Search Results for “โลกหลังวิกฤติ Covid-19 ” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Tue, 19 Mar 2024 13:23:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 8) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/7814/ Wed, 17 Jun 2020 05:16:21 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7814 17 มิถุนายน 2563...ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยหลัง Covid-19 ที่จะเปลี่ยนจากตัวกลางระหว่างแรงงานและนายจ้างมาเป็น "หุ้นส่วน" ในการผลิตบุคลากรร่วมกับนายจ้าง พร้อมคำแนะนำสำหรับมหาวิทยาลัยไทยในการปรับตัวให้ผ่านพ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 8) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
17 มิถุนายน 2563…ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยหลัง Covid-19 ที่จะเปลี่ยนจากตัวกลางระหว่างแรงงานและนายจ้างมาเป็น “หุ้นส่วน” ในการผลิตบุคลากรร่วมกับนายจ้าง พร้อมคำแนะนำสำหรับมหาวิทยาลัยไทยในการปรับตัวให้ผ่านพ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึง โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 8) จะขอพูดถึงการปรับตัวของมหาวิทยาลัยหลังเหตุการณ์ Covid-19 อีกครั้งหนึ่ง บทความของ Brandon Busteed ชื่อ “This Will Be The Biggest Disruption in Higher Education” ที่ลงใน forbes.com เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงการเสื่อมคลายมนต์ขลังของเยาวชนที่เป็นลูกค้าเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าไปสู่ตลาดแรงงาน ทำงานคู่ขนานไปกับการเรียน ซึ่งนายจ้างก็จะสนับสนุนให้เป็นอย่างนั้นด้วย

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ถือว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการอุดมศึกษา (the biggest disruption in higher education) เพราะนับเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Disintermediary” ที่มหาวิทยาลัยเคยเป็นตัวกลางระหว่างแรงงานใหม่กับนายจ้างในอุตสาหกรรมมาก่อนโดยตลอด แรงผลักดันให้เกิดเหตุการณ์นี้ก็สืบเนื่องมาจากการเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมยุค 4.0 ในขณะที่

มหาวิทยาลัยยังพัฒนาและจัดระบบความรู้รองรับโลกยุคใหม่ไม่เสร็จสิ้น นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่รวมทั้งแรงงานเดิมที่อยู่ในตลาดรวมทั้งนายจ้างจะไม่คอยมหาวิทยาลัยอีกต่อไป แต่จะยินดีหาทางแสวงหาความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน ที่จริง “ปริญญา” หรือความรู้จากมหาวิทยาลัยก็จะยังเป็นของที่มีค่าที่แรงงานต้องการ แต่บทบาทมหาวิทยาลัยจะถูกบังคับให้เปลี่ยนจากการเป็น“ตัวกลาง” มาเป็น “หุ้นส่วน” ในการผลิตบุคลากรในอนาคต อาการที่ว่านี้ เขาเรียกกันว่า “Go Pro Early” และปริญญาหรือประกาศนียบัตรจะเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้น (A part of package)

การคุกคามที่กล่าวข้างต้นนี้ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อมหาวิทยาลัยในส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียม (college tuition) ที่อาจไม่แน่นอน ทั้งในด้านจำนวนและราคาในรูปแบบเดิมที่เก็บอยู่ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อการบริหารกระแสเงินสดรับจ่ายของมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีต้นทุนคงที่ค่อนข้างสูง เช่น เงินเดือนของคณาจารย์และบุคลากรที่เคยตั้งรับรอนักศึกษาเข้ามาในปริมาณมากพอพร้อมๆ กัน และต้นทุนด้านกายภาพที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งลงทุนไปมาก เกิดทั้งค่าเสื่อมราคาและค่าเสียโอกาสหากไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

บทความเรื่อง The Coming Disruption ของ James D. Walsh ที่ลงใน nymag.com (How Coronavirus Will Disrupt Future Colleges & Universities) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญไว้ว่าขณะที่เกิดโรคระบาด Covid-19 ขึ้น บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้จับมือเข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจนมากขึ้นแล้ว เช่น MIT@Google, istanford, Harvard x Facebook เป็นต้น การร่วมมือเป็นหุ้นส่วนนี้ทำให้สามารถออกหลักสูตรในลักษณะ Hybrid online-offline degrees ซึ่งจะเป็นปรากฏการณ์สำคัญในการเขย่าวงการอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกาและของโลก มีการคาดการณ์ว่าหากมหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิม (Brick-and-mortar Universities) ไม่สามารถหาผู้เข้าเรียนได้จำนวนมากๆ เหมือนเดิมและปรับตัวไม่ได้อาจจะต้องปิดตัวออกจากวงการนี้ไปในอีกไม่นาน

เอาแค่ตอนนี้ระหว่างเกิดโรคระบาด บรรดามหาวิทยาลัยต่างๆ เกิดความปั่นป่วนขึ้น และกำลังคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นและต้องทำอย่างไรหากนักศึกษาเดิมไม่กลับมาในปีหน้า หรือสำหรับนักศึกษาใหม่ที่รับเข้าเรียนแล้วเขาไม่ยอมมา การที่ “เด็กไม่ง้อมหาวิทยาลัย” เป็นสิ่งที่คนมหาวิทยาลัยไม่เคยเห็นมาก่อนตลอดช่วงชีวิตของเขา (อันที่จริงมันมี weak signal มาก่อนแล้วที่บรรดานักเทคโนโลยีระดับโลกที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมสำคัญและกลายเป็นมหาเศรษฐีของโลก ออกจากการเรียนกลางคันมาแล้ว แต่มหาวิทยาลัยไม่มี Foresight ที่จะจับมาพิจารณาเอง) รวมทั้ง “ลัทธิการบูชาปริญญา” ที่ช่วยเสริมคุณค่าการมีมหาวิทยาลัย ก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์น้อยลงทุกขณะ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่กำลังสร้างความหวั่นเกรงแก่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก และความอลหม่านในขณะนี้ก็คือ “จริงหรือ?” หรือ “เราจะไปทางไหนดี?” “ใช่หรือทางนี้?”

ผลที่กำลังจะตามมาของ Covid-19 ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนจะใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังมากขึ้นค่าเทอมในรูปแบบเดิมของมหาวิทยาลัยอาจถูกตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่กับการต้องเรียนแบบ Online ที่ผู้ปกครองอาจมองว่าไม่คุ้มค่าเลย เพราะลูกๆ ต้องอยู่บ้านและดูแค่จอ Screen ของคอมพิวเตอร์ จะมีเสียงเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยลดค่าเรียนลงมา ซึ่งมหาวิทยาลัยบางแห่งก็จะตัดสินใจยากมากเพราะทราบต้นทุนของตนเองดี หากในอนาคตอันใกล้มีมหาวิทยาลัยที่ทำหลักสูตรได้ดีเป็นที่ต้องการและราคาถูกจะเกิดคลื่นการเคลื่อนย้ายนักศึกษาครั้งใหญ่หากมหาวิทยาลัยไม่ปรับตัว หรือไม่มีความสามารถในการปรับตัว และก็จะเกิด “Zombie universities” ขึ้น จนถึงต้องเลิกกิจการ ในสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์ว่ามหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 จนถึงอันดับที่ 1,000 มีความเสี่ยงสูงที่จะอยู่ไม่รอด

ข้อคิดสำหรับมหาวิทยาลัยไทย

แม้ว่า มหาวิทยาลัยของไทยจะไม่ได้เป็นเลิศในอันดับต้นๆ ของโลก แต่เรามีภารกิจที่ต้องพัฒนาบุคลากรของไทยให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ของโลก และเป็นแรงงานที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตที่ดี เป็นกำลังสำคัญในการยกระดับระบบอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยและอยู่ใน “บริบท” ที่เหมาะสมกับประเทศของเรา จากข้อสังเกตและความเห็นส่วนตัวบางประการมีคำแนะนำต่อการปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทย ดังนี้

1) หยุดหรือลดการสร้างสินทรัพย์ถาวรที่ไม่จำเป็น

มีข้อสังเกตว่า มหาวิทยาลัยของไทยมักชอบสร้างถาวรวัตถุ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของคณะวิชาต่างๆ ที่ต้องการแตกแขนง “อาณาจักร” โดยอ้างความต้องการการพัฒนาความกว้างและลึกของศาสตร์ในสาขานั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีพอสมควรแล้ว สิ่งที่ขาดมากกว่าในขณะนี้ก็คือการพัฒนา “knowledge software” โดยเฉพาะในลักษณะที่จะตอบโจทย์โลกอุตสาหกรรม 4.0 และในลักษณะบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ ทั้งนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าระบบคณะวิชาในอนาคตอาจไม่ได้เป็นในลักษณะเหมือนทุกวันนี้ การมี physical assets มากเกินไป จะทำให้มีค่าเสื่อมราคา ค่าเสียโอกาส ทำให้มีต้นทุนทางการเงินสูง

