Search Results for “สสน” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Wed, 10 Apr 2024 13:05:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 กรณีศึกษา “เลิกแล้ง-เลิกจน” พลิกชีวิตเปลี่ยน ด้วยแนวทาง ESG4Plus https://www.sdperspectives.com/csr/19797-scg-case-study-csr-in-esg4plus/ Wed, 12 Apr 2023 16:23:02 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19797 13-17 เมษายน 2566...กลยุทธ์ CSR ยังมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อตอบแนวทางปฏิบัติภายใต้แนวทางการทำงานด้วย ESG และสิ่งสำคัญภายใต้การบริหารงาน CSR จะมีส่วนช่วยให้ชุมชน สังคมมีโอกาสเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ กับเรื่องราวต่าง ๆ

The post กรณีศึกษา “เลิกแล้ง-เลิกจน” พลิกชีวิตเปลี่ยน ด้วยแนวทาง ESG4Plus appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
13-17 เมษายน 2566…กลยุทธ์ CSR ยังมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อตอบแนวทางปฏิบัติภายใต้แนวทางการทำงานด้วย ESG และสิ่งสำคัญภายใต้การบริหารงาน CSR จะมีส่วนช่วยให้ชุมชน สังคมได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ กับเรื่องราวต่าง ๆ ได้พบคนต่างอาชีพ ต่างท้องถิ่น ที่จะนำหลายสิ่งที่มีการแลกเปลี่ยนมาใช้ในการดำรงอยู่ สร้างอาชีพ ปลดหนี้ สร้างราย มีวิถีการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น

เอสซีจี ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ไม่คิดแทน ไม่ทำแทน และไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง โดยชุมชนต้องลงมือทำด้วยตนเองใน 500 ชุมชนทั่วประเทศ “เลิกแล้ง-เลิกจน” ยกตัวอย่างที่จังหวัดลำปางและลำพูน ในประเด็นสิ่งแวดล้อมพลิกชีวิตเปลี่ยนชุมชนเลิกแล้ง-มีน้ำกิน น้ำใช้และทำการเกษตรตลอดปี จากการบริหารจัดการน้ำที่ได้รับองค์ความรู้เบื้องต้นมาจากการดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเครือข่ายร่วมสนับสนุน ได้แก่ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. และโครงการพลังชุมชน

ผู้ใหญ่คงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง ผู้นำชุมชนบ้านสาแพะ จ.ลำปาง กล่าวว่า ความที่เป็นชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียงกับโรงงานปูนลำปาง ตั้งแต่เริ่มก่อนตั้งปี 2537 และก็ร่วมด้วยช่วยกันหลายเรื่อง ตั้งแต่ช่วยกันดับไฟป่า เพราะพื้นที่แห้งแล้ง ขณะเดียวกันชุมชนเองก็มีปัญหาหนี้สินจำนวนมาก ทำมาหากินลำบากเพราะต้องประสบทั้งปัญหาน้ำแล้ง น้ำหลาก

ผู้ใหญ่คงกำลังอธิบายถึงประโยชน์ของการสร้างฝายในมุมต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม มีน้ำไว้ให้ชุมชนใช้สร้างอาชีพในการทำเกษตรปราณีต นำเมล็ดที่แห้งแล้วส่งขายบริษัทในประเทศ นอกจากชุมชนจะมีรายได้ดังกล่าวและหมดหนี้หมดสิ้นแล้ว ด้านหนึ่งจากการมีฝายมีน้ำบริหารจัดการน้ำ ก็มีสินค้าพืชผักอินทรีย์ และสินค้าแปรรูป ซึ่งได้เรียนรู้จากโครงการพลังชุมชน

“เอสซีจีชวนแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง-น้ำหลาก ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ และบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งได้องค์ความรู้มาจากหลายเครือข่าย มีการทำแก้มลิง สระพวง และระบบกระจายน้ำเข้าไร่นา ปัจจุบันสามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี ทำเกษตรปราณีต เพาะเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยสร้างรายได้เฉลี่ยเพิ่ม 4-5 เท่า ชุมชนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 20 ล้านบาท”

ในที่สุดชุมชน เลิกจน-ปลดหนี้ มีอาชีพ รายได้เฉลี่ยเพิ่ม 5 เท่าจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า เช่น สบู่เหลวข้าวหอม ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านแป้นใต้ หรือข้าวกรอบผสมธัญพืชชนิดแท่ง ตราหอมละหนา รวมถึงพันธุ์ข้าวใหม่ ตราหอมละหนา

วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management Office เอสซีจี อธิบายเรื่องนี้ว่า

“เอสซีจีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำสังคมด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง มีความรู้คู่คุณธรรมตามคำสอนของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2550 จากการทำฝายชะลอน้ำซึ่งสร้างไปแล้ว 115,000 ฝาย ควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำชุมชน ทำให้ชุมชนมีน้ำกิน-ใช้และเพื่อการเกษตร มีผลผลิต ทั้งยังต่อยอดไปสู่โครงการพลังชุมชน อบรมสร้างอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าปัจจุบันขยายผลไป 500 ชุมชน กว่า 200,000 คน ใน 37 จังหวัด มีรายได้มั่นคง อาชีพยั่งยืน และยังแบ่งปันองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่น ๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ด้วย 4 ความรู้คู่คุณธรรม ”

วีนัสช่วยยกตัวอย่างประเด็นทางสังคมที่เอสซีจีเลือกในทางลดความเหลื่อมล้ำด้วยการมุ่งเน้นเรื่องการมีอาชีพให้กับคนหลายกลุ่ม เช่นผู้สูงอายุ ผู้พิการเป็นต้น

4 ความรู้คู่คุณธรรม ประกอบด้วย

-รู้เรา: รู้คุณค่าและพัฒนาศักยภาพของตนเอง สร้างมูลค่าจากสิ่งรอบตัว
-รู้เขา: เข้าใจลูกค้า เข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง
-รู้จัดการ: วางแผนเพื่อการบริหารจัดการและบริหารความเสี่ยง
-รู้รัก-สามัคคี: สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งพร้อมช่วยเหลือและแบ่งปัน”

เกศรินทร์ กลิ่นฟุ้ง หรือแม่หนิงจ้าของขนมแบรนด์ แม่หนิงภูดอย จ.ลำปาง ซึ่งเป็นขนมขึ้นโต๊ะอาหารการประชุมเอเปค ประเทศไทยเมื่อปี 2565 กล่าวว่า

“สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำมาปรับใช้ โดยพลังชุมชนของเอสซีจี คือการสร้างจุดขายด้วยการสร้างอัตลักษณ์ เช่น ปรับคุ้กกี้ตัวหนอนไส้สับปะรดกลายเป็นรูปไก่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จังหวัดลำปาง และปรับบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม น่าซื้อ เป็นของขวัญของฝาก รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน อย. นอกจากนี้ ได้เรียนรู้เทคนิคการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศ ส่งต่อการจ้างงานให้กลุ่มเยาวชน ผู้สูงวัยใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ร่วมกัน โดยปรับพื้นที่บ้านรองรับจำนวนการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น”

ผู้สูงอายุ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตคุ้กกี้ไส้สัปปะรด แบรนด์ แม่หนิงภูดอย ลำปาง โดยสถานที่ก็อยู่ในบริเวณบ้าน

การส่งต่อโอกาสให้กลุ่มผู้สูงวัย รวมถึงกลุ่มเปราะบาง คนพิการ คนที่เป็นโรคซึมเศร้า แม่เลี้ยงเดี่ยว  ญาติที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้มีรายได้น้อย ให้เห็นคุณค่าตัวเองและสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำสังคมยั่งยืน เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมจาก อำพร วงค์ษา หรือครูอ้อ ผู้บริหารศูนย์หัตถกรรมบ้านงานฝีมือผาหนาม จ.ลำพูน

เมื่อวิถีชีวิตต้องหักเห ลาออกจากครูมาดูแลครอบครัว ก็ได้นำความรักงานหัตถกรรม ชอบงานปักถึงขนาดปักเสื้อเป็นตัวตัวได้ ครูอ้อลงมือทำงานปักเพื่อขาย โดยไม่เคยขายของแบบนี้มาก่อน ตอนไปขายครั้งแรก ๆ ก็ยุ่งยากไม่น้อย แต่ถ้ากลัว ไม่กล้า ก็จะไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เพราะฉะนั้นเราต้องทำทันที เมื่อรู้ว่าลูกค้าจะซื้อ ต้องรีบนำเสนอเขาเลย ซึ่งในที่สุดสินค้าก็เริ่มขายได้ และงานที่กิดขึ้นก็จากฝีมือกลุ่มคนเปราะบาง

“งานแบบนี้เราจะไปหาคนแข็งแรงมาทำงานปักไม่ได้ เพราะเขามองว่าเป็นงานแค่เศษเงิน บางคนบอกว่าทำ 10 ปีก็ไม่รวย แต่เรารักอาชีพนี้และขายได้ เขาไม่ได้เป็นคนทำ ไม่เห็นคุณค่านี้ ถามว่าพอกินไหม ก็ประคองให้เราอยู่ได้ ดีกว่าที่เราไม่ทำอะไรเลย เราไม่เรียนรู้กับอะไรเลยแล้วเราจะได้สิ่งนั้นมาได้อย่างไร”

ครูอ้อเล่าต่อเนื่อง การพัฒนาคนที่มีจิตใจปกติสมบูรณ์ว่ายากแล้ว การพัฒนาจิตใจกลุ่มคนเปราะบางยากยิ่งกว่า เพราะต้องใส่ใจ และต้องให้เขามีเวทีของเขา รับฟังเขามาก ๆ เพื่อพัฒนาเขา เมื่อพัฒนาเขาได้แล้ว เขาจะเป็นเทรนเนอร์อีกคนหนึ่งมาช่วยได้ เมื่อเวลาที่ครูอ้อต้องไปหาสิ่งใหม่มาเติมเต็มให้กับงาน ซึ่งการขยายงานไม่ยากเท่ากับการพัฒนาบุคลากรให้อยู่กับเรา โดยจะมีการประชุมชนเดือนละครั้ง พัฒนาคน และผลิตภัณฑ์

ครูอ้อเล่าถึงการดูแลกลุ่มคนเปราะบางที่มีฝีมือทางหัตถกรรม จนกระทั่งสามารถมีสินค้าโชว์ขายที่ศูนย์ฯได้ และสินค้าเหล่านี้เสมือนสินค้าที่เป็น Limited Edition เพราะผลิตไม่กี่ชิ้น และการปักแต่ละชิ้นที่ปักฝีเข็มก็จะมีเอกลักษณ์ หรือแม้กระทั่งมองเห็นว่าลายที่เกิดฝีเข็มมีความเศร้า ซึ่งก็จะเป็นหน้าที่ครูอ้อที่จะถามไถ่ว่าเพราะเหตุใด และช่วยแก้ไขปัญหาให้

“ครูอ้อบริหารงานด้วยมินิเอ็มบีเอแบบไม่รู้ตัว ตั้งแต่เมื่อเริ่มตั้งใจนำงานปักออกวางขายนั่นคือการทำทันที เป็นคีย์เวิร์ดที่หนึ่ง ไม่ซื้อไม่เป็นไร เดี๋ยวลูกค้าจะบอกความต้องการเขาให้เรา แล้วเราไปพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า นี่คือคีย์เวิร์ดที่สอง Customer Centric ในทางธุรกิจยากมาก ต้องจ้างคนไปวิจัยว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร นอกจากนี้ ยังวิชาแบรนด์ดิ้ง การสร้างอัตลักษณ์จากตัวตนที่เรามีบนสินค้า แล้วก็ตามมาด้วยเรื่อง HR ที่ครูอ้อสร้างตัวแทน เพื่อส่งต่อ แล้วเอาเวลาไปสร้างเครือข่าย เป็นคีย์เวิร์ดที่สามและสี่”

วีนัส ถอดบทเรียนการทำงานครูอ้อมาถึงคีย์เวิร์ดที่ห้า Deep Listening วิชาสุนทรียสนทนา เอสซีจีจะสอนกับคนที่เป็น Leader ว่า ต้อง Deep Listening ไม่ได้ฟังด้วยหู แต่ฟังด้วยตา ด้วยหัวใจ ฟังสิ่งที่เขาพูดเพื่อให้เข้าใจเขา รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด เราถึงจะเข้าใจคน

“วิชานี้ต้องฝึก เพราะว่าคนเป็นนายต้องแบบครูอ้อ พูดให้น้อย ฟังให้มาก ให้กำลังคนพูด สิ่งที่ครูอ้อเล่าคือเอ็มบีเอ วิชาบริหารธุรกิจ ที่ใช้ทุกวันในองค์กรขนาดใหญ่ ชาวบ้านนำมาปรับเป็นมินิเอ็มบีเอแบบชาวบ้านคือ สิ่งใดที่ชาวบ้านทำจากความชำนาญและเป็นสิ่งที่รัก หมายถึงต้นทุน ประสิทธิภาพเกิดแล้ว การทำผ้าทุกชิ้นออกมาขาย หมายถึง QCเกิดแล้ว Kaizen เกิดแล้ว เป็นต้น เมื่อนำไปขาย ระบบการขายของชุมชน ทำให้เกิดรายรับได้มาอย่างชัดเจนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ระบบบัญชีเกิดแล้ว จากนั้นจะรู้แล้วว่าจะลงทุนกับผ้าอย่างไร เพราะฉะนั้น ในการเรียนในโครงการพลังชุมชนแล้วบอกว่า รู้คุณค่า ก็เท่ากับตอบกระบวนการของทางเอ็มบีเอ”

