Search Results for “Care the Bear” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Thu, 28 Mar 2024 07:56:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 เผย SDG ในแบบฉบับของ OR  https://www.sdperspectives.com/next-gen/23034-or-sustainability-sdg-in-action/ Wed, 17 Jan 2024 14:38:04 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=23034 17 มกราคม 2567...OR จัดงาน OR Sustainability: SDG In Action ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG ผ่านวิถีการดำเนินงานด้วย SDG ในแบบฉบับของ OR

The post เผย SDG ในแบบฉบับของ OR  appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>

17 มกราคม 2567…OR จัดงาน OR Sustainability: SDG In Action ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG ผ่านวิถีการดำเนินงานด้วย SDG ในแบบฉบับของ OR จนเป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน จากการจัดอันดับทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 พร้อมเผยเรื่องราวความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ผ่านการลงมือทำ

ดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า OR มีวิสัยทัศน์และแนวคิดในการสร้างความยั่งยืน โดยมีการนำประเด็นความยั่งยืนตามแนวทาง SDG ในแบบฉบับของ OR คือ

S-Small โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก

D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ

G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด

ทั้งหมดเพื่อผสมผสานกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมทั้งนำเป้าหมาย OR 2030 Goals มาติดตามและทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกเข้าไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง

“OR ได้นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง แบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เช่น สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62 โครงการไทยเด็ด การพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน   ซึ่งส่งผลให้ OR ได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบในการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 โดยเป็นสมาชิกของ DJSI ที่มีผลคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรม Retailing ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards จาก SET Sustainability Awards 2023 และได้รับผลการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating 2023 ระดับสูงสุด AAA ถือเป็นความภาคภูมิใจและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของ OR เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตอย่างยั่งยืน เคียงข้างชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ESG ทั้ง 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองเรื่องของ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี”

ในโอกาสนี้ ผู้บริหาร OR ยังได้ร่วมบอกเล่าตัวอย่าง “ความสำเร็จ” ผ่านการ “ลงมือทำ” ในทั้ง 3 มิติของ ESG ได้แก่

ด้านสิ่งแวดล้อม (E – Environment)

วิศน สุนทราจารย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน เปิดเผยว่า OR มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามหลักการ TCFD (Task Force on Climate-related Financial Disclosures) นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการ SBTi (Science Based Target Initiatives) และกำหนดกลยุทธ์ 3R ได้แก่ Reduce Remove และ Reinforce เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2030 และ Net Zero ในปี 2050 ด้าน

 

พิมาน พูลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน กล่าวว่า OR ได้ปรับรูปแบบของสถานีบริการน้ำมันเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไม่ว่าจะเป็นการขยายเครือข่าย EV Station PluZ รวมไปถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนในสถานีบริการน้ำมัน มุ่งเน้นการสร้าง “Green Station” โดยมีต้นแบบคือ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62

ด้านสังคม (S – Social)

สุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ เช่น คาเฟ่ อเมซอน ที่ได้ผนวกแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในการดำเนินธุรกิจ จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเมล็ดกาแฟ ที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟและรับซื้ออย่างเป็นธรรม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกร การดูแลชุมชนรอบโรงงานให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายอาหารให้กับพนักงาน และร้าน “Café Amazon for Chance” ที่ช่วยสร้างอาชีพให้กับผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง มุ่งจะเป็น “กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก”

 

นอกจากนี้  โกสัลล์ ลิมอักษร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านศักยภาพองค์กร ให้มุมมองว่า การสร้างความยั่งยืนในองค์กรนั้น “คน” เป็นปัจจัยสำคัญ OR จึงปลูกฝัง OR DNA ให้กับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งใช้ OR Academy ในการสร้างเสริมศักยภาพทั้งในการดำเนินธุรกิจและความยั่งยืนให้กับพนักงาน ไปจนถึงพันธมิตรทางธุรกิจ

 

ด้านการกำกับดูแลที่ดี (G – Governance & Economics)

ราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ ORion กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับของ OR ซึ่งมุ่งสู่การทำธุรกิจที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป โดยมีแอปพลิเคชัน xplORe ซึ่งถือเป็น Digital Platform หลักของ OR ในการขับเคลื่อนให้ OR เติบโตสู่ธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมเดิมและกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตผ่านการทำ O2O (Online to Offline) รวมถึงการสนับสนุน SMEs ให้เติบโตร่วมกัน

 

วิไลวรรณ กาญจนกันติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารการเงิน ให้มุมมองว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยจะถูกหยิบยกมาเป็นเกณฑ์ในการลงทุน ทั้งในส่วนของนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน รวมถึงสถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ จนถึงการคัดเลือกคู่ค้าในการทำธุรกิจ ดังนั้นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่โดดเด่น จะมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี รวมทั้งในเรื่องการกำกับดูแลที่ดี ก็เป็นอีกส่วนที่ OR ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ในระยะยาว

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ บูธด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) บูธเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และบูธการดำเนินงานเพื่อสังคม เพื่อบอกเล่าเรื่องราว การลงมือทำจริงของ OR ที่สะท้อนการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลที่ดี ไปพร้อมกับการให้ความสำคัญและใส่ใจสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

 

งาน OR Sustainability: SDG In Action จัด ณ Synergy Hall ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (Energy Complex) โดยคำนึงถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมภายใต้รูปแบบรักษ์โลกโดยดำเนินการตามเกณฑ์โครงการ “Care the Bear” ลดโลกร้อน ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และยังเป็นการจัดงานในรูปแบบคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) ตามหลักเกณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งจะมีการนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกมาชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมในการจัดงานอีเว้นท์อีกด้วย

The post เผย SDG ในแบบฉบับของ OR  appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform https://www.sdperspectives.com/activities/21909-set-tgo-time-to-reduce/ Mon, 23 Oct 2023 15:37:30 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21909 24 ตุลาคม 2566.... เชิดชูองค์กรแนวร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ความร่วมมือ “Climate Care Platform ” พร้อมเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรที่ร่วมกันลด และจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

The post ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 ตุลาคม 2566…. เชิดชูองค์กรแนวร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ความร่วมมือ “Climate Care Platform ” พร้อมเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรที่ร่วมกันลด และจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า


ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมทั้งภาคธุรกิจ ภาคสังคม ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน จึงได้ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม “Climate Care Platform” ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีเป้าหมายร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งเสริมแนวนโยบายของภาครัฐ และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UNSDG Goal) ในข้อ 13 Climate Action ข้อ 12 Responsible Consumption and Production และข้อ 17 Partnership for the Goal

“Climate Care Forum 2023 : Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในครั้งนี้ สะท้อนความร่วมมือระหว่างองค์กรทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน โดยพันธมิตรใน Climate Care Platform ได้มุ่งมั่นและตั้งใจในการร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมบนแนวทาง Circular economy อย่างต่อเนื่องต่อไป”

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นองค์กรภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในเรื่องนี้ จนกระทั่งโครงการความร่วมมือ Climate Care Platform ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นโครงการที่สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึก ปรับพฤติกรรมคนในองค์กรให้ช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกเดือดในขณะนี้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการ LESS และเชื่อมั่นว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำเครื่องมือและกลไกลดก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ของ TGO ไปบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ ความร่วมมือ “Climate Care Platform” ประกอบด้วยโครงการ Care the Bear การลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ โครงการ Care the Whale การลดก๊าซเรือนกระจกจากการบริหารจัดการขยะและของเสีย และ โครงการ Care the Wild การดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกป่า

โดยใน Climate Care Platform ได้จัดทำข้อมูลแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่ทุกคนในองค์กรสามารถลงมือทำร่วมกันได้ มีระบบคำนวณการวัดปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันมีองค์กรที่ร่วมเป็นสมาชิกทั้ง 3 โครงการรวม 669 บริษัท ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกจากโครงการ Care the Bear และ Care the Whale ได้รวม 63,794.75 tonCO2e ร่วมกันดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากโครงการ Care the Wild ได้ 702,000 kgCO2e

 

The post ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ลดใช้กระดาษ=ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก https://www.sdperspectives.com/activities/20434-say-no-paper-tsd-x-care-the-bear/ Sat, 24 Jun 2023 09:54:33 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=20434 24 มิถุนายน 2566...บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จำกัด (TSD) ร่วมกับโครงการ Care the Bear โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนา “Say No Paper กับ TSD x Care the Bear” แก่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ TSD เป็นนายทะเบียน

The post ลดใช้กระดาษ=ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 มิถุนายน 2566…บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จำกัด (TSD) ร่วมกับโครงการ Care the Bear โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนา “Say No Paper กับ TSD x Care the Bear” แก่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ TSD เป็นนายทะเบียน

ยุภาวรรณ ศิริชัยนฤมิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จำกัด (TSD) กล่าวเปิดงาน ภายในงานมีบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ร่วมรับฟังกว่า 400 องค์กร และมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิก Care the Bear อย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการ Care the Bear เพื่อร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแสดงถึงความตระหนักและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลและเชิญชวนให้บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ได้ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้กระดาษ และปรับเปลี่ยนมาใช้บริการในรูปแบบ e-Service ที่ให้บริการโดย TSD อาทิ งานด้าน Corporate Action เช่น การปิดสมุดทะเบียนเพื่อการประชุมผู้ถือหุ้น การปิดสมุดทะเบียนเพื่อการจ่ายปันผล เป็นต้น

บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสมัครเป็นสมาชิก Care the Bear ได้ที่ : https://climatecare.setsocialimpact.com/member/register

The post ลดใช้กระดาษ=ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SET เล่าถึง Climate Care Platform กับหลายภาคีเครือข่าย https://www.sdperspectives.com/sd-daily/set-climate-care-platform/ Fri, 17 Mar 2023 16:20:13 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19538 17 มีนาคม 2566...บรรยายในหัวข้อ “How to Activate Climate Action” แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ Climate Care Platform ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

The post SET เล่าถึง Climate Care Platform กับหลายภาคีเครือข่าย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
17 มีนาคม 2566…บรรยายในหัวข้อ “How to Activate Climate Action” แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ Climate Care Platform ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้อนรับ แพทย์หญิง สุวณี รักธรรม นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้แก่ สมาคมสตรีเพื่อสตรี สมาคมซอนต้าประเทศไทย สมาคมสตรีสัมพันธ์ สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-กรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และมูลนิธิเกียรติร่วมมิตรเพื่อการศึกษา เข้าร่วมฟังหัวข้อ “How to Activate Climate Action”

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมได้นำหลักปฏิบัติ 6 Cares จากโครงการ Care the Bear มาใช้เพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงาน ได้แก่ รณรงค์ให้เดินทางร่วมกัน ลดใช้กระดาษและพลาสติก งดใช้โฟม ลดใช้พลังงาน ใช้วัสดุตกแต่งที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ และกินอาหารให้พอดีเพื่อลดขยะ ซึ่งผลการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการจัดกิจกรรมเท่ากับ 159.73 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 18 ต้น

 

The post SET เล่าถึง Climate Care Platform กับหลายภาคีเครือข่าย appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders https://www.sdperspectives.com/next-gen/19172-set-esg-strategy-2023-2025/ Mon, 13 Feb 2023 13:34:43 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19172 13-14 กุมภาพันธ์ 2566...นี่คือแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) การยึดหลักความยั่งยืนเป็นแกนขับเคลื่อนการทำงาน (Merge ESG with substance) ทั้งในและนอกองค์กรให้ความรู้นักลงทุน การให้ความรู้ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ การใช้หลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
13-14 กุมภาพันธ์ 2566…นี่คือแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) การยึดหลักความยั่งยืนเป็นแกนขับเคลื่อนการทำงาน (Merge ESG with substance) ทั้งในและนอกองค์กรให้ความรู้นักลงทุน การให้ความรู้ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ การใช้หลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การสร้างให้เกิดโซเชียลเอนเตอร์ไพร์ส

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค แผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายการเติบโตไปพร้อมกัน ทั้งธุรกิจ อุตสาหกรรมตลาดทุน สังคม และประเทศ เพื่อสร้างโอกาสที่มากกว่าเพื่อทุกคน (Growth for Business, Industry, Society) ศึกษาความเป็นไปได้ในการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment-linked) ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการเงินของคนไทย

“เรื่องความยั่งยืนด้วยแนวทางการทำงาน ESG ปัจจุบันมีการพูดถึงมากขึ้น แม้กระทั่งสื่อเองก็มีการนำเสนอข่าว ESG ไม่น้อย หลายครั้งจะเห็นข่าวด้าน ESG ทุกวัน สำหรับตลาดหลักทรัพย์ฯ ความแตกต่างในเรื่องนี้ของปี 2566 กับทุกปีคือ เราพูดเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในแผนเราเลย เมื่อก่อนเราบอกว่าส่งเสริมให้คนอื่นทำเรื่องความยั่งยืน ต่อไปนี้เราจะต้องมีแผนเพื่อความยั่งยืนในการทำธุรกิจเราเองด้วย เพื่อสอดคล้องกับความยั่งยืนของ Stakeholders เราทั้งหมด”

