Search Results for “Care the Whale” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Thu, 28 Mar 2024 07:56:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform https://www.sdperspectives.com/activities/21909-set-tgo-time-to-reduce/ Mon, 23 Oct 2023 15:37:30 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21909 24 ตุลาคม 2566.... เชิดชูองค์กรแนวร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ความร่วมมือ “Climate Care Platform ” พร้อมเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรที่ร่วมกันลด และจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

The post ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 ตุลาคม 2566…. เชิดชูองค์กรแนวร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ความร่วมมือ “Climate Care Platform ” พร้อมเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กรที่ร่วมกันลด และจัดการทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า


ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมทั้งภาคธุรกิจ ภาคสังคม ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน จึงได้ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม “Climate Care Platform” ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีเป้าหมายร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งเสริมแนวนโยบายของภาครัฐ และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UNSDG Goal) ในข้อ 13 Climate Action ข้อ 12 Responsible Consumption and Production และข้อ 17 Partnership for the Goal

“Climate Care Forum 2023 : Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในครั้งนี้ สะท้อนความร่วมมือระหว่างองค์กรทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน โดยพันธมิตรใน Climate Care Platform ได้มุ่งมั่นและตั้งใจในการร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม นำไปสู่การขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมบนแนวทาง Circular economy อย่างต่อเนื่องต่อไป”

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นองค์กรภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในเรื่องนี้ จนกระทั่งโครงการความร่วมมือ Climate Care Platform ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นโครงการที่สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึก ปรับพฤติกรรมคนในองค์กรให้ช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกเดือดในขณะนี้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการ LESS และเชื่อมั่นว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำเครื่องมือและกลไกลดก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ของ TGO ไปบูรณาการกับกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ ความร่วมมือ “Climate Care Platform” ประกอบด้วยโครงการ Care the Bear การลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ โครงการ Care the Whale การลดก๊าซเรือนกระจกจากการบริหารจัดการขยะและของเสีย และ โครงการ Care the Wild การดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกป่า

โดยใน Climate Care Platform ได้จัดทำข้อมูลแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่ทุกคนในองค์กรสามารถลงมือทำร่วมกันได้ มีระบบคำนวณการวัดปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันมีองค์กรที่ร่วมเป็นสมาชิกทั้ง 3 โครงการรวม 669 บริษัท ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกจากโครงการ Care the Bear และ Care the Whale ได้รวม 63,794.75 tonCO2e ร่วมกันดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากโครงการ Care the Wild ได้ 702,000 kgCO2e

 

The post ตลท. x อบก. Time to Reduce “ลด-เพื่อ-โลก” @ Climate Care Platform appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ถอดบทเรียน 4 ปัจจัยจาก“โครงการสถานีขยะล่องหน” โดย Care the Whale ได้ทั้งข้อมูล งานวิจัย สิ่งของเครื่องใช้จากการ Reuse ,Recycle ,Upcycling และขยายผลขยะอาหารสู่ปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้ https://www.sdperspectives.com/circular-economy/19988-set-care-the-whale/ https://www.sdperspectives.com/circular-economy/19988-set-care-the-whale/#respond Wed, 03 May 2023 02:24:05 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19988 3 พฤษภาคม 2566...ป้าหมายร่วมปี 2566 ในโครงการสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า การบริหารจัดการขยะรวมในปีนี้ อย่างน้อย 28,000 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 40% จากปีที่แล้ว (เดือนละ 2,333กิโลกรัม)

The post ถอดบทเรียน 4 ปัจจัยจาก“โครงการสถานีขยะล่องหน” โดย Care the Whale ได้ทั้งข้อมูล งานวิจัย สิ่งของเครื่องใช้จากการ Reuse ,Recycle ,Upcycling และขยายผลขยะอาหารสู่ปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
3 พฤษภาคม 2566…โครงการ Care the Whale “ขยะล่องหน” ภายใต้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สร้างพื้นที่ความร่วมมือในการส่งเสริมการบริหารการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน นำร่อง “สถานีขยะล่องหน ” บนพื้นที่ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า จ. สมุทรปราการ เป็นปีที่3เพื่อสร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมให้กับชุมชนคุ้งบางกะเจ้าทั้ง 6 ตำบล โดยมีสถานีหลักอยู่ที่วัดจากแดง รับขยะประเภทขวดขุ่น ขวดใส ขวดแก้ว ถุงใส เศษผ้า เพื่อนำไปให้ชุมชน Recycle ,Upcycling และปีนี้เพิ่มขยะเศษอาหาร เป็นหนึ่งในประเภทขยะที่ชุมชนสามารถมาแลกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค

Care the Whale : Climate Action Collaboration@ชุมชน เป็นความร่วมมือขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยฐานของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ด้วยแนวคิดในการดำเนินการ ขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนด้วยแนวทางขยะล่องหน (Module-Monitoring-Multiply) โดยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยการให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ และการสื่อสาร (Environmental Impact) ซึ่งในตอนท้ายจะส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่บนฐานสิ่งแวดล้อม (Social Impact)

พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธัมมาลังกาโร) เจ้าอาวาส วัดจากแดง นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชัยลดา ตันติเวชกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ. สหพัฒนพิบูล ธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล สุธิดา เสียมหาญ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บมจ. โอสถสภา ร่วมกันถอดบทเรียน ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองการถอดบทเรียน 2 ปีของโครงการ Care the Whale @ ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า สถานีขยะล่องหน หลังจากพบข้อมูลที่มีนัยยะในปี 2564 เมื่อเริ่มโครงการฯ ปี 2564 มีน้ำหนักขยะรวม 4,770 กิโลกรัม ใน 4 เดือน (เดือนละ 1,193 กิโลกรัม) ถึงปี 2565 มีน้ำหนักขยะรวม 19,724 กิโลกรัม ใน 12 เดือน (เดือนละ 1,644 กิโลกรัม)

“จำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้น มาจากการขยายผลที่มีมากขึ้น โดยหัวใจของโครงการอยู่ที่ผู้ร่วมโครงการ เริ่มต้นจากศูนย์ Circular Economy วัดจากแดง พระคุณเจ้าท่านมีความต่อเนื่องงานวิจัยในพื้นที่ มีข้อมูล เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างดีมาก ซึ่งความสำเร็จมาจากการทำงานของวัดถือเป็นปัจจัยแรก ส่วนปัจจัยที่สองที่ประสบความสำเร็จคือ พันธมิตรมีการทำงานทั้งทางลึกและกว้างมากขึ้นเช่นเรื่องขยะขวดแก้ว Recycle เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น”

นพเก้ากล่าวต่อเนื่องถึงปัจจัยที่สามคือชุมชน มีความสำคัญมากส่วนหนึ่งเพราะให้ความร่วมมือ ส่งขยะมาที่วัดจากแดง ส่วนผลการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมได้ ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ 38,520.86 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า(kgCO2e) และเป็นผลที่โครงการฯนำขยะจำนวนมากไป Recycle ,Upcycling ส่วนปัจจัยที่สี่คือเรื่องการสื่อสารและทำความเข้าใจ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา มีวาไรตี้และขยายผลตลอดเวลา มีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับเศษขยะบางประเภทที่สามารถนำไปสู่ Recycle ,Upcycling อีกหลายรูปแบบ ทำให้โครงการมีแนวทางพัฒนาและต่อยอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วัดจากแดง คือพื้นที่ที่ทำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIrcular Economy) ที่อยู่ใจกลางชุมชน

 

พระราชวัชรบัณฑิต ช่วยขยายความถึงชุมชนในคุ้งบางกะเจ้า หันมาสนใจคัดแยกขยะมากขึ้น และขยะที่คัดแยกแล้วทางวัดนำไปทำประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าเป็นขวด PET เอาไปทำเป็นผ้าจีวร ผ้าต่าง ๆ ส่วนถุงแกงพลาสติกก็นำไปนึ่งเป็นน้ำมัน ทำเป็นไม้เทียม เป็นการตอบคำถามหลายคนถามว่า เก็บขยะแล้วเอาไปไหน ใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ทางวัดชี้แจงและทำให้เห็นเป็นตัวอย่างชัดเจน

“ตรงนี้คนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเห็นสถานีขยะล่องหนมา ทุกคนรู้เลยว่าต้องเตรียมขยะมาให้ ต้องเพิ่มและขยับแล้ว ชาวบ้านจำนวนมากกระตือรือร้นที่จะจัดการแยกขยะส่งให้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา”

ทั้งนี้ ขยะประเภทหนึ่งที่ชุมชนคัดแยกส่งให้วัดคือ ขวดแก้ว สุธิดา เสียมหาญ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บมจ. โอสถสภากล่าวถึงความร่วมมือตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นต่อยอดมาจาก Bottle to Bottle ของบริษัทเอง ในแง่การคัดแยกขยะขวดแก้ว ซึ่งRecycleได้ตลอดอายุขวดแก้วเอง

“เราให้ความสำคัญขยะขวดแก้วเพราะเป็นผู้ผลิตขวดแก้ว เราเองมีเครื่องดื่มในขวดแก้วมาก สิ่งที่เราตั้งใจคือผลิตขวดแก้วออกมาเท่าไหร่ก็พยายามเก็บกลับมาเท่านั้นในกระบวนการของเราให้มากที่สุด 80% เพื่อกลับRecycle เป็นการลดทรัพยากรธรรมชาติเช่นทรายได้ดีขึ้น ซึ่งการแยกขยะขวดแก้วทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่คุ้งบางกะเจ้าเราเข้ามาทำ 4 ขั้นตอน หนึ่งให้ความรู้การคัดแยกขยะขวดแก้วให้กับวัด ชุมชน โรงเรียน สองส่งมอบขยะขวดแก้วที่เก็บมา สามเก็บข้อมูล ประชาสัมพันธ์ ไปยังประชาชน โรงเรียนด้วยคลิป การเดินทางขวดแก้ว เพื่อให้รู้ว่าขยะขวดแก้วนำกลับมา Recycleได้ และเปลี่ยนเป็นบุญได้เมื่อแยกขยะที่บ้าน หรือโรงเรียนแล้วรวบรวมมาทิ้งที่สถานีขยะล่องหนที่วัดจากแดง”

การเปลี่ยนขยะขวดแก้วเป็นกองบุญ คือการที่โอสถสภาฯ มอบเงินให้ขยะขวดแก้วกิโลกรัมละ 1 บาท เมื่อชุมชนรวมได้กี่กิโลกรัมก็ตาม บริษัทสมทบเงินให้ และเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์จากโอสถสภาฯ เช่นปี 2565 มีการทำงานรวบรวมขยะจากวัดจากแดงในคุ้งน้ำบางกะเจ้า 8 พันกว่ากิโลกรัม คิดเป็นเงิน 8,000 กว่าบาท บริษัทก็สมทบยอดเงินเข้าไป 20,000 บาท มอบเป็นสินค้าโอสถสภาฯ เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ในวัดจากแดง

ชัยลดา  ได้กล่าวถึงการ่วมทำงานในโครงการสถานีขยะล่องหนว่า บริษัทจะนำสินค้ามาให้วัดจากแดงเพื่อที่วัดจะได้ใช้เป็นของแลกให้ชุมชนที่นำขยะมาให้วัด

“นับเป็นการช่วยลดค่าครองชีพส่วนหนึ่งให้ชุมชนด้วย ขณะเดียวกันปี 2565 เราเดินสายให้ความรู้โรงเรียนเรื่องการลดขยะ ปีนี้เราอยากให้โรงเรียนนำขยะมาแลกสิ่งของไปใช้ เราเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับโรงเรียน เช่น บางส่วนเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เป็นต้น เรามีการปรับให้แลกสินค้าง่าย ปรับสินค้าให้ตรงกับความต้องการของชุมชน ซึ่งโครงการสถานีขยะล่องหน ช่วยประโยชน์หลายทาง รักษาสิ่งแวด ลดขยะ ได้บุญด้วย นำขยะไปทำอย่างอื่นได้ และสุดท้ายได้สินค้าสหพัฒน์ไปใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้วย”

ปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้ (ผลิตจากเศษขยะอาหารในชุมชน) เป็นที่ต้องการของเกษตรกรมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มาถึงอีกหนึ่งพันธมิตร บมจ. พริ้นซ์ซิเพิล แคปิตอลมี14 โรงพยาบาลใน 11จังหวัดทั่วประเทศ และคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ 37 แห่ง มีปณิธานช่วยเหลือชุมชนและสังคม โดยการเข้าร่วมโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของปณิธาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 บริษัทจะให้ความรู้ในเชิงการแพทย์ เพราะช่วงเวลานั้น ขยะติดเชื้อทางการแพทย์มีค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงส่งบุคลากรบริษัทที่ดูแลเรื่องขยะติดเชื้อได้ลงไปให้ความรู้กับชุมชนว่า ขยะแบบใดเป็นขยะติดเชื้อ แบบใดไม่ติดเชื้อ ต้องแยกออกจากกัน ทำให้ชาวบ้านลดขยะติดเชื้อในภาพรวมได้ค่อนข้างมาก

“เราเองจูงใจให้ชาวบ้านนำขยะที่แลก มาเป็นโปรแกรมตรวจสุขภาพง่าย ๆ หรือใช้การตรวจสุขภาพเชิงรุกให้กับคนในชุมชนนั้น ๆ เช่น โรคติดต่อไม่ร้ายแรง ความดัน เบาหวาน เพื่อให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจนำขยะที่แยกแล้วมาไว้ที่เรา และเราก็นำสู่กระบวนการจัดเก็บอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปมากขึ้น และปีที่แล้วเราสนับสนุนให้นำขยะขวดต่าง ๆ มาแลกวัคซีนอย่างโมเดอร์นาในสถานการณ์โควิด-19”

ธานี กล่าวถึงปีนี้ บริษัทจะเน้นเชิงรุก การลงชุมชนให้ความรู้ขยะติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ แยกขยะมาแล้วก็มาแลกวัคซีนยาสมุนไพรที่โรงพยาบาลผลิตขึ้นมาเอง ซึ่งชุมชนจะเห็นประโยชน์การแยกขยะมีประโยชน์ต่อเขาด้วย และชาวบ้านมีสุขภาพดีขึ้นด้วย

ในปี 2566 โครงการสถานีขยะล่องหนมีเป้าหมายที่จะขยายการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน ขยายผลลัพธ์จากภาคเอกชนให้มีส่วนในการช่วยเหลือคุณภาพชีวิตคนในชุมชนพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า จ.สมุทรปราการ ทั้งในภาคครัวเรือน หน่วยงาน ร้านค้า โรงเรียน เป็นต้น ลดขยะฝังกลบสนับสนุนให้ชุมชน โรงเรียน ร้านอาหารและหน่วยงานนำส่งขยะประเภทเศษอาหารมาที่ สถานีขยะล่องหน วัดจากแดง เพื่อพัฒนาเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ต่อได้ และส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน ด้วยการให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นยังชุมชน 6 อบต.

“สำหรับทางวัดเราจะเน้นขยะเศษอาหารในปีนี้ เราได้ทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเศษอาหารใช้ในคุ้งบางกะเจ้าทดสอบปีที่แล้ว ใช้เป็นร้อยตัน ที่ผ่านมาจะบอกว่าปุ๋ยอินทรีย์สู้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ เพราะสั่งไม่ได้ แต่ตอนนี้ทางวัดทำปุ๋ยอินทรีย์สูตรสั่งได้ สั่งให้ออกดอกได้ สั่งให้ผลโตได้ สั่งให้ผลมีรสหวานขึ้นมาได้ โดยที่มีอินทรีย์วัตถุอื่นเข้ามาผสมร่วม เช่นขี้แดด น้ำมะพร้าว และหัวเชื้อเครื่องดื่ม เป็นปุ๋ยอินทรีย์วัดจากแดง สูตรสั่งได้ได้รับการสั่งซื้อทั่วประเทศ และได้ผลตามที่เกษตรกรต้องการ ทำให้คนมั่นใจในการใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่ได้จากขยะเปียกต่อไปได้แก๊สหุงต้มด้วย เป็นการ ได้สิ่งดีต่อสุขภาพที่มาจากปุ๋ยอินทรีย์ และลดโลกร้อนได้ด้วย สามารถนำไปเคลมเป็นคาร์บอนเครดิตจากปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนพลาสติกก็จะเคลมเป็นพลาสติกเครดิตต่อไป”

พระราชวัชรบัณฑิต กล่าวต่อเนื่องถึงโครงการฯในปีที่สาม วัดจากแดงขอเชิญชวนร่วมกันคัดแยกขยะ เพื่อนำขยะเหล่านั้นส่งวัดจากแดงจะเป็นเศษอาหารก็ดี เศษพลาสติกก็ดี เมื่อแยกแล้วสามารถนำมาส่งวัดจากแดงเพื่อแปรรูป ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมทั้งการรับคะแนนเพื่อแลกเปลี่ยนวัตถุสิ่งของที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

นพเก้ากล่าวในท้ายที่สุดถึงเป้าหมายร่วมปี 2566 ในโครงการสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า การบริหารจัดการขยะรวมในปีนี้ อย่างน้อย 28,000 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 40% จากปีที่แล้ว (เดือนละ 2,333กิโลกรัม)

 

The post ถอดบทเรียน 4 ปัจจัยจาก“โครงการสถานีขยะล่องหน” โดย Care the Whale ได้ทั้งข้อมูล งานวิจัย สิ่งของเครื่องใช้จากการ Reuse ,Recycle ,Upcycling และขยายผลขยะอาหารสู่ปุ๋ยอินทรีย์สั่งได้ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
https://www.sdperspectives.com/circular-economy/19988-set-care-the-whale/feed/ 0
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders https://www.sdperspectives.com/next-gen/19172-set-esg-strategy-2023-2025/ Mon, 13 Feb 2023 13:34:43 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19172 13-14 กุมภาพันธ์ 2566...นี่คือแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) การยึดหลักความยั่งยืนเป็นแกนขับเคลื่อนการทำงาน (Merge ESG with substance) ทั้งในและนอกองค์กรให้ความรู้นักลงทุน การให้ความรู้ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ การใช้หลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
13-14 กุมภาพันธ์ 2566…นี่คือแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) การยึดหลักความยั่งยืนเป็นแกนขับเคลื่อนการทำงาน (Merge ESG with substance) ทั้งในและนอกองค์กรให้ความรู้นักลงทุน การให้ความรู้ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ การใช้หลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การสร้างให้เกิดโซเชียลเอนเตอร์ไพร์ส

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค แผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายการเติบโตไปพร้อมกัน ทั้งธุรกิจ อุตสาหกรรมตลาดทุน สังคม และประเทศ เพื่อสร้างโอกาสที่มากกว่าเพื่อทุกคน (Growth for Business, Industry, Society) ศึกษาความเป็นไปได้ในการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment-linked) ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านการเงินของคนไทย

“เรื่องความยั่งยืนด้วยแนวทางการทำงาน ESG ปัจจุบันมีการพูดถึงมากขึ้น แม้กระทั่งสื่อเองก็มีการนำเสนอข่าว ESG ไม่น้อย หลายครั้งจะเห็นข่าวด้าน ESG ทุกวัน สำหรับตลาดหลักทรัพย์ฯ ความแตกต่างในเรื่องนี้ของปี 2566 กับทุกปีคือ เราพูดเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในแผนเราเลย เมื่อก่อนเราบอกว่าส่งเสริมให้คนอื่นทำเรื่องความยั่งยืน ต่อไปนี้เราจะต้องมีแผนเพื่อความยั่งยืนในการทำธุรกิจเราเองด้วย เพื่อสอดคล้องกับความยั่งยืนของ Stakeholders เราทั้งหมด”

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ และ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เริ่มที่ E หรือ Environmental

แนวทางที่ดำเนินการมายังดำเนินการต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากรด้าน ESG ในตลาดทุนและสถาบันการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้มี ESG Champion ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่าน ESG Academy และพัฒนา Climate Care Platform ให้ครอบคลุมฟังก์ชันการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการเชื่อมต่อพันธมิตร

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้ Cloud และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของ Data Center (Green Data Center)

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขยายความเพิ่มเติม ESG Academy เพื่อสร้างการจดจำ และสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฏิบัติ 3 กลุ่มสำคัญคือ

1.กลุ่มกรรมการบริษัทจดทะเบียน เพราะเรื่อง ESG ต้องการให้เกิด Tone on the Top กรรมการบริษัทต้องเป็นคนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
2.กลุ่มบุคลากรในตลาดทุน เพราะหลายฟังก์ชั่นเริ่มใช้ ESG มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ IR
3.กลุ่มสุดท้ายเป็นเรื่อง Public เพราะว่าท้ายที่สุดการทำเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน ประชาชน และวงการศึกษาด้วย

“Climate Care Platform เป็นเรื่องที่ตลาดทำมาระยะหนึ่งแล้วคือ Care the Bear, Care the Whale, Care the Wild เป็นจุดรวมของการทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และเราอยากให้บริษัทที่เข้ามาร่วมได้ข้อมูล รวมถึง Feedback ด้วย คือผลจกการปลูกป่าเติบโตอย่างไร เขาSave คาร์บอนได้เท่าไหร่ การจัดการขยะเป็นอย่างไร เช่นในทริปนี้ประหยัดเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้สามารถรายงานใน One Reportได้ สุดท้ายตลาดหลักทรัพย์ฯเอง จะมุ่งสู่การทำ Net Zero ด้วย ซึ่งเราจะได้ร่วมส่งต่อความรู้นี้ให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย”

Care the Wild หลังจากมา Kick Off พื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ เมื่อกลางปี 2565 ชุมชนก็มีการจัดการบริหารน้ำ เพื่อดึงน้ำขึ้นไปใช้ เก็บไว้บนถังบรรจุน้ำรวม 6 พันลิตร แบ่งในจุดแรก 4 พันลิตร จุดที่สอง 2 พันลิตร เพราะข้างบนที่ปลูกต้นไม้เป็นพื้นที่เขาหัวโล้น ดังนั้นจะต้องดึงน้ำจากพื้นที่ขุดขึ้นมาใหม่ เรียกว่าฝายแบบแกนดินซีเมนต์เป็นฝายสร้างได้รวดเร็วราคาถูกมีความแข็งแกร่งกักเก็บน้ำได้ โดยฝายแกนดินซิเมน์มีแกนลึกลงไปใต้ดินอย่างน้อย 2 เมตรลึก สุด 4 เมตรไปเข้าที่ฝั่งซ้ายขวาอีก 3 เมตร ซึ่งจะเป็นเรื่องการกักน้ำไม่ให้รอดใต้ทราย จะชุ่มชื้นกระจายไปด้านข้างได้ด้วย (คลิกภาพอ่านข่าววัน Kick Offและชมคลิป https://youtu.be/Gke45PfOuX4)

นอกจากนี้ ชุมชนยังสร้างฝายซอยซีเมนต์ไว้ในจุดต่าง ๆ เพื่อสร้างความชุ่มชิ้นให้ดิน โดยใช้ดินในพื้นที่ 15 ส่วน ปูนซิเมนต์พอร์ตแลนด์ 1 ส่วน ปั้นได้เลย ไม่ต้องมีแบบ ทั้งนี้ฝายทั้ง 2 แบบผู้ใหญ่บ้านอธิบายว่า เรียนรู้จากการบริหารจัดการน้ำของอบจ.แพร่ ฝายแบบนี้เมื่อทำแล้ว มีอายุการใช้งานนานกว่า ไม่ต้องใช้งบมาก ไม่ต้องทำทุกปีแบบฝายกระสอบทราย ซึ่งน้ำมาก็พัง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การดึงน้ำขึ้นไปใช้ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” นั้น ยังใช้น้ำมันดีเซลเดินเครื่อง ซึ่งทางโครงการฯมีแผนจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากโซลาร์ เร็ว ๆ นี้ โดยชุมชนจะเป็นผู้ดูแลต่อไป

มาถึงด้าน S หรือ Social

เรื่องของ Financila Literacy ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว จนกระทั่งมาถึงปัจจัยสถานการณ์โควิด-19 คนเป็นหนี้มากขึ้น และการหลอกลวงทางไซเบอร์ก็มีมากขึ้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในการให้ความรู้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน สิ่งที่ต้องทำต่อไปที่ต้องเน้นคือใช้ อีเลคทรอนิกส์มากขึ้น ช่วงโควิด-19 มีคนเข้ามาดู 2 ล้านกว่า ก็จะเป็นโอกาสในการเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น เรื่องต่อมาต้องทำกับพันธมิตรมากขึ้น ปีที่ผ่านมาทำกับกยศ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเข้าถึง โดยตลาดหลักทรัพย์เองฯมีคอนเทนต์ หลายหน่วยงานมีช่องทาง สุดท้ายเราจะเจาะกลุ่ม Young Gen กลุ่มใกล้เกษียณ จะต้องเก็บเงินเพราะคนอายุยาวขึ้น