ภายใต้โจทย์ทางสังคม ด้วยแนวทาง ESG4Plus “โครงการพลังชุมชน” ของเอสซีจี สอนให้เห็นคุณค่าในตัวเอง ด้วยการทำงานที่ตัวเองรักและถนัด หลากหลายที่คนในชุมชนทำได้ ช่วยสร้างรายได้ให้ครอบครัว และยังได้แบ่งปันความรู้ให้คนในชุมชนที่ว่างงานและกลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ ผู้สูงวัย ทำงานฝีมือให้มีรายได้ มีงานทำ 
พึ่งพาตัวเอง และก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้สร้างอาชีพ เพื่อสร้างงานให้คนในชุมชน

“เอสซีจี เชื่อมั่นว่าหากชุมชนลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเอง ใช้ความรู้คู่คุณธรรม มีความรักสามัคคี และบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการวางแผน ทำให้มีน้ำกิน-ใช้ ทำการเกษตรและมีผลผลิตตลอดปี ขณะเดียวกันยังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ทำให้มีรายได้ อาชีพมั่นคง เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำสังคมได้อย่างยั่งยืน” วีนัส กล่าวในท้ายที่สุด

 

The post กรณีศึกษา “เลิกแล้ง-เลิกจน” พลิกชีวิตเปลี่ยน ด้วยแนวทาง ESG4Plus appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
1-100 โมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน @ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย https://www.sdperspectives.com/csr/tcp-water-project-1-100-models/ Sat, 25 Feb 2023 15:58:46 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19317 25-26 กุมภาพันธ์ 2566... กลุ่มธุรกิจ TCP มีตัวเลขสำคัญที่จะอธิบายการบริหารจัดการน้ำ 1,2,3,5,7,15 และ 100 ส่งผลต่อวิถีชุมชน มีผู้รับประโยชน์กว่า 40,000 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำ บางปะกง และลุ่มน้ำโขง

The post 1-100 โมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน @ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
25-26 กุมภาพันธ์ 2566… กลุ่มธุรกิจ TCP มีตัวเลขสำคัญที่จะอธิบายการบริหารจัดการน้ำ 1,2,3,5,7,15 และ 100 ส่งผลต่อวิถีชุมชน มีผู้รับประโยชน์กว่า 40,000 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำ บางปะกง และลุ่มน้ำโขง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ประมาณ 75 ล้านบาท

ด้วยโมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน จะขอเริ่มต้นที่เลข “7” ก่อน เพราะพื้นที่ที่ชุมชนได้ประโยชน์ก็อยู่จังหวัดแพร่ 1 ใน 7 จังหวัด ในพื้นที่ลุ่มน้ำยม และเป็น 1 ใน 3 ลุ่มน้ำ (ลุ่มน้ำยม ประกอบด้วย แพร่ สุโขทัย พิจิตร  ลุ่มน้ำบางปะกง มี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก และลุ่มน้ำโขงคือ อุบลราชธานี) จากการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งของโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย โดยพื้นที่แห่งนี้เป็นโมเดลต้นแบบด้วยแนวทาง “ฟื้นฟูป่า-พัฒนาน้ำ-ทำเกษตรแบบ Smart Farmer” ซึ่งเห็นผลสำเร็จเกินเป้าหมาย นับตั้งแต่เริ่มโครงการ CSR กลุ่มธุรกิจ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย 2562

อรัญญา ลือประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า โมเดลต้นแบบที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่จังหวัดแพร่ นับได้ว่าชุมชนมีความเข้มแข็งมาก สามารถขับเคลื่อนงานได้ด้วยตัวเอง โดยกลุ่มธุรกิจ TCP เป็นผู้สนับสุนให้มีการขับเคลื่อนได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านแม่ขมิง หมู่ 2 ซึ่งอดีตมีความแห้งแล้ง แย่งกันใช้น้ำ หรือบ้านเหล่าเหนือ อ.วังชิ้น อดีตเกิดอุทกภัยโคลนถล่มและตามมาด้วยแล้ง แต่ปัจจุบันทั้ง 2 พื้นที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาก โดยชุมชนเองทำงานร่วมกัน ด้วยแนวทาง ฟื้นฟูป่า-พัฒนาน้ำ-ทำเกษตร ในฐานะคนพื้นที่ที่รู้จักพื้นที่ และความต้องการของตัวเองดีที่สุด โดยไม่ต้องการให้เกิดสภาพขาดน้ำ  และไม่มีโอกาสสร้างรายได้จากเศรษฐกิจชุมชนอีกต่อไป

อรัญญา พร้อมผู้บริหาร โครงการTCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย
จังหวัดแพร่ ในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ปะยาง ซึ่งได้กลายเป็นห้องเรียนรู้ให้เยาวชนในพื้นที่ และผู้มาเยือนจากต่างถิ่น

“สิ่งที่เปลี่ยนไปมากไม่ใช่เพราะมีงบประมาณจากภาคเอกชนมาลง แต่เป็นความรู้ความเข้าใจของคนในพื้นที่ที่ย่อมจะเข้าใจพื้นที่ตัวเองมากที่สุด นอกจากนี้ชุมชนมีกติกาที่ตกลงกันเองในหมู่บ้าน โดยเป้าหมายไม่ใช่เรื่องน้ำอย่างเดียว แต่ผู้สูงวัยก็จะมีงานทำด้วย ที่นี่ปลูกถั่วเหลืองกันมาก รวมถึงพืชผักอื่น ๆ ด้วย มีตลาดขายในชุมชนและพืนที่ใกล้เคียง สิ่งเหล่านี้เป็นความร่วมมือของอบต.และทางราชการ”

อรัญญาขยายความถึงความร่วมมือดังกล่าว คือตัวเลขที่ “3” เป็น 3 ประสานความร่วมมือคือ หนึ่งชุมชน สองหน่วยงานภาครัฐ และสามกลุ่มธุรกิจ TCP อีกทั้งมี 5 พันธมิตรในตัวเลขที่ “5” ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศคือ กลุ่มธุรกิจ TCP มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และส่งเสริมให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ใน 2 มิติน้ำ เพื่อ 3 ลุ่มน้ำ

ตัวเลข “2” คือ มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติ ทั้งมิติของน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำที่หลากหลาย ดำเนินการใน 3 ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำโขง

โมเดลต้นแบบการจัดการน้ำประกอบด้วย

1.ฟื้นฟูป่า: วางแนวกันไฟ ดูแลป่าต้นน้ำ เสริมฝายต้นน้ำ วางระบบท่อเติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำ
2.พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ: สร้างถังเก็บน้ำลักษณะหอถังสูง แบ่งเส้นน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
3.ทำเกษตรแบบ Smart Farmer: สร้างระบบรางส่งน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร วางระบบรางกระจายน้ำเพื่อการเกษตร เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และแจ้งเตือนให้กับชุมชน ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

วีฤทธิ์ กวยะปาณิก ศูนย์บริหารจัดการน้ำ จ. แพร่ กล่าวว่าศูนย์ฯ เข้าไปช่วยรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติเกิดเป็นตัวอย่างความสำเร็จ ส่งต่อองค์ความรู้ แจ้งเตือนข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรและการจัดการน้ำ เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสภาพอากาศและภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ในปีที่แล้ว พื้นที่นี้ไม่ได้รับผลกระทบหนักจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น ทั้งยังมีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเป็นหลักในการขับเคลื่อน สามารถวางแผนบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบโครงสร้างแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง เพิ่มความมั่นคงทางการเกษตรและเศรษฐกิจชุมชน

ในพื้นที่ บ้านเหล่าเหนือ

ทั้งนี้ ที่บ้านเหล่าเหนือเอง ก็มีลูกหลานที่เป็นคนวัยหนุ่มสาว กลับจากกรุงเทพฯ มาใช้พื้นที่บ้านเกิดเป็นพื้นที่ทดลองปลูกผักอินทรีย์ ซึ่งมีผลผลิตที่ดีจนะกระทั่งต้องซื้อพื้นที่ข้างบ้านปลูกเพิ่มเติม เพราะมีน้ำเพียงพอ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ขายให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ และผู้ใส่ใจสุขภาพ ขณะที่เพื่อน ๆ ในพื้นที่เองก็พยายามสร้างเครื่องดื่ม อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไว้รองรับตลาดที่มีการเติบโต

ในขณะที่บ้านแม่ขมิง ผู้ใหญ่บ้าน อัจฉริยะพงษ์ ปันฟอง ร่วมกับชุมชนทดลองเปิดพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำ เป็นที่พักผ่อนของคนในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยว ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งจะสามารถเดิน Trail สั้น ๆ ได้และชมนกพันธุ์ต่าง ๆ บริเวณอ่างเก็บน้ำ โดยผู้ใหญ่บ้านมีความตั้งใจที่ให้เกิด “สรอย ซิตี้”

“ชุมชนเรากำลังเตรียมแผนจะจัดการท่องเที่ยวเป็นการวิ่ง Trail บริเวณเขา ที่อ่างเก็บน้ำ สำรวจเส้นทางแล้ว จะเป็นเส้นทางที่ไม่ยากเกินไปนัก ครอบครัวก็ร่วมกิจกรรมนี้ได้ในปีนี้ ก็ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมครับ”

พื้นที่ทั้งสองแห่งที่อยู่ในโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยได้รับรางวัลไม่น้อย ทั้งในเรื่องทรัพยกรน้ำ รวมถึงเรื่องคน และเศรษฐกิจชุมชน และผลลัพธ์ความสำเร็จจากโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย พื้นที่ลุ่มน้ำยม จ. แพร่

ในพื้นที่ บ้านแม่ขมิง

-ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำห้วยปะยางมีความจุเพิ่มขึ้น เป็น 959,000 ลบ.ม. มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น341,000 ลบ.ม. และสามารถบริหารจัดการน้ำได้มากที่สุดถึง 6 รอบต่อปี
-สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ 8,000 – 15,000 บาท/เดือน
-เกิดการจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และการใช้งาน ได้แก่ เสริมสปิลเวย์ ยกระดับน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยป้อม เก็บเข้าหอถังสูง เสริมระบบสูบด้วยโซลาร์เซลล์ลดการใช้พลังงาน ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่
-ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของโครงการ ร่วมวางแผนการทำงาน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ทำให้เกิดการบริหารจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

คลิกภาพขยายรูปใหญ่

“TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ได้ทำงานกับชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง เป็น 1โครงการเพื่อความยั่งยืนด้านน้ำ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน โดยมุ่งหวังให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน ทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์กร ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ มีเป้าหมายสูงสุด คือเป็นองค์กร Net Water Positive หรือการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเติมน้ำสะอาดกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นให้ได้มากกว่า 100%ในปี 2573 โดย TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 และสิ้นสุดโครงการในปี 2566”

ตามเป้าหมายเลข “1” ปัจจุบัน โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยสามารถพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชุมชนได้มีน้ำใช้เพิ่มขึ้นถึง 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ตอนเริ่มโครงการ

สุดท้าย ตัวเลข “100”  คือจำนวนเงิน 100 ล้านบาทเพื่อขับเคลื่อนโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยตามกลยุทธ์ “ปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม” และในปี 2566 นี้ ตั้งเป้าจะเกิดผลสำเร็จในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว และนครนายก ที่ดำเนินโครงการควบคู่กัน

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

The post 1-100 โมเดลต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน @ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
กสิกรไทย ชูความสำเร็จ “น่านเพาะพันธุ์ปัญญา” โมเดลการสร้างทักษะเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน https://www.sdperspectives.com/csr/17792-kbank-nan-eduthon/ Mon, 10 Oct 2022 11:06:48 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=17792 10 ตุลาคม 2565...นับเป็นการตอบโจทย์การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยโมเดลใหม่ในวงการศึกษาไทยคือเน้นพัฒนาจัดการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำโครงงานฐานวิจัย (Research-based Learning: RBL)

The post กสิกรไทย ชูความสำเร็จ “น่านเพาะพันธุ์ปัญญา” โมเดลการสร้างทักษะเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
10 ตุลาคม 2565…นับเป็นการตอบโจทย์การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยโมเดลใหม่ในวงการศึกษาไทยคือเน้นพัฒนาจัดการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำโครงงานฐานวิจัย (Research-based Learning: RBL) ภายใต้สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของผู้เรียน เป็นทักษะการเรียนรู้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการเตรียมเยาวชนไทยด้วย Mindset ใหม่ สู่การเป็น Global Citizen โดยการจุดประกายพัฒนาการศึกษา-ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ร่วม 10 ปีที่ธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนและดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องจาก “เพาะพันธุ์ปัญญา” สู่ “น่านเพาะพันธุ์ปัญญา” ซึ่งขณะนี้ได้เข้าไปอยู่ใน Sandbox นวัตกรรมทางการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการแล้ว

SD Perspectives มีโอกาสสนทนากับ ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย เลขานุการบริษัท และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย และรศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้ถ่ายทอดกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญา และกรรมการกำกับดูแลทิศทางการดำเนินงานโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญา ถึงบทเรียน โครงการ “เพาะพันธุ์ปัญญา” (2556-2561) ต่อเนื่องสู่ “น่านเพาะพันธุ์ปัญญา” (2562-ปัจจุบัน)รวมระยะเวลาร่วม 10 ปี ได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสามารถขยายแนวคิดไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศ เพื่อผลิตเยาวชนให้มีทักษะการเรียนรู้ผ่านโครงงานฐานวิจัย

