Search Results for “SCGC GREEN POLYMER ” – SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY https://www.sdperspectives.com Sustainability Tue, 19 Mar 2024 13:23:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=4.9.8 HomePro x SCGC เปิดตลาด “เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่จากการรีไซเคิล” https://www.sdperspectives.com/circular-economy/23528-homepro-x-scgc/ Sat, 02 Mar 2024 11:53:21 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=23528 2-3 มีนาคม 2567…นับเป็นมิติใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สามารถรีไซเคิลพลาสติกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ โดยยังคงคุณสมบัติเช่นเดิม

The post HomePro x SCGC เปิดตลาด “เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่จากการรีไซเคิล” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>

2-3 มีนาคม 2567… นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ขับเคลื่อนการรีไซเคิลระบบ Closed-Loop หรือ “First Retailer Making Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) for Closed-Loop Circular Appliances Collaboration with SCGC”

การจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลระบบปิดอย่างครบวงจร เปลี่ยนเป็น Green Polymer เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่มีมูลค่า ส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมผสานความเชี่ยวชาญกับพันธมิตรด้วยการนำพลาสติกรีไซเคิลจากโครงการ “แลกเก่าเพื่อโลกใหม่” (Trade In) มาพัฒนาเป็นสินค้ารักษ์โลก (Circular Product) สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตอบสนองวัตถุประสงค์ Make Every Change for Better Life

วีรพันธ์ อังสุมาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ โฮมโปร และธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGCเปิดเผยถึงที่มาของการทำ MoU ครั้งนี้

ผู้บริหารจาก HomePro และ SCGC

การลงนามความร่วมมือนี้ ไม่เพียงตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของทั้งสองบริษัท แต่ยังยกระดับจากแนวคิดสู่การลงมือปฏิบัติจริง ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า พัดลม โดยโฮมโปรจะเป็นผู้จัดหา-คัดแยกประเภทพลาสติกใช้แล้วจากโครงการ “แลกเก่าเพื่อโลกใหม่” (Trade In) ให้แก่ SCGC เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลผลิตเป็น Green Polymer คุณภาพสูง ไปผลิตเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำ ผลิตเป็นสินค้ารักษ์โลก (Circular Product) ต่อไป ซึ่งพร้อมจำหน่ายช่องทางหน้าร้านและออนไลน์ ตั้งแต่ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2567 นี้ เป็นต้นไป

นับเป็นมิติใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สามารถรีไซเคิลพลาสติกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ โดยยังคงคุณสมบัติเช่นเดิมด้วยนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์  SCGC GREEN POLYMERTM ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก GRS (Global Recycled Standard)

เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่จากการรีไซเคิล

“ด้วยระบบ Closed-Loop ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เปลี่ยนผ่านวัตถุดิบที่ไม่ทำให้เกิดของเสีย และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถต่อยอดเปลี่ยนของเหลือใช้ให้กลายเป็นสินค้าใหม่ที่มีมูลค่า ที่สำคัญคือ โฮมโปร และ เอสซีจีซี ได้ผสานความเชี่ยวชาญแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนกระบวนการที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรชั้นนำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน”

ความร่วมมือที่เกิดขึ้น ตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจและเจ้าของแบรนด์สินค้าที่มีแนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างคุณค่าใหม่ให้กับพลาสติกใช้แล้ว และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายประเทศไทยที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

 

The post HomePro x SCGC เปิดตลาด “เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่จากการรีไซเคิล” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SCGC กับปีแห่งการรุกคืบนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ สานภารกิจ “The Green Solutions Leader” https://www.sdperspectives.com/next-gen/22685-scgc-the-green-solutions-leader-2023/ Tue, 19 Dec 2023 15:53:15 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22685 20 ธันวาคม 2566...เพราะนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกจะต้องเดินคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวใจที่ SCGC ยึดมั่นในการทำธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะเป็น “The Green Solutions Leader”

The post SCGC กับปีแห่งการรุกคืบนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ สานภารกิจ “The Green Solutions Leader” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>

20 ธันวาคม 2566…เพราะนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโลกจะต้องเดินคู่ไปกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวใจที่ SCGC ยึดมั่นในการทำธุรกิจ โดยมุ่งมั่นที่จะเป็น “The Green Solutions Leader” ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค และผู้นำธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน

ในรอบปี 2566 นี้เราจึงเห็นการคิดค้นนวัตกรรมด้วยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation) ควบคู่ไปกับสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added) ของ SCGC ตลอดปีแบบไม่หยุดพัก เพื่อพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเป็นมิตรกับลูกค้าและผู้บริโภคพลาสติกที่ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

เริ่มจาก นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการเกิดของเสีย (Low Carbon, Low Waste) ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และโลกยั่งยืน โดยมีโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมครอบคลุม 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่

1.การลดใช้ทรัพยากร (Reduce) โดยพัฒนา SMX™ เทคโนโลยีที่สามารถทำให้เม็ดพลาสติกมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความหนาของชิ้นงานลงได้แต่ยังมีความแข็งแรงดังเดิม

2.การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (Recyclable) สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกประเภท PE PP หรือ PO เพียงอย่างเดียวทั้งชิ้นงานได้ และคิดค้นสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ รับรองมาตรฐานสากล เป็นรายแรกในอาเซียน โดย RecyClass ช่วยทดแทนการใช้วัสดุที่หลากหลายในแต่ละชั้น (Multi-Material) ของบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน ทำให้รีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: PCR) จากกระบวนการ Mechanical Recycling สามารถใช้ทดแทนเม็ดพลาสติกใหม่ได้ตั้งแต่ 25–100% รวมถึงเม็ดพลาสติก Certified Circular Polyolefin Resin จากกระบวนการ Advanced Recycling เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วที่ยากต่อการรีไซเคิล มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของโรงงานปิโตรเคมี สามารถนำมาผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ได้อีกครั้ง โดยมีคุณสมบัติและคุณภาพเทียบเท่ากับเม็ดพลาสติกใหม่

4.การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable) เป็นการพัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Compostable Compound Resin) พร้อมให้นำไปขึ้นรูป ผลิตเป็นถุงย่อยสลายได้ นอกจากนี้ SCGC ยังได้ร่วมมือกับ Braskem เพื่อศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio-Based Polyethylene) จากผลผลิตทางการเกษตรซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอีกด้วย

มากกว่านั้น SCGC ยังใช้กลยุทธ์ Global Collaboration ร่วมกับบริษัท/ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก เร่งสปีดในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามทิศทาง Low Waste, Low Carbon เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน สะท้อนการดำเนินธุรกิจด้วย ESG (Environmental, Social and Governance) อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ

ซื้อกิจการ Kras ผู้นำด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อบูรณาการห่วงโซ่ธุรกิจการรีไซเคิลแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดเก็บพลาสติกเหลือใช้ การรีไซเคิล การแปรรูป และการเข้าถึงลูกค้าแบรนด์ต่าง ๆ ของยุโรป และเสริมความแข็งแกร่งให้กับสินค้าในกลุ่ม Green Polymer ของ SCGC ซึ่งประกอบไปด้วยโซลูชัน 4 ด้านดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

จับมือ SACMI พัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมรักษ์โลก เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ผลิตฝาและเจ้าของแบรนด์เครื่องดื่ม เพื่อตอบรับเมกะเทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก โดยนำนวัตกรรมเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER™) ที่มีความแข็งแรงและเหนียวเป็นพิเศษมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ฝาขวดและวงแหวนสามารถยึดติดกัน  เมื่อผู้บริโภคเปิดฝาขวดเพื่อใช้งาน วงแหวนบริเวณรอบฝาจะยึดติดกับคอขวด ไม่หลุดออกจากตัวขวดเหมือนแบบเดิม จึงช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม  นอกจากนี้ยังสามารถนำฝาขวดทั้งชิ้นกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย เกิดการหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ร่วมกับ Avantium พัฒนาพอลิเมอร์ PLGA หรือ พอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ (carbon-negative plastic)ด้วยวิธีการนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นสารตั้งต้น รวมทั้งไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกระบวนการผลิต

SCGC จับมือ IHI ผู้ผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ศึกษาและสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) เพื่อทดสอบเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Capture and Utilization (CCU) เพื่อเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์เบา

ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล นำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป

ขยายกำลังการผลิต ร่วมกับ Sirplaste ประเทศโปรตุเกส พร้อมลงทุนด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรใหม่ เพื่อขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงชนิดไร้กลิ่น (High Quality Odorless HDPE PCR Resin) ตอบรับเมกะเทรนด์ และรองรับตลาดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกในยุโรปที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว

กล่าวได้ว่าตลอดปี 2566 SCGC เคลื่อนไหวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์อย่างต่อเนื่องในปีนี้  เชื่อว่าปี 2567  SCGC ก็ยังคงเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมสอดรับความต้องการโลกในปีหน้าทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภูมิภาคไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำต่อไป

The post SCGC กับปีแห่งการรุกคืบนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ สานภารกิจ “The Green Solutions Leader” appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน https://www.sdperspectives.com/circular-economy/22522-epr/ Thu, 30 Nov 2023 05:16:11 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22522 30 พฤศจิกายน 2566...ขณะนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีการออกกฎหมาย EPR ขึ้นมาแล้ว แต่ประเทศไทยยังอยู่แค่ขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน

The post พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
30 พฤศจิกายน 2566…หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต พูดง่ายๆว่า “ใครเป็นผู้ผลิต คนนั้นต้องเป็นคนรับผิดชอบ” ไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นการรับคืน การรีไซเคิลและการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเริ่มให้เห็นภาพของวิกฤติขยะในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยสร้างขยะประมาณ 27 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ารถยนต์ 27 ล้านคัน โดยมีการผลิตขยะ เฉลี่ย 1.14 กก./คน/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ย ของกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาที่มีระดับรายได้ใกล้เคียงกัน (Lower Middle Income) 0.79 กก./คน/วัน

ขอเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันขบคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคร่วมรับผิดชอบต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

ก่อนเริ่มพูดคุยเรื่อง EPR ดร.สุจิตรา ได้สำรวจผู้ฟัง

“ตอนนี้เริ่มมีการออกข้อบังคับใช้ให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจะต้องมีการผสมพลาสติกรีไซเคิลไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้มองว่าเป็นทางรอดของธุรกิจเพราะหากไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถส่งออกไปได้ ซึ่งหลายประเทศเริ่มมีการบังคับใช้เรื่องนี้ โดยเรื่องของ EPR จะมีการระบุให้บังคับใช้ด้วยเช่นกัน”

ดร.สุจิตราอธิบายต่อเนื่องว่าวิธีการแก้ไขเรื่องขยะไม่ใช่เรื่องที่มาแก้ที่ปลายทาง การจัดการอย่างยั่งยืนต้องเริ่มแก้ที่วิถีการผลิตและการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาในเมืองไทยอาจจะยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ปัญหาขยะไม่ได้แก้เมื่อมันกลายเป็นขยะแล้วแต่ต้องแก้ก่อนที่จะเป็นขยะ แก้ที่ต้นทางของการผลิตสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ

“ตอนนี้ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องของการแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลมากขึ้น แต่ปัญหาคือหากผู้ผลิตเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการรีไซเคิล ผู้บริโภคก็ไม่สามารถแยกเป็นขยะรีไซเคิลได้ สุดท้ายก็ต้องไปจบที่บ่อขยะ ซึ่งในเมืองไทยมีบ่อขยะ 2000 กว่าแห่ง แต่มีการจัดการอย่างถูกต้องไม่ถึง 25%”

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์หากไม่มีการใส่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาจะกลายเป็นขยะ ก็อาจจะมีการผลิตออกมาอย่างเกินพอดี ดังนั้นขยะควรเป็นความร่วมผิดชอบของ “ผู้ก่อให้เกิดขยะ ” ตามหลัก Polluter Pay Principle(PPP) เพราะขยะมิใช่ภาระของ อปท. รัฐต้องแก้ปัญหาความล้มเหลวงของตลาดที่ไม่ได้คิดรวมต้นทุนสิ่งแวดล้อมด้วยกลไก EPR,ภาษี /ค่าธรรมเนียมเข้ากองทุน ฯลฯ

นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ภายใต้แบรนด์ 
เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC Green PolymerTM)

แล้ว EPR คืออะไร คำตอบคือ หลักการทางนโยบายที่ทั่วโลกนำมาใช้เป็นฐานในการออกกฎหมายหรือมาตรการที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบสินค้าที่ตนผลิตตลอดวงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ โดยกฎหมายฉบับแรกที่นำหลักการ EPR มาปรับใช้คือกฎหมายจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ของเยอรมนีในปีค.ศ. 1991 โดยจากผลสำเร็จที่กฎหมายช่วยลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่ต้องส่งไปกำจัด เพิ่มอัตราการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ทำให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มนำหลักการ EPR มาเป็นฐานในการออกกฎหมายเพื่อจัดการขยะที่ท้องถิ่นจัดการได้ยาก เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์สิ้นสภาพ ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ เป็นต้น

ตอนนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีการออกกฎหมาย EPR ขึ้นมาแล้ว เพราะประเทศเหล่านี้ก็ถูกมองว่าเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่แหล่งน้ำเช่นเดียวกัน แต่ประเทศไทยยังอยู่แค่ขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรมาช้าก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลย เพราะประเทศเราก็มีศักยภาพและความเข้มแข็งในเชิงอุตสาหกรรมรีไซเคิลมากกว่าประเทศเหล่านั้น

ในแง่ของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีกฎหมาย EPR บังคับใช้ในอนาคตการจัด คือ การขยะบรรจุภัณฑ์ ราคาวัสดุรีไซเคิลจะผันผวนน้อยลงหรือมีการพยุงราคา ส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดมีความโปร่งใสในระบบ , ยกระดับคุณภาพชีวิตซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ประชาชนส่งคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วได้สะดวก อปท . เก็บแยก , จุด drop-off ตามห้าง , ร้านสะดวกซื้อ , ปั๊ม มีโปรโมชั่นนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาแลกของใหม่ประชาชนมีความตระหนักและแยกขยะมากขึ้น

ปัจจุบันมีโครงการนำร่องและกฎหมาย EPR ในไทยและเพื่อนบ้าน เช่น โครงการ PRO Thailand Network ขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนภายใต้หลักการ EPR เป็นการรวมตัว บริษัทพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมาย EPR เพื่อจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และขยะพลาสติก ,e-waste และซากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปแล้วเช่นกัน

ส่วนของประเทศไทยได้ร่างพรบ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน และกรมควบคุมมลพิษได้กำหนดแผนงานจัดทำร่างกฎหมาย CE/EPR บรรจุภัณฑ์ตั้งเป้าประกาศใช้ภายในปี 2569 และร่างกม.ส่งเสริม CE ภายในปี 2570

ธนูพล อมรพิพิธกุล นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน ยังร่วมให้ข้อมูลในหัวข้อ “เม็ดพลาสติก PCR InnoEco กับบทบาทสนับสนุน EPR และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ InnoEco ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือน ด้วยเทคโนโลยีการรีไซเคิลมาตรฐานยุโรป เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) คุณภาพสูง มีคุณสมบัติเทียบเคียงเม็ดพลาสติกใหม่

โดยเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (อย.) เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยสามารถใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์ทุกขนาด ทุกความหนา ส่วนเม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด PET (PCR PET) เกรดสัมผัสอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลทั้งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) รวมถึงหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม เม็ดพลาสติก PCR 100% ชนิด HDPE (PCR HDPE) เกรดบรรจุภัณฑ์ และมีเทคโนโลยีขั้นสูงในการกำจัดกลิ่น สามารถนำไปขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล เช่น ขวดแชมพู ขวดสบู่ แกลลอนน้ำมัน

กระบวนการและเทคโนโลยีการรีไซเคิลประสิทธิภาพสูงครบวงจรภายในโรงงานเอ็นวิคโค เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกวัตถุดิบ บด ล้างทำความสะอาด กำจัดสารเจือปน ปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการตรวจสอบ ทุกขั้นตอนได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้เรามั่นใจว่าเม็ดพลาสติกรีไซเคิลของเราสามารถผลิตเป็นขวด rPET 100% ที่ได้ตามมาตรฐานของ อย. ทุกประการ สะอาดและปลอดภัย มุ่งหวังให้การใช้ขวด rPET 100% ในประเทศไทยเป็นที่นิยมมากขึ้น ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

วัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทย โดยทาง GC ร่วมกับ ENVICCO สร้างศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลในหลายจังหวัด ตอบสนองการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการขยะของชุมชนให้ครบวงจร ในระยอง นครปฐม และจังหวัดอื่นๆ โดยนำ ‘GC YOUเทิร์น’ แพลตฟอร์มเข้ามาช่วยจัดการ ตั้งแต่วิธีการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง เพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ENVICCO ไปทำการคัดแยกและทำความสะอาด ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก จนกลายเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ตลอดจนการติดตั้งระบบการสอบทาน(traceability)อันทันสมัย ทำให้สามารถสอบกลับที่มาของพลาสติกใช้แล้วได้ 100%