2) ต้องร่วมมือกับธุรกิจอุตสาหกรรมภายนอกมากขึ้นและในมิติแบบใหม่

มหาวิทยาลัยต้องมองว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ “หุ้นส่วน” เพราะนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการเองก็ถูกคุกคามจากเดิมซึ่งทำธุรกิจในโลก 3.0 และต้องการอยู่รอดหรือเกิดใหม่บนโลก 4.0 การขับเคลื่อนธุรกิจบนโลกใหม่มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องการจากมหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ การมีแรงงานยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่พร้อมจะใช้ที่ทำงานบนธุรกิจใหม่ที่กำลังปรับตัวของเขาให้เป็น “Real and experience labs” เพื่อเรียนรู้ไปด้วยกัน พัฒนาและปรับหลักสูตรไปด้วยกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องยอมรับที่จะออกจากกรอบแบบเดิมในการพัฒนาหลักสูตรและองค์ความรู้

3) มองฐานลูกค้าให้กว้างขวางกว่าเดิมนอกจากเยาวชนไปสู่แรงงานที่ต้องการปรับทักษะเข้าสู่โลกใหม่ด้วย

การเคลื่อนตัวเข้าสู่โลกอุตสาหกรรม 4.0 และภัยคุกคามจากเหตุการณ์ Covid-19 กระทบต่อทุกวงการ จะมีความต้องการพัฒนาความรู้ทักษะในรูปแบบใหม่เพื่อเข้าสู่โลกใหม่ ซึ่งต้องการแรงงานที่มีความรู้ความสามารถแบบใหม่ มหาวิทยาลัยควรออกจากรูปแบบการดำเนินงานเดิมที่ตั้งรับรอเยาวชนที่จะเข้าสู่ระบบ Degree เท่านั้น แต่ควรเป็นศูนย์กลาง Re-skill และ Up-skill ให้กับแรงงานเดิมในประเทศ ซึ่งมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน ซึ่งจะเป็นตลาดใหม่ทดแทนโครงสร้างประชากรเยาวชนซึ่งมีสัดส่วนลดลง แต่เป็นการใช้โอกาส “Life-long learning” ที่เป็นกระแสที่มาพอดี

ที่กล่าวมาถือว่าเป็นตัวอย่าง ซึ่งเชื่อว่ามหาวิทยาลัยมีคนดีและคนเก่งในระดับมันสมองที่เข้าใจสภาพปัญหาได้ดี ลองระดมสมองกัน และช่วยดำเนินการกันไป เพื่อให้มหาวิทยาลัยไทยของเราผ่านพ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้อย่างราบรื่น

บทความ    โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ทุกตอน)

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 8) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 7) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/7697/ Tue, 09 Jun 2020 00:59:32 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7697 9 มิถุนายน 2563... ถึงเวลาแล้วที่มหาวิทยาลัยควรเร่งจัดทำTransformation plan ระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างแบบจำลองใหม่ให้ตนเองหลุดจากแบบจำลองเดิม โดยต้องรักษาของดีที่มีอยู่บนแบบจำลองเดิม และสร้างของดีอันใหม่เพิ่มเติม

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 7) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 มิถุนายน 2563… ถึงเวลาแล้วที่มหาวิทยาลัยควรเร่งจัดทำTransformation plan ระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างแบบจำลองใหม่ให้ตนเองหลุดจากแบบจำลองเดิม โดยต้องรักษาของดีที่มีอยู่บนแบบจำลองเดิม และสร้างของดีอันใหม่เพิ่มเติม เพื่อนำมาขับเคลื่อนตามบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อไป


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงโลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 7) สรุปประเด็นสำคัญ อุตสาหกรรมการศึกษาต่ออีกในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนที่จะเกิดวิกฤติ Covid-19 นั้น การศึกษาระดับอุดมศึกษาก็ถูกคุกคาม (Disruption) อยู่แล้วจากหลายสาเหตุ เช่น องค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยสั่งสมมาแต่เดิม เป็นการนำไปตอบโจทย์โลกอุตสาหกรรม 3.0 ซึ่งหลายอย่างเริ่มล้าสมัยที่จะนำไปตอบโจทย์โลกในยุค 4.0 รวมทั้งลูกค้าเป้าหมายซึ่งเป็นนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ มีสัดส่วนลดลงจากอัตราการเกิดของประชากรที่ต่ำลงในหลายประเทศตั้งแต่ 2 ทศวรรษก่อนเป็นต้นมา

มหาวิทยาลัยจำนวนมากในประเทศต่าง ๆ อยู่ระหว่างการปรับตัวทั้งในเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ การทำการตลาดรูปแบบการแสวงหารายได้แบบใหม่ รวมทั้งการลดต้นทุน ซึ่งหลาย ๆ มหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็เริ่มทยอยปิดตัวกันไป ในขณะที่เหตุการณ์วิกฤติ Covid-19 ที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนเข้ามาเร่งให้ Disruption ดังกล่าวเกิดเร็วขึ้น เพราะการหยุดชะงักการเรียนการสอนทำให้การลงทะเบียน

ของนิสิตนักศึกษาทั้งเก่าและใหม่มีการชะลอตัวไปซึ่งกระทบต่อกระแสเงินสดของมหาวิทยาลัย หรือการโดนบีบให้ต้องสอน Online ขณะที่การเตรียมตัวมีน้อยทั้งในด้านสื่อการสอนและอุปกรณ์ ทำให้คุณภาพการให้ความรู้ตกต่ำลง เป็นต้น

บทความของ Joshua Kim เรื่อง Teaching and Learning After Covid-19 ที่ลงใน insidehighered.com ได้ทำนายการเปลี่ยนแปลงไว้ดังนี้

การจัดการเรียนแบบผสมผสานจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก (Blended learning will dramatically increase)

การเรียนในรูปแบบเดิมที่ห้องเรียน (Physical classroom learning) จะถูกปรับให้มีรูปแบบ Online หรือเรียกว่า Remote classroom เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนต้องเริ่มมีการปรับตัว อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตามมาก็คือ การเรียนแบบ Online ต้องการคุณภาพของเนื้อหาและโปรแกรมที่ดี รวมทั้งมีลักษณะกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนไปและต้องดูแลมาก (High-Input operations) แบบที่มหาวิทยาลัยไม่คุ้นเคยมาก่อน จึงต้องมีการลงทุนและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากในช่วงแรก รวมถึงอาจมีโอกาสสูงที่ลงทุนไปแล้วไม่เกิดความคุ้มค่า

นอกจากนี้ในการเผยแพร่หรือถ่ายทอดความรู้ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าวิธีใดหรือ platform ใดที่ควรเลือกใช้ซึ่งปัจจุบันมีทั้ง Canvas, Blackboard, D2L, MS team และ Zoom เป็นต้น ซึ่งจะต้องหาวิธีใช้ร่วมกับการเรียนแบบ Face-to-face ใน Physical classroom ซึ่งแต่ละศาสตร์อาจใช้น้ำหนักไม่เท่ากัน เช่น การเรียนด้านวิทยาศาสตร์ที่ยังต้องใช้ Labs เพื่อฝึกปฏิบัติภายใต้การดูแลของอาจารย์ อาจต้องการสัดส่วนการเรียนแบบ Face-to-face ในสัดส่วนที่มากกว่าบางสาขา เป็นต้น

การเรียนแบบ Online จะกลายเป็นกลยุทธ์เร่งด่วนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เร่งพัฒนาการให้บริการ (Online education will be a strategic priority at every institution)

อาจกล่าวได้ว่า แทบทุกมหาวิทยาลัยในตอนนี้ไม่มีใครไม่เล่นกลยุทธ์ Online education บรรดาผู้บริหารมหาวิทยาลัยรู้ดีว่า ถ้าทำ Online education ได้ดีจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของมหาวิทยาลัยเพราะนอกจากใช้ประกอบการเรียนให้นักศึกษาปัจจุบัน และดึงดูดนักศึกษาใหม่แล้ว ยังอาจดึงประชาชนอีกมหาศาลที่ต้องการปรับทักษะใหม่เข้ามาเรียนแบบทางไกลได้ด้วย

หลัง Covid-19 เราจะได้เห็นวิธีจัดงบประมาณแบบใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยทุ่มงบไปพัฒนาและส่งเสริมการทำ Online education มากขึ้น แต่เนื่องจากเนื้อหาในบริบทเดิมบางอย่างอาจมีประโยชน์ บางอย่างไม่มีคนสนใจ ส่วนเนื้อหาใหม่ที่ไปกับโลกยุคใหม่ก็อาจจะยังไม่ตกผลึกดี การผลิตและนำออกมาใช้ก็จะเป็นลักษณะทำไปทิ้งไป ทำไปไม่มีคนใช้ ไม่มีคนสนใจ ทำแล้วไม่เกิดรายได้ไม่คุ้มค่า ไม่ตอบโจทย์ ทำไปพอให้รอดตัวว่าได้ทำตาม KPI มหาวิทยาลัยจึงต้องดูให้ดีระหว่างงบประมาณที่ใช้กับของที่มีคุณค่า ที่จะได้จากการลงทุนใน Online education

การร่วมมือกับบุคคลภายนอก ในการพัฒนาเนื้อหาและการเรียนการสอนอาจมีหลายรูปแบบ (Existing and potential partnerships will be rethought)