สำหรับธนาคารกสิกรไทยแล้ว มีความเชื่อมาโดยตลอดว่า การที่จะพัฒนาจะยั่งยืนได้นั้น หัวใจอยู่ที่ “การศึกษา” โดยการศึกษาก็คือหัวใจในการพัฒนา “คน”

ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย และรศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์

“ธนาคารได้พบพันธมิตรคือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือสกว.ในเวลานั้น และได้พบกับรศ.ดร.สุธีระ ซึ่งมีเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษารูปแบบใหม่ การพัฒนานักเรียน ที่มากกว่านั้นเพราะมีความสำคัญที่สุดคือครู โดยทั้งหมดอยู่ในกระบวนการทำโครงงานฐานวิจัย หรือ Research-based Learning: RBL นี่คือเครื่องมือในการกระตุ้นนักเรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เข้าใจหลักของเหตุผล พร้อมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงครู ปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียนและเพื่อนครู เกิดปรากฎการณ์นักเรียนกล้าถามครู ครูกล้าพานักเรียนลงมือทำในสิ่งที่ไม่รู้คำตอบมาก่อนเช่นกัน”

บรรยากาศในรอบที่ 1

ดร.อดิศวร์ ขยายความต่อเนื่องถึงกระบวนการ RBL กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านกระบวนการ “ถามคือสอน” “สะท้อนคิดคือเรียน” “เขียนคือคิด” นับเป็นเรื่องใหม่ของวงการการศึกษาที่ธนาคารมีความเชื่อมั่น ในการเปลี่ยนแปลง และการลงทุนในช่วงแรก 4 ปี ได้เห็นผลที่เกิดขึ้นจากนักเรียน รวมทั้งโรงเรียนเพาะพันธุ์ปัญญาทั่วประเทศ จนกระทั่งมาถึงน่านเพาะพันธุ์ปัญญาในเวลาต่อมาพบว่า

“การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป การเรียนรู้ไม่ใช่การท่องจำ การทำให้เด็กมีกระบวนการคิดโดยไม่ต้องท่องจำสามารถทำได้ด้วยกระบวนการ RBL ซึ่งเกือบ 10 ปีได้พิสูจน์แล้วว่า เครื่องมือเพาะพันธุ์ปัญญาสร้างให้เด็กเปลี่ยนแปลงความคิดเหตุผลได้จริง แต่เด็กจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับครู RBL ให้ครูทำหน้าที่เป็นโค้ช ตั้งประเด็นให้นักเรียนถกกับครู แลกเปลี่ยนคุยกันกับครู ครูเองก็เกิดกระบวนการเรียนรู้พร้อม ๆ กับนักเรียนเช่นกัน ดังนั้นครูผ่านกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญาจึงมีจิตวิญญาณความเป็นครูแท้จริง เพราะมีความยากทีเดียวแตกต่างจากเดิมไม่มีอยู่ในหลักสูตร สิ่งเหล่านี้เราก็ได้เห็นอีกครั้งจากน่านเพาะพันธุ์ปัญญา ตั้งแต่ตั้งแต่ปี 2562”

ดร.อดิศวร์ กล่าวเสริมถึงการเลือกจังหวัดน่าน จากข้อมูลปี 2560 จังหวัดน่านมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่อันดับที่ 15 จาก 17 จังหวัดในภาคเหนือ การเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศและมีการสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก ประชากรมีกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย ดังนั้นการยกระดับการศึกษาจะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการดำรงชีวิต การสร้างความรู้ในแนวเพาะพันธุ์ปัญญาจะช่วยเยาวชนได้เข้าใจและผูกพันกับชุมชนในเชิงลึก พร้อมที่จะปกป้อง และสร้างความสมดุลระหว่างคน ศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเลือกจังหวัดน่านเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยา

บรรยากาศรอบ 2 ลงพื้นที่เมืองลี และ บ่อเกลือ

รศ.ดร.สุธีระ ขยายความต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่โครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญา แกนของของ RBL ยังอยู่ครบถ้วน โดยเฉพาะกระบวนการ มีการตั้งคำถามกับผู้เรียน (ถามคือสอน) การชวนผู้เรียนสะท้อนความคิดเห็นจากสิ่งที่ค้นพบระหว่างเรียน (สะท้อนคิดคือเรียน) และการให้ผู้เรียนลำดับความคิดนั้นสู่กระบวนการเขียนบทสรุป บทความวิชาการ และความคิดความรู้สึกขณะทำงาน (เขียนคือคิด) โดยผู้เรียนจะได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่ร่วมกันกำหนดเรื่องราวที่สนใจทำโครงงาน แล้วออกแบบวิธีการหาคำตอบด้วยการทำวิจัย ซึ่งเรียกว่า โครงงานฐานวิจัย (Research-based Learning: RBL) ต่อไป

“สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ SEEEM Concept การผนวกแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับชุดความคิดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ (STEM) พัฒนาเป็น “SEEEM concept ของโครงการน่านเพราะพันธุ์ปัญญา” มีองค์ประกอบที่ครบทั้ง Science (วิทยาศาสตร์) Economics (เศรษฐศาสตร์) Ecology (นิเวศวิทยา) Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) Mathematics (คณิตศาสตร์) การบ่มเพาะชุดความรู้นี้ให้กับครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาเพื่อมุ่งหวังในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เยาวชนในสังคม”

ทว่า ในน่านเพาะพันธุ์ปัญญา มีความท้าทายอย่างมากในการทำงาน เมื่อเจอสถานการณ์ Covid-19 ตลอด 2 ปี การพบปะกันแบบเดิม เข้าพื้นที่เพื่อเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่สามารถทำได้อย่างสะดวกมากนัก การประลองปัญญาจึงเป็นแบบ Eduthon ศูนย์พี่เลี้ยงมหาวิทยาลัยพะเยาและธนาคาร จึงได้จัดกิจกรรมเวทีประลองปัญญา Eduthon ให้แก่นักเรียนที่ร่วมโครงการ โดยจัดการแข่งขันแบ่งเป็นรอบที่ 1 (23 โรงเรียน) วันที่ 10-11 กันยายน รอบที่ 2 (15 โรงเรียน) วันที่ 17-18 กันยายน และการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (6 โรงเรียน) วันที่ 30 กันยายน – วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ณ น่านกรีนเลค วิว รีสอร์ท จังหวัดน่าน

ระหว่างที่กรรมการตัดสิน นักเรียนที่รอขึ้นนำเสนอก็เตรียมงานไปด้วย ในรอบสุดท้าย

รอบชิงชนะเลิศเป็นการแข่งขันในโจทย์ “ความลับของบ้านฉัน” ให้นักเรียนคิดค้นโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการเป็นอยู่ของชุมชน ในมิติต่าง ๆ อาทิ การรักษาแหล่งน้ำ การจัดการที่ยั่งยืน ความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว แหล่งจัดหาทรัพยากร แลกเปลี่ยนสินค้า และสร้างรายได้หมุนเวียน

รอบชิงชนะเลิศ เริ่มจากน้อง ๆ นักเรียนประถม ต่อด้วยพี่ ๆ มัธยม

“เราแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม เด็กบ้านเหนือ เด็กบ้านใต้ ให้เด็กบ้านเหนือไปเรียนรู้ในบ้านใต้ ให้เด็กบ้านใต้ไปเรียนรู้บ้านเหนือ เมื่อไปเจอแล้วจะเห็นความเชื่อมโยงของทรัพยากร ธรรมชาติ ความเชื่อมโยงชีวิต ความเชื่อมโยงอาชีพ เพราะที่ผ่านมาปัญหาของน่าน การมีอาชีพตัดขาดจากธรรมชาติ เพราะอาชีพที่ทำและส่งลูกเรียนคือการปลูกข้าวโพด เราต้องการให้เด็กเห็นความสัมพันธ์อาชีพและทรัพยากรเมื่อมีความเชื่อมโยงจะเกิดความยั่งยืนต่อไป”

ดังนั้น สิ่งที่ได้เห็นรอบสุดท้ายของ Eduthon จากทีมนักเรียนประถมศึกษา มะแขว่น เป็นส่วนผสมยาสีฟัน (เพิ่มมูลค่าให้กับพืชพื้นบ้าน) ม.ต้น เช่น กากกาแฟดับกลิ่น (สร้างคุณค่าจากของที่จะทิ้ง) ข้าวหลามรถไฟ อาจจะมีข้าวหลามรสกาแฟ (เพิ่มเอกลักษณ์ของจังหวัดด้วยของพื้นเมือง) พัฒนาการปลูกต้นโกโก้ (น่านเป็นพื้นที่ที่ปลูกโกโก้ได้ดี ต้องการสร้างรายได้ให้เกษตกรมีความมั่นคง)ขณะที่นักเรียนม.ปลาย เช่น ข้าวกล่ำดินภูเขาไฟ (สร้างการรับรู้อัตลักษณ์พิเศษ) ผงปรุงรสมะแขว่น (เพิ่มมูลค่าให้กับพืชพื้นบ้าน) ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร (เพราะอาหารเที่ยงของโรงเรียนเหลือทิ้งเยอะ)

พี่ ๆ มัธยมกำลังนำเสนองานด้วยกติกาเดียวกัน

ผลการตัดสินจากคณะกรรมการ…
ทุกโรงเรียนได้รางวัลชนะเลิศเหมือนกัน !

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา และโรงเรียนนาหมื่น และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจำนวน 3 ได้แก่ โรงเรียนจุนวิทยาคม โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 และโรงเรียนปัว

“การให้รางวัล กรรมการไม่ได้ตัดสินบนพื้นฐานการพูด นำเสนอที่แพรวพราว เรามองที่เด็กแสวงหาคุณค่าที่มีอยู่ในพื้นที่ นักเรียนทุกระดับชั้นมองตัวเองในการจัดการทรัพยากร เห็นทรัพยากรหลากหลาย ด้วยระยะเวลาอันสั้น ๆ ของ Eduthon การทำงานเป็นกลุ่มของเด็ก ๆ เขาได้บวกลบคูณหารแล้ว เขามีแนวคิดจัดการทรัพยาการที่น่าสนใจ แม้จะไม่มีผลิตภัณฑ์ ซึ่งกรรมการเห็นโอกาสต่อยอดได้ และนี่คือรางวัลจากน่านเพาะพันธุ์ปัญญา ไม่ใช่การล่ารางวัล”

การดำเนินโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญาตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาได้สร้างโรงเรียนต้นแบบ 30 แห่ง ครูเข้าร่วมโครงการ 161 คน เด็กนักเรียน 1,277 คน และมีการนำเสนอโครงการ 195 โครงการ

บางส่วนของเยาวชนได้กล่าวถึงสิ่งที่ได้จากโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญา ไม่ว่าจะเป็น

-การที่ได้ออกจาก Comfort Zone กล้าที่จะนำเสนองานต่อหน้าคนจำนวนมาก ได้เรียนรู้ทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และฟังมากขึ้น
-มีโอกาสฝึกคิด พัฒนาตัวเอง สามรถนั่งอ่าน Research ภาษาอังกฤษ 4 หน้าได้ ก้าวข้ามขีดจำกัดตัวเอง
-ได้มีโอกาสไปเมืองลีเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อน มีความประทับใจ ได้ลงมือทำโครงงานเพื่อพัฒนาชุมชน ได้ทำโครงงานที่คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
-ถ้ามีโอกาสก็อยากนำข้อมูลช่วยเหลือเกษตรกรโกโก้ ช่วยทำให้โกโก้มีความชื้นน้อยลง โครงการนี้ให้เราได้เรียนรู้พื้นที่จริง แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน ได้รู้ว่างานวิจัยสามารถทำได้เสร็จภายใน 2 วัน
-จะจำประสบการณ์ในโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญาตลอดไป

นักเรียนจากทีมชนะเลิศทั้งหมด ร่วมแสดงมุมมองของตัวเองที่เปลี่ยนไป และความประทับใจในโครงการน่านเพาะพันธุ์ปัญญา

รศ.ดร.สุธีระ กล่าวต่อเนื่องถึงการที่เด็ก ๆ ในโครงการได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ของตัวเองกับธรรมชาติ นับเป็นการพื้นฐานสร้าง Mindsetใหม่ให้กับเยาวชนในการก้าวสู่การเป็น Global Citizen ในอนาคต

ดร.อดิศวร์ กล่าวในท้ายที่สุด ตลอดการดำเนินโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาต่อเนื่องสู่น่านเพาะพันธุ์ปัญญารวมระยะเวลาร่วม 10 ปี ได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสามารถขยายแนวคิดไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศ เพื่อผลิตเยาวชนให้มีทักษะการเรียนรู้ผ่านโครงงานฐานวิจัย เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการแก้ปัญหาของประเทศผ่านทุกสาขาอาชีพได้

“ผลสำเร็จที่ยั่งยืนของกระบวนการเรียนรู้แบบเพาะพันธุ์ปัญญา คือ ทำให้เยาวชนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) โดยอาศัยฐานความรู้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการแสวงหาคำตอบ ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชุมชนและประเทศ โดยธนาคารเชื่อมั่นว่าการพัฒนาการศึกษาของประเทศเป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน ธนาคารกสิกรไทยในฐานะองค์กรเอกชนมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนของชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านความยั่งยืนของธนาคาร ที่มุ่งสร้างสังคมไทยให้เติบโต ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้รุดหน้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้ในระดับสากล”