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ และ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เริ่มที่ E หรือ Environmental

แนวทางที่ดำเนินการมายังดำเนินการต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากรด้าน ESG ในตลาดทุนและสถาบันการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้มี ESG Champion ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่าน ESG Academy และพัฒนา Climate Care Platform ให้ครอบคลุมฟังก์ชันการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเชื่อมต่อพันธมิตร

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้ Cloud และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของ Data Center (Green Data Center)

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขยายความเพิ่มเติม ESG Academy เพื่อสร้างการจดจำ และสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฏิบัติ 3 กลุ่มสำคัญคือ

1.กลุ่มกรรมการบริษัทจดทะเบียน เพราะเรื่อง ESG ต้องการให้เกิด Tone on the Top กรรมการบริษัทต้องเป็นคนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
2.กลุ่มบุคลากรในตลาดทุน เพราะหลายฟังก์ชั่นเริ่มใช้ ESG มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ IR
3.กลุ่มสุดท้ายเป็นเรื่อง Public เพราะว่าท้ายที่สุดการทำเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ประชาชน และวงการศึกษาด้วย

“Climate Care Platform เป็นเรื่องที่ตลาดทำมาระยะหนึ่งแล้วคือ Care the Bear, Care the Whale, Care the Wild เป็นจุดรวมของการทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และเราอยากให้บริษัทที่เข้ามาร่วมได้ข้อมูล รวมถึง Feedback ด้วย คือผลจกการปลูกป่าเติบโตอย่างไร เขาSave คาร์บอนได้เท่าไหร่ การจัดการขยะเป็นอย่างไร เช่นในทริปนี้ประหยัดเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้สามารถรายงานใน One Reportได้ สุดท้ายตลาดหลักทรัพย์ฯเอง จะมุ่งสู่การทำ Net Zero ด้วย ซึ่งเราจะได้ร่วมส่งต่อความรู้นี้ให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย”

Care the Wild หลังจากมา Kick Off พื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ เมื่อกลางปี 2565 ชุมชนก็มีการจัดการบริหารน้ำ เพื่อดึงน้ำขึ้นไปใช้ เก็บไว้บนถังบรรจุน้ำรวม 6 พันลิตร แบ่งในจุดแรก 4 พันลิตร จุดที่สอง 2 พันลิตร เพราะข้างบนที่ปลูกต้นไม้เป็นพื้นที่เขาหัวโล้น ดังนั้นจะต้องดึงน้ำจากพื้นที่ขุดขึ้นมาใหม่ เรียกว่าฝายแบบแกนดินซีเมนต์เป็นฝายสร้างได้รวดเร็วราคาถูกมีความแข็งแกร่งกักเก็บน้ำได้ โดยฝายแกนดินซิเมน์มีแกนลึกลงไปใต้ดินอย่างน้อย 2 เมตรลึก สุด 4 เมตรไปเข้าที่ฝั่งซ้ายขวาอีก 3 เมตร ซึ่งจะเป็นเรื่องการกักน้ำไม่ให้รอดใต้ทราย จะชุ่มชื้นกระจายไปด้านข้างได้ด้วย (คลิกภาพอ่านข่าววัน Kick Offและชมคลิป https://youtu.be/Gke45PfOuX4)

นอกจากนี้ ชุมชนยังสร้างฝายซอยซีเมนต์ไว้ในจุดต่าง ๆ เพื่อสร้างความชุ่มชิ้นให้ดิน โดยใช้ดินในพื้นที่ 15 ส่วน ปูนซิเมนต์พอร์ตแลนด์ 1 ส่วน ปั้นได้เลย ไม่ต้องมีแบบ ทั้งนี้ฝายทั้ง 2 แบบผู้ใหญ่บ้านอธิบายว่า เรียนรู้จากการบริหารจัดการน้ำของอบจ.แพร่ ฝายแบบนี้เมื่อทำแล้ว มีอายุการใช้งานนานกว่า ไม่ต้องใช้งบมาก ไม่ต้องทำทุกปีแบบฝายกระสอบทราย ซึ่งน้ำมาก็พัง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การดึงน้ำขึ้นไปใช้ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” นั้น ยังใช้น้ำมันดีเซลเดินเครื่อง ซึ่งทางโครงการฯมีแผนจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากโซลาร์ เร็ว ๆ นี้ โดยชุมชนจะเป็นผู้ดูแลต่อไป

มาถึงด้าน S หรือ Social

เรื่องของ Financila Literacy ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว จนกระทั่งมาถึงปัจจัยสถานการณ์โควิด-19 คนเป็นหนี้มากขึ้น และการหลอกลวงทางไซเบอร์ก็มีมากขึ้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในการให้ความรู้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน สิ่งที่ต้องทำต่อไปที่ต้องเน้นคือใช้ อีเลคทรอนิกส์มากขึ้น ช่วงโควิด-19 มีคนเข้ามาดู 2 ล้านกว่า ก็จะเป็นโอกาสในการเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น เรื่องต่อมาต้องทำกับพันธมิตรมากขึ้น ปีที่ผ่านมาทำกับกยศ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึง โดยตลาดหลักทรัพย์เองฯมีคอนเทนต์ หลายหน่วยงานมีช่องทาง สุดท้ายเราจะเจาะกลุ่ม Young Gen กลุ่มใกล้เกษียณ จะต้องเก็บเงินเพราะคนอายุยาวขึ้น

ส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่วัยเกษียณและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จัดให้มีการวัดระดับความรู้ทางการเงินของคนไทยเพื่อพัฒนาเนื้อหาและช่องทางที่ตอบโจทย์