โดยปกติมหาวิทยาลัยจะถือตัวเองว่าเป็นศูนย์กลางพัฒนาเนื้อหา การวิจัย และการเรียนการสอนเพื่อผลิตคนออกสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยจ้างคณาจารย์มาทำงานเรื่องการศึกษา มหาวิทยาลัยจึงถูกยอมรับว่าควรจะทำงานนี้ได้ดีที่สุด (Teaching and learning are core capabilities) แต่อย่างที่เราทราบ ศาสตร์ด้านใหม่ ๆ ทางอุตสาหกรรมอาจพัฒนาได้เร็วและใหม่กว่า ซึ่งถ้ามาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีจุดแข็งด้านการเรียบเรียงให้เป็นระบบเป็นลำดับในการเรียนรู้ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเตรียมคนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ของโลก

สำหรับภาพรวมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ในอดีตหลายทศวรรษที่ผ่านมาถือได้ว่าบรรดามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้รับใช้ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคอุตสาหกรรม 3.0 มาได้ดีอย่างน่าภาคภูมิใจ แต่มหาวิทยาลัยในรูปแบบเดิมได้เดินทางมาถึงจุดสูงสุดของแบบจำลองนั้นแล้ว หลังวิกฤติ Covid-19 หากมหาวิทยาลัยมุ่งแต่การกลับเข้าสู่สภาวะปกติ (Return-to-normal) ไปดำเนินงานตามรูปแบบเดิม ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มีนัยสำคัญที่จะต่อสู้กับ Disruption ดังกล่าวข้างต้น

ถึงเวลาแล้วที่มหาวิทยาลัยควรเร่งจัดทำTransformation plan ระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างแบบจำลองใหม่ให้ตนเองหลุดจากแบบจำลองเดิม โดยต้องรักษาของดีที่มีอยู่บนแบบจำลองเดิม และสร้างของดีอันใหม่เพิ่มเติม เพื่อนำมาขับเคลื่อนตามบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อไป

เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวที่ไม่สามารถจบในบทความเดียว แต่อยากทิ้งท้ายว่า เราน่าจะระดมสมองกันต่อไปว่า “ของดีอันเดิม” กับ “ของดีอันใหม่” ของมหาวิทยาลัยคืออะไร แล้วแบบจำลองอันใหม่ของมหาวิทยาลัย ควรเป็นแบบไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าคิด

 

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 7) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 6) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/education/ Sat, 30 May 2020 14:34:02 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7544 30-31 พฤษภาม 2563…ผลกระทบของอุตสาหกรรมการศึกษาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนโอกาสในการปรับตัวของอุตสาหกรรมการศึกษาหลังยุค Covid-19

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 6) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
30-31 พฤษภาม 2563…สรุปประเด็นสำคัญผลกระทบของอุตสาหกรรมการศึกษาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนโอกาสในการปรับตัวของอุตสาหกรรมการศึกษาหลังยุค Covid-19 จากบทความ “The COVID-19 pandemic has changed education forever. This is how” และ“Top 10 risks and opportunities for education in the face of COVID-19.”


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงโลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 6) สรุปประเด็นสำคัญ ส่งผลกระทบรุนแรงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการศึกษา ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโลกมนุษย์เราในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในระหว่างการระบาดของโลก สถานศึกษา เช่น โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เป็นต้น ได้ถูกสั่งปิดเนื่องจากเป็นสถานที่รวมกันของนักเรียน นิสิตนักศึกษาที่เป็นเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อไปของชาติ ได้รับการดูแลให้ปลอดภัยซึ่งเป็นความห่วงใยในระดับต้น ๆ ของผู้ปกครอง

ผู้บริหารสถานศึกษาและภาครัฐ มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีนักเรียนนักศึกษากว่า 1,200 ล้านคนต้องหยุดเรียนอยู่บ้าน และหากต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน ผู้เกี่ยวข้องก็เริ่มเป็นห่วงกับการหามาตรการให้การเรียนการสอนในยุค Social / Physical distancing ที่ยังคงอยู่ การปรับตัวแบบ Online learning ถูกเร่งให้นำมาใช้เป็นอย่างมาก ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณากันต่อไป

บทความ “The COVID-19 pandemic has changed education forever. This is how” ของ Cathy Li และ Farah Lalani จาก The world Economic Forum COVID Action Platform วันที่ 29 เมษายน 2563 ได้ให้ข้อมูลประเด็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้

การเติบโตของ Edtech (Education technology) ขยายตัวอย่างมากจากมูลค่า 18.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2562 ถูกคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 และในอนาคตเราจะพบการพัฒนาเครื่องมือและเนื้อหาของการเรียนแบบ online ที่มีความหลากหลายและก้าวหน้ามากขึ้น เช่น Language apps, Virtual tutoring, Video Conferencing หรือ Online software เป็นต้น

จะมีความต้องการบริการ Online learning platform ทั้งในลักษณะที่สถาบันการศึกษาพัฒนาขึ้นเอง หรือมีผู้พัฒนาระบบเพื่อให้ใช้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เกิด Startups กลุ่ม Highly valued edtech companies เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการใช้บริการการเรียนทางไกลดังกล่าว

การเคลื่อนตัวเพื่อใช้เรื่อง Online learning แม้จะมีอัตราเร่งที่สูงขึ้น ในขณะที่ผู้เกี่ยวข้องยังคุ้นเคยกับการเรียนการสอนในระบบเดิม ซึ่งหากออกมาโดยไม่ทำความเข้าใจ หรือไม่มีการอบรมการใช้งานก็จะทำให้ไม่ได้รับประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนไม่คุ้มค่าในการลงทุน

การเข้าถึงการเรียนการสอนแบบ Online learning ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำที่นักเรียนนักศึกษามาจากครอบครัวที่ยากจนไม่สามารถมีอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายที่ทำให้เข้าถึงได้ รวมถึงข้อวิจารณ์อื่นๆ เช่น สมาธิผู้เรียนที่อาจมีความจำกัด การขาดผู้ควบคุมดูแลขณะที่เรียนที่บ้านเพราะผู้ปกครองก็มีภาระไม่สามารถดูแลได้ตลอดเวลา หรือการมีเนื้อหาที่เหมาะสมไม่เพียงพอ ครูและอาจารย์ก็ยังใหม่ต่อเรื่องนี้

บทความ “Top 10 risks and opportunities for education in the face of COVID-19.” โดย Robecca Winthrop ที่ลงใน brooking.edu วันที่ 10 เมษายน 2563 สรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโอกาสในการปรับตัวของอุตสาหกรรมการศึกษาหลังยุค Covid-19 ไว้ดังนี้

1. การจัดการเรียนแบบผสมผสานระหว่างในห้องเรียนจริงกับการเรียนทางไกลจะได้รับความนิยมมากขึ้น (Blended learning approaches will be tried, tested and increasingly used)

แม้ว่าคนจะคุ้นเคยกับการเรียนแบบ Face-to-face learning มาโดยตลอด แต่ในอนาคตคนจะยอมรับได้กับการเรียนการสอนแบบ Blended learning โดยไม่ต้องเจอตัวคนเรียนคนสอนแบบเป็นๆ ต่อหน้าทั้ง 100% ของทั้งรายวิชา แต่ยังคงได้ Learning experiences ที่ดีกว่าเดิม ทั้งคนสอนและคนเรียนจะปรับตัวไปตามเทคโนโลยีการศึกษาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แบบยอมรับโดยไม่ต่อต้านมากนัก

2. วิชาชีพครู (หากปรับตัวได้) จะได้รับการยกย่องมากขึ้น (Teachers and school will receive more respect, appreciation and support for their important role in society)

โดยปกติคุณครูจะได้รับการยกย่องอยู่แล้วว่าเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่ 2 ของนักเรียน ช่วยกล่อมเกลาให้ความรู้เพื่อให้เยาวชนของเราเป็นทั้งพลเมืองที่ดีและเก่ง ซึ่งเป็นที่มาว่าเราไม่ควรยกเลิกการเรียนแบบ Face-to-face learning ยิ่งถ้าโรคระบาดยังอยู่แม้ไม่รุนแรง และมีการอนุญาตให้เปิดการเรียนการสอนได้เท่ากับว่าพ่อแม่ผู้ปกครองฝากความปลอดภัยของลูกหลานไว้ที่ครู ในขณะเดียวกันครูก็ต้องยกระดับความรู้ทักษะด้าน Online learning ของตนเองอีกเพื่อใช้สอนเด็กๆ ก็ถือว่าเป็นงานที่หนักมาก ๆ

3. สรรพวิชาจะถูกปรับคุณภาพและพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่างมาก (Quality teaching and learning materials will be better created and more widely used)

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ไปกับโลกยุคใหม่และเก็บรวบรวมอยู่ในฐานความรู้จะถูกจัดทำขึ้นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก รวมทั้งนำไปขึ้นในระบบ Online learning ซึ่งนอกจากนักเรียนและครูจะใช้ได้แล้ว ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะสามารถเข้าไปดูย้อนหลังถึงความเหมาะสม ประสิทธิภาพ และมีลักษณะเชิงสาธารณะมากขึ้น

4.ความร่วมมือในเรื่องการศึกษาจะมีมากขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Teacher collaboration will grow and help improve learning)

ในอนาคตจะเกิดความร่วมมือมากขึ้นระหว่างครู ผู้พัฒนาเนื้อหา เป็นต้น ในลักษณะข้ามสถานศึกษา เพราะระบบ Online learning อาจช่วยแบ่งปันครูที่ชำนาญและสอนเก่งในวิชาหนึ่งไปยังโรงเรียนอื่นๆ หรือใช้เนื้อหาร่วมกันเพื่อประหยัดเวลาในการพัฒนา ทำให้หันไปพัฒนาส่วนอื่นๆ ที่ขาดอยู่ให้เกิดความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไป

ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษา จึงมีความห่วงใยส่วนตัวเมื่อมองมาที่ระบบการศึกษาของไทยที่ถูกประเมินและวิจารณ์ว่าล้าหลังและขาดประสิทธิภาพ เดิมทีอุตสาหกรรมการศึกษาก็ถูกคุกคาม (Disruption) จากภายนอก และมีความอ่อนแอจากภายในอยู่แล้ว เหตุการณ์ Covid-19 เหมือนมาเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้น ประเทศไทยน่าจะอาศัยโอกาสนี้ทำการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ครั้งสำคัญ ยกระดับการศึกษาไทยสู่ยุค Digital ไปเลย เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลังจากที่ Covid-19 ผ่านพ้นไป

Credit : weforum.org brooking.edu

อ่านเพิ่มเติม

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 6) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 5) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/airline-industry/ Sat, 30 May 2020 14:14:53 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7540  30-31 พฤษภาคม 2563...ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสายการบิน (Airline Industry) หรืออุตสาหกรรมการเดินทางทางอากาศ (Aviation Sector) เพื่อนำไปสู่การปรับตัว 7 เรื่อง

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 5) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
 30-31 พฤษภาคม 2563…ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสายการบิน (Airline Industry) หรืออุตสาหกรรมการเดินทางทางอากาศ (Aviation Sector) เพื่อนำไปสู่การปรับตัว 7 เรื่อง จากบทความของ Lorene Fauvelle เรื่อง “Covid-19 : 7 specific impacts on the future of the aviation sector”

ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงในตอนที่ 5 ของบทความชุดนี้จะพาผู้อ่านไปดูผลกระทบของ Covid-19 ที่มีต่ออุตสาหกรรมสายการบิน (Airline Industry) หรืออุตสาหกรรมการเดินทางทางอากาศ (Aviation Sector) ซึ่งเราได้เห็นสภาพกันชัดเจนอยู่แล้วว่าในช่วงระบาดของ Covid-19 อย่างรุนแรงนั้น ประเทศต่างๆ พากันปิดน่านฟ้า มีการควบคุมการเดินทางทางอากาศจนถึงขั้นการสั่งสายการบินต่างๆ หยุดบิน หรือจำเป็นต้องหยุดบินเพราะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ธุรกิจการบินต้องปรับตัวอย่างมาก แม้เมื่อมีการผ่อนคลายแล้วก็ยังมีผลกระทบต่อรูปแบบการเดินทาง ในอนาคตการเดินทางลักษณะนี้ในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษา Covid-19 สภาพ New Normal ของการเดินทางจะทำให้ธุรกิจสายการบินต้องปรับตัวต่างไปจากเดิมอย่างมาก

บทความ “Covid-19 : 7 specific impacts on the future of the aviation sector” โดย Lorene Fauvelle ใน intotheminds.com เมื่อ 13 เมษายน 2563 สรุปประเด็นสำคัญของผลกระทบเพื่อนำไปสู่การปรับตัวไว้ 7 เรื่องดังนี้

1. การควบรวมกิจการสายการบินจะมีมากขึ้น (Massive consolidation)

การลดการเดินทางแบบฉับพลันทันทีและเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ดำรงอยู่เป็นเวลานาน เป็น “Shock” ครั้งสำคัญที่อุตสาหกรรมการบินไม่เคยพบมาก่อน ส่งผลที่รุนแรงทางลบต่อรายได้ ผลกำไร และสถานะการเงินของสายการบินต่างๆ เนื่องจากธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนสูง ในขณะที่การแข่งขันที่รุนแรงที่ผ่านมาทำให้มีกำไร หรือ “Margin” ต่ำ สายการบินใดที่แต่เดิมมีสภาพที่ง่อนแง่นอยู่แล้ว ในรอบนี้มีการคาดการณ์ว่าจะได้เห็นธุรกิจการบินต้องล้มละลายไปอีกจำนวนมาก และจะมีการปรับตัวโดยการกดดันจากเจ้าหนี้อย่างมาก เนื่องจากกลัวจะเป็นหนี้เสียก้อนใหญ่ และไม่อยากให้ล้มไปเพราะอย่างไรเสีย การมีสายการบินยังคงมีความจำเป็นต่อการเดินทางภายในและระหว่างประเทศ แต่ก็จะต้องมีการบังคับให้ลดขนาดกิจการเดิมลงมาแบบรุนแรงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสนับสนุนให้ควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หากในแต่ละประเทศมีสายการบินในจำนวนที่มากเกินไป

2. ความต้องการการเดินทางที่มีแนวโน้มที่ลดลง (Low demand)

ระหว่างที่ยังต้องอยู่กับ Covid-19 ผู้โดยสารจะมีการปรับพฤติกรรมการเดินทาง (Modify their behaviour) โดยลดความถี่ในการเดินทางเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อยอดขายของสายการบิน อีกทั้งจำนวนที่นั่งของเครื่องบินก็จะต้องลดลงเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมตามข้อกำหนดซึ่งกระทบทางลบต่อรายได้ แนวทางการรักษารายได้ของสายการบิน อาจเลือกใช้การขึ้นค่าโดยสาร แต่ก็จะส่งผลให้ลูกค้าลดการเดินทางโดยไม่จำเป็น ธุรกิจสายการบินจึงต้องปรับตัวอย่างมากในการสร้างสมดุลจากรายได้ที่อาจเติบโตได้ยาก กับต้นทุนที่สูงและต้องบริหารจัดการเพื่อให้อยู่รอด

3. การดูแลความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้โดยสารจะมีมากขึ้น (Enhanced security measures)

ในระยะต่อไปจะกลายเป็นความปกติใหม่ที่ก่อนบิน ระหว่างบิน และถึงจุดหมายปลายทางจะมีมาตรการเข้มข้นในการตรวจอุณหภูมิ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเตรียมจุดแอลกอฮอล์ให้ล้างมืออยู่ในบริเวณท่าอากาศยานและบนเครื่องบิน ซึ่งทำให้ต้องเพิ่มระบบหรือกระบวนการในการทำงาน และมีต้นทุนทั้งเรื่องเวลา และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น อาจเกิด Applications ใหม่ๆ ที่ใช้ตรวจสอบ ติดตามผู้โดยสาร เพราะหากมีการแพร่เชื้อจะได้สามารถติดตามแก้ไขการระบาดได้ทันที

4. การเพิ่มความสำคัญของท่าอากาศยานที่เป็นศูนย์กลาง (Strengthening the role of hubs)

ในยุคที่ผ่านมา เมืองต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่พยายามจัดให้มีสนามบินที่เมืองของตน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน แต่ในระยะต่อไป หากความถี่ในการเดินทางลดลง สนามบินของเมืองเล็กจะลดบทบาทลง ส่วนสนามบินเมืองใหญ่ที่เป็น “Hub” จะได้รับความสำคัญมากขึ้นในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อโดยรถยนต์ หรือรถไฟความเร็วสูงไปยังเมืองอื่นๆ และการบินไปยัง Hub ยังคุ้มค่ากว่าเพราะมี Aircraft load factor ที่สูงกว่า อย่างไรก็ดีท่าอากาศยานเหล่านี้ก็จะต้องเตรียมรองรับผู้โดยสารที่จะต้องใช้เวลามากขึ้นในการตรวจ และพิ้นที่ที่ต้องนั่งห่างๆ กัน อาจเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจเกี่ยวกับ VIP Lounge หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชั้นธุรกิจได้มากขึ้น

5. การขยายตัวของรายได้จากบริการรูปแบบใหม่ๆ (New fee-based services)

มีตัวอย่างของ Low-cost airline เช่น Ryanair ที่พยายามปรับตัวจากเหตุการณ์วิกฤติ Covid-19 โดยคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้โดยสารระหว่างเดินทาง เช่น การจำหน่ายหน้ากากอนามัยให้ลูกค้าหากลูกค้าลืมนำมา เพราะเป็นข้อกำหนดที่ผู้โดยสารทุกคนต้องสวมหน้ากาก หรือการนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ เช่น ถุงมือ เจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยทางสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้บริการในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากรายได้ ค่าโดยสาร

6. การหมดยุคของเครื่องบินโดยสารขนาดยักษ์ (The end of giant planes)

มีข่าวว่า Lufthansa กำลังจะเอาเครื่องบิน Airbus A380S จำนวน 6 ลำ ออกจากฝูงบิน ซึ่งเป็นแนวโน้มหนึ่งที่สายการบินต่างๆ จะใช้เครื่องบินขนาดยักษ์ลดลง เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่อาจลดลงแต่ขณะที่ต้นทุนการบินของเครื่องบินขนาดยักษ์อาจอยู่ในระดับสูง จึงไม่สามารถทำกำไรให้คุ้มค่าได้ สายการบินต่างๆ จะพยายามปรับหรือแม้แต่การสั่งเครื่องบินในอนาคตจะต้องคำนวณจำนวนที่นั่งที่มีขนาดเหมาะสมภายใต้ยุค Social distancing แบบนี้

7. การหมดยุคของที่นั่งชั้นหนึ่ง (The end of 1st class)

ที่ผ่านมา แม้ว่าการมีที่นั่งโดยสารชั้นที่ 1 จะเป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าที่ทำให้สายการบินต่างๆ ได้รายได้จากกลุ่มนี้ เพราะค่าโดยสารที่แพง มีบริการดูแลที่ดีเยี่ยม แต่ก็ต้องใช้พื้นที่บริการค่อนข้างมาก ในอนาคตภายใต้ Covid-19 การจัดแบ่งพื้นที่อาจเปลี่ยนไป เพื่อคำนวณให้ได้ Load factor ที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงโดยยุติการจัดพื้นที่แบบดั้งเดิม เช่น ชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ และชั้นประหยัด ที่ใช้กันมายาวนาน เป็นรูปแบบอื่นได้

บทความนี้ ออกมาในจังหวะที่ข่าวการฟื้นฟูสายการบินแห่งชาติของเรา “การบินไทย” กำลัง Hot พอดี และในขณะที่สายการบินอื่นๆ ของไทยกำลังเผชิญความยากลำบากกันอยู่ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ธุรกิจสายการบินทุกแห่งก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ อย่างไรก็ตาม “การเดินทางทางอากาศ” ถือเป็นความจำเป็นพื้นฐานในยุคปัจจุบันไปแล้ว การปรับตัวในครั้งนี้ก็ขอให้เกิดสภาพ Win-Win แก่ทุกฝ่ายบน New normal ของอุตสาหกรรมการบินต่อไป

Credit : intotheminds

อ่านเพิ่มเติม

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 5) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 4) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/hospitality-industry/ Sat, 30 May 2020 12:09:26 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7532 30-31 พฤษภาคม 2563...การปรับตัวของธุรกิจบริการ “Hospitality Industry” 9 ประการ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจโรงแรม ภัตตาคารและธุรกิจท่องเที่ยว

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 4) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
30-31 พฤษภาคม 2563…การปรับตัวของธุรกิจบริการ “Hospitality Industry” 9 ประการ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจโรงแรม ภัตตาคารและธุรกิจท่องเที่ยว จากบทความของ Graham Harriman FIH เรื่อง “ How will hospitality service change post Covid-19?”


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงโลกหลังวิกฤติ Covid-19 ในบทความตอนที่ 4 นี้ เราจะมาดูการพยากรณ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมบริการ (Hospitality Industry) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับในตอนที่ 3 ที่กล่าวถึงแนวทางการปรับตัวของธุรกิจอาหารซึ่งเป็นธุรกิจบริการชนิดหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้ ตามความหมาย “Hospitality” หมายถึง การต้อนรับ การรับรองผู้มาเยือน “Hospitality Industry” จึงหมายถึง อุตสาหกรรมบริการซึ่งครอบคลุม ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจภัตตาคารและธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งอุตสาหกรรมบริการเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในระบบเศรษฐกิจของไทย และกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติ Covid-19 ในขณะนี้

บทความเรื่อง “How will hospitality service change post Covid-19?” โดยGraham Harriman, FIH ที่ลงใน Institute of Hospitality สรุปคำแนะนำสำคัญในการปรับตัวหลังวิกฤติ Covid-19 ไว้ 9 ประการดังนี้

1) นโยบายเกี่ยวกับการยกเลิกการจอง (Cancellation policies)

นโยบายเกี่ยวกับการจองที่พักหรือการใช้บริการอาจต้องปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นกว่าเดิม เนื่องจากในช่วงที่มีการระบาดอาจมีทั้งลักษณะรุนแรงหรือไม่รุนแรง ลูกค้าจะชอบหากสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนไปมาได้หลายครั้ง ผู้ประกอบการต้องมาคิดว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง และต้องปรับระบบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร

2) การลงทะเบียนเข้าใช้ล่วงหน้า (Pre-arrival registration)

ปกติเวลาเราไปถึงโรงแรมหรือสถานที่ให้บริการต้องมีการติดต่อลงทะเบียน ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและพนักงาน ในช่วงมีการระบาดของไวรัส สถานประกอบการจึงอาจต้องคิดระบบการลงทะเบียนที่ลูกค้าทำเองได้จากที่บ้านเลย และเมื่อมาถึงสถานที่ให้บริการก็ต้องคิดกระบวนการให้สามารถลดการสัมผัสกันให้มากที่สุด โดยปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงเทคโนโลยีที่ต้องนำมาใช้ เช่น Electronic locks โดยใช้ Bluetooth หรือ RFID เป็นต้น

3) การแสดงหลักฐานยืนยันของผู้ใช้บริการว่าปลอดเชื้อ (Covid-19 testing and tracing)

ในขณะที่โรคระบาดยังมีอยู่ ผู้ใช้บริการเองถ้าถูกตรวจสอบและบันทึกไว้เรียบร้อยในประวัติว่าตนเองปลอดเชื้อ อาจถูกหน่วยงานทางการขอความร่วมมือในการแสดงหลักฐานยืนยันตัวตนในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นมาตรการเพิ่มเติมที่ดีที่ช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้นทั้งในช่วงเข้าพักและหลังเข้าพัก หากมีการติดเชื้อการติดตามตัวจะทำได้ดีขึ้น

4) การทำเครื่องหมายและเส้นทางในสถานที่ใช้บริการ (Social distance circles)

เนื่องจากสถานที่ให้บริการ เป็นสถานที่มีคนเข้ามาใช้บริการมีการเคลื่อนไหวเข้าออกซึ่งเดิมอาจไม่มีการกำหนดเส้นทางเดิน โอกาสการสัมผัสหรือปะทะจึงอาจไม่ได้ถูกคิดไว้ ในสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผู้ประกอบการอาจต้องปรับปรุงโดยการกำหนดเครื่องหมายและเส้นทางการเดินเพื่อสร้างให้เกิดระเบียบในการใช้บริการ

5) การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ (Public area sanitizing and disposable wipes availability)

สถานประกอบการจะต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในพื้นที่ต่างๆ อย่างเข้มงวด และในความถี่ที่มากกว่าเดิม โดยเฉพาะในบริเวณที่ถูกใช้บริการมากๆ เช่น ประตู โต๊ะ เก้าอี้ ลูกค้าจะมีความคาดหวังเรื่องความสะอาดมากขึ้นกว่าเดิมมาก และจะเลือกใช้บริการในสถานที่ที่แน่ใจว่าปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ

6) การเปลี่ยนรูปแบบในการทักทายผู้ใช้บริการ (Greetings and acknowledgements)

แต่เดิมในหลายๆ ประเทศวิธีทักทายที่ใช้การสัมผัสมือ (Handshake) อาจต้องปรับเปลี่ยนไป มาตรฐานและวิธีการที่ใช้แบบเอเชีย เช่น การไหว้ของไทยและอินเดีย การโค้งคำนับแบบญี่ปุ่น การประสานมือแบบจีน อาจได้รับความนิยมและนำมาปฏิบัติมากขึ้น

7) การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการให้บริการบนโต๊ะอาหาร (Restaurant areas table spacing styles of service)

การใช้บริการในขณะที่โรคยังระบาดอยู่ ลูกค้าจะต้องการพื้นที่โต๊ะอาหารที่ห่างกันหรืออาจมีที่กั้น นอกจากนี้ แต่เดิมการเดินไปมาของบริกรเพื่อคอยให้บริการถือว่าเป็นเรื่องดีและปกติ เช่นการนำขวดพริกไทย ซอสไปบริการ ในอนาคตอาจมีการวางไห้บริการบนโต๊ะไปเลย แบบนี้เรียกว่า One-stop delivery เพื่อลดการสัมผัสหรือการใกล้ชิดกัน

8) การเปลี่ยนมาตรฐานการบริการเกี่ยวกับบุฟเฟต์และเมนูอาหาร (Buffets and single use buffet utensils, and disposable menus)

หากยังต้องมีไลน์อาหารแบบบุฟเฟต์ ลูกค้าจะต้องการอุปกรณ์ตักอาหารของตนเอง และอาจต้องกำหนดให้มีคิวตักอาหารเพื่อไม่ให้เกิดการแออัดที่ไลน์อาหาร สำหรับเมนูอาหารที่ใช้ซ้ำๆ เวลามีลูกค้าใหม่เข้ามาในร้าน ก็อาจเริ่มคิดให้มีเมนูอาหารที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือถ้าหากจะลดขยะก็อาจใช้เป็น Digital menu ที่ลูกค้ายิง QR code หน้าร้าน และเมื่อนั่งที่โต๊ะก็สามารถสั่งได้เช่นกัน

9) การหันมาใช้บริการจากในห้องพักมากขึ้น (Room service)

เนื่องจากความกลัวเรื่องการติดเชื้อไวรัส เมื่อคนเข้าพักความต้องการบริการจากในห้องพักจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เช่น การรับประทานอาหารในห้อง การต้องการให้ทำความสะอาดเป็นระยะ การคาดหวังให้มีเจลแอลกอฮอล์ในห้อง ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับระบบการดำเนินงานเพิ่มเติม บางกรณีก็อาจต้องพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย

ก็หวังว่าบทความตอนที่ 4 จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านนี้ของไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก สุดท้ายอยากจะฝากว่า หลังวิกฤติ Covid-19 เวลาจะฟื้นฟูธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการนี้ คาดว่าผู้ประกอบการก็อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการปรับสภาพธุรกิจไปตาม New Normal ด้วย ซึ่งเงินทุนที่ต้องใช้จะไม่ได้ใช้เพื่อหมุนเวียนแบบเดิมอย่างเดียว แต่จะต้องการเพื่อปรับปรุงระบบการดำเนินงานตามวิถีชีวิตใหม่ด้วย ดังนั้น จึงอยากให้สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อหรือให้เงินทุนพิจารณาในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน

Credit : Institute of Hospitality

อ่านเพิ่มเติม

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 4) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 3) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/set-knowledge/ Thu, 21 May 2020 06:17:17 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7415 21 พฤษภาคม 2563...สรุปการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในธุรกิจร้านอาหาร ของ Bruce Reinstein จากบทความ “COVID-19 will forever change the food service industry” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านผู้บริโภค และการเตรียมตัวของผู้ประกอบการ

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 3) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
21 พฤษภาคม 2563…สรุปการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในธุรกิจร้านอาหาร ของ Bruce Reinstein จากบทความ “COVID-19 will forever change the food service industry” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านผู้บริโภค และการเตรียมตัวของผู้ประกอบการ


โลกหลังวิกฤติ Covid-19 ในบทความตอนที่ 1  และตอนที่ 2 นั้นได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นฐานในชีวิตและสังคมของมนุษย์ รวมถึงมุมมองที่น่าสนใจ จากบรรดากูรูในวิชาชีพต่างๆ ว่าพวกเขามองโลกหลังวิกฤติ Covid-19 จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มาในบทความตอนนี้จะมาเน้นให้เห็นอีกมุมหนึ่งของธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤตินี้เช่นกัน

ธุรกิจร้านอาหารถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ ถือว่าเป็นบริการพื้นฐานในสังคมมนุษย์ที่ต้องใช้การกินอาหารเพื่อดำรงชีวิต และใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์กัน ในอุตสาหกรรมธุรกิจร้านอาหารหรือบริการอาหาร (Food Services) เป็นแหล่งรวมของผู้ประกอบการ พนักงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องบนห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมนี้เป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ Covid-19 ได้กระทบต่ออุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว เราอาศัยภาคอุตสาหกรรมบริการ ซึ่ง

กลายเป็นเสาหลักไปแล้ว และธุรกิจร้านอาหารก็เป็นส่วนสำคัญในภาคอุตสาหกรรมนี้หากมีการผ่อนคลายการปิดเมือง และเริ่มให้ทำธุรกิจได้โดยอยู่บนสมมติฐานว่าวัคซีนเพื่อรักษายังไม่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ คำถามคือ ธุรกิจร้านอาหารควรปรับตัวหรือรับมืออย่างไรในอนาคต

บทความเรื่อง “COVID-19 will forever change the food service industry” ของBruce Reinstein จาก www.grsweb.com เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ได้สรุปการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในธุรกิจร้านอาหาร เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านผู้บริโภค และการเตรียมตัวของผู้ประกอบการไว้ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

1. ลูกค้าจะใช้บริการสั่งอาหารให้ส่งถึงที่มากขึ้น (Increased use of delivery as a percent of total food service sales)

แต่เดิมจะมีลูกค้าที่ชอบใช้บริการแบบนี้อยู่แล้ว แต่ก็จะมีลูกค้าที่ชอบไปใช้บริการที่ร้านมากกว่า เหตุการณ์ Covid-19 ได้บังคับให้ลูกค้าทั้งหมดให้หันมาใช้บริการแบบนี้ได้อย่างเต็มที่ (Forced Trial) ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่รู้สึกว่าการใช้ “แอพสั่งอาหาร” ไม่น่ากลัวอีกต่อไป และสะดวกสบายด้วย

2. ลูกค้าจะใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของอาหารเป็นพิเศษ (Food safety-first mentality and expanded sanitization behaviors)

เนื่องจากกลัวการติดเชื้อจากการสัมผัสในทุกรูปแบบ อาหารที่ใช้กินก็เช่นกัน ลูกค้าจะกลัวและต้องการแน่ใจว่าทางร้านอาหารทำได้อย่างปลอดภัย อาจต้องการรู้ว่าวัตถุดิบอาหารมาจากไหน มีกระบวนการปรุงอย่างไร พ่อครัวแม่ครัว จนถึงพนักงานบริการได้ดูแลทำความสะอาดดีพอหรือไม่ รวมทั้งลูกค้าจะมีพฤติกรรมดูแลความสะอาดตนเอง เช่นการล้างมือบ่อยขึ้น และอาจคาดหวัง ให้ทางร้านเตรียมของเหล่านี้ให้

3. ลูกค้าจะนิยมมารับอาหารที่ร้านมากขึ้นและต้องการระบบที่ลดการสัมผัส (Curbside pick-up and in-store self ordering)

ลูกค้าที่กลัวมาก ๆ แม้แต่การส่งอาหารว่าอาหารถูกเปลี่ยนถูกสัมผัสมาหลายมือ ก็อาจไปรับด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ได้อาหารที่สด หรือร้อนด้วย มีการคาดการณ์ว่าวิธีการนี้จะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องการให้ร้านออกแบบการสั่งอาหารให้ลดการสัมผัส เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ Digital Pad สั่งทั้งอาหารและการชำระเงิน

4. ลูกค้าจะต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น (Improved delivery packaging)

เช่น บรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด ช่วยควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมของอาหารก่อนถึงมือลูกค้า แม้ว่าอาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นบ้าง แต่ลูกค้าที่ห่วงใยเรื่องนี้จะพอใจมากกว่า

การเตรียมตัวของผู้ประกอบการ
1. การลดขนาดของธุรกิจ (Industry downsizing and fewer new units opening)

ผลของ Covid-19 ทำให้ผู้คนออกไปใช้บริการร้านอาหารน้อยลง และร้านอาาหารยังต้องจัดที่นั่งห่างๆ กัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้ดีว่าต้องลดพื้นที่ให้บริการที่หน้าร้านลง เพราะยอดขายในส่วนนี้ลดลง ความต้องการพนักงานหรือพื้นที่เช่าก็จะลดลง จึงต้องลดขนาดของธุรกิจ

2. การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติการใหม่เกี่ยวกับสุขอนามัย (New & expanded sanitization practices)

เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเรื่องความปลอดภัยของอาหารและการใช้บริการที่มีสุขอนามัยเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมรับมือโดยการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานในธุรกิจให้แน่ใจว่าดูแลเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างดี

3. การใช้คู่ค้าในประเทศหรือในท้องถิ่นมากขึ้น (Increased domestic / local sourcing)

หากในอดีตมีการใช้วัตถุดิบหรือพนักงานจากต่างประเทศในกระบวนการทำงาน ซึ่งหากเป็นสถานการณ์ปกติแบบเดิมก็อาจไม่เป็นไร แต่ภายใต้ Covid-19 การลดการพึ่งพาดังกล่าวก็จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจลงในเรื่องการติดเชื้อจากการขนส่งหรือการเดินทาง

4. การลงทุนในระบบงานเพื่อรองรับธุรกิจบริการส่งถึงที่ (New investment in take-out, drive-through & delivery units)

เพื่อรองรับการขยายตัวของยอดขายอาหารในลักษณะนี้ในอนาคต ผู้ประกอบการจะเตรียมปรับตัวลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบ IT, Application ระบบบริการส่งอาหารถึงบ้าน หรือรับอาหารที่ร้าน ระบบการซื้อและชำระเงิน ระบบครัวแยกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เป็นต้น

ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงแบบนี้นั้น อุตสาหกรรมร้านอาหารถือว่าถูกกระทบมาก ที่เราเห็นในส่วน Food delivery ที่กำลังขยายตัวนั้น ยังไม่สามารถทดแทนยอดขายที่เคยเป็นในภาวะปกติแบบเดิมได้ ก็ได้แต่หวังว่าผู้ประกอบการร้านอาหารของไทยจะรับมือและปรับตัวกับเหตุการณ์ “New normal” ที่จะเกิดได้อย่างรวดเร็ว ขอเป็นกำลังใจให้พวกเราผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

 

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 3) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 2) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/new-world-2-set/ Sat, 02 May 2020 17:15:26 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7170 3 พฤษภาคม 2563... ที่อยู่จาก “เมืองหลัก” ไปสู่ “เมืองรอง” ออกแบบสถานที่ทำงานรองรับ Social Distancing และ ลักษณะการซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านของชำในยุค “Social Distancing”

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 2) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
3 พฤษภาคม 2563… ที่อยู่จาก “เมืองหลัก” ไปสู่ “เมืองรอง” ออกแบบสถานที่ทำงานรองรับ Social Distancing และ ลักษณะการซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านของชำในยุค “Social Distancing”


ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   สรุปถึงโลกหลังวิกฤติ Covid-19 ในบทความตอนที่ 1 นั้นได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นฐานในชีวิตและสังคมของมนุษย์ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป 8 ประการ ซึ่งนอกเหนือจาก 8 ประการที่กล่าวถึงไปนั้น ยังมีอีกหลายมุมมองที่น่าสนใจ จากบรรดากูรูในวิชาชีพต่างๆ ว่าพวกเขามองโลก (ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของพวกเขา) หลังวิกฤติ Covid-19 จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จึงนำมาสรุปให้เห็นประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจได้ดังนี้