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

*เพาะพันธุ์ปัญญา จาก กล้า บ้า กลัว สู่รื่นรมย์ ปิติต่อเนื่อง น่านเพาะพันธุ์ปัญญา

The post กสิกรไทย ชูความสำเร็จ “น่านเพาะพันธุ์ปัญญา” โมเดลการสร้างทักษะเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
มูลนิธิเชฟแคร์ส ส่งเยาวชนถึงฝั่งฝัน ได้ทำงานจริงในร้านดัง หลังจบโครงการ https://www.sdperspectives.com/activities/12909/ Wed, 18 Aug 2021 12:28:39 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=12909 18 สิงหาคม 2564...มอบประกาศนียบัตรให้ 11 เยาวชนผู้สำเร็จการศึกษาจาก “โครงการสานฝันปั้นเชฟ” (Chef Cares Dream Academy) หลักสูตร 5 เดือน มีเยาวชน 5 คน ได้รับโอกาสต่อเนื่องจากเชฟดังที่ร่วมเป็นอาจารย์พิเศษให้เข้าทำงานในร้านทันที

The post มูลนิธิเชฟแคร์ส ส่งเยาวชนถึงฝั่งฝัน ได้ทำงานจริงในร้านดัง หลังจบโครงการ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
18 สิงหาคม 2564…มอบประกาศนียบัตรให้ 11 เยาวชนผู้สำเร็จการศึกษาจาก “โครงการสานฝันปั้นเชฟ” (Chef Cares Dream Academy) หลักสูตร 5 เดือน มีเยาวชน 5 คน ได้รับโอกาสต่อเนื่องจากเชฟดังที่ร่วมเป็นอาจารย์พิเศษให้เข้าทำงานในร้านทันที ปั้นความฝันให้เป็นความจริงสมดังตั้งใจ


มาริษา เจียรวนนท์ ประธานมูลนิธิเชฟแคร์ส กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่โครงการสานฝันปั้นเชฟสามารถส่งน้องๆเยาวชนถึงฝั่งฝัน เป็นวันแห่งความภูมิใจของมูลนิธิเชฟแคร์ส และน้องๆทุกคน เป็นความสุขใจที่ได้เห็นทุกคนเรียนจบหลักสูตร บางคนยังได้รับโอกาสจากเชฟให้เข้าทำงานในร้านอาหารของเชฟด้วย บางคนตั้งใจกลับบ้านเปิดร้านเล็กๆของตัวเอง ได้ประกอบอาชีพสุจริต มีงานทำ มีรายได้ และเชื่อว่าความรู้ที่ทุกคนได้เรียนรู้จากเชฟต้นแบบจะช่วยให้สามารถเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนมีความพร้อมสำหรับชีวิตใหม่มูลนิธิเชฟแคร์สมีความยินดีอย่างมากในความสำเร็จครั้งนี้ของน้องๆเยาวชน และจะรอดูความสำเร็จในการสานฝันของแต่ละคนต่อไป

มาริษา,เชฟนิค ,เชฟแดน,เชฟแอนดี้

“มูลนิธิเชฟแคร์สจะยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อสังคมเช่นนี้ เพื่อร่วมสร้างคนคุณภาพและสังคมแห่งการให้โอกาส ซึ่งเป็นความรู้สึกร่วมของสมาชิกเชฟแคร์สทุกคน” มาริษากล่าว

ด้านเชฟนิค  ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ ร้านวังหิ่งห้อย เชฟแดน บาร์ค ร้านเคเดนส์ บาย แดน บาร์ค และเชฟแอนดี้ ยัง ร้านผัดไทย ไฟทะลุ ผู้แทนเชฟดังที่ให้โอกาสเยาวชนเหล่านี้โดยรับเข้าทำงานจริงในร้านของตน กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า

“รู้สึกดีใจที่มีส่วนร่วมในโครงการที่ดีและได้เห็นเยาวชนจบหลักสูตร ตลอดจนมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานจริง ประกอบอาชีพในร้านอาหาร โดยขอให้เด็กๆตั้งใจ สั่งสมประสบการณ์ อดทน และขอให้ประสบความสำเร็จ”

บรรยากาศในการเรียน ทางทฤษฎี ทั้งด้านพัฒนาจิตใจ และภาคปฏิบัติ

สมชาย (นามสมมุติ) เยาวชนจากสถานพินิจผู้ได้รับโอกาสจาก โครงการสานฝันปั้นเชฟ กล่าวว่าขอบคุณมูลนิธิเชฟแคร์ส ขอบคุณโครงการสานฝันปั้นเชฟที่ทำให้ตนมีโอกาสครั้งใหญ่ในชีวิต ตลอดระยะเวลาที่อบรมได้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้สอน ได้พบเชฟต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจ และได้รับคำแนะนำในการพัฒนาตนเองในเชิงจิตวิทยา นับเป็นหลักสูตรที่เตรียมความพร้อมให้ทั้งความรู้จริงในอาชีพและความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตใหม่ ยืนยันว่าจะนำความรู้ทั้งหมดไปใช้ในการทำงานให้ดีที่สุด

“ไม่คิดฝันว่าจะมีวันนี้ วันที่ได้โอกาสครั้งใหญ่ วันที่ได้งานทำในร้านของเชฟระดับแถวหน้าของเมืองไทย ขอบคุณมูลนิธิเชฟแคร์สและโครงการสานฝันปั้นเชฟ ที่ทำให้ฝันของผมเป็นจริงครับ” สมชายกล่าว

โครงการ “สานฝันปั้นเชฟ” เป็นโครงการของมูลนิธิเชฟแคร์สที่ให้โอกาสเยาวชนผู้เคยหลงผิดได้กลับตัว มีอาชีพสุจริตและสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงเยาวชนผู้ด้อยโอกาส โดยมูลนิธิเชฟแคร์สสนับสนุนทุนการศึกษา และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เป็นผู้จัดหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงการฝึกงานในร้านของเชฟดังซึ่งเป็นสมาชิกมูลนิธิเชฟแคร์ส

ในวันจบการศึกษา สานฝันปั้นเชฟ รุ่นที่ 1 ถ่ายภาพร่วมกันทางช่องทางสื่อสารออนไลน์

สำหรับโครงการเชฟแคร์ส เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เพื่อส่งมอบความห่วงใยแทนคำขอบคุณให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์โควิด-19 ผ่านเมนูอาหารกลางวัน ที่รังสรรค์โดยเชฟยอดฝีมือระดับแถวหน้าของเมืองไทยหมุนเวียนกันเสิร์ฟเมนูรสชาติดีมีคุณค่าทางโภชนาการ และได้ต่อยอดสู่การจัดตั้ง “มูลนิธิเชฟแคร์ส” ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมศาสตร์แห่งอาหารไทยที่ปรุงด้วยความพิถีพิถัน ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลก และจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่สังคมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนที่รักการปรุงอาหารได้เรียนรู้และเติบโตเป็นเชฟระดับแนวหน้า และสนับสนุนวิถีอาหารไทยให้ทั่วโลกได้รู้จักในฐานะศูนย์รวมศาสตร์ของอาหารที่ดีที่สุดของเอเซีย

ทั้งนี้ มูลนิธิเชฟแคร์ส กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารเพื่อการพัฒนา(CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อมอบ “โอกาส” ให้เยาวชนที่เคยหลงผิดและเยาวชนด้อยโอกาส ได้เข้ารับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการเป็นเชฟมืออาชีพ

 

The post มูลนิธิเชฟแคร์ส ส่งเยาวชนถึงฝั่งฝัน ได้ทำงานจริงในร้านดัง หลังจบโครงการ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
หลังบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง ไม่เกิน 4 ปี ชุมชนมีรายได้เกษตรกรรมเพิ่มกว่า 60% https://www.sdperspectives.com/csr/11394/ Mon, 19 Apr 2021 09:59:26 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=11394 19 เมษายน 2564...SD PERSPECTIVES ลงพื้นที่กับอินทัช ร่วมกับ สสน. บรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่ชุมชนบ้านวังยาว จ.ร้อยเอ็ด ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการบริหารจัดการน้ำด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

The post หลังบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง ไม่เกิน 4 ปี ชุมชนมีรายได้เกษตรกรรมเพิ่มกว่า 60% appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
19 เมษายน 2564…SD PERSPECTIVES ลงพื้นที่กับอินทัช ร่วมกับ สสน. บรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่ชุมชนบ้านวังยาว จ.ร้อยเอ็ด ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการบริหารจัดการน้ำด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

ทองอินทร์ สารารัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ประธานบริหาจัดการน้ำชุมชนวังยาว-วังเจริญ อ.วังยาว จ.ร้อยเอ็ด ยอมรับว่า พื้นที่ที่อยู่ติดแม่น้ำชี เส้นเลือดหล่อเลี้ยงชุมชน จะมีภัยธรรมชาติ 2 เรื่องคือ น้ำท่วม และน้ำแล้ง ประมาณเดือนสิงหาคมทุกปี เข้าสู่ภาวะน้ำท่วม 4 เดือน ต่อเมื่อประมาณกุมภาพันธ์-พฤษภาคมจะเป็นภาวะภัยแล้ง เพราะแหล่งน้ำตื้นเขินจัดเก็บน้ำไม่ได้เต็มที่ ประกอบกับขาดการเชื่อมโยงแหล่งน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่แต่ละแห่ง ทำให้เกษตรกรโดยรอบ 4 หมู่บ้าน 240 ครัวเรือน ในพื้นที่กว่า 1,300 ไร่ ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และทำเกษตรกรรม รายได้หลักมาจากการทำนาปรังเพียงอย่างเดียว

จากการที่อินทัช นำน้ำสะอาดส่งถึง เด็กๆ กำลังดื่มน้ำจากตู้กดน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และชาวบ้านซื้อน้ำที่ตู้กดน้ำชุมชน กลายเป็นความผูกพันระหว่างบริษัทและชุมชนในเวลาต่อมา

จากปัญหาชุมชนที่มีอยู่ข้างต้น  ก็เปิดใจคุยตรง ๆ กับภาคเอกชนคืออินทัช อยากให้ชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ได้ประโยชน์จาก ปัญหาน้ำท่วม ลดภัยแล้ง ทำให้สสน.นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

สิ่งที่เกิดขึ้น น้ำที่ท่วมถูกเก็บกักไว้ในใช้หน้าแล้ง เมื่อมีน้ำชาวบ้านยกคันนาปลูกผักเพิ่มขึ้น มีปลาในน้ำเพื่อการประมงมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ ส่งผลให้รายได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามตารางด้านล่าง

ณรงค์ศักดิ์ พิมพ์พรรณชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำชุมชน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กล่าวถึงการร่วมทำงานกับชุมชนที่นี่ด้วยประโยคแรก

“ผู้นำชุมชน และชุมชนที่นี่มีใจ มีความเข้มแข็ง อยากแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง”

ผลที่ออกมาจึงมีภาพที่ชัดเจน เมื่อน้ำท่วม จะมีระบบระบายน้ำอย่างรวดเร็วไปยังอ่างเก็บน้ำแหล่งต่าง ๆ ของชุมชน ขณะเดียวกันเมื่อน้ำแล้ง ก็มีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ นำมาใช้ทั้งการบริโภคและเกษตรกรรมได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้ชุมชนเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งนำชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารขัดการน้ำระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล ระหว่างอำเภอทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

รายได้เกษตรกรรมมาจากชาวบ้านทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และเมื่อน้ำมีเพียงพอ รายได้จากการประมงก็มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน

รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เล่าถึงการเข้ามาพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2561 ในปีแรก พบว่านักเรียนโรงเรียนวังยาวเจริญวิทย์ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดที่ได้มาตรฐาน อินทัชจึงสนับสนุนการจัดทำระบบผลิตน้ำดื่มด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมระบบสำรองน้ำจากน้ำฝนให้กับโรงเรียน และสนับสนุนตู้กดน้ำหยอดเหรียญแก่ชุมชนบ้านวังยาวให้สามารถมีน้ำบริโภคได้ในราคาประหยัด และเป็นรายได้เสริมแก่โรงเรียนในระยะยาว หลังจากนั้นจึงขยายผลมาสู่การบริหารจัดการน้ำชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และการขาดแคลนน้ำสำหรับเกษตรกรรม เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ทองอินทร์ (ซ้าย) นำ ณรงค์ศักดิ์ และรัชฎาวรรณ เข้าพื้นที่การบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง

ต่อเมื่อพบปัญหาที่ชุมชนขอคำปรึกษาเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง จึงร่วมมือกับสสน.   เกิดครงการบริหารจัดการน้ำด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงถูกริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561 นำแนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ : เรียนรู้ ปฏิบัติ บริหาร วางแผน และพัฒนา

1.นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาวางแผน พัฒนาและบริหารจัดการ มีชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ปฏิบัติ และกำหนดกฎกติการ่วมกันทำงานด้วยความโปร่งใส มีการติดตาม ประเมินผล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

2.จัดทำข้อมูลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการจัดการน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อาทิ การจัดทำข้อมูลชุมชน แผนที่และแผนผังแหล่งน้ำ ร่วมกันศึกษาแนวทางพัฒนาและบริหารแหล่งน้ำของตนเอง

3.ปรับวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจ และสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

แผนงานบริหารจัดการน้ำชุมชนระหว่างปี 2562-2565

จากการสำรวจภายหลังการดำเนินงาน พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์กับคนใน 4 หมู่บ้าน 1,140 ราย 240 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 1,300 ไร่ โดยสามารถสำรองน้ำในระบบได้กว่า 269,000 ลูกบาศก์เมตร ชุมชนมีรายได้เฉลี่ยจากการทำเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งนี้ แผนงานบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย

ชาวบ้านเรียนรู้การอ่านแผนที่ เพื่อจัดการน้ำ และใช้เครื่อง GPS ค่าความละเอียดสูง เพื่อวัดระดับความสูงต่ำในพื้นที่

-จัดอบรม ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้นำชุมชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS), แผนที่ภูมิศาสตร์ (GIS), ร่วมกับการใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ (QGIS) สำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลแหล่งน้ำเป็นฐานข้อมูลของชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งเรียนรู้ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้งผ่านแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ เพื่อวางแผนรับมือกับภัยพิบัติได้ในอนาคต

-จัดอบรม ศึกษาดูงานร่วมกับเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน นำมาปรับใช้ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

-ร่วมกันสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็กแกนดิน ณ กุดชีเฒ่า เพื่อกักเก็บสำรองน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยสามารถเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 2 เมตร และมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 240,000 ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรโดยรอบมีน้ำในการทำเกษตร มีแหล่งอาหารจากการทำประมงพื้นบ้าน ช่วยสร้างอาชีพ และรายได้เสริม

บน Before & After คลองอบต.
ล่าง Before & After ฝาย

-ขุดลอกคลองไผ่และสร้างอาคารยกระดับน้ำ และเสริมท่อลอดเชื่อมต่อคลองไผ่ และกุดชีเฒ่า เพื่อเก็บและผันน้ำในช่วงฤดูแล้งให้กับพื้นที่การเกษตร

-ขุดลอกหนองก่ำ เพื่อกั้นแนวเขตเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ไร่ เป็น 6 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำหลาก และเก็บน้ำในฤดูแล้ง รวมถึงขุดลอกคลองส่งน้ำเดิม (คลอง อบต.) เป็นคลองดักและผันน้ำหลากสามารถเก็บน้ำในคลองได้ 14,000 ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

-สำหรับปี 2564-2565 มีแผนขุดลอกแนวกั้นหนองก่ำ อาคารยกระดับน้ำ เชื่อมต่อคลองดักน้ำหลาก และเก็บสำรองน้ำในหนองฮี พร้อมวางท่อระบายน้ำหลากลงแม่น้ำชีลัด รวมถึงวางระบบสูบน้ำบนผิวดินเพื่อผลิตประปาหมู่บ้าน

รัชฎาวรรณ กล่าวในท้ายที่สุดว่า อินทัชมีเป้าหมายด้าน CSR ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนให้ดีขึ้นด้วยการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ให้ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง

The post หลังบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง ไม่เกิน 4 ปี ชุมชนมีรายได้เกษตรกรรมเพิ่มกว่า 60% appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
“เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล พิสูจน์ได้จริงจากตัวอย่างความสำเร็จของชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีเงินกองทุน 480 ล้านบาท มีสวัสดิการดูแลสมาชิกตลอดชีพ https://www.sdperspectives.com/next-gen/11247/ Thu, 01 Apr 2021 08:25:49 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=11247 1 เมษายน2564...ความยากจนเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก โดยเฉพาะวิกฤติแล้งในปีนี้เริ่มส่งสัญญาณรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

The post “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล พิสูจน์ได้จริงจากตัวอย่างความสำเร็จของชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีเงินกองทุน 480 ล้านบาท มีสวัสดิการดูแลสมาชิกตลอดชีพ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
1 เมษายน2564…ความยากจนเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก โดยเฉพาะวิกฤติแล้งในปีนี้เริ่มส่งสัญญาณรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังพื้นที่ในหลายชุมชนเริ่มประสบภัยจากการขาดแหล่งน้ำกินน้ำใช้เร็วกว่าปกติ นั่นหมายความว่ายิ่งแล้งเท่าไหร่ก็ยิ่งซ้ำเติมภาวะทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรเพิ่มมากเท่านั้น

ดร.รอยล จิตดอน ประธานกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) กล่าวถึง วิกฤติภัยแล้งในปี 2564 ที่รุนแรงมากขึ้นจนอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในพื้นที่นอกเขตชลประทานซึ่งมีจำนวนมากถึงร้อยละ 80 ของประเทศ โดยชุมชนที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำซึ่งอยู่ในขั้นวิกฤติกว่า 30,000 ชุมชน ในพื้นที่ภาคเหนือ และอีสาน ขณะที่ปัจจุบันปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้

จากปัญหาภัยแล้งในปีนี้ที่มีสัญญาณรุนแรงขึ้น ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามาร่วมมือสนับสนุนชุมชน ให้รอดจากภัยแล้ง ความยากจน ด้วยการใช้ “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล ซึ่งถอดบทเรียนจากความ สำเร็จของการจัดการน้ำชุมชนที่เอสซีจี และเครือข่ายได้ดำเนินมากว่า 10 ปี และโครงการ “เอสซีจี ร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส เอสซีจี ครบรอบ 108 ปี ซึ่งเป็นไปตามหลักการทรงงานที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นแนวทางการทรงงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานดังกล่าวสืบต่อไป

ดังนั้น การพึ่งพาน้ำในเขื่อนเพียงอย่างเดียวคงไม่ทำให้รอดภัยแล้งได้ เกษตรกรจึงต้องลุกขึ้นมาพึ่งพาตัวเอง เรียนรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้เทคโนโลยี หาแหล่งกักเก็บน้ำ และบริหารน้ำในพื้นที่ตัวเอง เมื่อมีน้ำกิน มีน้ำใช้ และมีน้ำเพียงพอต่อการเกษตร มีผลผลิตทางชุมชนมีรายได้ อาชีพมั่นคง ด้วยการใช้ “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล ซึ่งชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสำเร็จมาแล้ว โดยชุมชนนี้ “เลิกแล้ง” มาเป็นระยะเวลานานเช่นเดียวกับ “เลิกจน” และมีเงินทุน 480 ล้านบาท สำหรับสมาชิก 9,541 คน ตลอดชีพ 11 กองทุน ทั้งออมทรัพย์ อาชีพ สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

บรรจง พรหมวิเศษ ตัวแทนชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี เล่าถึง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล ที่ได้ลงมือร่วมกันทำทั้งชุมชนไว้อย่างน่าสนใจ 6 ขั้นตอนด้วยกัน

บรรจงเล่าถึง การลงมือร่วมกันทำทั้งชุมชนไว้อย่างน่าสนใจ 6 ขั้นตอนด้วยกัน จนกระทั่งมีเงินกองทุน 480 ล้านบาท มีสวัสดิการดูแลสมาชิกตลอดชีพ

เรื่องแรก มีกระบวนการทำงานเริ่มต้นจากความสามัคคี พึ่งตนเอง เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ปัญหาด้วยความรู้คู่คุณธรรม

“หากมองย้อนกลับไปในอดีตเรามีอาชีพทำนา แต่ทำนาเท่าไหร่เราก็ยังเป็นหนี้มาโดยตลอดไม่หมดสิ้นเสียที ในปี 2524 เกษตรกรในชุมชนจึงเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นทำไร่ไผ่ตง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของการปลูกไผ่ตง หลังจากที่เรามองเห็นโอกาสว่าไผ่ตงเป็นพืชเศรษฐกิจ และมีโรงงานทำหน่อไม้เข้ามารับซื้อ สร้างรายได้ดีกว่าการทำนา ทำให้เกษตรในชุมชนหันมาปรับพื้นที่นามาเป็นไร่ไผ่ตงทั้งหมด ก่อให้เกิดปัญหาหนักตามมา เนื่องจากการปรับหน้าดินทำให้พื้นที่หัวคันนาหายไป “น้ำแล้ง” มากขึ้น เมื่อไม่มีน้ำ เกษตรกรก็จะสูบน้ำในคลองเพื่อใช้ในการรดไผ่ตงนอกฤดูเพราะสร้างรายได้ดีกว่า จนก่อให้เกิดปัญหาแย่งน้ำจนชาวบ้านทะเลาะกัน”

เมื่อเจอปัญหาทางชุมชมก็เริ่มมองหาทางออกด้วยการตั้งคณะกรรมการจัดการน้ำคลองเกษียร แต่ดูเหมือนว่าปัญหาก็ยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างแท้จริง เนื่องจากยังมีคนแอบสูบน้ำไปใช้กันตอนกลางคืน ต่อมาปี 2536-2540 เกิดเหตุการณ์ไผ่ตงตายทั้งประเทศ เกษตรกรได้รับผลกระทบทันที รายได้ไม่มี แต่ภาระหนี้สินมากขึ้น ภาครัฐไม่สามารถช่วยได้ การเข้าถึงแหล่งทุนก็ลำบาก สุดท้ายก็ต้องกู้ยืมเงินวนเวียนอยู่แบบเดิม ทางชุมชนจึงหันมาพัฒนาการปลูกไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผล เริ่มจากพื้นที่หัวไร่ปลายนา แต่ก็ต้องพบกับปัญหาเดิมคือ “น้ำไม่พอ”

เพื่อต่อสู้กับความจน ชุมชนตำบลดงขี้เหล็กจึงนำปัญหาเป็นตัวตั้ง “สร้างพลังร่วมกัน” ทำข้อมูลของหมู่บ้านในตำบล โดยออกแบบการเก็บข้อมูลทุกมิติของปัญหาว่าแต่ละครอบครัวมีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นนำมาตามจัดทำเป็นอันดับพบว่า อันดับหนึ่งคือ น้ำ สองคือหนี้สิน สามคืออาชีพ สี่คือสวัสดิการ

เรื่องที่สอง เรียนรู้จัดการน้ำ ด้วยเทคโนโลยี เรียนรู้การจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ เข้าใจสภาพพื้นที่ รู้ความต้องการใช้น้ำของตนเองและชุมชน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำแผนที่น้ำ ผังน้ำ วางแผนบริหารสมดุลน้ำ

บรรจง กล่าวว่าในช่วง 1-2 ปีแรกเป็นเพียงแค่จุดเริ่มของการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องน้ำ จากนั้นในปีต่อมาจึงได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชนเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ในการจัดการน้ำ

ในปี 2553 – 2557 สสน. ได้คัดเลือกชุมชนตำบลดงขี้เหล็กเป็นชุมชนแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ด้วยการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำชุมชน ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนที่ภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นนวัตกรรมทางธรรมชาติ และยังประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน จนสามารถจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำในฤดูฝน ก่อนที่จะปล่อยให้น้ำไหลลงแม่น้ำปราจีนบุรี อีกทั้งได้วางระบบส่งน้ำเพื่ออุปโภคในครัวเรือน และใช้ในการเกษตร รวมถึงสอนให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ

เรื่องที่สาม หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น สร้างแหล่งกักเก็บน้ำ สำรองน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเกษตรให้เพียงพอกับความต้องการใช้ของชุมชน ใช้น้ำซ้ำให้คุ้มค่าด้วยระบบน้ำหมุนเวียน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน

บรรจงเล่ามาถึงช่วงปัจจุบัน ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ และสำรองน้ำในพื้นที่ ด้วยสระน้ำประจำไร่นา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เขื่อนใต้ดิน” ทำให้มีน้ำใช้ยามฝนทิ้งช่วง สามารถบริหารจัดการปิด-เปิดประตูน้ำ และเชื่อมต่อคลอง เพื่อกระจายน้ำให้ เข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมพื้นที่ 28,850 ไร่ ได้น้ำกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้น้ำหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า ช่วยลดภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม

เมื่อแหล่งน้ำที่กักเก็บไว้มีความพร้อมในทุกสถานการณ์ ย่อมส่งผลถึงระบบเกษตรกรรมของชุมชนที่มีอยู่มีกิน และค้าขายได้

เรื่องที่สี่ ทำเกษตรผสมผสาน บริหารความเสี่ยง โดยปลูกพืชเพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อขาย สร้างรายได้ตลอดทั้งปี ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำเกษตรด้วยเทคโนโลยี วางแผนเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อยในพื้นที่แล้ง

ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ ได้แก่ พืชผัก ผลไม้หลายชนิดและการเลี้ยงปลาในสระ ใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย รวมทั้งดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2557จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากเดิมปลูกไม้ประดับ พืชเชิงเดี่ยวเพื่อค้าขาย หันมาปลูกพืชกินได้เสริมในแปลงเกษตร ผลผลิตที่ได้นำมาบริโภค ในครัวเรือน จากเกษตรกรแปลงตัวอย่างจำนวน 5 ราย สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ยปีละ 16,800 บาท เนื่องจากมีการวางระบบกระจายน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ ใช้น้ำน้อยแต่ให้น้ำพืชได้ทั่วถึง ปลูกไม้มรดก พืช กินได้ ผักสวนครัว

เรื่องที่ห้า เข้าใจตลาด ตรงใจลูกค้า ปลูกพืชที่ตลาดต้องการ แปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการขายผ่านช่องทางตลาดที่เข้าถึงลูกค้า

สำหรับ ผู้ที่ต้องการไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น โมก จันทร์กระพ้อ สาระลังกา ฯลฯ รวมถึงผลิตทางการเกษตร ไผ่ตง และการแปรรูปต่าง ๆ ก็มักจะตรงไปที่ชุมชนดงขี้เหล็ก เพราะมีสินค้าให้เลือกตามความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย โดยลูกค้าจำนวนมากจะเดินทางมาถึงที่บ้านของชุมชน ซึ่งใช้เป็นหน้าร้านขายสินค้ากันเลย

