหกรรมแฟชั่นของเอเชีย ขณะที่ The R Collective เป็นแบรนด์แฟชั่น Upcycled ที่มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบทางสังคม
ดีนยังกล่าวอีกว่า งานของ Helmersson ในเรื่อง Sustainability ยังหมายความว่า เธอต้องเข้าใจการบูรณาการและประสบการณ์ที่ติดดินมาตลอดของเธอ จากการมองเห็นทั้งความท้าทายและโอกาสในพื้นที่นี้
“อุตสาหกรรมแฟชั่นกำลังเรียกร้องให้มีความหลากหลายมากขึ้นกับผู้บริหารระดับ C-suite และ Board ดังนั้นการแต่งตั้งผู้บริหารคนนี้ส่งข้อความเชิงบวกเกี่ยวกับความเป็นผู้นำหญิง ขณะที่การวิจัยต่างๆแสดงให้เห็นว่าทีมผู้นำที่มีความสมดุลและหลากหลาย ทำให้การตัดสินใจด้านการจัดการในภาพรวมดีขึ้น” เธอเสริม
กลุ่มผู้สนับสนุนกรีนพีซ หวังว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจของ H&M ให้ลดการผลิตที่มากเกินไป และ Fast Fashion ไปสู่กลยุทธ์ที่ชะลออัตราการผลิตจำนวนมาก และต้องทิ้งไปแบบไม่เห็นค่า Viola Wohlgemuth ผู้รณรงค์ของกลุ่มกล่าว
H&M เป็นหนึ่งใน 80 แบรนด์และซัพพลายเออร์ที่มุ่งมั่นในร่วมรณรงค์ในแคมเปญ Detox ของกรีนพีซ เพื่อยุติการใช้สารเคมีอันตรายในการผลิตเสื้อผ้า การรณรงค์ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2011 ท้าทายให้บริษัทต่างๆรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของห่วงโซ่อุปทานการผลิตของพวกเขาและมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยสารเคมีอันตรายให้เป็นศูนย์ในปี 2020
ในรายงานปี 2018 กรีนพีซ ใส่ชื่อ H&M, Inditex, Benetton และ Fast Retailing ให้อยู่ในบัญชีดำของผู้นำการใช้สารเคมีอันตราย และตรวจสอบโรงงานผลิตของพวกเขา แต่การผลิตมากเกินไปก็เป็นปัญหาในอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยในปี 2018 H & M รายงานว่ามีเสื้อผ้าที่ขายไม่ออกในสต๊อกมูลค่า 4.3 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนั้น Viola Wohlgemuth ผู้รณรงค์ของกรีนพีซ ยังตั้งข้อสังเกตกับความคิดริเริ่มล่าสุดของ H&M ในการซ่อมแซม ให้เช่าเสื้อผ้า และเรียกร้องให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากร
“ สิ่งนี้ควรเริ่มต้นจากการผลิตแฟชั่นที่คงทนมากขึ้น ให้บริการซ่อม และกระตุ้นให้ลูกค้าใช้เสื้อผ้าของพวกเขาให้นานขึ้นมากกว่า การเพิ่มระยะเวลาที่เสื้อผ้าถูกสวมใส่ และลดปริมาณผลิต มีผลกระทบมากที่สุดในการจำกัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ และสังคมของแฟชั่น (ทั้งในการผลิตและของเสียหลังการบริโภค)” เธอกล่าว
ต้องแก้ด้วยการลดการจับจ่ายใช้สอย
มีข้อมูลระบุว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10% ของโลกหรือประมาณ 1.2 พันล้านตันต่อปี
จากข้อมูลของ Kim Hellström ผู้นำด้านกลยุทธ์ด้านสภาพอากาศและน้ำในกลุ่ม H&M ปัจจุบันบริษัทปล่อยก๊าซคาร์บอน 18 ล้านตันต่อปีซึ่งมาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบและหม้อไอน้ำที่ใช้ในการสร้างความร้อน เพื่อซักผ้า การอบผ้าและสีย้อมผ้า
H&M ตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างสภาพ Climate-Positive ภายในปี 2583 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดที่ปล่อยออกมา เป้าหมายอื่น ๆ รวมถึงการใช้วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุอื่นที่ยั่งยืนอื่นๆ 100% ภายในปี 2573
ลอร่า ฟรองซัวส์ ผู้ให้คำปรึกษาด้านแฟชั่นอย่างยั่งยืนและนักยุทธศาสตร์ด้านสังคม กล่าวว่า การแต่งตั้ง Helmersson ในตำแหน่งซีอีโอ ไม่ได้บ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นในส่วนของClimate-Positive บริษัทแต่อย่างใด แต่อีกด้านหนึ่ง ก็สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการดำเนินการต่อสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานและการปฏิบัติด้านการผลิต
นอกจากนั้น บริษัทยังต้องคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับ Business Model อย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นจนจบ
“การแต่งตั้งนี้ กล่าวได้ว่าเป็นความพยายามที่น่ายกย่อง แต่เมื่อเราเข้าสู่ทศวรรษสุดท้ายเพื่อการทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน H&M จำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหา โดยไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจจะกังวลอยู่ – เรื่องผู้บริโภคจะซื้อหรือไม่ซื้อ” Francois กล่าว
ดีนกล่าวว่า เธอหวังว่า H&M จะนำเรื่อง Circular Economy มาแก้ปัญหานี้ได้ “ เราไม่สามารถเห็นธุรกิจสร้างผลิตภัณฑ์มากมายโดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติมากมายอีกต่อไป ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ผมอยากเห็นคือ Circular Economy มีบทบาทมากขึ้น เอาชนะเรื่องการรวบรวมและรีไซเคิล ด้วยความท้าทายด้านเทคนิคและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ” เธอกล่าว
ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 มกราคม Helmersson กล่าวว่า “ มุ่งมั่นที่จะสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินของ H&M ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีศักยภาพที่ดีในการขยายแบรนด์ที่มีอยู่ และแบรนด์ใหม่ พร้อมกับความร่วมมือประเภทใหม่ เพื่อนำการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นที่ยั่งยืนต่อไป”
Helmersson รับตำแหน่งต่อจาก Karl-Johan Persson – หลานชายของผู้ก่อตั้ง H&M ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดย Stefan พ่อของเขา ซึ่งขยับขึ้นไปเป็นประธานคณะกรรมการ
ที่มา