1) ลักษณะการอยู่อาศัยของผู้คนจาก “เมืองหลัก” ไปสู่ “เมืองรอง”

บทความ “Cities after Coronavirus ; how covid-19 could radically after urban life.” ของ Jack Shenker (The Guardian, 26 มีนาคม 2563) อธิบายไว้ว่า “เมือง” เป็นพัฒนาการที่มนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากต้องอยู่ร่วมกัน อยู่ใกล้ชิดกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน เมืองใหญ่ทุกวันนี้โตขึ้นมาก เพราะมีคนอพยพโยกย้ายเข้าสู่เมืองมากขึ้น แต่เหตุการณ์ Covid-19 ทำให้คนต้องอยู่ห่างๆ กัน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ผู้คนอาจตัดสินใจย้ายไปสู่ “เมืองรอง” ซึ่งเล็กกว่ามากขึ้น เพื่อลดความแออัด และการทำงานที่บ้าน (Work From Home) แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันก็ยังทำได้เนื่องจากมีเทคโนโลยีช่วยได้

มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดหมู่บ้านใหม่ๆ ขึ้นในเมืองรอง เกิดการยกระดับเส้นทางคมนาคมขนส่งขึ้นมาใหม่ในเมืองรอง ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเส้นทางคมนาคมเดิมไปอย่างสิ้นเชิง

2) ลักษณะการออกแบบสถานที่ทำงานเพื่อรองรับ “Social Distancing”

บทความ “10 ways covid-19 could change office design.” ของ Harry Kretchmer (www.weforum.org, 20 เมษายน 2563) สรุปไว้ว่า เมื่อคนต้องกลับมาทำงานหลังการระบาดรุนแรงผ่านไป ความหวาดกลัวการแพร่เชื้อระหว่างกัน การต้องรักษาระยะห่างทางสังคมในที่ทำงาน จะมีความต้องการออกแบบที่ทำงาน ที่นั่งของพนักงานลักษณะใหม่ เช่น ในรูปแบบที่เรียกว่า “Six Feet Office” คือออกแบบให้ที่นั่งห่างกันประมาณ 6 ฟุต (หรือประมาณ 1.82 เมตร) ที่ต่อไปหลาย ๆ องค์กรอาจออกมาเป็นข้อกำหนดในการปรับปรุงพื้นที่สำนักงาน นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ปูกระดาษบนพื้นโต๊ะทำงาน พอสิ้นวันก็ดึงออกไปทิ้งเพื่อลดการแพร่เชื้อ หรือรูปแบบการออกแบบที่ทำงานก่อนเกิด Covid-19 มีความนิยมแบบเปิดโล่งมากขึ้นก็จะหันมาปรับให้มีลักษณะปิดเพื่อป้องกันมากขึ้น (Closed – plan working)

มีการเสนอให้ภายในที่ทำงานต้องเพิ่มสัญลักษณ์ (More signs) เพื่อเตือนและบอกการรักษาระยะห่างมากขึ้น รวมทั้งการมีป้ายกำหนดทิศทางเพื่อลดการเดินแบบสับสน ทำให้เกิดการชนและแพร่เชื้อได้ เป็นการออกแบบที่เรียกว่า “Contactless Pathways” ซึ่งต้องจัดให้มีเทคโนโลยีที่สนับสนุน อุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยป้องกัน อากาศถ่ายเท และวิธีการทักทายแบบใหม่ ๆ เป็นต้น

3) ลักษณะการซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายของชำในยุค “Social Distancing”

บทความของ Katie Jackson ที่ลงใน www.today.com เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 เรื่อง “8 ways coronavirus may change how we shop at the grocery store forever.” สรุปประเด็นสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันในยุค “Social Distancing” จะเปลี่ยนไปจากเดิมดังนี้

-ลูกค้าจะมีจำนวนครั้งมาที่ร้านน้อยลง (Shoppers will make fewer trips to the store) เพราะคนยังหวาดกลัวกับการแพร่ระบาดของเชื้อ จะลดจำนวนครั้งที่มาเท่าที่จำเป็น ซึ่งต่างจากเดิมแวะมาเมื่อใดก็ได้
-ลูกค้าจะซื้อของทีละมากๆ เพื่อเก็บไว้ในตู้เย็นและครัวมากกว่าเดิม (People will stock up) เมื่อมาที่ร้านในจำนวนน้อยลง คนก็จะซื้อพวกอาหารและสินค้าจำเป็นคราวละมากๆ โดยอาจจะเก็บไว้ 1 – 2 สัปดาห์ก่อนจะออกมาเติมอีกครั้ง
-ลูกค้าจะซื้ออย่างมีเหตุผลและมีแผนการมากขึ้น (Goodbye browsing, hello planning) ที่ผ่านมาการเดินในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีของมากมายก็เป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่ง สามารถใช้เวลาค่อยๆ คิดได้ อาจเจอสินค้าบางอย่างที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนว่าจะซื้อ แต่พบการส่งเสริมการตลาดที่เย้ายวนใจก็เกิดการซื้อเพิ่มได้ แต่ยุคที่ต้องรักษาระยะห่าง ลูกค้าจะเริ่มวางแผนมากขึ้น มี Checklist ที่ทำให้พุ่งตรงไปยังชั้นที่ขายของนั้นโดยตรง
-ลูกค้าจะใช้บริการส่งของถึงบ้านมากขึ้น (Curbside pick up and online ordering will be big) ลูกค้าอีกเป็นจำนวนมากจะยอมปรับพฤติกรรมสั่งของชำทาง online และให้มาส่งถึงบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการออกนอกบ้าน ทำให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ หันมาพัฒนาและปรับปรุงบริการนี้
-ลูกค้าต้องการใช้บริการจุดชำระเงินและนำของกลับด้วยตนเองมากขึ้น และไม่สนใจจุดทดลองสินค้า (So long to samples and self-serve stations) เพื่อลดโอกาสสัมผัสเชื้อจากจุดที่มีการให้ทดลองสินค้า หรือจุดชำระเงิน
-ลูกค้าจะนิยมสินค้าที่คงความสดไว้ได้นาน (Long lasting produce will be popular) ความต้องการสินค้า เช่น ผลไม้ประเภทเก็บรักษาไว้ได้นานจะมีมากขึ้น เพราะดีต่อสุขภาพและสอดคล้องกับเวลาที่ไม่ต้องออกมาชอปปิงบ่อยๆ
-ลูกค้าจะซื้อสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งและอาหารกระป๋องมากขึ้น (Frozen foods and canned foods will be favored) ซึ่งสัมพันธ์กับระยะเวลาที่อยู่บ้านนานขึ้น ประกอบกับสินค้าเหล่านี้ค่อนข้างมีน้ำหนัก จึงต้องการซื้อในปริมาณมากๆ เพื่อเก็บไว้
-ลูกค้าจะหันมานิยมไปร้านค้าขนาดเล็กมากขึ้น (Smaller stores are making comeback) ร้านค้าของชำขนาดเล็กใกล้บ้านจะกลับมาเป็นที่นิยม เพราะถูกคาดหมายว่าผู้คนจะไม่เข้าไปแออัดและรอคิวการซื้อของ การชำระเงินเหมือนร้านใหญ่

ไม่น่าเชื่อว่าไวรัสตัวเล็กๆ นี้จะสามารถบังคับและเปลี่ยนชีวิตในอนาคตของมนุษยชาติได้มากขนาดนี้ ซึ่งยังเป็นที่น่าสนใจมากว่า ยังมีมุมมองอะไรและอย่างไรอีกที่ไวรัส Covid-19 นี้จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิต ธุรกิจ และสังคมของพวกเรา ซึ่งสามารถติดตามได้ในบทความห้องเรียนผู้ประกอบการ www.set.or.th/enterprise

Credit : The Guardian, weforum.org, today.com

อ่านเพิ่มเติม

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 2) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 1) https://www.sdperspectives.com/biodiversity-regenerative/new-world-1-set/ Fri, 24 Apr 2020 08:04:11 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=7033 24 เมษายน 2563... ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นฐาน (Fundamental Changes) ในชีวิตและสังคมของมนุษย์

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 1) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 เมษายน 2563… ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นฐาน (Fundamental Changes) ในชีวิตและสังคมของมนุษย์


ในระหว่างการเกิดวิกฤติ Covid-19 ขึ้นนี้ ทุกคนก็คงพอจะเห็นแล้วว่าโรคระบาดนี้ทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงไปทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่เรื่องการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่การป้องกันโดยใช้มาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ทำให้ส่งผลกระทบต่อการหยุดชะงักด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ สิ่งที่ตามมาที่เราเห็นก็คือการว่างงานจำนวนมหาศาลเพราะหลายธุรกิจต้องหยุดหรือชะลอการดำเนินงาน มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะติดลบอย่างมาก และคงเป็นไปอย่างนี้จนกว่าจะได้มีการผลิตวัคซีนหรือยาออกมาปราบไวรัสตัวนี้ ซึ่งทางวงการแพทย์เองต่างก็คาดว่าจะอยู่ในช่วงประมาณ 2 ปีต่อจากนี้ ซึ่งในระหว่างนี้ทุกประเทศก็คงบอบช้ำกันไปตามๆ กัน

