Search Results for “สุกิจ อุทินทุ ” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Tue, 19 Mar 2024 13:23:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 อาสาสมัครในภาคธุรกิจ เป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของงาน CSR & Sustainability https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/sukich-udindu-2-corporate-volunteer/ Thu, 07 Feb 2019 01:20:03 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=1757 7 มกราคม 2562...เก็บตกจาก Corporate Volunteer 4.0 Class วันก่อนนักศึกษาถามว่า Volunteer มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยหรือไม่ และมี version 4.0 เหมือนกับ Thailand 4.0 หรือเปล่า แต่ละ Version มีความต่างกันอย่างไร

The post อาสาสมัครในภาคธุรกิจ เป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของงาน CSR & Sustainability appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
7 มกราคม 2562…เก็บตกจาก Corporate Volunteer 4.0 Class วันก่อนนักศึกษาถามว่า Volunteer มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยหรือไม่ และมี version 4.0 เหมือนกับ Thailand 4.0 หรือเปล่า แต่ละ Version มีความต่างกันอย่างไร

ผมก็คิดตาม และพยายามอธิบายพัฒนาการของวงการอาสาสมัครในภาคธุรกิจ ใน Version ต่างๆให้นักศึกษาฟังดังนี้

– อาสาสมัครในภาคธุรกิจนั้น จะเป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของงาน CSR & Sustainability และ เป็นตัวขับเคลื่อนงาน และสะท้อน DNA ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆอย่างชัดเจน

-ในยุคแรกๆ ที่เราเรียกว่า CSR & Volunteer 1.0 นั้น งานอาสาสมัครมักจะเขื่อมโยงกับการให้ (Philanthropy) เช่นไปบริจาคเงินทุน การบริจาคของ สินค้า และบริการ การให้ทุนการศึกษา ซึ่งเรามักจะเห็นภาพถ่าย PR ในหนังสือพิมพ์เป็นรูปผู้บริหารมอบเช็คใบใหญ่ให้กับองค์กรการกุศลต่างๆอย่างชินตา

– ต่อมาในยุค CSR & Volunteer 2.0 จะเข้ามาสู่ยุค After Process CSR ซึ่งเรามักจะเห็นอาสาสมัครลงไปทำงานโครงการ บริการชุมชน ปลูกป่า สร้างฝาย ซ่อมแซมโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเห็นภาพ PR เป็นภาพผู้บริหารและพนักงานใส่เสื้อ สีเดียวกัน มี Logo บริษัท ออกไปทำกิจกรรมต่างๆกันอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรมต่างๆหลากหลาย แต่มักจะไม่ต่อเนื่อง มี output แต่ไม่ค่อยจะมี outcome

– ต่อมาในยุค CSR & Volunteer 3.0 งานอาสาสมัครส่วนใหญ่จะเป็นการอาสาทำงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กร เป็นงานอาสาเพื่อเพิ่มศักยภาพของงานของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน และสิ่งแวดล้อม เช่นช่วยกันรณรงค์ลดการใช้พลังงาน ลดขยะของเสีย ร่วมมือกับชุมชนเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือหลายท่านอาจเรียกว่า อาสาเพื่อ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งจะต้องทำแล้วเกิดประโยชน์ร่วมทั้งสองฝ่าย และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ได้ผลชัดเจน เป็นแบบ outcome base volunteer ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามผลงานและพัฒนาการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างชัดเจน

ในยุคนี้บางครั้งอาจจะแยกไม่ออกเลยว่าเป็นงานประจำวันหรืองานอาสาสมัคร

– และในยุค CSR & Volunteer 4.0 งานอาสาสมัครก็ต้องเพิ่มขีดดความสามารถ และยกระดับไปอีกขั้นหนึ่ง … โดยเกิดการร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่มีความคิดคล้ายกัน มีเป้าหมายเดียวกัน ทำงานกันเป็นเครือข่ายตั้งแต่ระดับนโยบายของประเทศ จนถึงระดับปฏิบัติการในระดับชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จนเกิด Impact ตัวอย่างเช่น การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น หรือการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับประชารัฐด้านต่างๆเป็นต้น

ในยุคนี้มักจะใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายร่วม หรือเรียกว่าเป็นยุค Volunteer for SDGs

มีอีกคำถามหนึ่งที่นักศึกษาพูดคุยกันมากว่า ทั้ง 4 ยุค มีอะไรที่เหมือนกัน และอะไรคือแรงจูงใจ หรือ ผลประโยชน์ที่อาสาสมัครได้รับ ?

ผลสรุป คือ ทุกคนเห็นตรงกันว่า ความเหมือนกันทั้ง 4 ยุคก็คือ อาสาสมัคร เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมไทย คนที่มาเป็นอาสาสมัครนั้นมักจะเห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน และสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นได้อาสาทำ เป็นสิ่งที่พวกเขารัก สนใจ และมี Passion … พวกเขารู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสได้อาสารับใช้สังคม  

และสิ่งที่พวกเขาได้รับตอบแทนกลับมาเหมือนกันก็คือ … “ความสุขใจ”

เรื่องโดย สุกิจ อุทินทุ รองคณบดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คอลัมน์ CSR Man เซคชั่น Partnerships

 

 

The post อาสาสมัครในภาคธุรกิจ เป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของงาน CSR & Sustainability appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
10 เทรนด์ CSR & Sustainability ปี 2562 https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/sukich-udindu-10-csr-sustainability-trend-in-2019/ Sun, 20 Jan 2019 17:30:06 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=1594 21 มกราคม 2562...ปีนี้เป็นปีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนก็อาจถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไป เหตุการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ก็อาจจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน มีความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย

The post 10 เทรนด์ CSR & Sustainability ปี 2562 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
21 มกราคม 2562…ปีนี้เป็นปีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนก็อาจถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไป เหตุการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ก็อาจจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน มีความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย

ช่องว่างทางสังคมและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ความสงบสุขสามัคคีที่จะลดลง จะมีคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังมากขึ้น และภาวะความเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกจะกดดันประเทศไทย

ดังนั้นคนทำงานด้าน CSR คงจะต้องเตรียมตัวสำหรับ เทรนด์ 10 เรื่องที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

1. Focus on Specific SDG:

บริษัทชั้นนำจะมุ่งเน้นการทำงาน CSR เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG เฉพาะข้อที่เกี่ยวกับพันธกิจหลักของบริษัทเท่านั้น และอาจจะเห็นความร่วมมือของบริษัทต่างๆ และภาคส่วนต่างที่สนใจ SDG ข้อเดียวกัน ร่วมมือกันมากขึ้น

2. State Enterprise CSR:

หลังจากที่มีการอุ่นเครื่องกันมาหลายปี และรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีความก้าวหน้าด้าน CSR ไปมาก ปีนี้จะเห็นรัฐวิสาหกิจต่างๆจัดขบวนทัพด้าน CSR กันครั้งใหญ่ เนื่องจาก จะมีคะแนน CG/CSR เป็น KPI สำคัญในปีนี้

3. CSR and Community:

ปีนี้ CSR จะกลับมาให้ความสำคัญกับชุมชนที่ตนเองตั้งอยู่มากขึ้น เนื่องจาก ปีนี้ธุรกิจจะเติบโตได้ ก็ต้องพึ่งพาความเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบข้างเป็นปัจจัยสำคัญ จนหลายคนอาจแปล CSR = Community Social Responsibility ก็ได้

4. Measuring Social Return on Investment SROI:

อะไรที่วัดไม่ได้ก็ปรับปรุงพัฒนาไม่ได้ ปีนี้จะต้องมีการวัดผลงาน CSR มากขึ้น ทั้ง Output, Outcome, และ Impact เพือไปรายงานกรรมการ และเขียนใน SD Report

5. Exploring Social Enterprise:

ดูท่าว่าปีนี้ SE หรือ Social Enterprise จะมาแรง บริษัทหลายแห่งจะสนับสนุน SE ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของตน หลายแห่ง อาจจะก่อตั้ง SE ของตัวเอง ซึ่งบางบริษัทอาจเรียกว่า CSE หรือ Corporate Social Enterprise และน่าจะเป็นปีที่สับสนเรื่องคำนิยามต่างๆ ระหว่าง วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจเพื่อสังคม รวมทั้ง StartUp อีกด้วย

6. CSR and Global Warming:

ปีนี้วิกฤติภาวะโลกร้อนจะเพิ่มขึ้น บริโภคนิยมมากขึ้น จนอาจจะเกิดวิกฤติต่างๆ อาทิ ขยะล้นโลก ดังนั้นเราจะเห็นบริษัทต่างๆ จะมีกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การยกเลิกภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว เช่นขวดพลาสติก หลอดพลาสติก และถุงพลาสติก และคำว่า Circular Economy จะเป็นคำยอดฮิตอีกคำหนึ่งซึ่งจะมาแรงในปีนี้

7. The Power of Corporate Volunteer:

ปีนี้กระแสจิตอาสากำลังมาแรง การจัดการอาสาสมัครในองค์กรให้เป็นแบบมืออาชีพจะเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และเราจะเห็นชมรมจิตอาสาของบริษัทต่างๆออกมาบริการชุมชนมากขึ้น รวมทั้งเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี

8. From CSR to Corporate Branding:

คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง และจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องค่านิยม คนรุ่นใหม่นี้ ไม่ยึดติดกับ Branding แบบเดิมๆ แต่จะให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยดูจากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ดังนั้นบริษัทต่างๆ จะหันมาสร้าง Brand ด้วย CSR นอกจากการสร้าง Brand แล้วยังต้องเตรียมความพร้อมด้านงานสื่อสาร CSR เมื่อเกิดวิกฤติอีกด้วย เพื่อปัองกันไม่ให้ Brand เสียหาย

9. Base on SEP Sufficiency Economy Philosophy:

ในยุค Disrupt ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการล่มสลาย และโอกาสใหม่ๆมากมาย การวางแผน CSR บนฐานรากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เริ่มจากการเตรียมพร้อมสำหรับความเสี่ยง การสร้างภูมิคุ้มกัน การพิจารณาความพอดี และมีเหตุผล การทำงาน CSR ด้วยการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จะกลับมาเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ที่ผันผวนแบบนี้

10. Creative & Innovative CSR:

ในยุค 4.0 นี้ทำ CSR แบบเดิมๆคงไม่ได้ บริษัทชั้นนำจะหันมาให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆในงาน CSR จะมีการนำวิธีการการของ Design Thinking มาใช้ในการออกแบบงาน CSR มากขึ้น และจะเกิดการแข่งขันกันด้วยนวัตกรรม ซึ่ง Prime Minister Award ด้าน CSR จะตัดสินกันด้วยคุณภาพของนวัตกรรมเป็นหลัก

เห็นเทรนด์ ทั้ง 10 เรื่องนี้แล้ว นัก CSR ทั้งหลายเตรียมพร้อมแล้วหรือยังครับ !?

 

เรื่องโดย  สุกิจ อุทินทุ รองคณบดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คอลัมน์  CSR Man  เซคชั่น Partnerships

The post 10 เทรนด์ CSR & Sustainability ปี 2562 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>