“การทำเรื่องการเงินจะมีเรื่องการสร้างการรับรู้ เราทำค่อนข้างมากแล้ว สิ่งสำคัญจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนพฤติกรรม เรา Approch หลากหลาย เราไม่ทำคอนเทนต์ที่เป็นMass เราทำคอนเทนต์ที่ Customize เหมาะกับคนแต่ละกลุ่ม เด็ก วัยทำงาน เกษียณ จะเป็นคนละแบบเลย นอกจากคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแล้ว เป็นเรื่องรูปแบบ จัดสัมมนาไม่น่าสนใจ เพราะคนจะใช้ดิจิทัลและสั้นขึ้น เรื่องนี้เราทำคนเดียวไม่ได้ต้องใช้พาร์ทเนอร์ กยศ.ทำเรื่องเด็กกู้ยืม หรือแบงก์รัฐ แบงก์ชาติ เขาก็จะมีกลุ่มที่เขากระจายออกไปได้ และสิ่งที่เราพยายามทำอีกเรื่องหนึ่ง คือเราทำเป็นเพลย์ลิสต์ เช่นรู้ว่าอยากเรียนแต่ไม่รู้ว่ามีช่องว่างตรงนั้น จะทำเป็นออนไลน์ เมื่อตอบคำถามแล้วเขาจะรู้ว่าต้องเรียนอะไรเพิ่ม สมมติว่าเรารู้ว่าเรารู้เรื่องกองทุนหรือประกันน้อย เมื่อเราเห็นช่องว่างตรงนั้น มันจะลิงค์ไปสู่คอนเทนต์ตรงนั้นเลย สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือการติดตาม ประเมินหลังจากเราปรับ ซึ่งเราต้องปรับไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ทำปีเดียวจบ”

ดร.ศรพล ขยายความต่อเนื่องถึง กลุ่มเกษียณคือ กำลังจะเกษียณ หรือเกษียณแล้ว แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเริ่มทำงานจะมีหนี้มาด้วย อาจจะเป็นหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เมื่อทำงานก็เป็นการวางแผนเพื่อชีวิตครอบครัว ส่วนคนเกษียณจะเป็นกลุ่มใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เจาะลึก เพราะเมื่อเกษียณแล้วจะมีเงินก้อนหนึ่งปัจจุบันมนุษย์อายุยืนขึ้น ดังนั้นจะบริหารจัดการตรงนี้อย่างไร ขณะเดียวกันการหลอกลวงทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นกลุ่มนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน

คลิกภาพเข้าหน้าหลักวางแผนเรื่องเงิน

อีกเรื่องหนึ่งในด้านนี้คือ การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการโดยจะมุ่งเน้นธุรกิจครอบครัว (Family Business) ผ่าน LiVE Platform และกระบวนการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) รวมทั้งร่วมกับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษาสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขณะเดียวกัน จะมีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขับเคลื่อนตลาดทุนสู่อนาคต

สุดท้ายด้าน G หรือ Governance

เร่งปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พัฒนาเครื่องมือการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพให้สามารถรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งประสานการทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล นอกจากนี้ จะขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว ทั้งนี้ ด้านกระบวนการภายใน ดำเนินการเตรียมพร้อมยกระดับการบริหารความเสี่ยงองค์กร พร้อมนำเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงวิเคราะห์มาพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

“ส่วนอีก 3 แผนกลยุทธ์ ทำอย่างไรให้ตลาดทุนไทยใช้ง่ายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดทุนไทยหรือต่างประเทศ ทั้งขนาดเล็ก,กลาง,ใหญ่ ลงทุนในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เรื่องต่อมาทำอย่างไรให้ผู้ร่วมตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถขยายการบริการได้มากขึ้น โดยทำให้บจ.มีโครงสร้างที่ดี มีความคล่องตัว สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้นักระดมทุนได้ง่ายสะดวก และเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ร่วมสร้างโอกาสเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัด”

ดร.ภากรกล่าวในท้ายที่สุดถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ กับแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) จะมุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ตามวิสัยทัศน์ตลาดหลักทรัพย์ฯ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” ผ่านกลยุทธ์ 4 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น

 

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” https://www.sdperspectives.com/sd-daily/18427-care-the-bear-apec2022/ Sun, 04 Dec 2022 13:51:40 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=18427 4 ธันวาคม 2565...ตลอด 6 วัน 14-19 พฤศจิกายน 2565@APEC2022 ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 30,295.40 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 3,366 ต้น ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือทุกฝ่าย

The post โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
4 ธันวาคม 2565…ตลอด 6 วัน 14-19 พฤศจิกายน 2565@APEC2022 ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 30,295.40 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 3,366 ต้น ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของทั้งพันธมิตรหลักและทุกองค์กรที่จัดแสดงนิทรรศการ รวมถึงสื่อมวลชนที่ร่วมใช้พื้นที่ศูนย์ข่าว ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มุ่งเป็นแบบอย่างในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า และบริหารจัดการขยะครบวงจร

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งหวังว่าโครงการ Care the Bear จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรและประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน พร้อมขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ในอนาคต โดยหลักปฏิบัติ 6 Cares ในโครงการ Care the Bear “ลดโลกร้อน” ประกอบด้วย การเดินทางโดยรถสาธารณะหรือเดินทางมาร่วมกัน การลดใช้กระดาษและพลาสติก การงดการใช้โฟม การลดใช้พลังงาน การใช้วัสดุตกแต่งที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ และการลดขยะจากอาหารเหลือทิ้ง

จากการดำเนินการใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” พบว่า

-ผู้จัดงานและผู้ร่วมงานส่วนใหญ่เดินทางมาด้วยรถไฟฟ้าและใช้บริการ Shuttle Bus ส่งผลให้ลดก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางได้ 5,343.59 kgCO2e เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 594 ต้น
-ผู้ร่วมงานให้ความร่วมมือและเข้าใจหลักการคัดแยกขยะ ทำให้สามารถนำขยะไปรีไซเคิลได้เกือบ 100%
-ผู้ร่วมงานให้ความร่วมมือตักอาหารแต่พอดี ทำให้การคัดแยกขยะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 11,383.82 kgCO2e เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 1,265 ต้น
-องค์กรที่ร่วมจัดบูธนิทรรศการในการประชุมเอเปคต่างให้ความร่วมมือนำวัสดุตกแต่งกลับไปใช้ซ้ำ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 5,043.37 kgCO2e เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 560 ต้น
-นอกจากนี้ หลังสิ้นสุดการประชุมเอเปค ด้าน SCG จะนำขยะกระดาษไปรีไซเคิลผลิตเป็นชั้นวางหนังสือ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 36.33 kgCO2e เทียบเท่ากับกับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของต้นไม้ 4 ต้น

องค์กรที่สนใจลดโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานอีเวนต์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.carethebear.com

 

