12 ธันวาคม 2565…สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ที่วันนี้ AIS ได้นำขีดความสามารถของโครงข่ายอัจฉริยะในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลมาขับเคลื่อนเกิดการเติบโตร่วมกัน สู่การสร้างสมดุลทั้ง “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม”
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและผู้ให้บริการดิจิทัลทำให้เราวางเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจด้วยการยกระดับคุณภาพมาตรฐานเพื่อให้ Digital Infrastructure ของประเทศมีความพร้อมต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจตามกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องของ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรอย่างรอบด้าน”
AIS วางกรอบการทำงานเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน ซึ่งครอบคลุมทั้งในเรื่องของ เศรษฐกิจ ที่นอกเหนือจากการเดินหน้าขยายสัญญาณโครงข่าย 5G อย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังต่อยอดศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะให้เกิดประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ ในการเดินหน้าสู่ Digital Economy ด้วยโซลูชันและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาระบบการป้องกันภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้มีมาตรฐานระดับสากล
ด้านสังคม ที่วันนี้ AIS มุ่งสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้กับทุกคนในสังคม ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมให้แก่คนไทยภายใต้โครงการ AIS อุ่นใจไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความปลอดภัยด้านการใช้งานดิจิทัลให้กับคนไทย โดยเราเป็นต้นแบบของผู้เล่นในอุตสาหกรรมที่ลุกขึ้นมายกระดับทักษะดิจิทัลของคนไทยสู่การเป็น Digital Citizen ผ่านการพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยี ในรูปแบบของบริการดิจิทัลที่ช่วยป้องกัน คัดสรรการใช้งานออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และการสร้างภูมิปัญญา การตระหนักรู้เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ อุ่นใจไซเบอร์ ที่ได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของระบบการศึกษาไทย รวมถึงในมุมของพนักงานเรายังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างให้บุคลากรมีความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงรองรับการขยายตัวของธุรกิจ
ด้านสิ่งแวดล้อม ที่เราวางนโยบายการทำงานเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มุ่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยี Power Saving Features ในการวางแผนจัดสรรการใช้งานอุปกรณ์โครงข่ายให้เหมาะสม และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนจากการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บริเวณสถานีฐาน ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และชุมสายสถานีฐาน การชวนลูกค้าให้มีส่วนร่วมด้วยการลดใช้กระดาษเปลี่ยนมาใช้ e-bill แล้วกว่า 8.4 ล้านราย พร้อมเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ลุกขึ้นมาสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ E-Waste ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งล่าสุดเราได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero landfill เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการ E-Waste ได้ด้วยตนเอง บนแพลตฟอร์ม E-Waste+
สมชัย กล่าวเสริมในช่วงท้ายว่า “สำหรับการได้รับเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ทั้งในกลุ่มดัชนีโลกและดัชนีตลาดเกิดใหม่ หรือ DJSI World Index และ DJSI Emerging Markets Index อีกครั้งในปีนี้ จะเป็นมาตรฐานที่เรานำมาใช้ในการทำงานเพื่อวางนโยบายในการขับเคลื่อนธุรกิจ และยังถือเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นสิ่งที่พวกเราชาว AIS มีความตั้งใจ สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะมาสร้างประโยชน์และผลักดันให้องค์กรธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ให้เกิดการทำงานร่วมกันเพื่อนำดิจิทัลเทคโนโลยีไปขยายผลสร้างเป็นจุดแข็งให้กับประเทศต่อไป”