“สมมติเป็นต้นโมก ลูกค้าจะดูจากฟอร์ม ดูจากขนาด โดยชาวบ้านซึ่งเป็นคนปลูกจะกำหนดราคาเอง ไม่มีคนกลาง การเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่เกิดจากการบริหารจัดการน้ำ ช่วยให้เด็ก ๆ ไม่ไปทำงานนอกบ้านเลย ก็เป็นการช่วยกันดูแลครอบครัวในถิ่นที่เกิด” บรรจงอธิบายต่อเนื่อง

เรื่องที่หก เศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน การรวมกลุ่มชุมชนให้เข้มแข็ง จัดการผลผลิตเกษตร การตลาด การจัดการเงินและสวัสดิการ

“ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก” ในจังหวัดปราจีนบุรีเป็นหนึ่งในตัวอย่างของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ จากที่เคยจนน้ำ จนเงิน จนความรู้ หนี้ท่วม ลุกขึ้นเรียนรู้ จึงมีน้ำ หมดหนี้โดยจัดตั้งกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เริ่มต้นมีเงินทุน 1,150 บาท สมาชิก 48 คน กระทั่งปัจจุบัน มีสมาชิก 9,541 คน รวม 11 กองทุน มีเงินกองทุน 480 ล้านบาท ทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนคอยช่วยเหลือเกษตรกร พร้อมมอบสวัสดิการดูแลสมาชิกตลอดชีพ

“เงื่อนไขของเราคือ การฝากเงินต้องไม่ต่ำกว่า 100 บาทแต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน มีปันผลร้อยละ 6 บาทต่อปี ชาวบ้านหลายคนไม่ถอนเงิน ไม่กู้เงิน ดังนั้นหลายคนมีเงินเป็นล้านในกองทุนนี้ ส่วนสวัสดิการได้ตั้งแต่ลูกเกิดมีเงินขวัญทุน และนับเป็นสมาชิกของกองทุนเลย เพื่อให้เด็กรู้จักอดออม เมื่อสมาชิกกองทุนไม่สบาย นอนโรงพยาบาลได้คืนละ 300 บาท เสียชีวิตกองทุนจ่าย 20,000 บาท”

บรรจงกล่าวว่า “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล ทำให้ชุมชนของเราลดรายจ่ายเฉลี่ย 20,000 บาทต่อครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยปีละ 660,000 บาทต่อครัวเรือน แต่ละปีจำนวนเงินในกองทุนสัจจะออมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นทุกปี และมีจำนวนการฝากเงินมากกว่าการกู้

“พิสูจน์ได้ว่าเมื่อไม่เจอกับปัญหาน้ำแล้งแล้ว เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น สร้างความมั่นคงในครอบครัว ทำให้รุ่นลูกเลือกที่จะเข้ามาสืบทอดกิจการต่อจากรุ่นพ่อแม่ แทนการทำงานในโรงงานหรือเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รุ่นพ่อแม่ปลูกฝังเรื่องการสร้างความมั่งคั่งจากที่ดินทำกิน และการเป็นนายตัวเอง ลูก ๆ จึงยังได้อยู่กับพ่อแม่เป็นครอบครัวที่อยู่กันอย่างอบอุ่น”

“เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล เครือข่ายความสำเร็จของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ พลิกชีวิตความเป็นอยู่ให้กับ 250 ชุมชน 47,500 ครัวเรือน ใน 30 จังหวัด มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่าว่า ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา เอสซีจีร่วมกับเครือข่ายแก้ปัญหาภัยแล้ง สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เห็นความสำเร็จของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ พลิกชีวิตความเป็นอยู่ให้กับ 250 ชุมชน 47,500 ครัวเรือน ใน 30 จังหวัด มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า ซึ่ง “ชุมชนดงขี้เหล็ก” ก็เป็น 1 ในความสำเร็จ และบทพิสูจน์ว่า ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และความยากจนได้ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้ง 6 เรื่องที่ทำจริงได้ จึงนำมาสู่บทสรุป “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล

“เอสซีจีจะร่วมผลักดัน เลิกแล้ง เลิกจน โมเดลร่วมกับสสน.และทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะสงครามภัยแล้ง และความยากจนเร็ววัน” รุ่งโรจน์กล่าวในท้ายที่สุด

เนื้อหาเกี่ยวข้อง อีกหนึ่งความสำเร็จ

The post “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล พิสูจน์ได้จริงจากตัวอย่างความสำเร็จของชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีเงินกองทุน 480 ล้านบาท มีสวัสดิการดูแลสมาชิกตลอดชีพ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
“เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล : Case Study @พื้นที่แล้งที่สุดแห่งหนึ่ง https://www.sdperspectives.com/next-gen/hii-or-th-case-study-2021/ Wed, 10 Mar 2021 12:41:47 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=10962 10 มีนาคม 2564... เปลี่ยน “แล้ง” ไม่ใช่แค่ “รอด” จัดการน้ำพลิกชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืน เพราะ “น้ำคือชีวิต” ถ้าไม่มีน้ำ คนก็อยู่ไม่ได้ SD Perspectives พบผู้คนจำนวนไม่น้อยจึงเลือกที่จะทิ้งถิ่นเกิด อพยพสู่เมืองใหญ่

The post “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล : Case Study @พื้นที่แล้งที่สุดแห่งหนึ่ง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
10 มีนาคม 2564… เปลี่ยน “แล้ง” ไม่ใช่แค่ “รอด” จัดการน้ำพลิกชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืน เพราะ “น้ำคือชีวิต” ถ้าไม่มีน้ำ คนก็อยู่ไม่ได้ SD Perspectives พบผู้คนจำนวนไม่น้อยจึงเลือกที่จะทิ้งถิ่นเกิด อพยพสู่เมืองใหญ่ หอบหิ้วความหวังฝ่ากระแสธารแห่งการต่อสู้ที่เข้มข้น เพื่อสร้างชีวิตใหม่ที่คิดว่าดีกว่า แต่สุดท้ายอาจพบว่าบนเส้นทางในเมืองใหญ่ไม่ได้ตอบโจทย์ความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจและความสุขที่ยั่งยืน

ทิ้งถิ่นสู่เมืองใหญ่ขายแรงงานทางเลือกที่ “ไม่รอด”

ชุมชนภูถ้ำ ภูกระแต อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่แล้งที่สุดในภาคอีสาน ฝนตกน้อยที่สุด น้ำแล้ง 4 ปี ฝนดี 2 ปี ทำให้ชุมชนต้องเผชิญทั้งภัยแล้งซ้ำซากมากว่า 40 ปี ไม่สามารถทำการเกษตรได้ คนหนุ่มคนสาวต่างอพยพไปรับจ้างขายแรงงานต่างถิ่น โอกาสที่ครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันก็เฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา และออกพรรษาเท่านั้น

“ช่วงแล้งที่สุด คนในหมู่บ้านกว่า 300 คน ต้องยืนต่อคิวอาบน้ำในบ่อน้ำบ่อเดียวกัน ส่วนน้ำดื่มต้องตื่นตั้งแต่ตี 2 ตี 3 ไปตักน้ำในบ่อน้ำตื้นใกล้ป่าภูถ้ำ เราอยู่ไม่ได้ต้องอพยพไปรับจ้างต่างจังหวัด คิดว่าไปกรุงเทพฯ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นเหมือนเมืองสวรรค์ ผมไปอยู่กรุงเทพฯ 28 วัน มันไม่ใช่สวรรค์เป็นนรก เราเป็นเหมือนเขียดที่คลุกดินทรายกำลังจะดิ้นตาย มันทรมาน ซึ่งสิ่งที่เราไปเห็นทำให้รู้ว่าบ้านเราเป็นสวรรค์” พิชาญ ทิพวงษ์ สะท้อนเรื่องราวในวันวาน

เมื่อเมืองใหญ่ไม่ใช่ทางรอด   พิชาญเบนเข็มกลับสู่ชุมชนภูถ้ำ ภูกระแต มุ่งมั่นที่จะยืนหยัดใช้ชีวิตบนผืนดินถิ่นเกิด โดยลุกขึ้นมาแก้ปัญหาน้ำด้วยตัวเอง ปลูกป่าสร้างความชุ่มชื้นให้ผืนดิน และพยายามจัดการน้ำชุมชน พร้อมปลุกพลังชาวบ้านในชุมชนให้มาร่วมกันสู้รู้จักพึ่งพาตัวเอง แทนการรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาของชุมชน นอกเหนือจากเรื่องการขาดความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทำให้ต้องเผชิญกับแล้งซ้ำซากทำการเกษตรแทบไม่ได้ และเมื่อฝนตกก็ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้เช่นกัน

ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการเเก้ไขปัญหาร่วมกัน และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการเเก้ปัญหาภัยเเล้ง

จุดเปลี่ยนปลดล็อกความคิด ลุกขึ้นสู้ร่วมกันแก้ปัญหา

พิชาญเล่าว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในชุมชนเกิดจากการส่งโครงการจัดการน้ำชุมชนของภูถ้ำ ภูกระแต เข้าประกวด ซึ่งได้รับคัดเลือกจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ให้เป็น “ชุมชนจัดการน้ำดีเด่น” ทำให้มีโอกาสเข้าอบรมเรียนรู้เรื่องการจัดการน้ำจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สสน. รวมทั้งเอสซีจี เข้ามาทำงานร่วมกับชาวบ้าน และปรับวิธีคิดและเปิดมุมมองใหม่ให้ชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และโชคดีที่มี “โครงการเอสซีจี ร้อยใจ 108 ชุมชนรอดภัยแล้ง” เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชน สนับสนุนการเชื่อมน้ำขุดคลองเข้าพื้นที่ ขุดแก้มลิงให้เป็นแหล่งน้ำประจำไร่นา จนสามารถเก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งสามารถฟื้นฟูและอนุรักษ์ผืนป่ากว่า 2,800 ไร่ ให้กลายเป็นป่าเขียว รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงตัวเองในชุมชนได้

“ผมมีโอกาสได้เจอกับ ดร.รอยล จิตรดอน ที่ปรึกษา สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสน. อาจารย์ตั้งคำถามที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เพราะเมื่อก่อนชาวบ้านเป็นนักร้อง เรียกร้องตรงนั้นตรงนี้ คัดค้านโครงการนั้นโครงการนี้ อาจารย์จึงทิ้งคำถามไว้ว่า หากคิดว่าสิ่งที่มีอยู่ไม่ดีพอ แล้วเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร จึงทำให้เรากลับมาคิดภายใต้โจทย์ใหญ่ของชุมชน ว่าเราจะหาทางเก็บน้ำ 2 ปีให้ข้ามแล้ง 4 ปีได้อย่างไร”

รู้จักจัดการน้ำ เรียนรู้ใช้เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหารอดแล้ง

กรอบความคิดและการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา ชาวบ้านร่วมกันศึกษาสภาพพื้นที่ด้วยแผนที่ชุมชน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น เครื่อง GPS แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อสำรวจสภาพพื้นที่ของตัวเอง สำรวจโครงสร้างแหล่งน้ำ สถานะแหล่งน้ำ ทางน้ำธรรมชาติ และความต้องการใช้น้ำ ทำให้ทราบค่าระดับความสูงต่ำนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ หลังจากนั้นร่วมกันจัดระบบการบริหารจัดการน้ำผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น คลองดักน้ำหลาก แก้มลิงกักเก็บน้ำ คือ คลองที่เกิดจากการขุดคลองดักน้ำที่ไหลหลากจากที่สูง คล้ายการทำรางน้ำดักน้ำบนหลังคาบ้าน แล้วลำเลียงน้ำจากสูงไปต่ำเป็นสระน้ำขั้นบันได เพื่อให้น้ำไหลไปรวมกันไว้ในสระแก้มลิง เป็นต้น รวมทั้งใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหา

แนวทางแก้ปัญหาเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่การลงมือปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด พลิกชีวิตด้วยปัญญาตามแนวพระราชดำริด้วยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำแล้งน้ำหลากบนพื้นที่สูงลอนคลื่น โดยบริหารจัดการน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และมีการใช้น้ำซ้ำหลายรอบอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญชุมชนมีการตั้งกติกาการใช้น้ำร่วมกัน หากน้ำอยู่ในระดับวิกฤตจะลดการใช้น้ำครอบครัวละไม่เกิน 10 คิว/เดือน เพื่อที่จะรักษาปริมาณน้ำ

สร้างรายได้จากผลผลิตการเกษตร

สร้างเศรษฐกิจด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันเกษตรกรในชุมชนยังได้เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ นำมาประยุกต์ใช้จัดรูปที่ดิน เพื่อให้บริหารจัดการง่ายขึ้น พร้อมทั้งมีการวางแผนการผลิตใหม่ เพื่อให้ปลูกพืชได้หลากหลายมากขึ้น สร้างรายได้เพิ่มขึ้น 4-5 เท่า จากเดิม 30,000 – 50,000 บาท/ปี เป็น 120,000 บาท/ปี และช่วยลดรายจ่าย โดยเฉพาะค่าอาหารลดลงกว่าเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรในเครือข่ายเปลี่ยนวิถีการผลิต จำนวน 68 ราย มีรายได้จากผลผลิตประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อมีความมั่นคงแล้วเกิดความยั่งยืน เพราะว่ามันสามารถส่งต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ด้วย