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า โลกหลังวิกฤติ Covid-19 จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน เพราะถ้าสังเกตดู ระหว่างวิกฤติ Covid-19 นี้ มีหลายอย่างที่ทำให้ชีวิตผู้คนเปลี่ยนไป และอาจไม่กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นฐาน (Fundamental Changes) ในชีวิตและสังคมของมนุษย์ จนหลายๆ คนเชื่อว่า เรากำลังก้าวไปสู่โลกใหม่ (A New World) ในตอนที่1 นี้ ผมขอนำข้อคิดวิเคราะห์และข้อสรุปจากบทความในนิตยสาร Forbes, 7 April 2020 ชื่อ  The New World : How The World Will Be Different After COVID-19  เขียนโดย Suzy Taherian ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไว้ 8 ประการดังนี้

1) ธุรกิจจะหันมาใช้คู่ค้าในประเทศมากขึ้น (Supply chains will be local rather than global)

 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโลกพยายามเปิดเสรีทางการค้า และสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันในระดับ Global ตัวอย่างเช่น การสร้างการค้าขายแบบ Online Shopping ซึ่งทำให้เกิดคู่ค้าที่เกี่ยวข้องไปทั่วโลก ทั้งผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค แบบไร้พรมแดน แต่การมาของไวรัส Covid-19 ถือว่าได้เข้ามาทำลายห่วงโช่อุทานระหว่างประเทศ บริษัทในประเทศที่เคยพึ่งพิง Foreign Suppliers เกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถค้าขายกันได้ระหว่างเกิดโรคระบาด ต้องหันมาทบทวนการลดความเสื่ยงลงโดยหันมาใช้ Local Suppliers มากขึ้น แม้จะมีต้นทุนสูงขึ้นก็ตาม

2) ร้านค้าปลีกจะหันมาค้าขายแบบออนไลน์มากขึ้น (Shop, work and play online)

ระหว่างที่เกิดโรคระบาดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ร้านค้าปลีกในลักษณะ Physical Stores เริ่มสูญเสียอำนาจการแข่งขันไปให้กับ Online Shopping เพราะผู้คนเกิดความไม่สะดวกในการออกไปจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งโดนมาตรการปิดเมืองทำให้ต้องปิดหน้าร้านระหว่างเหตุการณ์ระบาดของโรค กลุ่มร้านค้าปลีกเหล่านี้จำนวนมากในตอนแรกถือว่าปรับตัวกับการค้าขาย Online ได้ช้าที่สุด แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้กลุ่มร้านค้าเหล่านี้ปรับตัวมาทำ Online Commerce ได้เร็วขึ้น บรรดาร้านค้าเหล่านี้ในอนาคตจะทำธุรกิจทั้งในแบบหน้าร้านและ Online จะไม่มีทางหวนกลับไปทำการค้าในลักษณะ In-store อย่างเดียว ผลกระทบที่ว่านี้นอกเหนือจากมีต่อ Physical Stores แล้ว ยังส่งผลทางลบต่อบรรดาศูนย์การค้าทั้งหลายที่เรียกว่า Commercial Real Estate ที่มีบรรดาร้านค้าต่าง ๆ ไปตั้งอยู่ในนั้นก็จะต้องปรับตัวตามไปด้วย

3) การฟื้นฟูความเชื่อมั่นต้องใช้เวลา (Loss of trust will take time to recover)

เหตุการณ์โรคระบาดครั้งนี้ ได้ลดทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไปทุกหย่อมหญ้า ลองคิดดูว่าต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใดที่คนจะกล้ากลับไปขึ้นเรือสำราญเพื่อท่องเที่ยวอีกครั้ง หรือการที่จะเปิดบ้านให้ลูกค้าที่เป็นคนแปลกหน้าเข้ามาเช่าห้อง หรือเช่าบ้าน หรือบางประเทศที่ได้ผลกระทบมีคนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จะกล้าเปิดประเทศอย่างเต็มที่เพื่อรับนักท่องเที่ยวอีก การฟื้นฟูความเชื่อมั่นนี้ต้องใช้เวลา มีการคาดการณ์กันว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังวิกฤตินี้

4) ความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีจะเพิ่มโอกาสให้แรงงานที่ปรับตัวได้ (Digital divide will become a chasm)

ความรู้และทักษะด้าน IT จะสำคัญมากในยุคต่อไป จะทำให้เกิดช่องว่างแบ่งคนออกเป็นคนที่ใช้มันได้อย่างคล่องแคล่ว และคนที่ไม่ชำนาญ ซึ่งคนที่ปรับตัวและใช้ได้ จะมีโอกาสได้งานมากกว่า ต่อจากนี้ไปคนจะเริ่มทำงานและเรียนรู้ทาง Online กันมากขึ้น เพราะในช่วงโรคระบาดมันได้พิสูจน์แล้วว่าคนทำงานอยู่ที่ใดก็ได้

5) การลงทุนจะหันมามุ่งเน้นกับตลาดในประเทศมากขึ้น (Home-bias will increase dramatically)

เหตุการณ์โรคระบาดนี้ จะกระทบต่อการลงทุนทั่วโลก เพราะทำให้บรรดานักลงทุนหันมาทบทวนเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงว่า การลงทุนแบบใกล้บ้าน (Closer to home) น่าจะเข้าใจง่ายกว่าการออกไปลงทุนไกล ๆ ในประเทศอื่น นักลงทุนจึงถูกคาดการณ์ว่าจะหันมาลงทุนในตลาดในประเทศมากขึ้น

6) ระบบสวัสดิการทางสาธารณสุข จะถูกยกระดับมาตรฐานให้ประชาชน (Healthcare for all becomes a more standard view)

ก่อนการเกิดโรคระบาด การออกสวัสดิการรักษาพยาบาลให้แก่ประชาชนทุกคนที่เรียกว่า Universal Healthcare ถูกมองว่าเป็นความสิ้นเปลือง แต่เมื่อเกิดเรื่อง Covid19 และมีการพูดเรื่อง Free Testing ให้แก่ประชาชนทุกคน ก็อาจมีปัญหาว่าไม่ได้เตรียมการไว้ และไม่มีงบประมาณเพียงพอ ในอนาคตรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะหันมาทำนโยบายสาธารณสุขให้มีลักษณะ A Good Healthcare System ซึ่งต้องใช้งบประมาณที่สูงขึ้น

7) การพัฒนาระบบสวัสดิการแรงงานจะเข้มแข็งขึ้น เพราะจะมีคนตกงานมหาศาลเป็นเวลานาน (Unemployment benefit is not just for the lazy)

ในภาวะปกติของระบบเศรษฐกิจ เราอาจมีคนว่างงานอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องยอมรับว่ามีคนที่อาจจะไม่ค่อยขยันปนอยู่ และต้องการรับสวัสดิการช่วยเหลือจากรัฐ แต่เหตุการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อการหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจ แรงงานมีการตกงานจำนวนมากแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และเข้ามาขอรับความช่วยเหลือหรือเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก และจะกลายเป็นภาระหนี้สาธารณะของประเทศต่อไป ในระยะต่อไปประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งพัฒนาฐานข้อมูลและระบบการจ่ายสวัสดิการแรงงานให้มีมาตรฐานดีกว่าเดิม เพื่อให้การจ่ายเงินหรือทรัพยากรต่าง ๆ เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

8) ธุรกิจประกันภัยจะได้รับความสำคัญมากขึ้น (Insurance takes center stage)

ในอดีตที่ผ่านมา บุคคลและธุรกิจมักจะมองเรื่องความเสี่ยงและการทำประกันภัยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และเห็นว่าการใช้บริการด้านการประกันภัยเป็นเรื่องการมองโลกในแง่ลบเกินไป แต่การเกิดโรคระบาดในครั้งนี้ ได้สร้างความเสียหายอย่างเกินกว่าจะประเมินมูลค่าได้ไปทุกที่ทั่วโลก ใครที่บริหารความเสี่ยงได้ดี มีการทำประกันภัยไว้เหมาะสม ก็อาจสามารถบรรเทาผลกระทบตอนนี้ได้ดีกว่า การบริหารความเสี่ยงถูกคาดหมายว่าจะเป็น A Core Activity ในโลกใหม่ต่อไป แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจประกันภัย แต่บริษัทประกันภัยเองก็จะเข้มงวดมากขึ้นในการรับประกันภัยและการบริหาร Exposure ที่จะเกิดขึ้น

โดยธรรมชาติในระหว่างสงครามซึ่งมีความยากลำบาก บรรดาผู้คนก็มักจะปรารถนาจะให้มีสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า ที่เรียกว่า Rebirth หรือ Renewal ให้เกิดขึ้น และเมื่อสงครามยุติก็มักจะมีเหตุการณ์ที่เรียกว่า A Post-war Boom เกิดตามมาเพราะได้ผ่านพ้นความเจ็บปวดที่ผู้คนล้มตาย และเมื่อความสงบสันติได้เข้ามา ผู้คนจะรู้สึกอยากระเบิดพลังฝ่ายดี (Creative Energy) ออกมา และกระตือรือล้นที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ มีสินค้าและบริการใหม่ๆ คนจะอยากกลับไปทำงาน บริโภค พักผ่อน ท่องเที่ยว และการลงทุนก็จะกลับมา

Credit : Forbes, Suzy Taherian

ที่มา

อ่านเพิ่มเติม

 

The post โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 1) appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>