The post โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
บางจาก x ศูนย์สื่อมวลชนสีเขียว@APEC 2022 ต่อยอดชดเชยคาร์บอนผ่าน Carbon Markets Club https://www.sdperspectives.com/sd-daily/18305-bangchak-carbon-neutral-media-center-apec-2022/ Mon, 21 Nov 2022 08:30:56 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=18305 21 พฤศจิกายน 2565...กลุ่มบริษัทบางจากได้ร่วมต้อนรับสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศจากกว่า 20 ประเทศที่ใช้บริการพื้นที่ศูนย์ปฎิบัติการสื่อมวลชน (Media Center) ซึ่งมีจำนวนสูงสุดวันละกว่า 2,200 คน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

The post บางจาก x ศูนย์สื่อมวลชนสีเขียว@APEC 2022 ต่อยอดชดเชยคาร์บอนผ่าน Carbon Markets Club appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
21 พฤศจิกายน 2565….กลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธาน Carbon Markets Club เปิดเผยว่า ในการประชุม APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน กลุ่มบริษัทบางจากได้ร่วมต้อนรับสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศจากกว่า 20 ประเทศที่ใช้บริการพื้นที่ศูนย์ปฎิบัติการสื่อมวลชน (Media Center) ซึ่งมีจำนวนสูงสุดวันละกว่า 2,200 คน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และได้คำนวณและชดเชยการปล่อยคาร์บอนจากศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชน เพื่อให้เป็น Carbon Neutral Media Center

กลุ่มบริษัทบางจากซึ่งเป็นหนึ่งใน Communication Partners ของการประชุมเอเปคครั้งนี้ ได้ร่วมจัดพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ BCG Economy Model และรับรองสื่อมวลชนและผู้ใช้บริการศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชนในพื้นที่ชั้น LG ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และร่วมเป็นพันธมิตรขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการ Care the Bear ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนการประชุมครั้งนี้ให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ตามหลัก 6 Cares

กลอยตา ณ ถลาง

นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดความร่วมมือในศูนย์สื่อมวลชนสีเขียว ด้วยการประเมินคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชนในแต่ละวัน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ยิบอินซอย จำกัด ROOTCLOUD และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 3 ขอบเขต (scope) ได้แก่ขอบเขตที่ 1 การปล่อยทางตรง วัดจากใช้เชื้อเพลิงเพื่อการประกอบอาหาร ขอบเขตที่ 2 การปล่อยทางอ้อม วัดจากการใช้พลังงงานไฟฟ้า และขอบเขตที่ 3 การปล่อยทางอ้อมอื่น ๆ วัดจากการเดินทางทาง การเข้าพักโรงแรม ของเสียที่เกิดจากการจัดงาน เป็นต้น

ตลอดระยะเวลาการจัดการประชุมทั้ง 6 วัน (14 – 19 พฤศจิกายน 2565) ได้มีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากศูนย์ปฎิบัติการสื่อมวลชนรวมประมาณ 2,366 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ก่อนการยืนยันจากผู้ทวนสอบ) ซึ่งบางจากฯ จะชดเชยทั้งหมดด้วยคาร์บอนเครดิต (TVERs) และเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Credits (RECs) จากโครงการของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ผ่านการซื้อขายอย่างเป็นทางการใน Carbon Markets Club ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 130 ราย ทั้งประเภทองค์กรและบุคคล เพื่อให้ศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชนดังกล่าวเป็น Carbon Neutral Media Center (ศูนย์สื่อมวลชนที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์)

 

The post บางจาก x ศูนย์สื่อมวลชนสีเขียว@APEC 2022 ต่อยอดชดเชยคาร์บอนผ่าน Carbon Markets Club appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการประชุม APEC 2022 https://www.sdperspectives.com/sd-daily/18215-bangchak-apec-2022/ Tue, 15 Nov 2022 15:09:01 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=18215 15 พฤศจิกายน 2565... จัดพื้นที่รับรองในศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชน นำเสนอการดำเนินธุรกิจด้วย BCG Economy Modelจำลองปั๊ม Unique Design เสิร์ฟเครื่องดื่มอินทนิล จัดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าวินโนหนี้รับ-ส่งภายในพื้นที่และชดเชยคาร์บอนให้เป็น Carbon Neutral Media Center

The post กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการประชุม APEC 2022 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
15 พฤศจิกายน 2565… จัดพื้นที่รับรองในศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชน นำเสนอการดำเนินธุรกิจด้วย BCG Economy Modelจำลองปั๊ม Unique Design เสิร์ฟเครื่องดื่มอินทนิล จัดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าวินโนหนี้รับ-ส่งภายในพื้นที่และชดเชยคาร์บอนให้เป็น Carbon Neutral Media Center

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทบางจากในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (Communication Partner) โดยได้ร่วมสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจถึงบทบาทของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมมาอย่างต่อเนื่อง และระหว่างการจัดการประชุมเอเปค 2022 ในวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมจัดพื้นที่รับรองสื่อมวลชนจากทั้งในและต่างประเทศในศูนย์ปฎิบัติการสื่อมวลชน (Media Center) จัดแสดงเรื่องราวสำคัญ ๆ เกี่ยวกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทบางจากกับ BCG Economy Model รวมถึงให้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie ภายในพื้นที่กว่า 22,000 ตารางเมตร และคำนวณและชดเชยการปล่อยคาร์บอนจากศูนย์สื่อมวลชน เพื่อให้เป็น Carbon Neutral Media Center

ทั้งนี้ ในพื้นที่บูธของกลุ่มบริษัทบางจาก นำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มบริษัทบางจากกับผลงานที่สะท้อนความเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วย BCG Economy Model หนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน เช่น การเป็นผู้นำด้านธุรกิจชีวภาพของประเทศ การริเริ่มการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel (SAF) จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารเป็นรายแรกในประเทศไทย และการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Climate Action สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ด้วยแผน BCP 316 NET

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอตัวอย่างสถานีบริการน้ำมัน Unique Design อันเป็นเอกลักษณ์ ผ่านการจำลองสถานีบริการน้ำมันลอยฟ้า สุขุมวิท 62 ที่ใช้ระบบ Overhead Type ตู้จ่ายน้ำมันระบบดิจิทัลแบบแขวนบนเพดาน และร่วมต้อนรับสื่อมวลชนจากทุกมุมโลกด้วยรูปปั้นยักษ์จำลองจากสถานีบริการน้ำมันบางจาก หุบกะพง อีกทั้งให้บริการเครื่องดื่มหลากหลายจากอินทนิล แบรนด์กาแฟรักษ์โลก และแจกบ๊วยนวลใจ หนึ่งในผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนที่จัดทำขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ลูกค้าบางจาก รวมถึงจัดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าวินโนหนี้ จำนวน 12 คัน เป็นพาหนะรับ-ส่งสื่อมวลชนภายในพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชนที่มีพื้นที่ประมาณ 22,000 ตารางเมตร ร่วมอำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ในการเดินทางแบบไร้มลพิษ และสนับสนุนแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคแบรนด์ BBGI สำหรับใช้งานในศูนย์ปฎิบัติการสื่อมวลชน เป็นต้น