ส่งเสริมความรู้ทางการเงินแก่วัยเกษียณและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จัดให้มีการวัดระดับความรู้ทางการเงินของคนไทยเพื่อพัฒนาเนื้อหาและช่องทางที่ตอบโจทย์

“การทำเรื่องการเงินจะมีเรื่องการสร้างการรับรู้ เราทำค่อนข้างมากแล้ว สิ่งสำคัญจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนพฤติกรรม เรา Approch หลากหลาย เราไม่ทำคอนเทนต์ที่เป็นMass เราทำคอนเทนต์ที่ Customize เหมาะกับคนแต่ละกลุ่ม เด็ก วัยทำงาน เกษียณ จะเป็นคนละแบบเลย นอกจากคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแล้ว เป็นเรื่องรูปแบบ จัดสัมมนาไม่น่าสนใจ เพราะคนจะใช้ดิจิทัลและสั้นขึ้น เรื่องนี้เราทำคนเดียวไม่ได้ต้องใช้พาร์ทเนอร์ กยศ.ทำเรื่องเด็กกู้ยืม หรือแบงก์รัฐ แบงก์ชาติ เขาก็จะมีกลุ่มที่เขากระจายออกไปได้ และสิ่งที่เราพยายามทำอีกเรื่องหนึ่ง คือเราทำเป็นเพลย์ลิสต์ เช่นรู้ว่าอยากเรียนแต่ไม่รู้ว่ามีช่องว่างตรงนั้น จะทำเป็นออนไลน์ เมื่อตอบคำถามแล้วเขาจะรู้ว่าต้องเรียนอะไรเพิ่ม สมมติว่าเรารู้ว่าเรารู้เรื่องกองทุนหรือประกันน้อย เมื่อเราเห็นช่องว่างตรงนั้น มันจะลิงค์ไปสู่คอนเทนต์ตรงนั้นเลย สิ่งที่ต้องทำเพิ่มคือการติดตาม ประเมินหลังจากเราปรับ ซึ่งเราต้องปรับไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ทำปีเดียวจบ”

ดร.ศรพล ขยายความต่อเนื่องถึง กลุ่มเกษียณคือ กำลังจะเกษียณ หรือเกษียณแล้ว แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเริ่มทำงานจะมีหนี้มาด้วย อาจจะเป็นหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เมื่อทำงานก็เป็นการวางแผนเพื่อชีวิตครอบครัว ส่วนคนเกษียณจะเป็นกลุ่มใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เจาะลึก เพราะเมื่อเกษียณแล้วจะมีเงินก้อนหนึ่งปัจจุบันมนุษย์อายุยืนขึ้น ดังนั้นจะบริหารจัดการตรงนี้อย่างไร ขณะเดียวกันการหลอกลวงทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นกลุ่มนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน

คลิกภาพเข้าหน้าหลักวางแผนเรื่องเงิน

อีกเรื่องหนึ่งในด้านนี้คือ การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการโดยจะมุ่งเน้นธุรกิจครอบครัว (Family Business) ผ่าน LiVE Platform และกระบวนการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) รวมทั้งร่วมกับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษาสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขณะเดียวกัน จะมีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากรของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขับเคลื่อนตลาดทุนสู่อนาคต

สุดท้ายด้าน G หรือ Governance

เร่งปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พัฒนาเครื่องมือการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพให้สามารถรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งประสานการทำงานร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล นอกจากนี้ จะขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว ทั้งนี้ ด้านกระบวนการภายใน ดำเนินการเตรียมพร้อมยกระดับการบริหารความเสี่ยงองค์กร พร้อมนำเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงวิเคราะห์มาพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

“ส่วนอีก 3 แผนกลยุทธ์ ทำอย่างไรให้ตลาดทุนไทยใช้ง่ายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดทุนไทยหรือต่างประเทศ ทั้งขนาดเล็ก,กลาง,ใหญ่ ลงทุนในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เรื่องต่อมาทำอย่างไรให้ผู้ร่วมตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถขยายการบริการได้มากขึ้น โดยทำให้บจ.มีโครงสร้างที่ดี มีความคล่องตัว สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้นักระดมทุนได้ง่ายสะดวก และเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ร่วมสร้างโอกาสเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัด”

ดร.ภากรกล่าวในท้ายที่สุดถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ กับแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) จะมุ่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ตามวิสัยทัศน์ตลาดหลักทรัพย์ฯ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” ผ่านกลยุทธ์ 4 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น

 

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูแผน ESG เป็น 1 ในกลยุทธ์ 4 ด้าน สอดคล้องกับทุก Stakeholders appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” https://www.sdperspectives.com/csr/16511-set-maia-care-the-wild-1/ Thu, 07 Jul 2022 00:27:29 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=16511 7 กรกฎาคม 2565...ภายใต้โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” ที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตร สมาคม maiA กรมป่าไม้ และภาคชุมชน ร่วมคืนผืนป่า

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
7 กรกฎาคม 2565…ภายใต้โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” ที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตร สมาคม maiA กรมป่าไม้ และภาคชุมชน ร่วมคืนผืนป่าบนพื้นที่รวม 91 ไร่ ใน ฟื้นฟูระบบนิเวศแก่พื้นที่ป่าต้นน้ำ สร้างแหล่งอาหารและสร้างรายได้แก่ชุมชนในท้องที่ 390 ครัวเรือน นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและการอยู่ร่วมกันของชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในรูปแบบบริการทางธรรมชาติ

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ริเริ่มในการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2563 ใช้แพลตฟอร์มความร่วมมือ (Collaboration Platform) ที่มีกลไกการดำเนินงานด้วยการระดมทุนในการปลูกต้นไม้ใหม่ ปลูกต้นไม้เสริม และส่งเสริมการดูแลต้นไม้ ด้วยกลไกธรรมาธิบาลการเปิดเผยข้อมูล ติดตาม-เรียนรู้-ดูแล เพื่อปลูกไม้ให้ได้ป่า โดยเริ่มต้นแปลงปลูกแห่งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแปลงทดลองในปี 2562 ก่อนเปิดโครงการฯ และปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วยความสนใจของบริษัทจดทะเบียนจำนวนมาก เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดที่ ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ สมาคม maiA ขยายพื้นที่ป่าเพิ่มเติม

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มุ่งเป็นกลไกของการขับเคลื่อนพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติของสังคม ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” คู่กับการคำนึงความสำคัญการผลักดันให้เกิดภาวะสมดุลโลก การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบสหประชาชาติ สอดรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ข้อ 13 Climate action และขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อ 17 Partnerships for the goals

“ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ส่วนสำคัญจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ มีจิตอาสา โดยในโครงการนี้คนพื้นที่ที่จะร่วมดูแลป่า ปลูกแล้วไม่ลืม เราอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ มีการติดตาม ช่วยให้ป่าเติบโตต่อเนื่อง นี่คือสิ่งที่เราอยากให้ยั่งยืนจริง ๆ จากงานวันนี้เป็นจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เราอยากเป็นตลาดทุนสำหรับทุกคน และทุกเรื่องที่เราทำเกิดผลเป็นรูปธรรมจริง ๆ ซึ่งความร่วมมือในโครงการ Care the Wild มีความสอดคล้องในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG โดยนักลงทุนเองจะลงทุนอะไรก็ตาม จะเน้นบริษัทที่มีเรื่อง ESG ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันหมด การปลูกป้อง Plant & Protect ที่จังหวัดแพร่วันนี้ สามารถส่งผลกลับไปที่ภาพใหญ่ได้”

แต่ละพื้นที่ของป่าชุมชนจะมีเอกลักษณ์ จุดเด่น ด้านระบบนิเวศและการพัฒนาชุมชนที่แตกต่างกัน องค์กรธุรกิจสามารถเลือกพื้นที่ในการสนับสนุนการปลูกไม้ได้หลากหลาย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เรียนรู้ระบบนิเวศร่วมกับชาวบ้านผู้รักษาป่าได้อีกด้วย ซึ่งพื้นที่นี้รวม 91 ไร่ สมาชิกในสมาคม maiA ก็เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกป้อง Plant & Protect

ผลการดำเนินงาน โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” รวมถึง ต. บ้านเวียง อ. ร้องกวาง จ. แพร่

ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่สนใจร่วมระดมทุนปลูกป่า สามารถร่วมเป็น Active Sponsor – ทีมปลูกป้อง ด้วยการบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนในการปลูกไม้และดูแลป่าไม้ ต้นละ 220 บาท (1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น) งบประมาณ 44,000 บาท / ไร่) โดย

1) ติดต่อเข้ามาที่โครงการ เลือกพื้นที่ป่าในโครงการฯ ที่ต้องการ โดยบริษัทสามารถลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่ และพูดคุยกับองค์กรผู้ปลูกป่า (กรมป่าไม้) และชาวบ้านผู้อาศัยในชุมชนพื้นที่ป่า กับทีมงานโครงการฯ เพื่อรับทราบรายละเอียดข้อมูล การวางแผนปลูกป่า และบริหารจัดการร่วมกันในการปลูกป่า รวมถึงขั้นตอนติดตามผลการปลูกป่าร่วมกับชาวบ้าน

2) บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ บริจาคเงินเพื่อปลูกป่า ต้นละ 220 บาท (1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น งบประมาณ 44,000 บาท / ไร่) และร่วมลงพื้นที่ปลูกป่าร่วมกันกับโครงการ และชาวบ้านในชุมชน : บริจาคปลูกต้นไม้ ต้นละ 220 บาท ประกอบไปด้วย ค่าต้นกล้า ค่าเตรียมดิน ค่าปุ๋ย ค่าปลูกเสริมทดแทนต้นไม้ที่ตาย ค่ากำจัดวัชพืช ค่าทำแนวกันไฟป่า ค่าทำระบบน้ำ ค่าพัฒนาชุมชน เป็นเวลา 10 ปี

3) ด้วยเป้าหมายต้นไม้ที่ปลูกต้องรอดและเติบโต 100% บริษัทและโครงการฯ ร่วมกันติดตามประเมินผลการปลูกป่า เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี โดยทุกปีจะมีการติดตามผล โดยบริษัทสามารถลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการเติบโต พูดคุยกับชาวบ้านถึงปัญหาและสามารถต่อยอดดูแลป่าอย่างอื่นเพิ่มได้ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ข้อมูลของการติดตามการเติบโตต้นไม้ และความคืบหน้าต่าง ๆ จะนำเสนอที่ Application “Care the Wild”

ไตรสรณ์ วรญาณโกศล นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (maiA) นำทีมผู้บริหารกว่า 40 บริษัทเข้ามาร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่จะต้องดูแลไปพร้อมกับชุมชน เพื่อให้ต้นไม้เติบโตแข็งแรงประมาณ 10 ปีนั้น ได้กล่าวถึงความประทับใจในโครงการที่ได้ลงมือทำร่วมกันหลายฝ่าย

“การมาวันนี้ ทำให้เราเห็นความร่วมมือที่จะช่วยกันลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เราร่วมช่วยแก้ไขได้ ที่นี่มีแหล่งน้ำ จะเป็นส่วนประกอบที่จะช่วยทำให้ต้นไม้เติบโตและยั่งยืน ผลที่ได้ตามมาไม่ได้มีเพียงเรื่องช่วยลดโลกร้อนเท่านั้น แต่มีผลต่อชุมชนให้เติบโตและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ หรือการที่เขาจะปกป้องรักษาแผ่นดินที่หวงแหนที่เขาอยู่ อันนี้น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ดีที่ บจ. ใน maiA สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในมิติ ESG ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ลงตัว”