“เราต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงแม้เป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้มาก่อน เมื่อมีน้ำก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผู้คนในท้องถิ่นไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นไปหางานในเมืองใหญ่ ดินบ้านเราอาจไม่ดี แต่ลองเปลี่ยนใหม่ว่า ดีแล้วที่มีดิน ดีแล้วที่มีน้ำ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะบริหารจัดการสิ่งที่มีอยู่อย่างไร ให้เกิดผลสำเร็จ ผมคิดว่าบ้านเป็นฐานที่มั่นที่อบอุ่นและมีความสุขที่สุด อย่างโควิดอยู่ที่นี่ไม่อดตาย เข้าไปทุ่งนาเข้าสวนก็ได้กินแล้ว เราต้องภาคภูมิใจในสิ่งที่มีอยู่ ชุมชนที่ยังไม่รู้จักจัดการตัวเอง อย่ารอคนอื่นมาแก้ไขปัญหา เมื่อน้ำคือชีวิต ทุกคนต้องการน้ำ เราต้องลุกขึ้นมาร่วมมือกันเรียนรู้ เพื่อที่จะรอดแล้งด้วยการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม สร้างป่าต้นน้ำให้มีความเขียวชอุ่ม แม้ในฤดูแล้ง” พิชาญทิ้งท้าย

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

The post “เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล : Case Study @พื้นที่แล้งที่สุดแห่งหนึ่ง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
แจ้งเตือน ! คนกรุง,คนหัวเมือง,ชาวนาทำนาปรัง “ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” มาถึงตัวแล้ว https://www.sdperspectives.com/next-gen/hii-water-resource-management/ Sun, 21 Feb 2021 14:40:52 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=10836 21 กุมภาพันธ์ 2564...สสน.ชี้ข้อมูลกับ SD perspectives เริ่มม.ค.64 ในวันที่ดื่มน้ำแล้วรู้สึกเค็ม นั่นคือ“ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” เข้ามาถึงในบ้านแล้ว และชาวนาทำนาปรัง ที่ต้องเลือกระหว่างน้ำบริโภค หรือน้ำทำนาปรัง

The post แจ้งเตือน ! คนกรุง,คนหัวเมือง,ชาวนาทำนาปรัง “ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” มาถึงตัวแล้ว appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
21 กุมภาพันธ์ 2564…สสน.ชี้ข้อมูลกับ SD perspectives เริ่มตั้งแต่เดือนแรกของปี ในวันที่ดื่มน้ำแล้วรู้สึกเค็ม นั่นคือ“ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” เข้ามาถึงในบ้านแล้ว ส่วนคนหัวเมือง ใช้น้ำประปาแล้วรู้สึกน้ำไหลอ่อน “ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” มาถึง ส่งผลกระทบชาวนาทำนาปรัง ที่ต้องเลือกระหว่างน้ำบริโภค หรือน้ำทำนาปรัง สสน.ย้ำต้องวางแผนการใช้น้ำ งดสูบน้ำทำนาปรัง

ดร.รอยล จิตรดอน ประธานกรรมการ (ซ้าย) และ ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ร่วมกัน “สื่อสารสถานการณ์วิกฤตน้ำประเทศไทยปี 2564” เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งของประเทศไทยนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2564 นี้ คาดการณ์ว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด

ดร.สุทัศน์ กล่าวว่า เหตุการณ์ฝนน้อยกว่าปกติเกิดมา 2 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2562-2563 โดยเฉพาะภาคเหนือ มีฝนน้อยกว่าปกติถึงร้อยละ 17 ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีน้อย รวมถึงปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การเพียง 5,771 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งถึงช่วงต้นฤดูฝนประมาณ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

“ทำให้ฤดูแล้งปี 2564 มีน้ำไม่เพียงพอต่อ การสนับสนุนการเกษตร ซึ่งภาครัฐได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดทำนาปรัง เพื่อให้มีน้ำสำหรับ การอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ ประมาณ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบัน เกษตรกรได้ทำนาปรังแล้วมากกว่า 2.8 ล้านไร่ ทำให้ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองชลประทาน จนน้ำที่ต้องใช้ผลิตน้ำประปาหลายแห่งมีไม่เพียงพอ และเริ่มมีข่าวการแย่งน้ำกันเกิดขึ้น ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนในฤดูแล้งปี 2564 นี้ อาจเกิดการสูบน้ำออกไปจากระบบเพิ่มมากขึ้น การประปาหลายแห่งที่ใช้น้ำจากคลองชลประทานอาจเกิดปัญหาขาดน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย”

เรื่องเดียวกันนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา น้ำเค็มเริ่มรุกเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาสูงมาก จนสูงที่สุดเท่าที่มีการตรวจวัดมาในรอบ 10 ปี บริเวณสถานีสูบน้ำสำแล จังหวัดปทุมธานี หรือปากคลองประปา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำคัญของการประปานครหลวงที่ผลิตน้ำให้กับกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกทั้งหมด เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2564 เวลา 20.40 น. มีค่าความเค็มสูงถึง 2.53 กรัมต่อลิตร นอกจากค่าความเค็มจะเกินมาตรฐานในการผลิตน้ำประปาแล้ว ยังเกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำใช้เพื่อการเกษตรด้วย

แม้ปัจจุบันค่าความเค็มจะลดลงบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงสูง ซึ่งสาเหตุหลักมาจาก “ปริมาณน้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยามีน้อย” และการเกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติ โดยมีอิทธิพลของลมใต้ที่เริ่มพัดปกคลุมทะเลอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการยกตัวของระดับน้ำทะเลพัดเข้าสู่อ่าวไทยตอนบน ระดับน้ำที่ตรวจวัดได้จริงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจึงสูงกว่าระดับน้ำขึ้นน้ำลงจากอิทธิพลของดวงจันทร์ การยกตัวของระดับน้ำทะเลนี้ จะเสริมให้น้ำเค็มรุกตัวเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น

“ที่ผ่านมา เราใช้น้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ที่มีเขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญมาช่วยผลักดันน้ำเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปีนี้ เขื่อนทั้งสองมีน้ำน้อยมาก พอสำหรับใช้ในลุ่มน้ำแม่กลองเท่านั้น อาจมีน้ำเหลือพอที่จะผันมาช่วยฝั่งเจ้าพระยาได้เพียง 350 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่เพียงพอต่อการผลักดันน้ำเค็มอย่างปีที่แล้ว ที่ผันน้ำจากแม่กลองมาช่วยถึง 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งภาครัฐโดยเฉพาะกรมชลประทาน เร่งแก้ไขปัญหา โดยเพิ่มการระบายน้ำเพื่อช่วยลดน้ำเค็มที่รุกตัวเข้ามา แต่การระบายน้ำยังทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเพราะมีการสูบน้ำออกไปจากแม่น้ำ”

ดร.สุทัศน์ กล่าวถึงหลักสำคัญในตอนนี้คือ เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องเข้าใจสถานการณ์น้ำที่อยู่ในขั้นวิกฤต และไม่สูบน้ำไปจากแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่อน้ำกินน้ำใช้ ส่วนประชาชนทุกภาคส่วนต้องใช้น้ำอย่างประหยัดอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างรอบคอบ จนกว่าจะสถานการณ์ภัยแล้งจะเริ่มคลี่คลาย แม้จะคาดว่าในเดือนเมษายนนี้ อาจจะมีฝนตกมากกว่าค่าปกติและอาจเกิดพายุฤดูร้อน

@สสน. ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับประมวลผล และเครื่องโทรมาตรที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนแบบเรียลไทม์ในจุดที่เป็นเครือข่าย สสน.ทั่วประเทศ เครื่องใช้ทำงานโดยใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์ สื่อสารด้วย 2 ซิมที่อบู่ในตู้สีขาว ในกรณีที่ซิมทำงานไม่ได้ระบบจะใช้ดาวเทียม(อุปกรณ์สีดำด้านบน) ทำงานแทน

ดร.รอยล ขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นตัวอย่าง ในช่วงที่ประเทศไทยประสบภัยแล้ง ปี 2562-2563 ชุมชนต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกับสถาบันฯ 1,773 หมู่บ้าน รอดพ้นจากภัยแล้ง จากการสรุปข้อมูล พบว่า

ชุมชนเข้าไป “ฟื้นป่า”โดยการทำฝายเพื่อเพิ่มน้ำ จากฝายก็ทำต่อในเรื่องน้ำประปาภูเขา สามารถใช้เป็นระบบน้ำอุปโภคบริโภคส่วน “น้ำเพื่อการเกษตร” ชุมชนแก้ปัญหาโดยการดูแลอ่างเก็บน้ำ และทำเป็นระบบสระพวง ทำให้มีน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งการทำการเกษตรจะแตกต่างจากพื้นที่ราบ คือทำเป็นวนเกษตรหรือเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชุมชนสามารถแก้ปัญหาความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และรวมกันเป็นทีมบริหารจัดการน้ำ

“หลายชุมชนมีความเป็นอยู่เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว คือมีกองทุนของตัวเอง เวลาเกษียณอายุหรือเวลาเจ็บป่วยจะมีเงินช่วยเหลือ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างชุมชน เอกชนและรัฐ ไม่ใช่รัฐทำฝ่ายเดียว ยกตัวอย่างเช่น ภูเขาหัวโล้น จังหวัดน่าน เราเข้าไปฟื้นโดยการทดลองพื้นที่ 2,000 ไร่ เปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพด และแทนที่จะปลูกป่าชุมชน เริ่มจากฟื้นฟูฝาย ฟื้นระบบแทงก์น้ำ แล้วปลูกกล้วยนำก่อน 7 เดือน จากนั้นปลูกถั่วดาวอินคา มะนาว มะละกอ ทุเรียน แล้วมี กสทช.เอา 4G เข้าไปในพื้นที่ ชาวบ้านสามารถขายผลผลิตผ่านออนไลน์เกิดธุรกิจ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า ไม่มีการบุกรุกป่าและทำเป็นวนเกษตรและชุมชนไม่แล้งอีกต่อไป”

ดร.รอยลกล่าวในท้ายที่สุด“ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” อาจมีน้ำไม่เพียงพอต่อภาคการเกษตร ซึ่งภาครัฐพยายามประชาสัมพันธ์ไม่ให้เกษตรกรงดทำนาปรัง ซึ่งใช้น้ำปริมาณมาก จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคชุมชน หันมาทำเกษตรวิถีใหม่ ส่วนคนเมืองต้องเริ่มวางแผนการใช้น้ำให้ประหยัดกันมากขึ้น

คลิก อ่านเนื้อหาความสำเร็จของชุมชนบางแห่ง ที่เปลี่ยนจากแล้ง/น้ำท่วม เป็นพื้นที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้

The post แจ้งเตือน ! คนกรุง,คนหัวเมือง,ชาวนาทำนาปรัง “ภัยแล้งปี 64 วิกฤต” มาถึงตัวแล้ว appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
เผย 4 จุดสำคัญ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง https://www.sdperspectives.com/csr/scg-tungsong-csr/ Sat, 12 Dec 2020 10:40:14 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=10016 12 ธันวาคม 2563...เอสซีจี ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สนับสนุนชุมชนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ

The post เผย 4 จุดสำคัญ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
12 ธันวาคม 2563…เอสซีจี ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สนับสนุนชุมชนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ

ชนะ ภูมี Vice President – Cement and Construction Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า ชุมชนทุ่งสงเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำตรังที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม ในปี 2559

“เอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ สนับสนุนงานจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ของชุมชนทุ่งสง ตำบลถ้ำใหญ่และตำบลนาหลวงเสน ด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนจากพื้นที่ป่า และพัฒนาเป็นระบบน้ำดื่มชุมชนที่สะอาด พร้อมส่งเสริมการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ช่วยให้ชุมชนรอดพ้นจากภัยแล้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในวันนี้ เอสซีจี ยังคงสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริต่อไป”

ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลำดับที่ 24 แห่งนี้นับว่ามีความสำคัญและจะเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างมาก เพราะมุ่งหวังให้เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จของชุมชนที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาเป็นหลักคิดและประยุกต์ใช้ในพื้นที่ โดยมูลนิธิอุทกพัฒน์ เข้ามาถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำ และ สสน. ได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาถ่ายทอดเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลถ้ำใหญ่ และตำบลนาหลวงเสน โดยมุ่งหวังให้ชาวชุมชนนำองค์ความรู้จากบทเรียนความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตน เกิดการทำงานร่วมกันในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ พร้อมส่งเสริมสนับสนุนเยาวชนในพื้นที่สานต่อเครือข่ายจัดการน้ำชุมชนกลุ่มเยาวชนพนาดร สืบสานพัฒนางานเครือข่ายทุ่งสง เพื่อร่วมสร้างเครือข่ายจัดการน้ำชุมชนที่เข้มแข็ง”

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง ได้มีการแบ่งจุดศึกษาดูงานออกเป็น 4 จุดสำคัญ ได้แก่

จุดที่ 1 : ฟื้นฟู-กักเก็บ-สำรอง

พื้นที่ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านวังไทรโดยความร่วมมือของชาวชุมชนและเยาวชนด้วยการปลูกไม้ท้องถิ่นและสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น สามารถช่วยชะลอน้ำ ดักตะกอน และป้องกันดินถล่ม รวมถึงสร้างระบบกักเก็บน้ำด้วยฝายกึ่งถาวรและสระน้ำแก้มลิงเพื่อสำรองน้ำ รวมทั้งสระประจำไร่นาเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ทำให้ชาวบ้านอำเภอทุ่งสงมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค สามารถรอดพ้นวิกฤตภัยแล้งได้ในปี 2562