ด้วยความมุ่งมั่นร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเป็นพันธมิตรขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการ Care the Bear สนับสนุนการประชุมครั้งนี้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และ ต่อยอดด้วยการประเมินคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชน โดยความร่วมมือกับ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ROOTCLOUD และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต (TVERs) และ Renewable Energy Credits (RECs) จากโครงการของ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ผ่าน Carbon Markets Club เพื่อให้ศูนย์ปฏิบัติการสื่อมวลชนมีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Media Center)

 

The post กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการประชุม APEC 2022 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ใครทำอะไรบ้าง? ในการขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำด้วยโครงการ Care the Bear @APEC https://www.sdperspectives.com/activities/18167-care-the-bear-apec-2022/ Wed, 09 Nov 2022 15:59:52 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=18167 9 พฤศจิกายน 2565...ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือกระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และโออาร์ ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการ APEC Care the Bear “ลดโลกร้อน” ในการประชุมเอเปค2565

The post ใครทำอะไรบ้าง? ในการขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำด้วยโครงการ Care the Bear @APEC appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 พฤศจิกายน 2565…ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือกระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และโออาร์ ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการ APEC Care the Bear “ลดโลกร้อน” ในการประชุมเอเปค2565

ธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการจัดการประชุมเอเปค 2565 ซึ่งมีแนวคิด Bio – Circular – Green Economy Model (BCG) เป็นพื้นฐานสำคัญนั้น จะถูกสื่อสารผ่านทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรมในทุกส่วนของการประชุม

ธานี แสงรัตน์ และ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย

ทั้งนี้ ในส่วนตลาดทุนไทย ได้ร่วมมือกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และพันธมิตรนำโครงการ Care the Bear “ลดโลกร้อน” หนึ่งในโครงการภายใต้แพลตฟอร์มความร่วมมือลดภาวะโลกร้อน (Climate Care Collaboration Platform) มาสนับสนุนการจัดการพื้นที่ “ศูนย์ข่าวสีเขียว” ในการประชุมเอเปค 2565 ครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงพื้นที่จัดบูธนิทรรศการขององค์กรต่าง ๆ ที่ชั้น LG รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 22,000 ตารางเมตร เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานและทรัพยากรในการจัดกิจกรรม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยส่งเสริมให้องค์กรที่ร่วมออกบูธในงาน รวมทั้งผู้ร่วมงาน เข้าใจและนำหลักปฏิบัติ 6 Cares คือ

1.รณรงค์ให้เดินทางโดยรถสาธารณะหรือเดินทางมาร่วมกัน
2.ลดการใช้กระดาษ พลาสติก จากเอกสารต่าง ๆ และบรรจุภัณฑ์
3.งดการใช้โฟมจากบรรจุภัณฑ์หรือโฟมเพื่อการตกแต่ง
4.ลดการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
5.ออกแบบโดยใช้วัสดุตกแต่งที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้
6.ลดขยะจากอาหารเหลือทิ้งในงานอีเว้นท์

ดร.ภากรกล่าวต่อเนื่อง พันธมิตรตลาดทุนที่ร่วมโครงการ Care the Bear ภายในศูนย์ข่าวสีเขียวในการประชุมเอเปค 2565 ระหว่าง 14-19 พฤศจิกายน 2565 ได้แก่

-กลุ่มบริษัทบางจาก ซึ่งจะประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมจัดหาคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยผ่าน Carbon Markets Club มาชดเชย

-เอสซีจี สนับสนุนนวัตกรรมกระดาษรีไซเคิลสำหรับตกแต่งงานประชุม เช่น ฉากถ่ายภาพ จุดทิ้งขยะ โดยหลังใช้งานเสร็จสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นชั้นวางหนังสือ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

-โออาร์ ที่สนับสนุนจุดแยกขยะ และนำขยะพลาสติกไปสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซคลิ่งให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้งานใหม่ได้ เพื่อสนับสนุนแนวคิด BCG Economy ของการประชุม APEC ในครั้งนี้

“นับว่าภาคธุรกิจแต่ละรายได้นำเอาความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มาบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินการครอบคลุมในทุกมิติ และ องค์กรที่สนใจลดโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานอีเวนต์สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.carethebear.com” ดร.ภากร กล่าวในท้ายที่สุด

 

The post ใครทำอะไรบ้าง? ในการขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำด้วยโครงการ Care the Bear @APEC appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” https://www.sdperspectives.com/csr/16511-set-maia-care-the-wild-1/ Thu, 07 Jul 2022 00:27:29 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=16511 7 กรกฎาคม 2565...ภายใต้โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” ที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตร สมาคม maiA กรมป่าไม้ และภาคชุมชน ร่วมคืนผืนป่า

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
7 กรกฎาคม 2565…ภายใต้โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” ที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตร สมาคม maiA กรมป่าไม้ และภาคชุมชน ร่วมคืนผืนป่าบนพื้นที่รวม 91 ไร่ ใน ฟื้นฟูระบบนิเวศแก่พื้นที่ป่าต้นน้ำ สร้างแหล่งอาหารและสร้างรายได้แก่ชุมชนในท้องที่ 390 ครัวเรือน นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและการอยู่ร่วมกันของชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในรูปแบบบริการทางธรรมชาติ

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ริเริ่มในการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2563 ใช้แพลตฟอร์มความร่วมมือ (Collaboration Platform) ที่มีกลไกการดำเนินงานด้วยการระดมทุนในการปลูกต้นไม้ใหม่ ปลูกต้นไม้เสริม และส่งเสริมการดูแลต้นไม้ ด้วยกลไกธรรมาธิบาลการเปิดเผยข้อมูล ติดตาม-เรียนรู้-ดูแล เพื่อปลูกไม้ให้ได้ป่า โดยเริ่มต้นแปลงปลูกแห่งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแปลงทดลองในปี 2562 ก่อนเปิดโครงการฯ และปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วยความสนใจของบริษัทจดทะเบียนจำนวนมาก เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ สมาคม maiA ขยายพื้นที่ป่าเพิ่มเติม

