8 กุมภาพันธ์ 2567…ท่ามกลางแรงหนุนจากเกณฑ์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น การเติบโตในอัตราค่อนข้างสูงถึงประมาณ 10%YoY โดยมีแรงหนุนจากการเพิ่มเติมกฎกติกาทั่วโลกรวมถึงไทย เช่น กฎหมาย Green Taxonomy ต่างๆ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแม้ว่าปี 2566 ที่ผ่านมา การออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน (ตราสารหนี้และเงินกู้) ทั่วโลกจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ยังคงอยู่ที่จำนวน 1.33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม จะเป็น Green Bonds and Green Loans เป็นหลัก (57%)
แต่สำหรับประเทศไทย ภาพจะแตกต่างออกไป โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Sustainability Bonds (59%) มีมูลค่าทั้งหมด 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2567คาดว่า Sustainability Bonds และ Sustainability-Linked Loans จะมีบทบาทเพิ่มขึ้น และมูลค่าการระดมทุนในผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน คาดว่าจะมีจำนวนสูงกว่าปี 2566
ในช่วงที่ผ่านมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) มีบทบาทเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมุ่งหวังว่าภาคการเงินจะเข้ามาเป็นเครื่องยนต์และกลไกสำคัญในการระดมทุนเพื่อให้โลกลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก แม้ว่าในปี 2566 แม้การออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนลดลงมาเป็นปีที่สอง แค่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า Sustainable Finance ยังคงมีความสำคัญในอนาคต
มูลค่าการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน (ตราสารหนี้และเงินกู้) ทั่วโลกในปี 2566 มีจำนวน 1.33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าปีก่อนหน้า 15% โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืนในกลุ่ม Green (เพื่อวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม) และที่น่าสนใจคือ Green Bonds และ Green Loans ในปีที่ผ่านมีอัตราส่วนที่สูงถึง 57% มูลค่า 0.759 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา ได้แก่ กลุ่ม Sustainability-Linked Bonds and Loans (ไม่ระบุวัตถุประสงค์) ซึ่งปรับตัวลงเหลือสัดส่วนเพียง 21% (มูลค่า 0.278 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ในปีนี้ จาก 35% ในปี 2565 ที่มา: BNEF รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย