Search Results for “อุ่นใจCYBER” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Tue, 19 Mar 2024 13:23:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจ CYBER @โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย https://www.sdperspectives.com/csr/19145-ais-aunjai-cyber-course-samsenwittayalai-school/ Sat, 11 Feb 2023 15:05:14 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19145 11 กุมภาพันธ์ 2566...โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย นำหลักสูตรอุ่นใจ CYBER เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งเป้า นักเรียนทุกระดับชั้น คณะครู และบุคลากร เข้าเรียนรู้ วัดระดับจนมีทักษะดิจิทัลครบ 100% ภายในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2565

The post AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจ CYBER @โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
11 กุมภาพันธ์ 2566…โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย นำหลักสูตรอุ่นใจ CYBER เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมตั้งเป้าเป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งแรกของประเทศ ที่นักเรียนทุกระดับชั้น คณะครู และบุคลากร เข้าเรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจ CYBER และวัดระดับจนมีทักษะดิจิทัลครบ 100% ภายในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2565

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS  ถนอม บุญโต รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ร่วมกันกล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญในครั้งนี้

ความสำเร็จของการยกระดับหลักสูตรอุ่นใจ CYBER ในครั้งนี้ เกิดจากการร่วมมือของ 3 ประสานสำคัญ คือ

1. นักเรียนเองที่ให้ความสนใจในการเรียนรู้ทักษะดิจิทัล
2. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ที่ให้การสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่
3. สมาคมผู้ปกครองและครู ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เยาวชนตระหนักถึงภัยทางไซเบอร์

“นอกจากนี้แล้วที่ขาดไม่ได้เลยนั่นคือการให้ความสำคัญจากสพฐ. โดยการทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ที่เล็งเห็นประโยชน์ของความรู้ทักษะดิจิทัล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลักสูตรอุ่นใจ CYBER จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อผลักดันเป้าหมายการสร้าง Digital Citizenship หรือ พลเมืองดิจิทัล ในอนาคต”

ทั้งนี้ การปลูกฝังให้เยาวชนรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสพฐ. ที่ตั้งใจผลักดันให้เป็นแบบเรียนของเยาวชน ซึ่งจะช่วยยกระดับภาคการศึกษาไทยให้มีองค์ความรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี โดยหลักสูตรอุ่นใจ CYBER ของเอไอเอส ยังสอดคล้องกับแนวทางของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการ

“สพฐ.มีเป้าหมายสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ นำหลักสูตรอุ่นใจ CYBER ไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลและความฉลาดทางดิจิทัลให้กับนักเรียน โดยปัจจุบันโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ถือเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนแรกในประเทศที่นำหลักสูตรไปปรับใช้จริงอย่างเต็มรูปแบบ”

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ จึงได้เริ่มนำหลักสูตรอุ่นใจ CYBER เข้ามาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2565 ซึ่งตั้งเป้าหมายที่บุคลากรรู้และจะให้นักเรียนกว่า 3,000 คน ตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 – ม.6 ผ่านการทดสอบองค์ความรู้และเรียนจบหลักสูตรครบทั้ง 100% ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ด้วยการกระตุ้นให้ครูผู้สอนนำไปวางแผนและปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาต่าง ๆ เช่น วิชาวิทยาการคำนวณ และกิจกรรมแนะแนว เป็นต้น

AIS ได้ลงนาม MOU ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีเป้าหมายนำเนื้อหาในหลักสูตรอุ่นใจ CYBER ไปสู่เยาวชนและนักเรียน ผ่านโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ที่ครอบคลุมเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245 เขต รวม 29,000 โรงเรียนทั่วประเทศ

 

The post AIS ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจ CYBER @โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
AIS อุ่นใจ Cyber ชวนคนไทยหยุดการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” ไม่เรียกชื่อล้อเลียน สร้างความอับอาย https://www.sdperspectives.com/alternative/ais-stop-cyberbullying-day-16265/ Fri, 17 Jun 2022 05:15:50 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=16265 17 มิถุนายน 2565...Stop Cyberbullying Day ในศุกร์ที่ 3 ของเดือนนี้ เป็นวันที่ให้ความสำคัญกับปัญหาการบูลลี่และพฤติกรรมกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ในปีนี้ AIS นำประเด็น ปัญหาการไม่ใช้ชื่อจริงของพวกเขาเมื่อเวลาเรียก กลับใช้คำล้อเลียน

The post AIS อุ่นใจ Cyber ชวนคนไทยหยุดการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” ไม่เรียกชื่อล้อเลียน สร้างความอับอาย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
17 มิถุนายน 2565…Stop Cyberbullying Day ในศุกร์ที่ 3 ของเดือนนี้ เป็นวันที่ให้ความสำคัญกับปัญหาการบูลลี่และพฤติกรรมกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ในปีนี้ AIS นำประเด็น ปัญหาการไม่ใช้ชื่อจริงของพวกเขาเมื่อเวลาเรียก กลับใช้คำล้อเลียน รูปร่าง สีผิว รสนิยมความชอบ เรียกแทนบนโลกออนไลน์ เช่น ดำ อ้วน เตี้ย เป๋ ฟันเหยิน หัวล้าน หมูตอน ฯลฯ ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตขนาดที่หลายคนมีปมด้อยในใจ

AIS ยังคงเดินหน้าตอกย้ำความรับผิดชอบต่อสังคมในแกนของผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานเครือข่ายมือถือ ผ่าน AIS อุ่นใจCyber โดยครั้งนี้ชวนคนไทยหยุดการกลั่นแกล้ง ล้อเลียนชื่อผ่านแคมเปญ “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” Please Call Me by My Name

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวถึงการใช้งานออนไลน์ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย คืออีกหนึ่งเป้าหมายของ AIS อุ่นใจ Cyber ที่มุ่งส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล ป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล สร้างความตระหนักถึงการใช้งานให้คนไทยตื่นตัวพร้อมรับมือกับภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะกับปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyberbully ที่หลายคนอาจมองข้ามไป แม้กระทั่งการไม่เรียกชื่อจริง แต่ล้อเลียนรูปร่างหน้าตา

สำหรับหลายคนคิดเพียงว่า หยอกเอิน ล้อเล่น เอ็นดู น่ารัก แต่ในความเป็นจริงด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อยที่กล่าวนั้น อาจจะบานปลายไปสู่ปัญหาสังคม ที่สร้างพื้นที่ความขัดแย้งเกลียดชัง สร้างบาดแผลให้กับเหยื่อไปตลอดชีวิตเลยก็ว่าได้

“AIS อยากใช้โอกาสในวัน Stop Cyberbullying Day ย้ำเตือนสังคมและคนไทยในฐานะ เป็นแบรนด์ที่ส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และสร้างสรรค์ ให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในทุกรูปแบบ หยุดพฤติกรรมการเรียกชื่อคนรอบตัวด้วยคำล้อเลียน ที่ไม่ใช่ชื่อจริง ซึ่งทำให้เกิดปมในใจ ทำให้เกิดความอับอาย กระทบต่อการใช้ชีวิต และอาจถึงขั้นกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล”

สายชล กล่าวในท้ายที่สุดว่า “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” Please Call Me by My Name เพื่อให้พื้นที่ในโลกไซเบอร์เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ และปลอดภัยสำหรับทุกคน

The post AIS อุ่นใจ Cyber ชวนคนไทยหยุดการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน” ไม่เรียกชื่อล้อเลียน สร้างความอับอาย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
รอยเท้าดิจิทัล หรือ Digital footprint ต้องระวัง ! การติดตาม เสี่ยงให้มิจฉาชีพหลอกลวง https://www.sdperspectives.com/alternative/12765/ Mon, 09 Aug 2021 05:16:35 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=12765 9 สิงหาคม 2564...ผลกระทบจาก โควิด-19 ส่งผลให้คนไทยจำนวนมากมีไลฟ์สไตล์ทั้งการทำงานและอื่น ๆ อยู่หน้าจอกับโลกออนไลน์เกือบ 100% ซึ่ง AIS อุ่นใจCyber ชี้ทุกพฤติกรรมการใช้ออนไลน์สร้าง “รอยเท้าดิจิทัล” มีความเสี่ยง

The post รอยเท้าดิจิทัล หรือ Digital footprint ต้องระวัง ! การติดตาม เสี่ยงให้มิจฉาชีพหลอกลวง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 สิงหาคม 2564…ผลกระทบจาก โควิด-19 ส่งผลให้คนไทยจำนวนมากมีไลฟ์สไตล์ทั้งการทำงานและอื่น ๆ อยู่หน้าจอกับโลกออนไลน์เกือบ 100% ซึ่ง AIS อุ่นใจCyber ชี้ทุกพฤติกรรมการใช้ออนไลน์สร้าง “รอยเท้าดิจิทัล” มีความเสี่ยง

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS อธิบายถึงภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ต่อผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น ฟิชชิ่ง โดยปลอมลิงค์จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้คนสนใจเข้าไปกรอกข้อมูล หรือแม้แต่ SMS ลวง ที่อาศัยเหตุการณ์ปัจจุบันเช่น ไฟไหม้, โรคระบาด, เงินเยียวยา, วัคซีน มาเป็นตัวล่อ ทำให้คนที่ไม่ทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพเกิดความเสียหายจากการใช้งานขึ้นอย่างมากมาย โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากการใช้งานของเราเองที่อาจจะฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้โดยไม่รู้ตัว

“เมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบต้องมีสติ ไม่โพสรูปหรือข้อความที่สุ่มเสี่ยงต่อการบอกที่ตั้ง รวมถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ และบอกตัวเองเสมอว่าทุกกิจกรรมที่เราทำมีรอยเท้าฝากไว้เสมอ เพื่อการใช้งานที่อุ่นใจไร้ภัยไซเบอร์”

เมื่อเราไม่สามารถปฏิเสธว่า Digital footprint ทำให้แบรนด์รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีอีกมุมที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะ Digital footprint หรือ รอยเท้าดิจิทัล อาจเป็นจุดเริ่มต้นของภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในสารพัดรูปแบบได้ ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการใช้งานทุกขั้นตอนเพื่อลดช่องโหว่ในการใช้ประโยชน์จากการใช้งานของมิจฉาชีพ

“การทำงานของ AIS ก็ยังยึดมั่นในการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายและบริการดิจิทัลที่ดีให้กับสังคมไทย ควบคู่ไปกับการสร้างความปลอดภัยด้านการใช้งานทุกรูปแบบตามแนวคิดของ AIS อุ่นใจCyber ในฐานะคู่คิด ดิจิทัล เพื่อคนไทย ทุกเจนเนอเรชัน” สายชล กล่าวในท้ายที่สุด

มารู้จักรอยเท้าดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: AIS Sustainability https://bit.ly/3f8ZWeV

 

The post รอยเท้าดิจิทัล หรือ Digital footprint ต้องระวัง ! การติดตาม เสี่ยงให้มิจฉาชีพหลอกลวง appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
“คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์  ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคใหม่ จากเอไอเอส อุ่นใจCyber https://www.sdperspectives.com/next-gen/12160/ Fri, 18 Jun 2021 04:04:45 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=12160 18 มิถุนายน 2564...ไม่หล่อ ไม่สวย อ้วน เตี้ย ดำ ปลอม กลายเป็นคำที่ใช้รังแกบุคคลบนโลกออนไลน์ได้อย่างน่ากลัว ถึงขนาดที่หลายคนมีปมด้อยในใจ หรือกลายเป็นคนเก็บตัวไม่กล้าออกมาสู่สังคม บางรายคิดฆ่าตัวตาย

The post “คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์  ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคใหม่ จากเอไอเอส อุ่นใจCyber appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
18 มิถุนายน 2564…ไม่หล่อ ไม่สวย อ้วน เตี้ย ดำ ปลอม กลายเป็นคำที่ใช้รังแกบุคคลบนโลกออนไลน์ได้อย่างน่ากลัว ถึงขนาดที่หลายคนมีปมด้อยในใจ หรือกลายเป็นคนเก็บตัวไม่กล้าออกมาสู่สังคม บางรายคิดฆ่าตัวตาย

ทุกวันศุกร์ที่สามของเดือนมิถุนายน คือวัน Stop Cyberbullying ส่งเสริมและให้อำนาจแก่ผู้คนนับล้านทั่วโลกในการแสดงความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งการรังแกบนโลกออนไลน์

เอไอเอส ยังคงเดินหน้าตอกย้ำความรับผิดชอบต่อสังคมในแกนของผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานเครือข่ายมือถือ ผ่าน เอไอเอส อุ่นใจCyber โดยครั้งนี้ได้จัดทำแคมเปญในวัน Stop Cyberbullying ผ่านแนวคิด “คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์”

อย่างที่เรารู้กันดีว่าภูมิต้านทานต่อการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ของแต่ละคนแตกต่างกันมาก หลายคนอาจจะไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงแบบ เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ หรือ เขื่อน K-OTIC นักจิตวิทยาบำบัด ที่พบการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ทั้งถูกเมนต์ ถูกแชร์ ด้วยทุกคำตั้งแต่อายุ 13 ปี

“จริง ๆ Cyber Bully กับเขื่อนนี้มาคู่กันเลย ตอนอายุ13-15 ก็โดนว่าโกหก ปลอม แอ๊บแมน อุบาทว์ ทุเรศ วันหนึ่งที่เราเปิดตัวก็จะเป็น ผิดปกติ ผิดเพศ เป็นคำที่เราเห็นแล้วมันเจ็บบนผิว เป็นรอยช้ำ จนถึงเจ็บข้างใน เหมือนถูกแยกอย่างโดดเดี่ยว รู้สึกไม่ปลอดภัย การถูก Cyber Bully ไม่เห็นแผลข้างนอก ถ้าเขื่อนยังมีมีแผลจากเมื่อ 15 ปีที่แล้ววันนี้แผลเขื่อนจะช้ำขนาดไหน Cyber Bully มีหลายรูปแบบ มันโตไปกับเรา มันไม่ดีขึ้น แต่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการรณรงค์ให้ยุติอย่างต่อเนื่อง”

ประสบการณ์ตรงของเขื่อนกับ Cyber Bully

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า เกณฑ์ของการกลั่นแกล้งก็คือ คนที่เราจะแกล้งจะได้รับความเจ็บปวด เมื่อเรามีความตั้งใจเช่นนั้น เราก็จะออกแบบการรังแกเขา ทำอย่างไรให้เขาเจ็บ จะด่าอย่างไรให้เจ็บปวด ยิ่งเมื่อมีแพลตฟอร์มออนไลน์ ยิ่งทำให้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเห็นตัวตน

“ลักษณะของ Cyber Bully ในสังคมไทย ส่วนใหญ่เป็นการใช้คำพูด พูดถึงรูปร่าง ดัดแปลง เปลี่ยนแปลง ทำให้เจ็บปวดได้หลายเวอร์ชั่นมาก จากรูปร่างก็จะมาเรื่องนิสัย ฐานะจนรวย บ้านมี บ้านไม่มี ที่เราเห็นจะวน ๆ อยู่แถวนี้”

ทั้งนี้ มีตัวเลข 3 ตัวที่น่าสนใจ ถือเป็นผลกระทบทางสังคมที่มีความหมายมากคือ

59% ของประชากรโลกตอนนี้ใช้อินเทอร์เน็ต
51% ของประชากรโลกเป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดีย
60% ของของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเคยเห็นหรือตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้ง หรือการล่วงละเมิด

เราต้องดำเนินการตอนนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเปิดรับเทคโนโลยี สามารถเรียนรู้ สื่อสาร และแสดงออกอย่างมั่นใจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ ขยายความต่อเนื่องถึงเกณฑ์ของการกลั่นแกล้ง

ผศ.ดร. วิมลทิพย์ ขยายความเพิ่มเติมถึง สังคม วัฒนธรรมที่ไม่ได้สอนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด Cyber Bully ในสังคมไทย อย่างง่ายดาย ถ้าเมื่อใดก็ตามเราเห็นใจซึ่งกันและกันมากพอ จะเกิดการกลั่นกรองในตัวเราเองว่า สิ่งนี้เราควรทำหรือไม่

เขื่อน ย้ำว่า ต้องกลับมาที่เรื่องเราต้องมีสติมาก ๆ ถามตัวเองก่อน เราแชร์และคอมเมนต์นี้เพื่ออะไร ถ้าจะทำเพื่อฆ่าใคร หรือเพื่อความสนุก เบรกก่อน จำเป็นหรือไม่ หากจะแชร์ข่าว แชร์ทุกข์ของคนอื่น ต้องดึงตัวเรากลับมาก่อนว่าทำเพื่ออะไร ทำเพื่อสนุกเหรอ แชร์แล้วได้อะไร เราต้องคิดมากขึ้น มีสติ ไม่สร้างบาดแผลให้คนอื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ท้ายที่สุด คาดหวังการสร้างความเห็นใจซึ่งกันและกันที่พ่อแม่ผู้ปกครองยุคปัจจุบัน จะปูพื้นฐานให้ลูกหลานซึ่งเป็น Native Digital ไว้ตั้งแต่เยาว์วัย จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันให้”คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์

นี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันสำคัญนี้ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แค่การหยอกล้อกันเล่น แต่บางครั้งเรื่องเล็กๆ เหล่านั้นกลายเป็นปมที่ติดตัวไปตลอดกาลจนอาจนำมาซึ่งความรุนแรงที่เราก็ไม่ทันตั้งตัว การแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืนคือการสร้างความเข้าใจและหยุดพฤติกรรมกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

แน่นอนว่าต้องเริ่มจากตัวเรา…

ติดตามเพจ AIS Sustainability พบข้อมูลในการจัดการ การถูกBully รวมถึงภัยไซเบอร์อื่นๆ

 

The post “คิด” ก่อนเมนต์ “คิด” ก่อนแชร์ “หยุด” รังแก บนโลกออนไลน์  ความรับผิดชอบต่อสังคมยุคใหม่ จากเอไอเอส อุ่นใจCyber appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
20-21 มีนาคม วันกระตุกเตือนต่อนานาชาติ 2 เรื่อง @ UN https://www.sdperspectives.com/activities/ais-set/ Sun, 21 Mar 2021 09:31:33 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=11118 20-21 มีนาคม 2564...SD Perspectives รวม 2 วันต่อเนื่องตามที่ UN ประกาศไว้ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันความสุขสากล” หรือ International Day of Happiness และ 21 มีนาคม “วันป่าไม้โลก” หรือ International Day of Forests

The post 20-21 มีนาคม วันกระตุกเตือนต่อนานาชาติ 2 เรื่อง @ UN appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
20-21 มีนาคม 2564…SD Perspectives รวม 2 วันต่อเนื่องตามที่ UN ประกาศไว้ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันความสุขสากล” หรือ International Day of Happiness และ 21 มีนาคม “วันป่าไม้โลก” หรือ International Day of Forests

ทั้ง 2 วันที่ UN กระตุกเตือนให้มนุษยชาติตระหนักนั้น ภาคธุรกิจอย่างเอไอเอส โดย “เอไอเอส อุ่นใจCyber” ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขให้คนไทย แนะใช้โซเชียลออนไลน์ไม่ให้ทุกข์ หยุดวิถี “Faceจุก Twitเฮ้อ Instaกรรม” ใน “วันความสุขสากล” ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเดินหน้าต่อเนื่อง “ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งเป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และต้นน้ำที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งคนและสัตว์”