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มุ่งเป็นกลไกของการขับเคลื่อนพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติของสังคม ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” คู่กับการคำนึงความสำคัญการผลักดันให้เกิดภาวะสมดุลโลก การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบสหประชาชาติ สอดรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ข้อ 13 Climate action และขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อ 17 Partnerships for the goals

“ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ส่วนสำคัญจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ มีจิตอาสา โดยในโครงการนี้คนพื้นที่ที่จะร่วมดูแลป่า ปลูกแล้วไม่ลืม เราอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ มีการติดตาม ช่วยให้ป่าเติบโตต่อเนื่อง นี่คือสิ่งที่เราอยากให้ยั่งยืนจริง ๆ จากงานวันนี้เป็นจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เราอยากเป็นตลาดทุนสำหรับทุกคน และทุกเรื่องที่เราทำเกิดผลเป็นรูปธรรมจริง ๆ ซึ่งความร่วมมือในโครงการ Care the Wild มีความสอดคล้องในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG โดยนักลงทุนเองจะลงทุนอะไรก็ตาม จะเน้นบริษัทที่มีเรื่อง ESG ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันหมด การปลูกป้อง Plant & Protect ที่จังหวัดแพร่วันนี้ สามารถส่งผลกลับไปที่ภาพใหญ่ได้”

แต่ละพื้นที่ของป่าชุมชนจะมีเอกลักษณ์ จุดเด่น ด้านระบบนิเวศและการพัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน องค์กรธุรกิจสามารถเลือกพื้นที่ในการสนับสนุนการปลูกไม้ได้หลากหลาย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เรียนรู้ระบบนิเวศร่วมกับชาวบ้านผู้รักษาป่าได้อีกด้วย ซึ่งพื้นที่นี้รวม 91 ไร่ สมาชิกในสมาคม maiA ก็เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกป้อง Plant & Protect

ผลการดำเนินงาน โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” รวมถึง ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่

ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่สนใจร่วมระดมทุนปลูกป่า สามารถร่วมเป็น Active Sponsor – ทีมปลูกป้อง ด้วยการบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนในการปลูกไม้และดูแลป่าไม้ ต้นละ 220 บาท (1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น) งบประมาณ 44,000 บาท / ไร่) โดย

1) ติดต่อเข้ามาที่โครงการ เลือกพื้นที่ป่าในโครงการฯ ที่ต้องการ โดยบริษัทสามารถลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่ และพูดคุยกับองค์กรผู้ปลูกป่า (กรมป่าไม้) และชาวบ้านผู้อาศัยในชุมชนพื้นที่ป่า กับทีมงานโครงการฯ เพื่อรับทราบรายละเอียดข้อมูล การวางแผนปลูกป่า และบริหารจัดการร่วมกันในการปลูกป่า รวมถึงขั้นตอนติดตามผลการปลูกป่าร่วมกับชาวบ้าน

2) บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ บริจาคเงินเพื่อปลูกป่า ต้นละ 220 บาท (1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น งบประมาณ 44,000 บาท / ไร่) และร่วมลงพื้นที่ปลูกป่าร่วมกันกับโครงการ และชาวบ้านในชุมชน : บริจาคปลูกต้นไม้ ต้นละ 220 บาท ประกอบไปด้วย ค่าต้นกล้า ค่าเตรียมดิน ค่าปุ๋ย ค่าปลูกเสริมทดแทนต้นไม้ที่ตาย ค่ากำจัดวัชพืช ค่าทำแนวกันไฟป่า ค่าทำระบบน้ำ ค่าพัฒนาชุมชน เป็นเวลา 10 ปี

3) ด้วยเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกต้องรอดและเติบโต 100% บริษัทและโครงการฯ ร่วมกันติดตามประเมินผลการปลูกป่า เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี โดยทุกปีจะมีการติดตามผล โดยบริษัทสามารถลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการเติบโต พูดคุยกับชาวบ้านถึงปัญหาและสามารถต่อยอดดูแลป่าอย่างอื่นเพิ่มได้ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ข้อมูลของการติดตามการเติบโตต้นไม้ และความคืบหน้าต่าง ๆ จะนำเสนอที่ Application “Care the Wild”

ไตรสรณ์ วรญาณโกศล นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (maiA) นำทีมผู้บริหารกว่า 40 บริษัทเข้ามาร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่จะต้องดูแลไปพร้อมกับชุมชน เพื่อให้ต้นไม้เติบโตแข็งแรงประมาณ 10 ปีนั้น ได้กล่าวถึงความประทับใจในโครงการที่ได้ลงมือทำร่วมกันหลายฝ่าย

“การมาวันนี้ ทำให้เราเห็นความร่วมมือที่จะช่วยกันลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เราร่วมช่วยแก้ไขได้ ที่นี่มีแหล่งน้ำ จะเป็นส่วนประกอบที่จะช่วยทำให้ต้นไม้เติบโตและยั่งยืน ผลที่ได้ตามมาไม่ได้มีเพียงเรื่องช่วยลดโลกร้อนเท่านั้น แต่มีผลต่อชุมชนให้เติบโตและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ หรือการที่เขาจะปกป้องรักษาแผ่นดินที่หวงแหนที่เขาอยู่ อันนี้น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ดีที่ บจ. ใน maiA สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในมิติ ESG ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ลงตัว”

ข้อมูลป่าชุมชนบ้านอ้อย บ้านบุญเริง 91 ไร่ จังหวัดแพร่
• เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งติดกับแม่น้ำกำปอง แม่น้ำถาง ไหลรวมสู่แม่น้ำยม
• อัตลักษณ์ของป่าชุมชน “แหล่งต้นน้ำ เพิ่มผืนป่า ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ”
• พื้นที่ป่าชุมชนบ้านอ้อย และ บ้านบุญเริง เป็นพื้นที่ติดกัน ประกอบไปด้วย 2 หมู่บ้าน 390 ครัวเรือน (ประชากร 1,264 คน)
• รวมพื้นที่ป่าทั้งหมด 2,843 ไร่ พื้นที่รอการปลูก 91 ไร่ ที่กรมป่าไม้นำเสนอแก่โครงการฯ แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่บุกรุก และชาวบ้านทวงคืนและขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชน พื้นที่บางแห่งเป็นป่าเสื่อมโทรมรอการปลูก
• มีอ่างเก็บน้ำแม่ถางขนาดกลางบรรจุ 300 ล้านลูกบาศก์ รองรับการใช้เพื่อการเกษตร บริโภค ในเขต อ.ร้องกวาง และ อ.เมือง ได้ตลอดทั้งปีและมีทัศนียภาพสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ จ. แพร่
• สภาพพื้นที่ ดินเหนียวลูกรัง ป่าเต็งรัง มีความลาดชันพอประมาณ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะปลูกพืชเชิงเดียวมาก่อน (เดิมปลูกข้าวโพด)
ประโยชน์จากการปลูกป่า
• เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าต้นน้ำ แม่น้ำถาง และแม่น้ำกำปอง การปลูกป่าจะทำให้ชาวบ้านจำนวน 390 ครัวเรือน ประชากร 1,264 คน จะได้รับประโยชน์จากการปลูกป่าในด้านเกษตรกรรมและการพัฒนาเป็นพื้นที่แหล่องท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์ ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว และประมงธรรมชาติ
แพขายอาหาร การเลี้ยงปลากระชัง เช่น ปลากดคัง ปลานิล ทับทิม
• การปลูกป่า 91 ไร่ จำนวน 18,200 ต้น สร้างระบบนิเวศที่ดี และช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก 162,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่าต่อปี (Kg.CO e/ปี)