ข้อมูลป่าชุมชนบ้านอ้อย บ้านบุญเริง 91 ไร่ จังหวัดแพร่
• เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งติดกับแม่น้ำกำปอง แม่น้ำถาง ไหลรวมสู่แม่น้ำยม
• อัตลักษณ์ของป่าชุมชน “แหล่งต้นน้ำ เพิ่มผืนป่า ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ”
• พื้นที่ป่าชุมชนบ้านอ้อย และ บ้านบุญเริง เป็นพื้นที่ติดกัน ประกอบไปด้วย 2 หมู่บ้าน 390 ครัวเรือน (ประชากร 1,264 คน)
• รวมพื้นที่ป่าทั้งหมด 2,843 ไร่ พื้นที่รอการปลูก 91 ไร่ ที่กรมป่าไม้นำเสนอแก่โครงการฯ แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่บุกรุก และชาวบ้านทวงคืนและขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชน พื้นที่บางแห่งเป็นป่าเสื่อมโทรมรอการปลูก
• มีอ่างเก็บน้ำแม่ถางขนาดกลางบรรจุ 300 ล้านลูกบาศก์ รองรับการใช้เพื่อการเกษตร บริโภค ในเขต อ.ร้องกวาง และ อ.เมือง ได้ตลอดทั้งปีและมีทัศนียภาพสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ จ. แพร่
• สภาพพื้นที่ ดินเหนียวลูกรัง ป่าเต็งรัง มีความลาดชันพอประมาณ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะปลูกพืชเชิงเดียวมาก่อน (เดิมปลูกข้าวโพด)
ประโยชน์จากการปลูกป่า
• เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าต้นน้ำ แม่น้ำถาง และแม่น้ำกำปอง การปลูกป่าจะทำให้ชาวบ้านจำนวน 390 ครัวเรือน ประชากร 1,264 คน จะได้รับประโยชน์จากการปลูกป่าในด้านเกษตรกรรมและการพัฒนาเป็นพื้นที่แหล่องท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์ ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว และประมงธรรมชาติ
แพขายอาหาร การเลี้ยงปลากระชัง เช่น ปลากดคัง ปลานิล ทับทิม
• การปลูกป่า 91 ไร่ จำนวน 18,200 ต้น สร้างระบบนิเวศที่ดี และช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก 162,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่าต่อปี (Kg.CO e/ปี)

แม้ว่าการโครงกรนี้ใช้เวลา 10 ปี แต่การทยอยทำ จะสามารถเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของบจ.ได้ พร้อมจะสร้างความสนใจให้กับบจ.อื่น ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาชุมชน มีกิจกรรมต่าง ๆ นับเป็นความยั่งยืนที่ บจ.ตอบโจทย์ ESG

“สำหรับการสื่อสารกับร้อยกว่าบริษัท mai ที่เหลือ เราจะใช้ช่องทางที่ ทุก ๆ 2 เดือนจะมีประชุมของสมาคมฯ เราจะนำเรื่องนี้ไปเล่าให้สมาชิกฟัง นอกจากนี้เรามีกรุ๊ปไลน์ซีอีโอของบจ. maiเราจะนำสิ่งเหล่านี้โพสต์ลงไป มีคลิปรวมถึงภาพที่เห็น จากเดิม 7 ปีที่แล้ว พื้นที่เป็นเป็นสีน้ำตาล แต่ 7 ปีต่อมาเป็นสีเขียว แม้ว่ายังไม่ใช่ไม้ยืนต้น แต่วันนี้คือจุดเริ่มต้นที่จะสร้างความยั่งยืน ต้นไม้ยืนต้นมีคนในชุมชนดูแล มีอัตราการรอด และผลสัมฤทธิ์เด่นชัด”

ไตรสรณ์ ย้ำว่าจากวันนี้น่าจะเป็นกระแสตอบรับที่ดีจากสมาชิกใน mai ที่ทุกบริษัทสามารถช่วยโลกได้ นอกเหนือไปจากผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น

“ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการฯ ถึงปัจจุบัน เราได้พบว่า ในปีนี้สำหรับภาคธุรกิจ มีทั้งซื้อใหม่ หมายถึงบริษัทที่จดทะเบียน และบริษัททั่วไป ให้ความสนใจเป็น Active Sponsorมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนซื้อเพิ่มก็มีมากขึ้นเช่นสมาคม maiA ที่ขยายพื้นที่ปลูกป่าที่นี่เพิ่มเติมจากเดิม เรื่องต่อมาที่เราพบคือ ภาคธุรกิจที่เข้ามา มองโครงการ Care the Wild เป็นการ Engaged พนักงานในเชิงลึก โดยพนักงานเป็นเจ้าของต้นไม้เขาเอง และติดตามการเติบโตต้นไม้ได้ด้วยตัวเอง สุดท้ายเราได้พบว่า แพลตฟอร์มของโครงการฯ เป็นพื้นที่ที่คนทั่วไปรวมกลุ่มมาปลูกต้นไม้ ซึ่งมีตัวอย่างจาก การเข้ามามีส่วนร่วมของ FC ของศิลปิน เป็น Happy Birthday Gift ให้กับนักแสดงเจมมี่ เจมส์ FC ระดมทุนกันมาได้มา 2 ไร่ เราไปปลูกต้นไม้ที่บ้านนาหวาย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่ง FC ถือว่าได้ทำบุญกับธรรมชาติให้กับคนที่เรารัก”

นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายความเพิ่มเติม โครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” นับจากนี้ต่อไปจะไม่ใช่เพียงการปลูกต้นไม้ แต่จะเป็นโครงการต้นแบบปรับวิธีการ ที่ธรรมชาติต้นไม้ทำหน้าที่ของเขา มนุษย์ทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างเท่าเทียมในระบบนิเวศ “บริการธรรมชาติ” เป็นสิ่งที่คนต้องเริ่มคิด ให้ความเคารพ ระหว่างการเดินทางมาที่นี่เห็นเขาหัวโล้น เพราะถูกรุกรานพืชเชิงเดี่ยว การที่ผู้บริหาร นักวิชาการ พูดเรื่องนี้ต้อง Walk the Talk

การจับมือร่วมกันตั้งแต่ปลูกต้นไม้ถึงการดูแล 10 ปี มีกฎว่าห้ามตัดต้นไม้ อนาคตชุมชนอาจจะเป็นคนพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพร่วมกันได้ เพราะต้นไม้ที่ปลูกเป็นสิ่งที่ชุมชนเก็บกินและขายได้ เช่น ต้นม่อน ต้นสะเดา ต้นมะขามป้อม นอกจากนี้ชุมชนต้องการเรื่องการท่องเที่ยว ทุกคนมองว่าเป็นไปได้ในการเปิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ เมื่อป่ามา น้ำก็มา การศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งน้ำไปจนถึงแหล่งเก็บน้ำ ไปถึงน้ำตก ส่งผลถึงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชน เพราะฉะนั้นเมื่อภาคธุรกิจเข้ามาจะสามารถต่อยอด และสร้างความเข้มแข็งได้ นับเป็นความยั่งยืน Inclusive สามารถให้ศักยภาพท้องถิ่นเดินได้

“ในอนาคต เราน่าจะได้เห็นคือตีความ บริการธรรมชาติ ให้มีความแตกฉานบนหลักการความเท่าเทียมในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจริง ๆ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ เห็นว่าแพลตฟอร์มทั้งสาม Care the Wild ,Care the Whale ,Care the Bear น่าจะมีส่วนรวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ มี Benchmark อย่างไร ทำอะไรไปบ้าง ลดคาร์บอนเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้เรากำลังพัฒนา ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างความเข้าใจเรื่อง บริการธรรมชาติ” นพเก้ากล่าวในท้ายที่สุด

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคม maiA คืนผืนป่าต้นน้ำ บ้านเวียง ร้องกวาง แพร่ 91 ไร่ ผ่านโครงการ Care the Wild: “ปลูกป้อง Plant & Protect” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รุกสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า ปี 2 https://www.sdperspectives.com/activities/set-care-the-whale-16276/ Thu, 16 Jun 2022 15:32:50 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=16276 16 มิถุนายน 2565....ขยายพันธมิตรในพื้นที่ต้นแบบชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “รวมพลังมหาชุมชน คุ้งบางกะเจ้า” เชื่อมโยงบริษัทจดทะเบียนกับภาคชุมชน สร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมการบริหารจัดการขยะแก่ทุกกลุ่มในชุมชน ตั้งแต่ประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน เป้าหมายขยะที่นำมาแลก 15 ตันตลอดปี

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ รุกสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า ปี 2 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
16 มิถุนายน 2565….ขยายพันธมิตรในพื้นที่ต้นแบบชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “รวมพลังมหาชุมชน คุ้งบางกะเจ้า” เชื่อมโยงบริษัทจดทะเบียนกับภาคชุมชน สร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมการบริหารจัดการขยะแก่ทุกกลุ่มในชุมชน ตั้งแต่ประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน เป้าหมายขยะที่นำมาแลก 15 ตันตลอดปี พร้อมเดินหน้าให้ความรู้เจาะกลุ่มเยาวชน ปลูกฝังแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนความยั่งยืน

โครงการ Care the Whale “ขยะล่องหน” ภายใต้การดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สร้างพื้นที่ความร่วมมือในการส่งเสริมการบริหารการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน นำร่อง “สถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า” บนพื้นที่ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า จ. สมุทรปราการ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมให้กับชุมชนคุ้งบางกะเจ้าทั้ง 6 ตำบล และในปี 2565 เดินหน้าขยายผลโครงการ ทั้งการขยายพันธมิตรด้าน Circular Economy และการส่งเสริมสุขภาพชุมชน ขยายประเภทขยะให้ครอบคลุมขวดแก้ว ขยายการเข้าถึงคนในชุมชนโดยเฉพาะเยาวชน ด้วยเป้าหมายร่วมกันในการลดภาวะโลกร้อน พร้อมสร้างกลไกลลดค่าครองชีพและส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน

พระราชวัชรบัณฑิต (ประนอม ธัมมาลังกาโร) เจ้าอาวาส วัดจากแดง กล่าวว่า วัดจากแดงเป็นศูนย์กลางและเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการขยะของชุมชนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าและพื้นที่โดยรอบ โดยในปีที่ผ่านมา สถานีขยะล่องหนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือคนในชุมชนจากการนำขยะมาแลกของอุปโภคบริโภคที่สนับสนุนโดยภาคเอกชน ขณะที่วัดจากแดงได้นำขยะทั้งหมดที่ได้รับจากสถานีขยะล่องหนไปผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฎก ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในปี 2565 วัดจากแดงจะต่อยอดการสร้างจิตสานึกของคนในชุมชน ให้มีพฤติกรรมการแยกขยะเป็นนิสัย และเห็นคุณค่าของขยะที่สามารถนำไปแปรรูปและรีไซเคิลต่อได้

การดำเนินโครงการ Care the Whale สถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า ในปี 2564 ระยะเวลา 4 เดือน (ก.ย.-ธ.ค.) มีครัวเรือนและหน่วยงานนำขยะมาคัดแยกและนำไปรีไซเคิลได้ถึง 4,770 กิโลกรัม ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 4,093.85 กิโลกรัมคาร์บอนไดซ์ออกไซต์เทียบเท่า

ล่าสุด ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผาสุข รักษาวงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร บมจ. สหพัฒนพิบูล ธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล สุธิดา เสียมหาญ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บมจ. โอสถสภา วัชระ เติมวรรธนภัทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง จ. สมุทรปราการ เปิดตัวโครงการสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า ปี 2 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังมหาชุมชน คุ้งบางกะเจ้า”

โดยเชื่อมโยงบริษัทจดทะเบียนกับภาคชุมชน สร้างจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมการบริหารจัดการขยะแก่ทุกกลุ่มในชุมชน ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสามารถนำขยะ ขวดพลาสติกขุ่น ขวดพลาสติกใส ถุงแกง เศษผ้า และขวดแก้ว มาแลกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเพื่อสุขภาพได้ที่สถานีขยะล่องหน วัดจากแดง ตลอดปี 2565

ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่าจะมีขยะ ส่งเข้าสถานีขยะล่องหนเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 กิโลกรัม ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสามารถนำขยะ ขวดพลาสติกขุ่น ขวดพลาสติกใส ถุงแกง เศษผ้า และขวดแก้ว มาแลกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเพื่อสุขภาพได้ที่สถานีขยะล่องหน วัดจากแดง ตลอดปี 2565

 

The post ตลาดหลักทรัพย์ฯ รุกสถานีขยะล่องหน คุ้งบางกะเจ้า ปี 2 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SET ก้าวสู่ปีที่ 48 ขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งอนาคต “ขับเคลื่อนความมั่งคั่งด้วยความยั่งยืนในแนวทาง ESG ที่เป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก” https://www.sdperspectives.com/next-gen/15861/ Mon, 09 May 2022 05:24:45 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=15861 9 พฤษภาคม 2565...ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดสัมมนา “SET ก้าวสู่ปีที่ 48 ขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งอนาคต” ภายใต้แนวคิด “Make it Work for Future”