ปัจจุบันในยุโรปหรือในสหรัฐฯ เมื่อมีสัดส่วนการใช้รีไซเคิลอย่างแพร่หลายในสัดส่วนที่มากเกือบเท่ากับเม็ดพลาสติกใหม่ สีขวดจะมีสีเข้ม ในระหว่างนี้ ตลาดเมืองไทยพึ่งเริ่มมีการใช้งาน ทางผู้ผลิตตรสินค้า Brand owner ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริโภคตั้งแต่ต้น

“ปัจจุบัน มีหลายประเทศที่มีกฎหมายให้บรรจุภัณฑ์จะต้องมีพลาสติกรีไซเคิลอยู่ด้วย ทำให้เราเห็นว่าหลายแบรนด์เริ่มใส่พลาสติกรีไซเคิลลงไปในบรรจุภัณฑ์ของตัวเองแล้วแต่ความยากง่ายของบรรจุภัณฑ์นั้นซึ่งแบ่งเป็น Food และ Non Food ขั้นต่ำอยู่ที่ 10-20% ตามกฎหมายต้องการ ซึ่งแล้วแต่ความสามารถของผู้ผลิตว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน กฎหมาย EPR จะทำให้โรงงานรีไซเคิลมาลงทุนมากขึ้น หรือขยายการลงทุนเพื่อรองรับบรรจุภัณฑ์หลายประเภทมากขึ้นเนื่องจากสามารถ Secure feedstock ได้” ดร.สุจิตรา กล่าวปิดท้าย

ที่มาภาพเปิดเรื่อง

The post พ.ร.บ. EPR เร่งผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ทุกขนาดต้องปรับเปลี่ยน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SCGC x Global House เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก https://www.sdperspectives.com/circular-economy/22079-scgc-x-global-house/ Wed, 01 Nov 2023 08:08:21 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=22079 1 พฤศจิกายน 2566...ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดการเกิดของเสีย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon

The post SCGC x Global House เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
1 พฤศจิกายน 2566… ด้วยนวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) จากSCGC GREEN POLYMERTM เป็นการนำพลาสติกใช้แล้วกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดการหลุดรอดสู่ภายนอก ตอกย้ำการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเป็นรูปธรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy นำร่องใช้ถุงพลาสติกรักษ์โลกที่โกลบอลเฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง MoU ที่เกิดขึ้น

นับเป็นก้าวสำคัญของ Global House ที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ SCGC ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) และพร้อมมุ่งสู่ Net Zero ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

ผู้บริหาร SCGC และผู้บริหาร Global House เดินหน้ารีไซเคิลแบบ Closed Loop อย่างเป็นรูปธรรมเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับโครงการรีไซเคิลแบบระบบปิดนี้ เป็นการนำวัสดุฟิล์มและพลาสติกห่อสินค้าที่เหลือใช้จากศูนย์กระจายสินค้า และร้านค้าของ Global House มารีไซเคิล และผลิตเป็น “ถุงพลาสติกรักษ์โลก” เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเริ่มใช้ถุงพลาสติกรักษ์โลกที่ร้าน Global House สำนักงานใหญ่ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นแห่งแรก และมีแผนต่อยอดขยายผลต่อไปในอนาคต

ความร่วมมือกับโกลบอลเฮ้าส์นั้น SCGC ได้นำนวัตกรรมรีไซเคิลจาก SCGC GREEN POLYMERTM มาช่วยเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วของ Global House ให้เป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin: High Quality PCR) เพื่อนำไปผลิตเป็น “ถุงพลาสติกรักษ์โลก” สำหรับใช้งานต่อไป ซึ่งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดการเกิดของเสีย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon

ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือดังกล่าวฯ ถือเป็นการนำร่องเพื่อรีไซเคิลแบบระบบปิด โดยมีบริษัท นารายณ์แพค จำกัด ผู้ผลิตถุงพลาสติกรายใหญ่ของประเทศไทยเป็นผู้ขึ้นรูปและผลิตถุงพลาสติกรักษ์โลก

 

The post SCGC x Global House เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวทีความยั่งยืน ชวนเปลี่ยน “พันธสัญญา” ให้เป็นการ “ลงมือทำ” รวมพลังเดินหน้าสู่ Net Zero https://www.sdperspectives.com/next-gen/21931-tcp-sustainability-forum/ Tue, 24 Oct 2023 12:17:16 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21931 24 ตุลาคม 2566...สภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบวงกว้างต่อภาคธุรกิจ คำถามที่เป็นหัวใจหลักของการประชุม TCP Sustainability Forum ในปีนี้คือ ไทยจะเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero และรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้อย่างไร

