26 มีนาคม 2562… องค์กรที่ดีควรมีแผนก่อนเกษียณ เพื่อให้คนใกล้เกษียณที่ยังมี Performan เก๋า ทำงานต่อเป็นที่ปรึกษาในบริษัทเดิม เป็นเรื่อง SE ในองค์กรด้วย “แผนว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาหลังเกษียณ” จะดีไหม?
ความยั่งยืนของ “สังคมผู้สูงวัย”ในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนได้เตรียมการมาไม่น้อยกว่า 10 ปี หลายแห่งต้องใช้เวลาเตรียมนาน เพราะสินค้าที่จะรองรับคนกลุ่มนี้ต้องเกิดจากงาน R&D ซึ่งก็ต้องมาจากการเรียนรู้อย่างเข้าใจในพฤติกรรม สว. ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะกิน จะเดินเข้าห้องน้ำ จะลุกจากเตียง จะล้ม รวมถึงเวลาป่วย การใช้เงินทอง ฯลฯ
ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกเองก็ให้ความสนใจในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาด้วยการรับสว.เป็นพนักงาน ทำงานตามวัยและความแข็งแรงของร่ายกาย เพื่อจะได้ไม่เกิดอาการเหงา เมื่อต้องเกษียณแล้วออกมาอยู่บ้านอย่างเดียว และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ประสบการณ์ ความเก๋าต่องานยังมีเพียบ
ขณะเดียวกัน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ….. หรือ Social Enterprise (SE) ก็ผ่านสนช.เมื่อต้นปีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบกิจการจากภาคเอกชน ซึ่งมีเป้าหมายหลักของกิจการในการส่งเสริมการจ้างงาน การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมให้เข้ามาประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มมาก กำหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยการจดทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์อันเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีความพร้อมในการแข่งขันทางการค้าทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ
“ถ้าเรามองว่า บริษัทซึ่งมีพนักงาน 10,20,30 คน ไปจนถึง100 ถึง 1,000 ถึง 10,000 คือพื้นที่หนึ่ง มีหลายชุมชน มีหัวหน้าแต่ละชุมชน มีเด็ก มีผู้ใหญ่ มีผู้อาวุโส เรานำเรื่อง SE เข้ามาใช้กับสังคมผู้สูงอายุในบริษัทเราได้ไหม?”
ชัชวัสส์ เศรษฐลักษมิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เศรษฐลักษมิ์ กรุ๊ป ธุรกิจโซลูชั่นด้านกฎหมาย ขยายมุมมองเรื่อง สว.ในองค์กร ที่สามารถเกี่ยวโยงกับ SE ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
“พนักงานเขาอยู่กับเรามาจนกระทั่งเขาเกษียณ เขามีส่วนช่วยบริษัทมาจนกระทั่งสำเร็จทุกวันนี้ พอถึงวันเกษียณ เขายังมีฝีมือ มีประสบการณ์ ความเข้าใจต่อองค์กร ทำไมปล่อยเขาไป? ให้เขามาทำงานต่อเป็นที่ปรึกษาดีไหม? ในบริษัทเดิม ทำเป็นเรื่อง SE แผนว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาหลังเกษียณ ทำให้คนที่กำลังเกษียณรู้ว่า เขาจะมีที่ต่อยอด เขาจะมีรายได้ เขาจะตั้งใจโชว์พลัง แล้วเขาก็ปลูกฝังลูกน้องเขา สร้าง Generation ต่อมา ถือเป็นการแบ่งเบาภาระผู้บริหาร หรือ CEO ได้ไหม?”
ชัชวัสส์ อธิบายต่อเนื่อง องค์กรที่ดีควรมีแผนก่อนเกษียณ จะเป็นการเพิ่มพลังให้สว.ในองค์กร ซึ่งจะเป็นเรื่อง HRD ,HRM ที่สำคัญเรื่องหนึ่งภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่มีความยั่งยืน โดยจะแตกต่างจาที่ผ่านมาสำหรับสว.ที่เกษียณแล้วจ่ายเงิน ลากันไป รูปแบบเดิมเราจึงได้เห็นวิถีเช้าชามเย็นชาม ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ก็รอเกษียณได้เงิน
“หากบริษัทมีโครงสร้าง SE แผนว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาหลังเกษียณ ใครจะไม่จริงจังกับบริษัทคุณไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับต่างๆ รวมถึงผู้สูงวัย เพราะปลายทางยังมีเรื่องเหล่านี้อยู่ เรามองในผลของงานก็ต่อยอดแล้ว เป็นการตอบโจทย์ปัญหาทุกอย่างแค่เปลี่ยนความคิดเขา สำหรับบริษัทเป็นโอกาสสร้างวัฒนธรรมที่ดี ต้องลงมือทำ และทำอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้น คนเก่งก็ถูกซื้อตัว คนเก่งก็อยากไปอัพเงินเดือนที่อื่นทุกๆ 3 ปี”
ว่ากันว่า คนเก่าที่เก่งสามารถพัฒนาให้เก่งมากขึ้นได้ อินกับงานที่รับผิดชอบได้ กระตือรือร้น ยิ่งเห็นปลายทางเมื่อเป็นสว.เต็มตัว จะช่วยองค์กรที่ดูแลตัวเองได้อย่างไร ดังนั้นก่อนจะปล่อยออกไป ให้เขาส่งคนรุ่นหลังให้แกร่งต่อดีไหม สัก 3-5 ปีตาม Performance
ทั้งนี้ จะต้องมีตัวชี้วัด คนที่จะเกษียณ หากเข้าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด ต้องมีการประเมินของลูกน้อง นั่นหมายถึงว่า จะต้องเป็นที่ยอมรับของลูกน้อง เพราะเมื่อเกษียณแล้วต้องเป็นที่ปรึกษา นี่คือ Committment ของบริษัท
ดังนั้น คนที่เข้ามาแล้วจะไปถึงตรงนั้น ต้องมี Grooming อะไรบางอย่างมาก่อน เพื่อคนคนนั้นจะได้ต่อยอด และตรงนี้เป็น Big Surprise ที่พนักงานคาดหวังมากกว่าการเกษียณ
ชัชวัสส์ กล่าวทิ้งท้ายว่า เรื่อง SE กับผู้สูงวัยแบบนี้ เป็นกลยุทธ์ที่บูรณาการทั้งองค์กร
Cr.ภาพประกอบ สสส.
เนื้อหาเกี่ยวข้อง