The post SET ก้าวสู่ปีที่ 48 ขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งอนาคต “ขับเคลื่อนความมั่งคั่งด้วยความยั่งยืนในแนวทาง ESG ที่เป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 พฤษภาคม 2565…ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดสัมมนา “SET ก้าวสู่ปีที่ 48 ขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งอนาคต” ภายใต้แนวคิด “Make it Work for Future” โดยมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญภาคเศรษฐกิจและธุรกิจ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยก้าวสู่อนาคตครอบคลุมทั้งมิติธุรกิจและความยั่งยืน ที่มุ่งสร้างสรรค์ให้ตลาดทุนไทยเกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน

สัมมนาในโอกาสสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ประจำปี 2565 นักบริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญภาคเศรษฐกิจและธุรกิจ ที่ร่วมเวทีสัมมนามีประเด็นหนึ่งที่พูดตรงกันคือ

ESG (Environmental, Social and Governance) ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอดของธุรกิจในอนาค
และเป็นความยั่งยืนกับการพัฒนาตลาดทุน

“การที่องค์กรให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ย่อมมีผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น ตลาดทุนไทยจะมีบทบาทในการผลักดันให้องค์กรมีการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่ช่วยให้ผู้ลงทุนและผู้ใช้ข้อมูลได้เห็นถึงมุมมองการดำเนินธุรกิจในมิติที่กว้างกว่าข้อมูลทางการเงิน ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อองค์กร พร้อมกับการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวไว้ตอนหนึ่งในปาฐกถาพิเศษ “บทบาทตลาดเงิน ตลาดทุน สู่จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย – Towards the Future of Thai Economy”

มาถึงเวทีเสวนา เสวนา “Wealth Driver for Fruitful Growth” โดย ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ Managing Director สถาบันอนาคตไทยศึกษา ดร. กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินรายการโดย ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองถึงประเด็น ESG ว่า

“นักลงทุนต่างประเทศให้ความสำคัญกับ ESG มาก จากผลสำรวจของ BlackRock พบว่า ครึ่งหนึ่งของนักลงทุนสนใจลงทุนในบริษัทที่มี ESG เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ และอีกครึ่งสนใจเพราะเป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดีกว่าบริษัทที่ไม่มี ESG นอกจากนี้ ด้านคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นทั้งลูกค้า และแรงงานก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก อย่าง Climate Change สิทธิความเท่าเทียม ความหลากหลาย ความสัมพันธ์ของบริษัทกับการเมือง ขณะที่คนรุ่นเก่าให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจพอ ๆ กัน อีกสิ่งหนึ่ง ESG ช่วยดึงดูด Talent ให้เข้ามาทำงานด้วย และอยากอยู่กับบริษัทนาน ๆ มากกว่าเรื่องค่าตอบแทน”

ดร. ภากร ปีตธวัชชัย ขยายความเรื่องนี้ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของโจทย์ใหญ่ ที่ตลาดทุนไทยต้องเผชิญ “ความท้าทาย” และ “โอกาส” ขณะนี้

“ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยได้รับการยกย่องทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เรากำลังพัฒนาการต่อเชื่อมข้อมูล ESG ของบริษัทจดทะเบียน นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูล ผ่าน ESG Data Platform และส่งต่อให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานได้อย่างสะดวก มีมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมให้นักวิเคราะห์สนใจวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ ESG ให้กับนักลงทุน เช่น กองทุนรวม และ Index เหล่านี้คือกระบวนการในการสนับสนุนให้การทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมีความหมายและได้ผลอย่างแท้จริง”

“เดินหน้าอย่างไร ในวันที่ความยั่งยืนเป็นเรื่องที่รอไม่ได้”
(Sustainable Driver For Meaningful Growth)

ในเวทีนี้ ผู้บริหารของแต่ละองค์กรมีนโยบายการทำงานด้วยแนวทาง ESG ร่วมแบ่งปันประสบการณ์คือ อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการเงินและบริหารเงินลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นุกิจ ชลคุป Chief Manufacturing Officer บมจ. โอสถสภา ไตรสรณ์ วรญาณโกศล กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอส พี วี ไอ และนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ธิดาศิริ ศรีสมิต รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บลจ. กสิกรไทย รัตน์วลี อนันตานานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อภิศักดิ์ เริ่มที่ มุมมอง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตให้กับตลาดทุนไทย

จุดมุ่งหมายขององค์กรในกรอบ Sustainability Framework โดยใช้เกณฑ์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติที่ตรงกับบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน 4 ด้าน มุมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิด SET ESG in Action 5 มิติที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholder ของตลาดหลักทรัพย์คือ

1.การบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน
2.การสร้างคุณค่าตลาดทุน
3.การพัฒนาและดูแลพนักงาน
4.การพัฒนาและดูแลสังคม
5.การจัดการสิ่งแวดล้อม

“การบริหารองค์กรอย่างยั่งยืน จะเน้นเรื่องความโปร่งใส ความรอบด้าน ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม การบริหารความเสี่ยง และนวัตกรรม ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน e-Listing, FundConnext และในช่วงโควิด-19 พัฒนา e-Shareholder Meeting เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บริษัทจดทะเบียนในการประชุมผู้ถือหุ้นแบบออนไลน์ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม e-Open Account, e-Stamp Duty ระยะต่อไปคือการให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Digital Asset Exchange”

อภิศักดิ์ ขยายความต่อเนื่องมาถึงการสร้างคุณค่าตลาดทุน ด้วยมาตรฐานต่าง ๆ ระดับสากล ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูล ยกย่องบริษัทที่อยู่ในเกณฑ์ชี้วัดความยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนเข้าสู่ดัชนีความยั่งยืนระดับโลกต่าง ๆ การส่งเสริมให้เกิด Sustainable Finance ในส่วนสังคม ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนาส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้ประชาชนทุกวัยผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีผู้เข้าใช้งานนับล้านราย และสร้างแพลตฟอร์ม SET Social Impact เชื่อมโยงเครือข่ายภาคธุรกิจ และการสร้างหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อสังคม

“ในส่วนพนักงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนาดูแลพนักงาน โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 มีมาตรการให้พนักงาน WFH ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองผ่าน Online Learning ส่วนการดูแลอาคารสถานที่ทำงานก็ยังมีความเข้มข้น เพื่อลดโอกาสจากการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกันนี้สิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ก่อนการเกิดโควิด-19 คือการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร มีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ บำบัดน้ำเสีย ลดขยะ ลดคาร์บอน และ ทำ Green Procurement”

ส่วนภายนอก ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรกว่า 300 ราย ทำงานร่วมกันในการดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่าน 3 โครงการสิ่งแวดล้อมของตลาดหลักทรัพย์ฯ

-Care The Bear รณรงค์เรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัด Event
-Care The Whale รณรงค์เรื่องการลดขยะ
-Care The Wild รณรงค์เรื่องการปลูกป่า

“การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของประเทศทำมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่เกิดวิกฤตปี 2540 เป็นบทเรียนที่ดีที่ทำให้บริษัทไทยมีความพร้อมในการบริหารจัดการในหลายวิกฤตที่ผ่านมา ส่วนอนาคต การนำ ESG เข้าไปอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ จะทำให้เรามีความพร้อมในการบริหารความเสี่ยงและจัดการกับวิกฤตได้มากยิ่งขึ้น” อภิศักดิ์กล่าวในตอนท้าย

นุกิจ เล่าถึงมุมมอง
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

จุดเริ่มต้นที่โอสถสภา ทำเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง คือเมื่อปี 2561 หลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มจากการสร้างการรับรู้แล้ว ตามด้วยการสร้างให้เกิด Commitment ที่บริษัทต้องทำให้ได้ ความยั่งยืนต้องนำเข้ามาเป็นกลยุทธ์ขององค์กร

“ด้วยธุรกิจหลักของบริษัทเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำโดยตรง มีการใช้บรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภท บริษัทให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่อง Climate Change ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะทำอย่างไรถึงจะช่วยโลกได้มากขึ้นและต้องมีคุณภาพ ตอบโจทย์ทั้งด้านความยั่งยืนและการเงิน อีกทั้งต้องทำให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นภาพตรงกัน ซึ่งเป็นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนแบบ end-to-end ตั้งแต่กระบวนการจากต้นทางจนถึงผู้บริโภคตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย”

นุกิจกล่าวต่อเนื่อง จากการที่บริษัทนำเรื่องความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย ปัจจุบัน บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ก็บรรลุเป้าหมาย โดยอยู่ใน SETTHSI Index

“เรื่องความยั่งยืนจะต้องเป็น Integrated Strategy ของทุกเรื่องใน Corporate Strategy ไม่ใช่งานเสริมหรืองานฝาก แต่ต้องเป็นงานหลักของบริษัท รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ถ้าทุกคนมองเห็นภาพเดียวกัน ก็จะช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ความยั่งยืนเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย เกิดประโยชน์ทั้งต่อมนุษยชาติและต่อตัวเราเอง”

ไตรสรณ์ เผยมุมมอง
การลดความเหลื่อมล้ำของผู้ประกอบการขนาดเล็ก

ไตรสรณ์ ฉายภาพบริษัทจดทะเบียนใน mai เกือบทั้งหมดเป็น SMEs เข้ามาใช้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแหล่งระดมทุนเพื่อการเติบโต สมาคม maiA สร้าง community ให้ผู้บริหารมาแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ระหว่างกัน ผู้บริหาร mai ที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ ทำอย่างไรให้ทุกคนได้รู้จักกัน ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ และแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ SMEs ในการเติบโต และให้ข้อมูลกับนักลงทุนและนักวิเคราะห์

“บริษัทจดทะเบียนใน mai มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ในเรื่องของศักยภาพและประสบการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่สมาคมฯ จะช่วยได้ในการลด Gap นั้น ด้วยการสร้างการรับรู้ (Awareness) ของ ESG ผลักดันให้เกิดการยอมรับ (Adopt) ในสิ่งเหล่านั้น และสุดท้ายคือการทำทันที (Take Action) หรือ Awareness – Adopt – Action นั่นเอง”

บริษัทจดทะเบียนใน mai ยังร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสร้างกิจกรรมเพื่อสังคม ระดมพล CEO มา Coaching ให้ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ให้เข้าใจเรื่องการดำเนินธุรกิจ สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ นอกจากนี้ มีกิจกรรม Art for Cancer ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง กิจกรรม Virtual Run ระดมทุนเพื่อมอบให้กับสภากาชาดไทย รวมถึงเข้าร่วมโครงการสิ่งแวดล้อมของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสร้างเป็นโมเดล ให้เกิดผลกระทบที่ดีในวงกว้าง

ธิดาศิริ เผยมุมมอง
การลงทุนอย่างยั่งยืน

ธิดาศริ สะท้อนภาพการลงทุนยั่งยืน แม้ว่าสถานการณ์การรับรู้ และลงมือทำตามแนวทาง ESG จะมีมากขึ้น แต่ข้อเท็จจริง ปัจจุบันความสนใจเรื่องการลงทุนที่เน้นเรื่อง ESG ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน และเรื่องจริงอีกข้อพบว่า การปฏิบัติตามหลัก ESG ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนบริษัทขนาดกลางและเล็กแม้มีความเข้าใจและต้องการดำเนินการ ก็ยังติดเรื่องทรัพยากร จึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

“เราควรสร้างความตระหนักแก่นักลงทุนทั่วไป ในแง่ของการให้ความสำคัญของการนำปัจจัย ESG มาพิจารณาร่วมด้วยในการตัดสินใจลงทุน หน้าที่ของผู้จัดการลงทุนคือการสร้างสมดุลระหว่างการสร้างผลตอบแทนและประเด็นด้าน ESG ในฐานะนักลงทุนสถาบัน เชื่อว่าการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึง ESG จะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนได้ ช่วยลดความเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอกและภายในตัวธุรกิจเอง และช่วยแยกแยะและเพิ่มโอกาสการลงทุนขณะที่บริษัทจดทะเบียนก็ต้องเห็นความสำคัญของการทำ ESG ด้วย”

