22 ธันวาคม 2565…บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด (GEPP) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันไทยพัฒน์ ในการตรวจรับรองการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ให้แก่กิจการ เพื่อรับและใช้ประโยชน์จาก ESG เครดิต ในการสื่อสารถึงผลลัพธ์และความก้าวหน้าของการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนในด้านการจัดการขยะตามมาตรฐานสากล
มยุรี อรุณวรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด และรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญ เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจนำโครงการที่เข้าเกณฑ์ได้รับ ESG เครดิต มาขึ้นทะเบียนเพื่อรับการประเมินและใช้ประโยชน์จาก ESG เครดิตในการสื่อสารถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
GEPP ได้พัฒนาการประมวลผลข้อมูลจัดการขยะตามรูปแบบการรายงาน GRI 306:2020 โดยมีระบบบันทึกข้อมูลการคัดแยกขยะ ระบบประมวลข้อมูลเข้าสู่ระบบการรายงานผลตาม GRI 306:2020 และระบบ export รายงานเป็นไฟล์ .pdf พร้อมรายงานการลดก๊าซเรือนกระจก และการลดปริมาณขยะฝังกลบ ซึ่งเป็นระบบรายงานการจัดการขยะภายในและภายนอกองค์กรที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากล และใช้แพร่หลายทั่วโลก
สถาบันไทยพัฒน์ ได้รับการรับรองให้เป็น GRI Certified Training Partner ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจนำโครงการที่เข้าเกณฑ์ได้รับ ESG เครดิต มาขึ้นทะเบียนเพื่อรับการประเมินและใช้ประโยชน์จาก ESG เครดิตในการสื่อสารถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
“GEPP ในฐานะผู้ตรวจสอบและประเมิน ESG เครดิต ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานที่มีโครงการซึ่งเข้าเกณฑ์ได้รับ ESG เครดิต เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน ESG ที่เป็นรูปธรรมแก่ภาคธุรกิจ ผ่านกลไก ESG เครดิต และเชื่อมั่นว่า GEPP สามารถนำความเชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะที่ยั่งยืน มาช่วยเสริมหนุนกิจการที่ได้รับ ESG เครดิต ให้เป็นที่ยอมรับจากสาธารณะต่อพัฒนาการด้าน ESG และความพยายามอย่างต่อเนื่องซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืนในระยะยาว”
ESG เครดิต เป็นการให้การรับรองโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ออกให้ในรูปของหน่วยเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ โดยประเมินจากขนาดของโครงการและความริเริ่มที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การลงทุนสีเขียว การลงทุนชุมชน การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนและการได้รับความเชื่อมั่นในข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG ที่กิจการเปิดเผย ด้วยการทวนสอบโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก รวมทั้งการลงทุนโดยผนวกเกณฑ์ด้าน ESG อย่างชัดแจ้งในกระบวนการตัดสินใจลงทุน