แม้ว่าการโครงกรนี้ใช้เวลา 10 ปี แต่การทยอยทำ จะสามารถเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของบจ.ได้ พร้อมจะสร้างความสนใจให้กับบจ.อื่น ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาชุมชน มีกิจกรรมต่าง ๆ นับเป็นความยั่งยืนที่ บจ.ตอบโจทย์ ESG

“สำหรับการสื่อสารกับร้อยกว่าบริษัท mai ที่เหลือ เราจะใช้ช่องทางที่ ทุก ๆ 2 เดือนจะมีประชุมของสมาคมฯ เราจะนำเรื่องนี้ไปเล่าให้สมาชิกฟัง นอกจากนี้เรามีกรุ๊ปไลน์ซีอีโอของบจ. maiเราจะนำสิ่งเหล่านี้โพสต์ลงไป มีคลิปรวมถึงภาพที่เห็น จากเดิม 7 ปีที่แล้ว พื้นที่เป็นเป็นสีน้ำตาล แต่ 7 ปีต่อมาเป็นสีเขียว แม้ว่ายังไม่ใช่ไม้ยืนต้น แต่วันนี้คือจุดเริ่มต้นที่จะสร้างความยั่งยืน ต้นไม้ยืนต้นมีคนในชุมชนดูแล มีอัตราการรอด และผลสัมฤทธิ์เด่นชัด”

ไตรสรณ์ ย้ำว่าจากวันนี้น่าจะเป็นกระแสตอบรับที่ดีจากสมาชิกใน mai ที่ทุกบริษัทสามารถช่วยโลกได้ นอกเหนือไปจากผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น

“ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการฯ ถึงปัจจุบัน เราได้พบว่า ในปีนี้สำหรับภาคธุรกิจ มีทั้งซื้อใหม่ หมายถึงบริษัทที่จดทะเบียน และบริษัททั่วไป ให้ความสนใจเป็น Active Sponsorมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนซื้อเพิ่มก็มีมากขึ้นเช่นสมาคม maiA ที่ขยายพื้นที่ปลูกป่าที่นี่เพิ่มเติมจากเดิม เรื่องต่อมาที่เราพบคือ ภาคธุรกิจที่เข้ามา มองโครงการ Care the Wild เป็นการ Engaged พนักงานในเชิงลึก โดยพนักงานเป็นเจ้าของต้นไม้เขาเอง และติดตามการเติบโตต้นไม้ได้ด้วยตัวเอง สุดท้ายเราได้พบว่า แพลตฟอร์มของโครงการฯ เป็นพื้นที่ที่คนทั่วไปรวมกลุ่มมาปลูกต้นไม้ ซึ่งมีตัวอย่างจาก การเข้ามามีส่วนร่วมของ FC ของศิลปิน เป็น Happy Birthday Gift ให้กับนักแสดงเจมมี่ เจมส์ FC ระดมทุนกันมาได้มา 2 ไร่ เราไปปลูกต้นไม้ที่บ้านนาหวาย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่ง FC ถือว่าได้ทำบุญกับธรรมชาติให้กับคนที่เรารัก”

นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายความเพิ่มเติม โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” นับจากนี้ต่อไปจะไม่ใช่เพียงการปลูกต้นไม้ แต่จะเป็นโครงการต้นแบบปรับวิธีการ ที่ธรรมชาติต้นไม้ทำหน้าที่ของเขา มนุษย์ทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างเท่าเทียมในระบบนิเวศ “บริการธรรมชาติ” เป็นสิ่งที่คนต้องเริ่มคิด ให้ความเคารพ ระหว่างการเดินทางมาที่นี่เห็นเขาหัวโล้น เพราะถูกรุกรานพืชเชิงเดี่ยว การที่ผู้บริหาร นักวิชาการ พูดเรื่องนี้ต้อง Walk the Talk

การจับมือร่วมกันตั้งแต่ปลูกต้นไม้ถึงการดูแล 10 ปี มีกฎว่าห้ามตัดต้นไม้ อนาคตชุมชนอาจจะเป็นคนพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพร่วมกันได้ เพราะต้นไม้ที่ปลูกเป็นสิ่งที่ชุมชนเก็บกินและขายได้ เช่น ต้นม่อน ต้นสะเดา ต้นมะขามป้อม นอกจากนี้ชุมชนต้องการเรื่องการท่องเที่ยว ทุกคนมองว่าเป็นไปได้ในการเปิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ เมื่อป่ามา น้ำก็มา การศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งน้ำไปจนถึงแหล่งเก็บน้ำ ไปถึงน้ำตก ส่งผลถึงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชน เพราะฉะนั้นเมื่อภาคธุรกิจเข้ามาจะสามารถต่อยอด และสร้างความเข้มแข็งได้ นับเป็นความยั่งยืน Inclusive สามารถให้ศักยภาพท้องถิ่นเดินได้

“ในอนาคต เราน่าจะได้เห็นคือตีความ บริการธรรมชาติ ให้มีความแตกฉานบนหลักการความเท่าเทียมในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจริง ๆ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ เห็นว่าแพลตฟอร์มทั้งสาม Care the Wild ,Care the Whale ,Care the Bear น่าจะมีส่วนรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ มี Benchmark อย่างไร ทำอะไรไปบ้าง ลดคาร์บอนเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้เรากำลังพัฒนา ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างความเข้าใจเรื่อง บริการธรรมชาติ” นพเก้ากล่าวในท้ายที่สุด

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>