รายงาน Global Sustainable Review ปี 2563 พบว่าแนวโน้มลงทุนโดยใช้หลักการ ESG ใน 5 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเติบโตกว่า 50% ขณะที่ทุกภูมิภาคมีเม็ดเงินลงทุนอย่างชัดเจน และเติบโตอย่างก้าวกระโดด 1 ใน 3 ของมูลค่าการลงทุนทั่วโลกเป็นการลงทุนแบบ ESG ขณะสัดส่วนการลงทุนใน ESG ในประเทศไทยยังน้อยมาก มีแค่ 3.4% หรือ 6 หมื่นกว่าล้านบาทของมูลค่าการลงทุนกองทุนรวมหุ้นในประเทศทั้งหมด ซึ่งอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านบาท

ภาพรวมกองทุน Passive Investment พบว่าทั่วโลกมีการเติบโตตาม ESG อย่างก้าวกระโดดเช่นกัน โดยเฉพาะอเมริกาและยุโรป ขณะที่ กลยุทธ์การลงทุน ESG แบบ Active Investment ก่อนหน้านี้ทั่วโลกใช้ Negative Screening โดยวิธีคัดบริษัทที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลัก ESG ออกจากรายชื่อที่สามารถลงทุนได้ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์ ESG Integration แทน เป็นการรวมกลยุทธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนได้มากขึ้น

“การประเมิน ESG ของ KAsset จะให้น้ำหนักในแต่ละปัจจัยไม่เท่ากัน เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบในด้าน ESG ที่แตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มพลังงานจะมีผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่กลุ่มธนาคารอาจต้องให้ความสำคัญในด้านสังคมมากกว่าธุรกิจอื่น”

ทว่า ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Emerging Market อย่างประเทศไทย ประเด็นธรรมมาภิบาลนั้นก็สำคัญเช่นกัน เพราะถ้าบริษัทมีธรรมาภิบาลที่ดี ก็สามารถให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมในเชิงนโยบายที่ดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลของไทยมีมาก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยังค่อนข้างจำกัด

ธิดากล่าวในช่วงท้ายว่า การลงทุนในบริษัทที่มี ESG ต้องระวังประเด็นเรื่อง Green wash หรือการที่บริษัทที่มีการสร้างภาพลักษณ์ให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่าบริษัทมีความรับผิดชอบต่อ ESG แต่แท้จริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้น นักลงทุนต้องทำความเข้าใจ และติดตามว่าบริษัททำตามนโยบายหรือไม่ และมีการวัดผลอย่างไร

รัตน์วลี อธิบายมุมมอง
เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาความยั่งยืน

“หากจะบอกว่า ESG เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ชั้นยอดของทุกคน ด้านผู้บริโภค หากพิจารณาข้อมูล ESG พลังนี้จะส่งไปถึงผู้ประกอบการได้ ด้านนักลงทุน สามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุนได้อีกมิติ ขณะที่ผู้ประกอบการ ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการและสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้”

รัตน์วลี ขยายความต่อเนื่องถึงภาพรวมการพัฒนาความยั่งยืน มีเป้าหมายหลักอยู่ 2 ประการ คือ การส่งเสริมธุรกิจให้มีความยั่งยืน และการส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งกลไกที่เป็น 2 เครื่องมือสำคัญ ได้แก่ SET ESG Data & Disclosure และ Education

เครื่องมือแรก SET ESG Data & Disclosure ในรูปแบบ SET ESG Data Platform ข้อมูล ESG มีความสำคัญในการช่วยบริหารความเสี่ยง การบริหารนโยบายภาครัฐ การตัดสินใจลงทุน และการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจดียิ่งขึ้น จะช่วยตอบโจทย์การดำเนินงานของทุก Stakeholder

SET ESG Data Platform คือระบบการจัดการข้อมูล ESG ที่สำคัญ คือ

• SET ESG Metrics ข้อมูลตัวชี้วัดการดำเนินงานด้าน ESG ที่บริษัทจดทะเบียนรายงาน ทำให้เห็นประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความยั่งยืนของธุรกิจ และผู้ลงทุนสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ESG Structured Data จะทำให้นำข้อมูลในรูปแบบ Structured Data ไปใช้เปรียบเทียบและวิเคราะห์ต่อได้อย่างสะดวก

เครื่องมือที่สอง คือ Education กับโครงการ SET ESG Academy

โครงการ SET ESG Academy เตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียนด้านความยั่งยืน ทั้งการให้ความรู้ การสร้าง Junior ESG Professionals เพื่อยกระดับผู้ปฏิบัติงานด้าน ESG ให้ได้มาตรฐาน และจะผลักดันหลักสูตรนี้เข้าสู่มหาวิทยาลัยเพื่อผลิตบุคลากรรุ่นใหม่เข้าสู่แรงงานด้าน ESG ต่อไป

การสร้าง ESG Expert Pool รวมพลังผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG แบบพี่สอนน้อง ช่วยขับเคลื่อน ESG ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ตลาดทุน และประเทศ

สุดท้ายคือ การปลูกฝัง ESG DNA ส่งมอบความรู้ควบคู่การสร้างจิตสำนักการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนความยั่งยืนไปด้วยกัน

“การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าสู่ปีที่ 48 ในวันนี้ ทุกภาคส่วนล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างตลาดทุนมาด้วยกัน เป็นเหมือนการนำจิ๊กซอว์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจมารวมกัน การนำความยั่งยืนมาเป็นเรือธง ต้องทำจริง ทำทันที สื่อสาร และต้องทำร่วมกับพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนตลาดทุนไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน” รัตน์วลีกล่าว

ดร. ประสาร กล่าวในท้ายที่สุดว่า ตลาดทุนไทยเติบโตขึ้นมาก ทั้งในแง่การเป็นแหล่งเงินทุนและช่องทางการลงทุน ส่งเสริมความคล่องตัวให้กับภาคธุรกิจ ผ่านการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมสนับสนุนเรื่องความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย และเมื่อมองไปข้างหน้า เราน่าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

“ก้าวต่อไปของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เราพร้อมรับทั้งโอกาสและความท้าทายที่จะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้อง Rethink และ Redesign เพื่อปรับตัวและใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดที่จะพัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”

 

The post SET ก้าวสู่ปีที่ 48 ขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งอนาคต “ขับเคลื่อนความมั่งคั่งด้วยความยั่งยืนในแนวทาง ESG ที่เป็นทางรอดไม่ใช่ทางเลือก” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
กรุงศรี​ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ “วานช่วยวาฬ” https://www.sdperspectives.com/activities/15730/ Wed, 27 Apr 2022 15:05:41 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=15730 27 เมษายน 2565... ภายใต้โครงการ​ Care​ the​ Whale ที่สะท้อนวิกฤตปัญหาขยะและผลกระทบต่อทุกชีวิตรวมถึงสัตว์เลี้ยง​ลูกด้วยนมขนาดใหญ่​ที่สุดในโลก​จำนวนมากซึ่งเสียชีวิตจากการกลืนกินขยะที่ถูก​ปล่อยลงทะเล​

The post กรุงศรี​ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ “วานช่วยวาฬ” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
27 เมษายน 2565… ภายใต้โครงการ​ Care​ the​ Whale ที่สะท้อนวิกฤตปัญหาขยะและผลกระทบต่อทุกชีวิตรวมถึงสัตว์เลี้ยง​ลูกด้วยนมขนาดใหญ่​ที่สุดในโลก​จำนวนมากซึ่งเสียชีวิตจากการกลืนกินขยะที่ถูก​ปล่อยลงทะเล​

เซอิจิโระ​ อาคิตะ​ ​กรรมการผู้จัดการ​ใหญ่และประธาน​เจ้า​หน้าที่​บริหาร​ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา​ จำกัด​ (มหาชน)​ พร้อมผู้บริหารธนาคาร และ​ ดร.ภากร​ ปีตธวัชชัย​​ กรรมการ​และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์​แห่งประเทศไทย พร้อมผู้บริหาร​ เปิดตัวประติมากรรม​ “วาฬ” ต่อยอดโครงการ​ Care​ the​ Whale ที่สะท้อนวิกฤตผลกระทบรุนแรงจากปัญหาขยะอย่างเป็นรูปธรรม​

ผู้บริหารกรุงศรี และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมเปิดประติมากรรม​“วาฬ”

ประติมากรรม​“วาฬ” ผลงานของ เอ๋-วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ Social Activist Artist ที่ตั้ง​อยู่​ ณ​ อาคารกรุงศรี​ สำนักงาน​เพลิน​จิต​ สร้างจากวัสดุ​เหลือใช้​ 100% จำนวน​ทั้งสิ้น​ 987 กิโลกรัม​ ซึ่งทั้งหมดหากถูกฝังกลบจะเป็นขยะที่สามารถก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกปริมาณ​ 2,154 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์​เทียบเท่า

ทั้งนี้ การตายของวาฬหลากหลายสายพันธุ์​ทั่วทุกภูมิภาค​ของโลกเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งแห่งปัญหาที่เกิดจากขยะ​ ซึ่งขยะยังเป็นต้นเหตุ​สำคัญ​ที่เพิ่ม​ปริมาณ​ก๊าซเรือนกระจกที่กำลังทวีความรุนแรง​อย่างมากและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและสภาพภูมิอากาศ​เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ​สำคัญ​

กรุงศรี​ในฐานะสถาบัน​การเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ​ (Domestic​ Systemically​ Important​ Bank: D-SIB)​ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ​และให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่ครอบคลุม ESG มาตลอดระยะเวลา​เกือบ​ 8​ ทศวรรษของการดำเนินธุรกิจ​ กรุงศรี​มีความมุ่งมั่นร่วมแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม​อย่าง​ยั่งยืน​ รวมถึงการลดปริมาณขยะและบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี​ตั้งแต่ต้นทาง​จนถึง​ปลายทาง​ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก​ที่เกิดจากกระบวนการ​ดำเนินงานของธนาคารให้เหลือศูนย์​ (Net​ Zero)​

ในปี 2564​ กรุงศรีได้ประกาศวิสัยทัศน์​สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน​ (Carbon Neutrality)​ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญแห่งสำนึก​ “ธนาคารพาณิชย์​ที่มีจุดยืนเพื่อ​ความยั่งยืน” โดยกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​จากกระบวนการ​ดำเนินธุรกิจ​ของธนาคารให้เหลือศูนย์​ภายในปี​ 2573 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​จากการให้บริการทางการเงินทั้งหมดให้เหลือศูนย์​ภายในปี​ 2593

 

The post กรุงศรี​ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ “วานช่วยวาฬ” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
วัดจากแดง x สหพัฒน์ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนชุมชน “เก็บ แยก แลก จ้า” นำขยะมาแลกเป็นของ ใน Care the Whale @คุ้งบางกะเจ้า https://www.sdperspectives.com/circular-economy/13139/ Wed, 08 Sep 2021 17:15:53 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=13139 9 กันยายน 2564...Care the Whale ณ คุ้งบางกะเจ้า เป็นหนึ่งในโครงการลูกของ Care the Whale ที่มุ่งลดการสร้างขยะจากต้นทาง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและช่วยให้ระบบนิเวศของโลกไม่เสื่อมสลาย

The post วัดจากแดง x สหพัฒน์ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนชุมชน “เก็บ แยก แลก จ้า” นำขยะมาแลกเป็นของ ใน Care the Whale @คุ้งบางกะเจ้า appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
9 กันยายน 2564…Care the Whale ณ คุ้งบางกะเจ้า เป็นหนึ่งในโครงการลูกของ Care the Whale ที่มุ่งลดการสร้างขยะจากต้นทาง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและช่วยให้ระบบนิเวศของโลกไม่เสื่อมสลาย

ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการ Care the Whale “ขยะล่องหน” เป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนตามวิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” โดยได้ร่วมกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โดยปกติ Care the Whale จะมุ่งไปที่พื้นที่อาคาร สำนักงาน หรือศูนย์การค้า ซึ่งที่ผ่านมามีการทำในพื้นที่ รัชดา สุวรรณภูมิ พระราม 4 เป็นต้น แต่ครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง วัดจากแดง บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นำร่องทำโครงการที่คุ้งบางกะเจ้าซึ่งเป็นชุมชนใกล้วัดจากแดงและที่สำคัญเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะไหลลงอ่าวไทย ปัญหาหนึ่งที่พบในบริเวณนี้คือขยะที่ปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำและกำลังจะออกสู่ทะเล