จุดที่ 2 : ป่าต้นน้ำ ผลิตน้ำมาใช้และดื่ม

จากความร่วมมือของชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำทำให้มีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น เกิดการพัฒนาเป็นระบบน้ำดื่มชุมชนด้วยการวางระบบท่อส่งน้ำภูเขาด้วยเครื่องระบุพิกัด (GPS) และส่งน้ำผ่านเข้าเก็บยังถังพักสำรองน้ำชุมชนเพื่อเข้าสู่ระบบกรองน้ำดื่มสะอาด โดยโรงกรองน้ำดื่มสะอาดชุมชนตำบลนาหลวงเสนมีอัตราการผลิต 6,000 ลิตรต่อวัน และชุมชนหมู่ 8 บ้านไสเหนือมีน้ำดื่มสะอาดเพียงพอทั้งหมู่บ้าน ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มได้ 3,000 บาทต่อเดือน

จุดที่ 3 : มั่นคงเครือข่าย รู้เท่าทันสถานการณ์น้ำ

ร่วมแก้ปัญหาการเกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มในชุมชนทุ่งสงจากการเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำตรัง โดยคนในชุมชนร่วมเป็นเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ตำบลถ้ำใหญ่ ตำบลถ้ำวัง มีศูนย์กลางระบบการจัดการภัยพิบัติที่ตำบลถ้ำใหญ่ พร้อมขยายเครือข่ายร่วมกับเทศบาลเมืองทุ่งสง ตำบลที่วังตอนล่าง เพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ครอบคลุมตำบลถ้ำใหญ่และตำบลที่วัง 2 ตำบล 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันมีสถานีโทรมาตรตรวจวัดปริมาณฝน และวิทยุสื่อสารเพื่อแจ้งเตือนภัยเมื่อพบปริมาณฝนตกหนัก ช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

จุดที่ 4 : เกษตรครัวเรือน พอเพียง สุขใจ

เปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ด้วยการแบ่งพื้นที่ให้มีสระน้ำประจำสวน และเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค มีปฏิทินการเพาะปลูกให้มีผลผลิตตลอดปีตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการบริโภคเองและแบ่งปันเมื่อเหลือ ตลอดจนการรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าทางการเกษตรจนเกิดการขยายผลอย่างต่อเนื่องจาก 2 รายเป็น 11 ราย และขยายผลเอง 5 ราย ปัจจุบันมีผู้ทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่รวม 16 ราย สามารถเพิ่มรายได้ 343,403 บาทต่อปี

เมื่อคนในชุมชนและเยาวชนในพื้นที่เริ่มเรียนรู้และร่วมใจกันจัดการแก้ปัญหาด้วยแนวทางการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่กับการจัดการน้ำด้วยระบบน้ำหมุนเวียนตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ชุมชนสามารถรอดพ้นภัยแล้งและน้ำท่วม ทั้งยังมีน้ำสำรองเพื่อการเกษตรและมีน้ำสะอาดสำหรับใช้และดื่มอย่างต่อเนื่อง

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง คืออีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากการร่วมคิดร่วมทำของคนในชุมชนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อดูแลและสร้างแนวทางจัดการน้ำอันเป็นแหล่งต้นทุนสำคัญของชีวิต และสร้างบทเรียนแห่งความสำเร็จที่พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่ชุมชนอื่นเพื่อนำไปปรับใช้ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางอาชีพอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

The post เผย 4 จุดสำคัญ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนทุ่งสง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ ให้สัมผัส พูดคุยกับชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำ https://www.sdperspectives.com/csr/tcp-group-csr-2020/ Tue, 08 Dec 2020 01:50:45 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=9978 8 ธันวาคม 2563... ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ ชวนก๊วนไปแอ่วกว๊าน Limited’ นำอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ เรียนรู้ความสำเร็จการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจาก “บ้านตุ่นโมเดล” เพื่อที่จะได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ

The post กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ ให้สัมผัส พูดคุยกับชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
8 ธันวาคม 2563… ‘TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ ชวนก๊วนไปแอ่วกว๊าน Limited’ นำอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ เรียนรู้ความสำเร็จการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจาก “บ้านตุ่นโมเดล” เพื่อที่จะได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า ในฐานะที่กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชั้นนำของไทยซึ่งใช้น้ำเป็นเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิต มีความตั้งใจในการสร้างการเติบโตของธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยผสานพลังคนรุ่นใหม่จากทีมอาสาสมัคร TCP Spirit พยาบาลลุ่มน้ำ มาลงมือดูแลต้นน้ำและเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำจากบ้านตุ่นโมเดล ภายใต้การสนับสนุนจากพันธมิตรของบริษัท มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อพ.) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนปลายน้ำ นำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรต้นน้ำ และต่อยอดการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป

“อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นภาพเหล่านี้ เห็นการทำงานที่เข้มแข็งของชุมชน  ซึ่งถ้ามีชุมชนแบบนี้มากขึ้นในประเทศ ชุมชนจะเข้มแข็ง  ที่นี่เยาวชนหลายคนในชุมชนก็อินกับเรื่องนี้แล้วขับเคลื่อนเรื่องใหญ่ๆได้ วันนี้เยาวชน ไม่ได้นั่งดูโซเชียลมีเดียเฉย ๆ แต่มาเห็นของจริง ฟังชุมชนชนเล่า  ลงมือทำ  ส่วนใครจะเก็บเกี่ยวอะไรไปได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับเยาวชนเอง ที่ถอดบทเรียน อย่างน้อยเขานำสิ่งเหล่านี้ไปพูดต่อได้ สร้างแรงบันดาลใจได้ในกลุ่มของเขา ซึ่งกิจกรรม 2 วันนี้ไม่ใช่การมาเที่ยว” สราวุฒิอธิบายเพิ่มเติม

จิตอาสา TCP Spirit ร่วมดูแลรักษาต้นทางน้ำกว๊านพะเยา อเล็กซ์ร่วมเป็น moderator และชุมชนให้คำแนะนำ

ดร. รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ขยายความถึงความสำเร็จในพื้นที่ต้นแบบแห่งนี้ เพราะหัวใจสำคัญในการรักษาทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการดูแลลุ่มน้ำ อยู่ที่ “การมีส่วนร่วม”  ซึ่งหลังจากได้ร่วมมือกันทำงานได้พบว่า ที่นี่ไม่มี “ผู้นำ” เดี่ยว แต่เป็น “ทีมผู้นำ” ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี 60 ปี 50 ปี มาถึง 20 ปี มีจุดหมายเดียวกันที่จะจัดการน้ำชุมชน สานต่อการบริหารและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

“การพยาบาลลุ่มน้ำ ถ้าย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้วเป็นเขาหัวโล้น  แต่จากการมีส่วนร่วมทำให้ฟื้นภูเขาสีเขียวนี้กลับมาได้  จะไม่ดีแบบนี้เลยหากชาวบ้านไม่ร่วมกันฟื้น   ดอยหลวงนี้อยู่ทางทิศตะวันของกว๊าน เมื่อดอยฟื้นได้ ทำให้คนในเมืองหันมามองที่ตัวเองว่าเมื่อภูเขาดีขึ้น  ทำไมกว๊านพะเยาแย่ขนาดนั้น น้ำเหม็นเน่า นั่นก็ทำให้คนในเมืองรวมตัวรักษากว๊าน”

ดร.รอยลย้ำว่า ดอยหลวงเราพยาบาลสำเร็จแล้ว วันนี้เขาจะลุกขึ้นวิ่ง  ที่เรามาทำกิจกรรมวันนี้คือมาช่วยเขาให้วิ่ง  นั่งรถเข้ามาน้ำไหลผ่านกลางหมูบ้านใสมาก ไหลริน กว๊านดีขึ้น เทียบกับคลองแสนแสบในกทม.  การมีส่วนร่วมเหล่านี้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ เรามาร่วมช่วยพยาบาลให้เขาลุกวิ่ง   และในกทม.จะได้เรียนรู้ว่า คนต่างจังหวัดเขาดูแลน้ำให้เรา

สราวุฒิพร้อมบุตรสาว, ดร. รอยล และอเล็กซ์ ร่วมปลูกหญ้าแฝก

ตำบลบ้านตุ่น จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ต้นน้ำที่มีความสำคัญ โดยมีต้นน้ำทอดยาวจากยอดดอยหลวง ผ่านที่ลุ่มเกษตรกรรม จนถึงกว๊านพะเยา อันเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่เป็นชีวิตของคนพะเยา เพราะเป็นแหล่งผลิตน้ำประปา และยังเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาหลากชนิด ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำอิงไปรวมตัวกับแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงราย

ในอดีตลำห้วยตุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมรวมถึงน้ำป่าหลากในฤดูฝน จากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตลอดระยะเวลา 25 ปี ทำให้ลำห้วยตุ่นกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึง เพื่อให้ทุกพื้นที่สามารถทำเกษตรกรรมและมีน้ำใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ ส่งผลให้สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี โดยมีชุมชนและเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากลำห้วยตุ่นถึง 11 หมู่บ้าน หรือ 1,683 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนประชากร 5,462 คน นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลความสำเร็จสู่ความช่วยเหลือแก่ชุมชนอื่นๆ อีกด้วย

พร้อมๆกับการเห็นของจริง ฟังจากคนจริงในชุมชนที่ทำงานของเหล่าจิตอาสา TCP Spirit เพชร หรือจักรภัทร ก็มีคำถามถามตรงกับดร.รอยล

จักรภัทร บุญผาติ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ หนึ่งในอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ TCP Spirit กำลังจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Water Crisis เพื่อนแนะนำโครงการ TCP Spirit เรียนรู้ “บ้านตุ่นโมเดล” ต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน ตัดสินใจสมัครร่วมเดิน หวังจะเกิดแรงบันดาลใจ และได้ข้อมูลจากกิจกรรมไปใช้

“ผมสนใจวิกฤติน้ำ เพราะเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดมาจากมนุษ์เราเอง เราจึงต้องกลับไปดูแลน้ำ หันมามองทรัพยากรที่เราใช้ทุกวันนี้ว่ามันกำลังจะหายไป หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราควรจะดูแลอย่างไรให้มีความยั่งยืนสำหรับคนรุ่นหลังด้วย และเมื่อมาที่นี่ได้เห็นว่า ทำไมคนเมืองจึงมีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำมากกว่าคนต่างจังหวัด ซึ่งเราได้เห็นว่าชีวิตที่เร่งรีบวุ่นวายของคนเมืองทำให้ไม่มีระเบียบในการจัดการตามวิถีธรรมชาติ”

จักรภัทรกล่าวต่อเนื่องว่า สิ่งที่จะนำไปใช้ในงาน จะเป็นเรื่องสภาพพื้นดิน สภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการออกแบบ และกิจกรรมสะท้อนออกแบบฟังก์ชั่นของงานด้วย ความต้องการพื้นที่สิ่งที่ได้จากประสบการณ์ครั้งนี้ สะท้อนกลับไปใ้นงานสถาปัตยกรรมได้

ความสมบูรณ์ของป่าส่งผลต่อน้ำที่บริหารจัดการ ส่งผลปลายทาง การทำประมงวิถีชิวิต และสม หลวงมะโนชัย ผู้คิดค้นแตปากฉลามในการจัดการน้ำในชุมชนที่จะมีทางน้ำผ่านทุกหน้่าบ้าน

อเล็กซ์ เรนเดลล์ TCP Spirit Brand Ambassador และทูตสันถวไมตรี โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ คนแรกของประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมเคียงข้างอาสาสมัคร TCP Spirit เป็นปีที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจกรรมกล่าวว่า

“อยากให้เยาวชนได้เห็นภาพใหญ่ของน้ำ ตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง น้ำคือชีวิตของคนจริงๆ ไม่มีน้ำอยู่ไม่ได้ ในประเทศไทยน้ำมากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำเลยเมื่อเทียบกับหลายประเทศที่ขาดน้ำ แม้ว่าน้ำเราจะมากก็มีปัญหาโดยเฉพาะคนเมืองไม่เข้าใจเรื่องการจัดการบริหารน้ำ เราจึง พยายามสื่อสารผ่านการพูด และดีไซน์กิจกรรมผ่านอาสาสมัคร เพื่อให้คนที่ไม่ไ้ด้ยู่ตรงนี้มาศึกษาโมเดลและเข้าใจความสัมพันธ์การจัดการน้ำ ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนมากน้อยเพียงใด และอยากให้อาสาสมัครมีความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง ที่นี่เป็นพื้นที่ที่จะเล่ากิจกรรมนี้ออกไป”

TCP Spirit ทั้ง 60 คน รวมถึงผู้บริหารและวิทยากร

สราวุฒิกล่าวในท้ายที่สุดว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญมาก การเชื่อมต่อน้ำแต่ละพื้นที่ที่ TCP จะมีโอกาสช่วยทำงาน ก็อยากทำจำนวนมาก เพราะปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาระดับชาติ และรุนแรงขึ้นทุกปี แต่อย่างไรก็ตามประเทศเราโชคดีที่มีน้ำ มีฝนตก แต่เราบริหารจัดการไม่ได้น้ำก็ไหลทิ้งไปลงทะเล

“เราเป็นองค์กรธุรกิจที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ได้มาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการน้ำ สิ่งที่เราคุยกันคือจะทำที่ไหนได้อีก ทั้งนี้เราต้องดูพื้นฐานของแต่ลชุมชนที่อยากจะทด้วยำ เพราะบังคับไม่ได้ ที่ผ่านมาเราทำลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำบางปะกง และเราจะขยายพื้นที่เพิ่มต่อไป”

วิถียามเช้าของคนเมืองริมกว๊านพะเยา ซึ่งมีผลมาจากการบริหารจัดการป่า และน้ำบนดอยหลวง

 

The post กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลคนรุ่นใหม่ ให้สัมผัส พูดคุยกับชุมชนต้นแบบการจัดการน้ำ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>