1 กันยายน 2566…โครงการน่านแซนด์บอกซ์ หากเป็นแบรนด์จะถูกนึกถึงเรื่องความพยายามฟื้นคืนป่าต้นน้ำน่าน อันเป็นทรัพยากรที่มีค่าเป็นป่าต้นน้ำอันดับ 1 ของประเทศ พร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ให้มากขึ้นทดแทนรายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอดีตที่เคยสร้างความเสียหายคือป่าต้นนำ้
การลงนามครั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงทั้งสองฝ่ายประกอบด้วย กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (แถวบนขวา) ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล (แถวบนซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยเพื่อการคืนป่าต้นน้ำจังหวัดน่าน”
มุ่งเน้นการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมยาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชยาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ด้วยการผนึกกำลังจากคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ และสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในห่วงโซ่การพัฒนายาจากพืช เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและการยอมรับตามมาตรฐานการพัฒนายาจากพืชยา ในระดับสากล
ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการน่านแซนด์บอกซ์ เป็นการยกระดับคุณค่าและมูลค่าของพืชยาใต้ป่า เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรควบคู่ไปกับการฟื้นคืนป่าต้นน้ำน่าน อันเป็นทรัพยากรที่มีค่าเป็นป่าต้นน้ำอันดับ 1 ของประเทศ โดยมี ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย (แถวล่าง ลำดับที่ 2 จากขวา) กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิกสิกรไทย อนันต์ ลาภสุขสถิต ประธานสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท (แถวล่าง ลำดับที่ 1 จากขวา) รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ (แถวล่าง ลำดับที่ 1 จากซ้าย) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ผศ.ดร.นรินทร์ จันทร์ศรี(แถวล่าง ลำดับที่ 2 จากซ้าย) คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร (แถวล่าง ลำดับที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ และ ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ (แถวล่าง ลำดับที่ 4 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นสักขีพยาน
บางส่วนของโครงการน่านแซนด์บอกซ์ก่อนจะมาถึงความร่วมมือครั้งนี้