“วันนี้เรามีพันธมิตรทั้งวัดจากแดง รวมถึงสหพัฒน์ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกแบบโครงการร่วมกันเพื่อทำให้ Whale ตัวนี้ไม่ต้องกินพลาสติก โดยคอนเซปต์ของโครงการก็คือ ขยะล่องหน ซึ่งใช้แนวคิดเดิมของการร่วมกันกำจัดขยะให้หายไปเพราะเราจะร่วมกันใช้ให้ถึงที่สุดเพื่อไม่ให้เหลือเป็นขยะที่ปนเปื้อนมาทำลายสิ่งแวดล้อม

อย่างที่ทราบดีว่าไทยมีปัญหาขยะและเราเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ปล่อยขยะลงแหล่งน้ำและออกสู่ทะเล ซึ่งเป็นอันตรายกับซึ่งแวดล้อม การบริหารจัดการขยะของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบให้ที่อื่น เพราะวัดจากแดงอยู่ติดกับพื้นที่ทางออกสู่บริเวณที่เรียกว่าคุ้งบางกะเจ้า บริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลออกสู่อ่าวไทยด้วย” นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขยายความโครงการ

การดำเนินงานจะทำโดยร่วมมือกับชุมชนบางกระเจ้าให้คนในพื้นที่เก็บขยะมาส่งให้ทางวัดจากแดงที่มีการบริหารจัดการของเหลือใช้เหล่านี้ แล้วนำมาแลกเป็นสิ่งของที่จำเป็นกับการอุปโภคบริโภค ซึ่งสนับสนุนโดยสหพัฒน์ ในส่วนของการประเมินผลทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีแพลตฟอร์มกลางที่สามารถเก็บบันทึกจำนวนขยะที่รับมาและนำไปรีไซเคิล รวมทั้งมีการคำนวนขยะที่เข้ามาเพื่อให้เห็นจำนวนขยะที่นำไปรีไซเคิลแล้ว และคำนวณการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อทำให้เห็นว่าการร่วมมือนี้มีผลที่เป็นรูปธรรม ลดโลกร้อนและช่วยสิ่งแวดล้อมได้จริง โดยโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน-ธันวาคม 2564

ส่วนของวัดจากแดงจะทำหน้าที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการคัดแยกและทำความสะอาดขยะ รวมทั้งเป็นตัวกลางในการแลกขยะจากชุมชนคุ้มบางกะเจ้า กับสินค้าอุปโภคบริโภคของทางสหพัฒน์ พระเมธีวชิรโสภณ (ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร) เจ้าอาวาสวัดจากแดง เล่าให้ฟังถึงการทำงานของทางวัดไว้อย่างน่าสนใจว่า

“จุดเริ่มต้นของการทำงานเกิดจากปัญหาคือขยะ เราจึงหาทางออกแบบบ้าน ๆ ด้วยการเผาขยะในวัดเพราะมีเตาเผาแต่ก็ยังคงมีปัญหาส่งกลิ่นเหม็น ดังนั้นเมื่อดูจากพระไตรปิฎกเห็นว่ามีวินัยปิฎกเขียนไว้ว่าหากพระไม่เก็บกวาดทำความสะอาดจะโดนปรับอาบัติทุกคน เป็นวินัยของพระ การเก็บกวาดสิ่งสกปรกจึงถือเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นที่หนึ่ง จึงนำคำสอนนั้นมาแก้ปัญหา ซึ่งแนวทางที่ใช้คือใช้แนวคิด ททท คือ ทำทันที โดยเริ่มทำที่วัด หลังจากนั้นจึงเชิญชวนรณรงค์นำเด็กเข้ามาอบรม และออกไปอบรมชุมชนในเรื่องของการคัดแยกขยะ สุดท้ายทำให้เราได้ปุ๋ย น้ำหมัก เอนไซม์ และของใช้หลายอย่าง ที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือปุ๋ยซึ่งมีหลายสิบตัน เราส่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาไปแล้วกว่า 40 ตัน ส่วนของพลาสติกเรานำไปทำผ้าไตรจีวร และทุกคนสนใจ ตอนนี้เราต่อยอดไปอีกระดับโดยการนำถุงพลาสติกที่ล้างสะอาด แยกประเภทแล้วมาผสมกับแกลบทำเป็นไม้กระดาน ฝาผนังที่อยู่ในอาคารศูนย์เรียนรู้และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวชุด PPE ที่ทำจากขวดน้ำพลาสติก เพื่อส่งไปถวายวัดที่สวดศพ สัปเหร่อที่เผาศพ คนเก็บขยะ”

พระเมธีวชิรโสภณ กล่าวต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นขยะถ้าเรามองแบบไม่มีปัญญาเราก็จะเห็นขยะเป็นขยะ แต่ถ้ามองแบบมีปัญญาก็จะเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นคือวัตถุดิบในการผลิตสิ่งของ ถ้ามีปัญญามากกว่านั้นก็มองว่าเห็นว่าใครนำสวรรค์วิมานมาทิ้งตรงนี้

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งองค์กรสำคัญที่เข้ามาช่วยสนับสนุนสินค้าอุปโภค บริโภคซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้คนที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้แลกไปใช้ ซึ่งถือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนเข้าร่วมโครงการ

“กว่า 80 ปีที่ทำงานมา เราคำนึงถึงสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม เรามีโครงการที่สหพัฒน์ทำเรื่องของสิ่งแวดล้อมมา 5 ปีต่อเนื่องอย่างสหพัฒน์ให้น้อง ซึ่งเป็นการให้ความรู้กับเยาวชนนักเรียน ให้รู้จักการแยกขยะแล้วนำไปรีไซเคิล แต่เราไม่มีการประเมินผล ซึ่งพอตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ามาเสนอแนวความคิดขยะล่องหน เราก็สนใจมากเพราะเป็นการใช้สิ่งของโดยเห็นคุณค่า ไม่ให้เหลือเป็นขยะ และนำไปรีไซเคิลอย่างที่วัดจากแดงทำ เช่น ชุด PPE ซึ่งเรามองว่าแค่ชุมชนบางกะเจ้าชุมชนเดียวมีขยะถึง 4 ตัน ถ้าเราทำให้หายไปได้ แล้วถ้าชุมชนอื่นทำแบบเดียวกันจะลดขยะได้เท่าไหร่ เมื่อคิดได้อย่างนี้เราก็อยากจะเข้ามาร่วมโครงการด้วย” ผาสุก รักษาวงศ์ รองประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้

นพเก้า เสริมความคาดหวังของโครงการนี้ว่า การจะทำเรื่องของ Waste Management หรือการจัดการสิ่งแวดล้อม หากจะทำให้สำเร็จต้องปรับวิธีคิดเพื่อให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้เขาเกิดความรู้สึกอยากดูแลสิ่งแวดล้อม

“การแยกขยะจะทำให้เราเห็นว่าแต่ก่อนเราทิ้งของมากขนาดไหน มุมมองของเราต่อขยะจะเปลี่ยนไป การมีสปอนเซอร์เข้ามาจะเป็นแรงจูงใจทำให้คนเคยชินและเริ่มมาเรียนรู้เรื่องของการคัดแยกขยะ เพื่อให้มีเส้นทางไปต่อ ซึ่งเราก็คาดหวังว่าต่อไปจะทำให้เกิดพฤติกรรมคุ้นชินและเปลี่ยนพฤติกรรมในการเก็บคัดแยกขยะมากขึ้น โครงการนี้จะเป็นตัวผลักดันทำให้ปริมาณขยะที่ถูกทิ้งสามารถนำมารีไซเคิลได้และจะทำให้ขยะในพื้นที่คุ้มบางกะเจ้าลดลง เรายังหวังว่าจะมีพื้นที่อื่น ๆ ที่อาจจะอยากทำโครงการแบบนี้ด้วยโมเดลที่เราทำกับบางกะเจ้าด้วยเช่นกัน”

ผาสุก มองว่าการทำโครงการนี้จุดมุ่งหมายแรกอาจจะมุ่งไปที่พื้นที่บางกะเจ้า แต่หากสามารถขยายต่อไปยังชุมชนหรือพื้นที่อื่นได้ก็จะช่วยลดขยะได้มากขึ้น

“นอกจากการลดขยะ การทำโครงการนี้ในช่วงโควิด-19 จะช่วยให้คนลดภาระค่าครองชีพของเขาได้ เราคาดหวังว่า ถ้าเขาเก็บแยกขยะจนเคยชินจะทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อรีไซเคิลได้จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สิ่งของที่เราไม่ใช้แล้วเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับชุมชน สุดท้ายเราต้องการให้โครงการนี้ต่อยอดไปได้หลายชุมชน นอกจากเราอาจจะมีบริษัทอื่น ๆ เข้ามาร่วมเพื่อให้ขยะล่องหนไปให้หมด นี่คือสิ่งที่เราต้องการเห็นอย่างสุดสูง”

พระเมธีวชิรโสภณ กล่าวถึงบทเรียน ที่ทำให้การจัดการเรื่องขยะของวัดจากแดงประสบความสำเร็จจนกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลาย ๆ คนเดินตามเส้นทางเปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งของว่า

“จริง ๆ แล้ว ความทุกข์จากปัญหาขยะเป็นแรงผลักดันส่วนหนึ่ง ถ้าเราบ่นแต่ไม่ทำก็ไม่หมด เราจึงลองลงมาทำดูพอช่วยลดปัญหาเราก็บอกต่อคนอื่น เชิญชวนให้เขามาทำ เห็นเป็นรูปธรรมไปทีละอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างต้องทำต่อเนื่องประมาณ 2 ปี เช่น โฟม หลายคนมองว่าไม่รู้จะจัดการอย่างไร เราจึงทดลองทำดูโดยนำโฟมผสมทินเนอร์ก็ได้เป็นกาวยาง นำโฟมมาบดผสมซีเมนต์ทำเป็นกระถางต้นไม้ ตอนนี้กำลังลองเอาโฟมมาผสมซีเมนต์เพื่อทำอิฐตัวหนอน จากโฟมอย่างเดียวสามารถทำกาว อิฐตัวหนอน กล่องใส่ดินสอ ทำกระถางปลูกต้นไม้ ทำหินเทียมจากโฟม เรื่องโฟมอย่างเดียวเราใช้เวลาทดลองจนได้ผล พอเห็นผลเราก็เชิญชวนทำต่อ”

พระเมธีวชิรโสภณ อธิบายต่อเนื่อง เมื่อเห็นเป็นรูปธรรมคนก็อยากจะทำตาม เมื่อวัดนับ 1 ให้ ญาติโยมนับ 2 ต่อไปก็มีองค์กรมาช่วยนับ 3 นับ 4 เรื่องขยะล่องหนก็เหมือนกันทางวัดนับ 1 แล้ว มีตลาดหลักทรัพย์ฯ สหพัฒน์ เข้ามานับ 2-3 ต่อไป ก็จะขยายชุมชนออกไปได้และขยะก็จะล่องหนไปอย่างแน่นอน

นพเก้า กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานีขยะล่องหน @ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ตั้งเป้าจะมีปริมาณขยะถูกนำมาเข้าโครงการ และนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณขยะในคุ้งบางกระเจ้า ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4,000 กิโลกรัมต่อเดือน นอกจากนี้ การดำเนินงานของ สถานีขยะล่องหน @ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ยังเป็นการสร้างกลไกลดค่าครองชีพช่วยเหลือชุมชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย

นับเป็นการสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ที่มีความทันสมัย ด้วยการเก็บ คัดแยกขยะ เพื่อขยะล่องหนในเวลาอนาคตอันใกล้

 

The post วัดจากแดง x สหพัฒน์ x ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนชุมชน “เก็บ แยก แลก จ้า” นำขยะมาแลกเป็นของ ใน Care the Whale @คุ้งบางกะเจ้า appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ทำให้ขยะไม่ใช่ขยะ @ Climate Care Forum #1 https://www.sdperspectives.com/activities/set-climate-care-forum/ Thu, 11 Feb 2021 11:47:36 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=10734 11 กุมภาพันธ์ 2564...ชมฟรี! SD Perspectives ชวนติดตามการเดินหน้าการลงมือทำสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้กับลูกหลาน อีกทั้งให้ธุรกิจยั่งยืนในโอกาส1 ปี Care the Whale @รัชดา

The post ทำให้ขยะไม่ใช่ขยะ @ Climate Care Forum #1 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
11 กุมภาพันธ์ 2564…ชมและฟังฟรี! SD Perspectives ชวนติดตามการเดินหน้าการลงมือทำสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้กับลูกหลาน อีกทั้งให้ธุรกิจยั่งยืนในโอกาสครบรอบ 1 ปี โครงการ Care the Whale @รัชดา

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเวทีเสวนา Climate Care Forum #1 : Survive Climate Tipping Point ในโอกาสครบรอบ 1 ปีโครงการ Care the Whale @รัชดา ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น.