ข้อมูลจาก AIS Sustainability เปิดเผยในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูล Thailand Digital Stat 2021 ของ We Are Social รายงานว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก เฉลี่ย 8.44 ชม./วัน อีกทั้งยังใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 5.07 ชม./วัน ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเสพสื่อของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง มีปริมาณคอนเทนต์ ข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์จำนวนมหาศาล หากไม่มีการกลั่นกรอง เลือกเสพสื่อที่เหมาะสมก็อาจส่งผลให้เกิดความทุกข์จากการใช้งานได้

เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider ได้มีความตระหนักถึงการใช้อินเทอร์เน็ต และสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมในการใช้งานให้มีความสุข ไม่ทุกข์จากการเสพสื่อออนไลน์ โดย “เอไอเอส อุ่นใจCyber” คู่คิดดิจิทัล เพื่อคนไทยทุกเจเนอเรชัน ได้แนะนำหลักการใช้งานอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ให้เป็นสุข หยุดวิถี “Faceจุก Twitเฮ้อ Instaกรรม”(คลิกชมคลิปวิดีโอ)

-ใช้ Facebook ในการเสพข่าวสารแต่พอดี ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ทุกข้อมูล เลือกติดตามเพจหรือข่าวสารที่คิดว่าสนใจและเป็นประโยชน์
-ติดตามแอคเคาท์ Twitter ที่มีประโยชน์ เสริมสร้างพลังบวกในการรับรู้ ส่วนแอคเคาท์ที่มีการระบายอารมณ์ด้านลบควรใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูลหรือหากเป็นเพื่อนในชีวิตจริงสามารถกด Mute ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ต่อกัน
-ไม่จำเป็นต้องเล่น Instagram เพื่อเปรียบเทียบตัวเองในเรื่องความชอบ ไลฟ์สไตล์ กับคนอื่น เราสามารถมีความโดดเด่นในแบบตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องเลียนแบบใครให้เป็นทุกข์

มาถึงเรื่องของป่าไม้ คงไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงความสำคัญ และประโยชน์ของป่าไม้ ซึ่งสถานะป่าไม้ในประเทศ : ใน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าในประเทศไทยมีจำนวนคงที่ คือ 102 ล.ไร่ หรือร้อยละ 31.5 ของประเทศ (ประเทศไทยมีพื้นที่ 322 ล.ไร่) ทั้งนี้ หากต้องคงความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ไว้ประเทศไทยควรมีพื้นที่ป่า ร้อยละ 40 (128 ล. ไร่) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 12) เพื่อให้เกิดพื้นที่ป่าที่แท้จริง ภาครัฐได้มีมาตรการสำคัญที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ

1. การดูแลรักษาป่าอนุรักษ์ให้คงอยู่
2. การเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมการปลูกป่าภาครัฐ ป่าชุมชน ป่าคทช. และป่าภาคเอกชน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุน ให้เกิดประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้อง ในทุกมิติของสังคม ตอกย้ำวิสัยทัศน์ To Make the Capital Market “Work” for Everyone ควบคู่กับการผลักดันให้เกิดภาวะสมดุลของโลก ตามกรอบเป้าหมายแห่งสหประชาชาติ UNSDG Goal ในข้อ 13 Climate Action และขับเคลื่อนด้วยการทำงานด้วย ข้อ 17 Partnership for the Goal กล่าวคือ ผนึกกำลังทุกภาคส่วนเพื่อการดำเนินการร่วม บนเป้าหมายร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ร่วมสร้างสมดุลของระบบนิเวศ ด้วยการไม่ตัดไม้ ทำลายป่า และเพิ่มผืนป่า “ปลูก ” และ”ปกป้อง”ดูแลต้นไม้ไปด้วยกันกับช้างน้อย “ปลูกป้อง” ในโครงการ Care the Wild : Plant & Protect ได้ง่าย ๆ ผ่านทาง Application “CARE THE WILD” รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.setsocialimpact.com/carethewild

 

The post 20-21 มีนาคม วันกระตุกเตือนต่อนานาชาติ 2 เรื่อง @ UN appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
เมื่อนักลงทุนถาม : แบรนด์คุณ Represents อะไร ? https://www.sdperspectives.com/talk/ais-esg/ Thu, 22 Aug 2019 17:15:40 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=4024 23 สิงหาคม 2562...สิ่งที่ IR คุยกับนักลงทุนเป็น Elements ใหม่ เป็น Essences ใหม่ มีความสากลที่สามารถสร้าง Engagement กับลูกค้า ไม่น้อยกว่าคุณภาพสินค้า+เครือข่ายที่แข็งแรง นั่นคือแบรนด์จะต้องส่งต่อคุณค่าด้วย ESG เพิ่มขึ้น และจะกลับมาที่ Brand Purpose

The post เมื่อนักลงทุนถาม : แบรนด์คุณ Represents อะไร ? appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
23 สิงหาคม 2562…สิ่งที่ IR คุยกับนักลงทุนเป็น Elements ใหม่ เป็น Essences ใหม่ มีความสากลที่สามารถสร้าง Engagement กับลูกค้า ไม่น้อยกว่าคุณภาพสินค้า+เครือข่ายที่แข็งแรง นั่นคือแบรนด์จะต้องส่งต่อคุณค่าด้วย ESG เพิ่มขึ้น และจะกลับมาที่ Brand Purpose


จากเวทีเสวนา Cyber Wellness ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายป้องกันภัยออนไลน์ หรือ Cyberbullying หากทุกคนตระหนัก “เราทุกคน คือเครือข่าย” อุ่นใจ CYBER จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้ง DQ หรือ Digital Quotient อัจฉริยะทางดิจิทัล ซึ่งเป็นด้านการให้องค์ความรู้ และด้านป้องกัน จะประกอบด้วย Family Link ที่ทำงานกับกูเกิล และ AIS Secure Net ของคนไทยทุกคนนั้น

บนเวทีดังกล่าว ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ และ นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (IR)บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ร่วมเปิดมุมมองของเอไอเอส กับ Stakeholder ของเอไอเอส

 Elements

ออกจะเป็นเรื่องใหม่ของวงการ ที่ผู้บริหารทั้ง 2 ส่วนมาเล่าเรื่อง “ประเด็นทางสังคม และสิ่งแวดล้อม”

เวที อุ่นใจ ไซเบอร์ (คลิกภาพ อ่านเรื่องราว อุ่นใจ ไซเบอร์)

“เรามองในเชิงความเสี่ยง เพราะเอไอเอสเป็น 1 ในท่อการส่งคอนเนคชั่นให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าเติบโตขึ้นมาแล้วใช้งานก็ใช้ผ่าน Operator จะเป็นค่ายใดก็ตาม แต่สุดท้าย เขาเอาการเชื่อมต่อตรงนี้ไปใช้ทำอะไร แง่มุมไหน กลับมาถามว่า เราในฐานะคนให้บริการต้องมีความรับผิดชอบในการให้ลูกค้าใช้บริการ เพราะเราไม่ได้รู้สึกว่า ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ยิ่งดี ได้กำไรมาก อันนั้นเป็นการมองมุมเดียว”

นัฐิยา เริ่มที่ประเด็นสำคัญ “ความเสี่ยง” จากการมองธุรกิจมุมเดียว ซึ่งจะย้อนกลับมาที่บริษัทคือ ทำไมบริษัทไม่เคยบอกลูกค้าเลย หรือไม่เคยให้องค์ความรู้ลูกค้าเลยว่า  ความเหมาะสมในการใช้งานสิ่งต่าง ๆ จะมากน้อยเพียงใด  เช่นเดียวกับการนำมือถือ และ Gadjet ต่าง ๆ ที่กี่ยวข้องมือถือขายให้ลูกค้า บริษัทจะต้องคิดเหมือนกันว่า สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม

ศิวลี ยอมรับว่าเมื่อธุรกิจเพิ่มฐานลูกค้าทุกวัน และต้องมีเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยที่ส่วนหนึ่งมีมือถือครั้งแรก มีเบอร์ครั้งแรก อีกส่วนหนึ่งก็คือ เอไอเอสจะทำอย่างไรให้การเพิ่มตรงนี้เติบโตไปกับสังคมที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

“แบรนด์จะต้องให้ความรู้กับเขาตั้งแต่ต้น เป็นการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนในสังคม  ถ้าวันนี้เอไอเอส ไม่ลุกมาพูดแบบนี้ เราไม่รู้เลยว่า อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และจะแย่ไปถึงขั้นไหน เพราะอินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกคน ซึ่งในเชิงธุรกิจก็ต้องทำอินเตอร์เน็ตให้ดีที่สุด เพื่อติดต่อได้ง่ายที่สุด ส่วนในเรื่อง E-Waste หากนำไปทำลายไม่ถูก ก็จะกลายเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

ในฐานะแบรนด์เอไอเอส จะต้องสร้างให้รู้สึกว่า ทั้งเรื่อง Cyber Wellness และ E-Waste เป็นเรื่องของส่วนรวม เวลาจะทำอะไรก็ตาม ต้องนึกถึงเรื่องส่วนรวมไปด้วยกัน เพราะแบรนด์ก็อยากเติบโตไปด้วยกันกับสังคมที่ดี

“ถือเป็นความรับผิดชอบในเรื่องที่แบรนด์ต้องลุกมาพูดเรื่องนี้ และไม่ใช่แค่การพูดเพื่อภาพลักษณ์ แต่เราต้องลงมือทำจริงๆ ด้วย อย่างวันงาน แม้เราจะพูดอุ่นใจ ไซเบอร์ แต่เราก็มีโพรดักส์ออกมารองรับว่า มีอีกเครื่องมือที่ช่วยคุณในการช่วยทำเรื่องนี้ แต่แน่นอนทั้งหมด เราก็อยากให้ทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราอยากสื่อ เราจึงครีเอทหนังโฆษณา คลิปวิดีโอต่าง ๆ เพื่อเป็น Awareness ให้เขารับรู้ก่อนว่า เรื่องนี้เกิดอยู่ในสังคมนะ เมื่อเอไอเอส จะชวนมาเป็นเครือข่าย เอไอเอสมีเครื่องมือแบบนี้ อยากให้ทุกคนช่วยอย่างไรบ้าง โดยการนำเครื่องมือเราไปใช้” ศิวลี กล่าวเสริม

นัฐิยาแสดงมุมมองต่อเนื่อง หากถามผู้บริหารแบรนด์ยุคใหม่ เมื่อมองเด็กรุ่นใหม่ ต้องคำนึงถึงว่า เขาจะอยู่ในโลกยาวกว่าพวกเรา เขาก็ไม่รู้ว่าโลกนี้ในอนาคตจะยั่งยืนหรือไม่ เพราะฉะนั้นคนทำธุรกิจ คนทำแบรนด์จะต้องนึกว่า แบรนด์เราจะต้องมีส่วนเชื่อมโยงกับเรื่องนี้

 Essences

จากองค์ประกอบใหม่ มาสู่สาระสำคัญใหม่ การดำเนินงานทางด้านสังคม “อุ่นใจ ไซเบอร์” จากวันที่เริ่มเปิดตัว ถึงปัจจุบัน AIS Secure Net เริ่มเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมมีจำนวนผู้สนใจไม่น้อย เช่นเดียวกับ Family Link เอไอเอสก็ไปพร้อม ๆ กูเกิล ซึ่งจะได้ฟรีอินเตอร์เนทในการใช้ 50 เมกต่อเดือนจะได้ใช้แอปนี้ด้วย

อุ่นใจCYBER (คลิกภาพ ชมคลิปวิดีโอ)

มาถึง DQ ที่เห็นวันนั้นจะต้องทำ DQ Test ก่อน ซึ่งไปอยู่ในเว็ปไซ์เรียบร้อย สามารถเข้าไปทำ DQ Test ออกมาเป็นผลของตัวเอง ตอนนี้ทำได้แล้ว และเมื่อเทสได้คะแนนเท่าไหร่แล้วต้องเข้าไปเรียน ซึ่งมีหลักสูตรแบบอี-เลิร์นนิ่งเข้าไปเรียนเลยมีบทเรียนต่าง ๆ เช่นวันนี้คุณจะเพิ่มพูนวิชาใดบ้าง

“เราต้องการให้แพร่หลาย ซึ่งทยอยคุยกับที่โรงเรียนแล้ว โดยเราส่งอีเมลไป 5 พันโรงเรียนในการแนะนำโครงการนี้ บางโรงเรียนเข้าไปนำเสนอโปรเจคนี้ มีหลายโรงเรียนสนใจ วันนี้ยังแสดงความสนใจเข้ามาได้”

ศิวลีกล่าวต่อเนื่องว่า เอไอเอสยังเตรียมเป็นชุด Kids DQ ซึ่งอาจารย์ท่านใดสนใจ สามารถดาวน์โหลดในเว็ปไซต์ได้เลย โดยจะทำวิธีการแนะการเรียนการสอน พร้อมทั้งแนบสื่อการสอน ประเภทใดที่จะให้บทเรียนสนุกมากยิ่งขึ้นในแต่ละเรื่อง ทั้งหมดดาวน์โหลดได้ทันทีจะมีข้อมูลให้อ่าน และสามารถนำไปสอนได้ ก็จะเป็นการช่าวยให้แพร่หลายได้เร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นจะมีโปรแกรมจัดอบรมครูที่สนใจเรื่องนี้ เป็นการ Train the Trainner น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

“ส่วนเรื่อง E-Waste อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยในประเทศไทย เราคุ้นเคยเรื่องพลาสติกเยอะ และคนพูดเรื่องการลดใช้พลาสติกเยอะมาก เราต้องให้ความรู้ E-Waste คือทุก Gadget ที่เกี่ยวข้องกับมือถือ เช่น หูฟัง สายชาร์จ พาวเวอร์ แบงก์ แบตเตอร์รี่ ที่เอไอเอสจะรับ โดยบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์เรารับของเหล่านี้ไปทำลาย เราก็เลือกมาว่าเขามีการทำลายแบบที่เป็น Zero Landfill จริง ๆ ที่เอาไปทิ้งแบบถูกต้อง”

ศิวลีขยายความว่า จะต้องครีเอท E-Waste ให้คนรู้ตรงนี้ก่อนว่า ต้องนำไปทิ้งให้ถูกที่ มิฉะนั้นจะทำความเสียหายอย่างไร จะต้องทำตรงนี้ให้เห็นได้ชัด เมื่อถึงเวลาลอนช์ ก็ต้องมีข้อมูล ความรู้เรื่องพวกนี้ว่า จะทำอย่างไรให้เขานำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวใกล้มือทั้งหมดเมื่อมันเสียแล้วเอาไปทิ้งที่ถูกต้อง

“เรื่องเหล่านี้เราต้องสื่อสารให้เขารู้ทั้งหมดเพื่อที่เขาจะได้มั่นใจว่า เมื่อคนใช้เอามาทิ้งแล้ว มันจะไปไหนต่อ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ความท้าทายของแบรนด์คือ ทำอย่างไรให้คนรู้สึกอินกับสิ่งนี้ และเมื่อคนเข้าใจสิ่งนี้ เราต้องทำให้เกิดเป็นเทรนด์ขึ้นมา เรื่องนี้ไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้น เราอยากให้ทุกคนเข้าใจ”

นัฐิยากล่าวต่อเนื่อง แบรนด์เอไอเอสได้ทำธุรกิจที่ส่งต่อถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ใช้งาน เพราะเมื่อใช้งานแล้ว มีผลส่งต่อลูกค้าอย่างไรบ้าง ก็คงเหมือนกับใครหลายคนยอมซื้อแก้วทำจากฟางข้าว ใช้กระติกน้ำแทนขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่นักลงทุนห่วงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อโลกเป็น Capital Market เงินทุนที่อยู่ตรงนี้จะหาทางไหลไป ทุกวันนี้เริ่มมีคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า “โลกใบนี้จะเป็นอย่างไร” เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนจะต้องเอาเงินไปลงทุน ก็ขอให้ไปลงทุนกับธุรกิจที่ทำให้มั่นใจว่า “ทำให้โลกนี้อยู่ได้นานมากขึ้น”

“เพราะเชื่อว่า เอไอเอสเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อม แบรนด์โพรดักส์อย่างเอไอเอสเชื่อว่า ถ้าลูกค้าใช้งานไม่รั่วไหล หรือไปในพื้นที่ที่เราไม่อยากให้ลูกหลานเราไปบนมือถือ หรือเชื่อมั่นได้ว่า เมื่อมีเหตุการณ์อะไรใหม่ ๆ แบรนด์จะเป็นคนบอกเราเป็นคนแรกว่า ตอนนี้กำลังมีความเสี่ยงในเรื่องนี้เกิดขึ้น”

ศิวลีเห็นว่า ทั้ง 2 เรื่อง เป็นการสร้างความแตกต่างเชิงลึกของแบรนด์ และสร้างความยั่งยืน ไม่ใช่ความต่างระยะสั้น และสิ่งที่เอไอเอสทำ ก็ไม่ใช่โครงการระยะหนึ่ง แต่เมื่อทำไปได้และลูกค้าเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำ เป็นการมองคุณค่าของแบรนด์ที่อัพสเกลขึ้นมาอย่างยั่งยืน

“สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ลูกค้าเลือกใช้แบรนด์ มองปัจจัยเรื่องเหล่านี้ เมื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่ใส่ใจเรื่องนี้ ส่วนตัวเห็นว่าจะช่วยยกระดับความศรัทธาในแบรนด์มากยิ่งขึ้น และจะกลับไปที่ Brand Purpose ของเรา”

นัฐิยาคาดหวังว่า หากเอไอเอสทำทั้ง 2 เรื่องสำเร็จ ในอนาคต IR จะตอบนักลงทุนใน 1 คำถาม

“บางครั้งจะถามเราว่า แบรนด์เอไอเอสแตกต่างอย่างไรกับคู่แข่ง หรือแบรนด์เอไอเอส Represent อะไร วันนี้อาจจะเป็นเรื่องคุณภาพของสินค้า เครือข่ายของเราที่แข็งแรง แต่สิ่งที่เรากำลังคุยกันเป็น Elements ใหม่ เป็น Essences ใหม่ มีความสากลที่สามารถสร้าง Engagement กับลูกค้าในระดับที่ไม่ใช่แค่ ของที่มีคุณภาพที่เราจับต้องได้ทั่ว ๆ ไป เพราะแบรนด์ไม่ใช่เพียงสินค้า เครือข่ายคุณภาพ แต่แบรนด์ต้อง Carry ถึงสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย”

ความท้าทายของแบรนด์เอไอเอส ต้องสร้างผลกำไรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย และก็วัดผลได้อย่างชัดเจน

“ถ้าวัดกำไรอยู่บนงบการเงิน เราก็ทำโครงการ แต่วัดผลไม่ออกว่า โครงการนี้ทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนมากเพียงใด จะตอบกำไรก้อนนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่ขณะนี้จะมีตัวชี้วัดว่า ธุรกิจยั่งยืน กำไรจะเติบโตไปอย่างยั่งยืน ในบริบท Sustainable Development” นัฐิยากล่าวในท้ายที่สุด

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

 

The post เมื่อนักลงทุนถาม : แบรนด์คุณ Represents อะไร ? appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
อุ่นใจ CYBER เครือข่ายภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของคนไทยทุกคน https://www.sdperspectives.com/next-gen/ais-aunjai-cyber-digital-quotient/ Sun, 23 Jun 2019 17:15:51 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=3409 24 มิถุนายน 2562...เยาวชนไทย 8–12 ปี ใช้เน็ตสูงถึง 35 ชม. /สัปดาห์ มากกว่าค่าเฉลี่ย
ทั่วโลกถึง 3 ชม. แต่ขาดทักษะใช้งานดิจิทัลที่ฉลาด เกิดภัยแฝง Cyberbullying หากทุกคนตระหนัก “เราทุกคน คือเครือข่าย” อุ่นใจ CYBER จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของคนไทยทุกคน

The post อุ่นใจ CYBER เครือข่ายภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของคนไทยทุกคน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 มิถุนายน 2562…เยาวชนไทย 8–12 ปี ใช้เน็ตสูงถึง 35 ชม. /สัปดาห์ มากกว่าค่าเฉลี่ย
ทั่วโลกถึง 3 ชม. แต่ขาดทักษะใช้งานดิจิทัลที่ฉลาด เกิดภัยแฝง Cyberbullying หากทุกคนตระหนัก “เราทุกคน คือเครือข่าย” อุ่นใจ CYBER จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของคนไทยทุกคน

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวถึงบทบาท เอไอเอส ตั้งใจมุ่งมั่นในการเป็น Digital Life Service Provider ขับเคลื่อนให้ทุกคนได้ใช้เทคโนโลยีอย่างดีที่สุด ซึ่งภายใต้บทบาทดังกล่าว บริษัทย่อมไม่ต้องการทำเพียงด้านธุรกิจอย่างเดียว เพราะจะต้องคำนึงถึง Stakeholder อื่นๆ โดยเฉพาะในภาคสังคม ภาคสิ่งแวดล้อมที่จะต้องคำนึงถึงอย่างมากไม่น้อยกว่าด้านธุรกิจ

“เราปฏิเสธเทคโนโลยีไม่ได้ วันนี้คนใช้เพื่อการค้นหาข้อมูล เปิดโลกทัศน์ด้วยเรื่องราวน่าสนใจทั่วโลก ใช้ดูหนังฟังเพลง หรือเล่มเกมส์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าเราไม่มี DQ หรือ Digital Quotient อัจฉริยะทางดิจิทัล ก็จะเป็นโทษสำหรับน้องๆ เยาวชนได้ แต่วันนี้เอไอเอสมีโซลูชั่นที่เรียกว่าอุ่นใจ CYBER จะมาช่วยปกป้องให้เป็นเยาวชนที่ปลอดภัยจากสิ่งไม่ดีในโลกดิจิทัล ซึ่งถือเป็น ดิจิทัลของเราของคนไทยทุกคน เพื่อเยาวชน ไม่ใช่ของเอไอเอส…”

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO-AIS และปาร์ค ยูฮยอน ผู้คิดค้น DQ บินมาร่วมงานอุ่นใจ CYBER…(คลิกภาพชมคลิปจาก Youtube ช่อง SD Perspectives)

 

เราทุกคน คือเครือข่าย

หากมองถึงความเป็นเครือข่ายในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟน จะพบสิ่งที่เป็นประโยชน์ค่อนข้างมากในความหลากหลายทุกรูปแบบ และสิ่งที่มาคู่กันก็คือ ภัยในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเยาวชน ทั้งที่ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว

“ล่าสุด งานประชุมผู้ปกครองในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ 4 เดือน ยังคลานไม่ได้ แม่ยื่นมือสมาร์ทโฟนให้ลูกแล้ว! เพราะต้องการให้เด็กหยุดร้อง ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ Digital Wisdom การรู้เท่าทันดิจิทัล”

ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาปฐมวัย และผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา เล่าเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน ซึ่งตามหลักวิชาการและตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศ การจะให้ลูกเริ่มเห็นจับต้องจอทุกประเภท รวมถึงสมาร์ทโฟนได้ เด็กจะต้องมีอายุ 2 ขวบขึ้นไป

หลักของการใช้สิ่งเหล่านี้ จะต้องไม่ใช่ให้เป็นของเล่น แต่จะต้องใช้เป็นเครื่องมือ เพราะหากเป็นของเล่นพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปล่อยให้ลูกหลานเล่นได้เอง แต่เมื่อเป็นเครื่องมือ จะต้องมีผู้ใหญ่ดูแลอยู่ด้วย แม้ว่าลูกจะโตแล้วก็ตาม

ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ (นั่งข้าง กบ สุวนันท์) และ นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน เอไอเอส ร่วมเปิดเวทีเสวนาความร่วมมือในสร้างเครือข่ายป้องกันภัยออนไลน์…(คลิกภาพชมคลิป)

 

“สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่อาจจะเคยได้ยินลูกบอกเหมือนลูกกบว่า หนูไม่มีอะไรทำ ขอดูไอแพดได้ไหม ซึ่งคิดว่าหากมีอะไรทดแทนมีความสนุกก็จะช่วยให้ห่างออกไปได้ ซึ่งเท่าที่มีโอกาสคุยกับแม่หลายบ้านห้ามลูกใช้สิ่งเหล่านี้ กบมองว่าเทคโนโลยียังมีประโยชน์อีกมาก และเป็นยุค เป็นวัยของเขาที่จำเป็นจะต้องใช้ ต้องเรียนรู้ แต่ที่ยังมองไม่เห็นในบ้านเราคือ สอนให้ใช้เป็น มีจิตสำนึกที่ดีในการใช้”

กบ-สุวนันท์ ปุณณกันต์ นักแสดง มีมุมมองต่อเนื่องว่า ในฐานะที่ตนเองมีลูกสาววัย 8 ขวบและใช้เทคโนโลยีด้วยเพราะโรงเรียนให้ใช้ โดยที่บ้านได้พยายามสร้างจิตสำนึกในการใช้ให้ลูกของเธอได้มากที่สุดว่า อะไรควรเล่นหรือไม่ควรเล่นในวัยขนาดนี้ ซึ่งเธอจะเป็นผู้ตั้งกฎในการเล่น รวมถึงคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเวลาเล่น พูดคุย “ดูอะไรนะ”

“สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากขณะนี้คือ เด็กจะเติบโตมาอย่างมีความรู้คิดเป็นไหม ระวังตัวเองเป็นไหม เพราะเด็กจะต้องเติบโตใช้เอง คิดเองเป็น สร้างสรรค์เองได้แล้ว เพราะเราจะห้ามให้เด็กหยุดไม่ได้ เนื่องจากเด็กต้องเติบโตในยุคนี้”

บางส่วนที่น่าเป็นห่วงในสถานการณ์จริง (คลิกภาพ ชมวิดีโอ “เราต้องช่วยกัน ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย”)

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ช่วยขยายความถึงการเติบโตของเด็กและเยาวชนในท่ามกลางยุคสื่อออนไลน์ถือเป็นเรื่องปกติแล้ว เพราะโลกอยู่ในยุค Digital World นับว่าเป็นสิ่งดีงามที่ทำให้โลกหมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จากที่เมื่อก่อนไม่เข้าใจเลยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมาดูผ่านสื่อออนไลน์เข้าใจได้มากขึ้น แต่ก็มีประเด็นไม่ดีสำหรับสื่อไม่สร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงทฤษฎีจิตวิทยา เช่นเมื่อพูดถึงซิกมัน ฟรอยด์ เรื่องวัยต่างๆ จะเป็นอย่างไร แต่ปัจจุบันนี้ใช้ไม่ได้เลย เพราะสื่อมีผลกระทบทั้งบวกและลบ จำเป็นจะต้องใช้ให้เป็น

“การใช้ให้เป็นต้องรู้เท่าทันพบจากงานสำรวจทั้งประเทศว่า พ่อแม่กับลูกไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องสื่อในบ้านเลย ครูก็ไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักเรียนในเรื่องสื่อที่กำลังดังๆ แม้กระทั่งละครที่ดังๆ ซึ่งหากใช้สื่อให้เป็น เอาละครฉากเหล่านี้มาเปิดเป็นวิชาถกแถลง เราจะได้ยินความรู้สึก ความคิดของเด็ก และเด็กกำลังเรียนรู้อะไร ส่วนข้อกำหนด น.18 อะไรต่างๆ นั้นเป็นจุดอ่อนของผู้ใหญ่ที่แนะนำไม่เป็น”

รศ.นพ.สุริยเดว ย้ำว่า กระบวนการให้ความรู้ต่อเด็กเยาวชนในเรื่องสื่อออนไลน์นั้น ครอบครัว โรงเรียนครูสำคัญมากที่สุด โดยชุมชนอาจจะห่างออกจากตัวเด็ก ซึ่งเพียง 2 ระบบนิเวศน์ที่กล่าวนั้นต้องเข้มข้น เปิดประเด็นพูดคุย รู้จักรับฟังความคิดเห็น วิธีการเหลาความคิด 3-4 คำถามง่าย ตั้งคำถามปลายเปิดให้เด็กแสดงความคิดเห็นได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็กอนุบาลขึ้นไปจนกระทั่งถึงพ่อแม่ ผู้ใหญ่ทั่วไป

-ดูแล้วรู้สึกอย่างไร
-ดูแล้วคิดอะไร
-ดูแล้วเรียนรู้อะไร
-ถ้าเป็นเราอยู่ในเหตุการณ์แบบนั้น จะทำอย่างไร

การเหลาความคิดข้างต้น เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่ช่วยให้มีการยับยั้งชั่งใจ หากเด็กจะใช้สื่อในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมส์ จนกระทั่งกลายเป็น “โรคติดเกมส์” หรือการจะพิมพ์ข้อความในการโพสต์อย่างมีอารมณ์

อุ่นใจ CYBER

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน เอไอเอส เล่าถึงความเสี่ยงของเยาวชนต่อภัยจากสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องราวทางสังคมที่ไม่ใช่เอไอเอสจะเป็นห่วงเท่านั้น นักลงทุนสถาบันเองก็มีความเป็นห่วงที่สอบถามเป็นระยะ บางสถาบัน 2 ปีต่อครั้ง เพราะเรื่องนี้เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอไอเอส

“ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอยู่ใกล้ตัวเรามาก ติดตัวเรา 24 ชั่วโมง อาจจะเรียกว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ก็ไม่ผิดนัก และในนี้ก็มีโซเชียลมีเดียที่ใหญ่มากอยู่ด้วย เป็นจุดที่เราต้องมาตั้งคำถามว่า เอไอเอสต้องการที่จะทำอะไรตอบโจทย์ความสำคัญนี้ ซึ่งก็คือ อุ่นใจ CYBER เรามี 2 แกนให้ความรู้กับเยาวชนของเรา Educator เสมือนพ่อแม่ดูแลสุขภาพร่างกายให้ลูก ไม่อยากให้ทานขนมหวาน ทำไมควรทาน เป็นเหมือนอาหารสมอง ที่จะให้เด็กๆ แยกแยะว่าอะไรเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี ส่วนอีกแกน Protector เป็นการให้เครื่องมือในการป้องกัน แม้ว่าพ่อแม่ดูแลความสะอาดลูกเต็มที่แต่ก็อาจจะติดเชื้อ การทำแกนนี้เสมือนเราให้วัคซีนป้องกันไข้พื้นฐาน”

นัฐิยา ย้ำว่า อุ่นใจCYBER อยากชักชวนเครือข่าย ร่วมกันสร้างเยาวชนให้เป็นคนที่เก่งแล้วดี ใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์กับชีวิต

ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ เอไอเอส อธิบายภาพต่อเนื่องภายใต้กรอบใหญ่ อุ่นใจ CYBER ทั้ง 2 แกน ด้วยการยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)

“เรามีบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator) เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา จากมหาวิทยาลัย Nanyang ประเทศสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ”

อุ่นใจCYBER

นอกจากนี้ เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (Network Protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วย AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม จากบุตรหลาน

ในช่วงแรก จะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยากใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562 และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป

 

“อีกเรื่องหนึ่ง เอไอเอสร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย ซึ่งใช้ได้ทุกเครือข่าย ที่จะสามารถให้คำแนะนำดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ”

การเดินหน้าสร้างการรับรู้และลงมือทำ อุ่นใจ CYBER ในฐานะ “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” เอไอเอสตั้งใจจะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน สร้างการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข จากสภาพแวดล้อมที่ดี มีความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน

สมชัยกล่าวในท้ายที่สุดว่า “อยู่ที่นิ้วของเรา ที่จะสร้างสรรค์ หรือทำลาย”

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

The post อุ่นใจ CYBER เครือข่ายภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของคนไทยทุกคน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>