-อัพเดทความใกล้ตัว ปรากฎการณ์โลกร้อน และนโยบายจัดการปัญหา กับ หน่วยงานกำกับ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ระดับประเทศ
-ฟังแนวทางวิธี ทำให้ขยะไม่ใช่ขยะ ด้วยนวัตกรรม ทางออกของ ขยะอาหาร – Food Waste ขยะแฟชั่น – Fashion Waste และปัญหาโลกร้อนจากการใช้พลังงาน
-อัพเดทกฎหมาย Climate Change คนไทยเตรียมพร้อมลดโลกร้อนกันอย่างไร
-ถอดบทเรียนกระบวนการ การจัดการขยะระดับชุมชน ที่เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น
-ทุกองค์กรร่วมลดโลกร้อนด้วย Green Procurement อย่างไร

ชมผ่าน Facebook Live: SET Thailand, SET Social Impact, Care the Whale

ปักหมุด แจ้งเตือน กดไลค์ กดแชร์
https://www.facebook.com/events/863647554460322/

ลงทะเบียนชมและฟังเสวนา
http://bit.ly/3p5VFuE

กำหนดการ

13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียนสื่อมวลชนบริเวณหน้าอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ

13.30 – 13.40 น. รับชม VTR ประมวลภาพโครงการ Care the Whale

13.40 – 13.45 น. กล่าวต้อนรับโดย ดร.ภากร ปีตธวัชชัย  กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

13.45 – 14.00 น. กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “Survive Climate Tipping Point”  โดย วราวุธ ศิลปอาชา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

14.00 – 16.00 น. เสวนา “ขยะล่องหน : ถอดบทเรียน สู้โลกร้อน”

โดย พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร  เจ้าอาวาสวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  กรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ดร.ไชยยศ บุญญากิจ  รองประธานเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย

สมศักดิ์ บริสุทธนะกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)

ดร.สุทัศน์ รงรอง  ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดูอินไทย จำกัด

จิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด และผู้ก่อตั้ง บริษัท วิถี ไทย กรุ๊ป จำกัด

วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์  ศิลปินที่ใช้ศิลปะเพื่อกระตุ้นเรื่องสิ่งแวดล้อม

นพเก้า สุจริตกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้ดำเนินรายการ  นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ (เคน) The Standard

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

 

The post ทำให้ขยะไม่ใช่ขยะ @ Climate Care Forum #1 appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
ESG & Sustainability อีก 1 ความท้าทายสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.sdperspectives.com/next-gen/set-esg-sustainability-policy/ Sun, 24 Jan 2021 20:00:02 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=10518 25 มกราคม 2564...ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยกลยุทธ์ระยะ 3 ปี เรื่อง 1 จะเดินหน้าการปลูกฝังการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เสริมสร้างพลังทางสังคม

The post ESG & Sustainability อีก 1 ความท้าทายสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
25 มกราคม 2564…ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2564-2566) เรื่อง 1 จะเดินหน้าการปลูกฝังการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Cultivation) การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment)

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ และดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึง กรอบการพัฒนาในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตของประเทศอย่างมีสมดุลทั้งธุรกิจและสังคม (Balanced Growth) รองรับสภาพแวดล้อมของตลาดทุน เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน

คลิกภาพเพื่อขยาย

จากกรอบการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 4 ด้าน ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์หลักดังกล่าวข้างต้น เมื่อเข้ามาถึง หัวข้อที่ 3 การขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อม (Environmental Solutions & Social Development) ดร.ภากรกล่าวถึงความสำคัญส่วนนี้ว่า กระแสการลงทุนแบบ ESG มาแรงมาก

คลิกภาพเพื่อขยาย

“เรื่อง ESG เราจะเน้นเรื่องนี้ตามความเหมาะสม มีความหมาย ในแต่ละบริษัทแต่ละขนาด ซึ่งในอุตสาหกรรมจะมี ESG Sustainability ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเหมะสมว่าเขาเหมาะสมที่จะต้องทำอะไรบ้าง และสิ่งที่เขาทำจะต้องเป็นสิ่งที่มีความหมาย โดยจะต้องทำให้บจ.สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้ กับนักลงทุน หรือกับคนที่หาข้อมูลดังกล่าวนี้ ไปประเมินต่อได้คือการทำข้อมูลที่เครื่องอ่านได้ อยู่ใน Financial Statement ,Anual Report สามารถไปใช้ทำต่อได้”

ดร.ภากรกล่าวต่อไปว่า การส่งเสริมให้นักลงทุนใช้ข้อมูลดังกล่าวนำไปใช้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ตลท.ทำงานร่วมกับ DJSI,MSCI หรือผู้ประเมินเกี่ยวกับ ESG มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการใช้ข้อมูลที่เป็น Public Information

คลิกภาพเพื่อขยาย

ดร.กฤษฎาขยายข้อมูลต่อเนื่อง จากการที่ตลท.เริ่มดำเนินการเรื่องนี้มานานบจ.ทำเรื่องนี้ได้ดีซึ่งปัจจุบันติด 1ใน10 ของโลก เพราะฉะนั้นให้แน่ใจว่า เรดาร์การลงทุนในพอร์ตโฟลิโอ นักลงทุนทั่วโลกจะเห็นหุ้นยั่งยืนไทยดีพอสมควร ทั้งบจ.ขนาดใหญ่ และมีบจ.3 ดาว 600 บริษัทถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก แต่เรายังมีประสิทธิภาพต่อยอดได้อีกเพราะเรามีพื้นฐานค่อนข้างดี จาก 700 บจ.ทั้งหมดในตลท.

“เรามีบริษัทที่เป็นหุ้นยั่งยืน 124 บจ.เราทำอินเด็กซ์ความยั่งยืนได้ถึง 58 บจ.อันนี้สำคัญตรงที่การลงทุนของนักลงทุนที่ใช้การลงทุนที่เรียกว่า Actives Strategy จะค้นหาหุ้นได้ด้วยตัวเองในพอร์ตมี 124 บจ. ส่วนนักลงทุน Passive Strategy คือแพคหุ้นตามดัชนี เขาสามารถลงทุนตาม 58 บจ.ได้เลย ตอนนี้แสดงให้เห็นว่า เรื่องการลงทุนเมื่อเรามีหุ้นยั่งยืนมากขึ้น เราสามารถขยายผลิตภัณฑ์ ESG ให้ได้มากอีกทั้งด้าน Equity ,Bond โดยอยู่ภายใต้การรายงานที่เป็น One Report ที่ร่วมมือทำกับก.ล.ต. ยกระดับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อม สังคม คลี่ออกมาให้นักลงทุนเห็นมากขึ้นเช่น การใช้น้ำ ไฟ หรือสิ่งแวดล้อมสังคมอื่น ๆ รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการยกระดับครั้งสำคัญของ ESG ของเรา และนักลงทุนทั่วโลกเข้าถึงได้”

ดังได้กล่าวแล้วว่า นับจากนี้ต่อไป นักลงทุนทั่วโลกจะขอดูสิ่งที่เป็น “รูปธรรม” ว่าทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร เมื่อบจ.นั้น ๆ บอกว่าได้ทำเรื่อง ESG ตลท.เปิด 3 แพลตฟอร์มให้บจ.เข้ามาร่วมดูแลภายในบ้านของตัวเองในฐานะผู้ใช้คือ Care the Bear ร่วมดูแลชุมชนรอบข้างผ่าน Care the Whale และร่วมดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับพันธมิตรผ่าน Care the Wild

คลิกภาพเพื่อขยาย

ดร.ภากรขยายความเพิ่มเติมว่า อีกเรื่องหนึ่งที่ตลท.ให้ความสำคัญกับเรื่องมากคือ Social Enterprise หรือ SE โดยตลท.ทำแพลตฟอร์มให้บจ.นักลงทุนต่าง ๆ และ SE มาพบกัน เมื่อทั้งสองมาพบกันจะได้ประโยชน์ทั้งระบบ ไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะ SE เท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงให้ บจ. SE และชุมชน มาพบกัน

มาถึงอีกงานด้านหนึ่งที่ตลท.จะเดินหน้าอย่างเข้มข้นให้กับประชาชนทุกกลุ่มคือเรื่อง Financial Literacy ดร.ภากรอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า

“เรามีของความรู้ต่าง ๆ ที่เราสะสมค่อนข้างมาก เราจะใช้ออนไลน์ก็เผยแพร่ได้ ออฟไลน์จุดเด่นของเราคือการสร้างเทรนเนอร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ ช่วยในการกระจายความ โดยเราต้องแบ่งให้เหมาะสมทั้งแรงงานในและนอกระบบในการเข้าถึงความรู้ที่อาจจะแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความแตกต่างของตลาดหลักทรัพย์ฯ”

เพราะฉะนั้นในปี 2564 หลังโควิด คนไทยได้ศึกษาเรื่องนี้จะได้ตั้งต้นดูแลตัวเองด้านการเงินการลงทุนได้ดีมากขึ้น โดยมีเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้

1.Happy Money @ Workplace เป็นสิ่งที่ตลท.ทำมาตลอดคือว่า รองรับแรงงานในระบบซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนต้องเก็บออม คุมค่าใช้จ่าย ต้องปลดหนี้ พร้อมที่จะมาลงทุน เพื่อสะสมให้เกิดความมั่นคงทางการเงินต่อไป อันนี้เราจะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนในการนำความรู้นี้ออกสู่สมาชิกของเขา

2.Happy Money @ Village จะเป็นปีแรก ๆ ที่ตลท.จะบุกออกไปในภูมิภาค จะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความรู้ด้านการบริหารเงินทั้งการเงิน และการลงทุน

“ทั้ง 2 เรื่องข้างต้น เราต้องอาศัยเทรนเนอร์ เราเตรียมที่จะสร้างเทรนเนอร์ไม่ต่ำกว่า 3,000 คนในการที่จช่วยเรา และเราก็หวังว่าหลังโควิด-19 จะสามารถออกไปเจอในแบบออฟไลน์ได้ แต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะเรียบนรู้แบบออนไลนืได้ สามารถตอบสนองตรงนี้ได้เลย”

ดร.กฤษฎาขยายความต่อเนื่องมาสู่ส่วนของเยาวชนที่ทำมานานจากโครงการเพชรยอดมงกุฎที่แข่งขัน เราเก็บความรู้ทางด้านการเงินการลงทุนอย่างลึก เพราะฉะนั้นปี 2564 ตลท.จะทำเป็นแบบ National Test เป็นการประเมินความรู้เยาวชน เพื่อจะได้ดูว่าจุดอ่อนอยู่ที่ใดบ้าง

คลิกภาพเพื่อขยาย

มาถึงบรรทัดนี้ แม้ในภาวะโควิด-19 เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลง หลายบจ.มีผลประกอบการทั้งยอดขาย และกำไรอาจจะลดลงบ้าง แต่บจ.เข้าใจเรื่อง ESG มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพราะจากเดิมเป็นเรื่องไกลตัว ต้องทำเรื่องธุรกิจก่อนค่อยไปทำเรื่องสิ่งแวดล้อม

วิธีการสื่อสารของตลท.จะแนะนำว่า ทุกบริษัทมี Value Chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ดูแลให้กระบวนการทำธุรกิจมีประสิทธิภาพ ซึ่งประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ สิ่งนี้เป็นกระบวนการข้างใน ESG ไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการข้างนอกอย่างเดียวเป็นเรื่องกระบวนการข้างในด้วย การนำ Value Chain มาจับ แล้วทุก ๆ ขั้นตอนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำมีผู้มีส่วนได้เสียทั้งใกล้และไกลที่จะต้องดูแล เพราะฉะนั้นการที่บริษัททำธุรกิจอยู่รอดต้องคำนึงถึงเรื่อง ESG & Sutainability ด้วย

 

The post ESG & Sustainability อีก 1 ความท้าทายสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>