The post กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวทีความยั่งยืน ชวนเปลี่ยน “พันธสัญญา” ให้เป็นการ “ลงมือทำ” รวมพลังเดินหน้าสู่ Net Zero appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
24 ตุลาคม 2566…สภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบวงกว้างต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งขณะนี้ภาครัฐริ่มมีกฎหมาย กลไกต่าง ๆ มาควบคุมการดำเนินธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้จะต้องปรับตัวหนุนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zeroด้วย

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวภายในงานประชุมด้านความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition…From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” โดยระบุว่า

“คำถามที่เป็นหัวใจหลักของการประชุม TCP Sustainability Forum ในปีนี้คือ ไทยจะเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero และรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้อย่างไร”

สราวุฒิขยายความต่อเนื่อง โดยเปิดเผยข้อมูลประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก* ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จึงมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ ยังมีกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ เช่น CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism เป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอน เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU เป็นคำถามว่าอุตสาหกรรมที่อยู่ในข้อกำหนดพร้อมหรือไม่ในการส่งออกกับกฎระเบียบใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (2022) แนะนำทางออกให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหรือ GDP เติบโตขึ้น 1.2% จากปีฐาน หรือเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปีภายในปี 2030 และมีโอกาสสร้างงานได้ถึง 160,000 ตำแหน่ง

“ผมเชื่อว่าเวทีนี้จะจุดประกายให้เกิดความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ร่วมมือสร้างสรรค์แรงบันดาลใจเป็นนวัตกรรม โดยเราจะมองไปข้างหน้า มีการปรับตัวร่วมกันทุกภาคส่วนด้วยอัตราเร่งที่หวังว่าจะเร็วมากขึ้น เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน”

ในฐานะ CEO กลุ่มธุรกิจ TCP สราวุฒิอธิบายว่าโจทย์ของบริษัทไม่ได้มองการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero เท่านั้น แต่ต้องการรวมพลังภาคส่วนต่างๆ เปลี่ยนพันธสัญญาไปให้ถึงการ “ลงมือปฏิบัติ” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง มากกว่านั้นคือการสร้าง “อัตราเร่ง” โดยจากนี้ต้องมีความชัดเจนในการเดินทางไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065

“กลุ่มธุรกิจ TCP มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero สำหรับธุรกิจ คือ การเปลี่ยน Mindset เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม เราไม่ได้แข่งกับคนอื่นแต่เป็นการแข่งกับตัวเอง เราพยายามมองหาจุดร่วมระหว่างสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนและตัวเราว่าจะพาตัวเองไปในทิศทางไหน โจทย์คือทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตไปได้ ควบคู่กับการลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่นขณะนี้สินค้าของเราที่อยู่ในขวด PET จะเป็นขวดใสทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าการใช้ขวดสี ภายใต้เป้าหมายใหญ่ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” โดยมีเป้าหมายย่อยและแผนงานรองรับ รวมถึงประเมินผลการทำงานและปรับทิศการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนผ่าน”

กลุ่มธุรกิจ TCP ให้ความสำคัญกับการปลุกพลังห่วงใยสิ่งแวดล้อม (Caring) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก โดยได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่

-เศรษฐกิจหมุนเวียน: ภายในปี 2024 ตั้งเป้าพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม การลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและขวดพลาสติกเพื่อลดการใช้ทรัพยากร ปัจจุบันสัดส่วนแพคเกจจิ้งที่ใช้กระป๋อง 60-65% มากขึ้นเรื่อยๆ30-35%เป็นขวดแก้ว และPET 5%
-ความเป็นกลางทางคาร์บอน: ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 จากทุกกระบวนการทำงานในธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ
-การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน: ตั้งเป้าลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปี 2030

ภายในงาน ดร.วิรไท สันติประภพ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้ขึ้นกล่าวเพิ่มเติมถึง “การทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในปัจจุบัน” ต้องไม่มองแบบการทำ CSR ที่เราคุ้นเคยในอดีต

“วันนี้การท่องเที่ยวเป็นเพียง Green Hotel ไม่พอ ต้องเป็น Sustainable Green Destination เราหมายรวมถึง Ecosystem ของการท่องเที่ยวอย่างสายการบินด้วย ส่วนการสื่อสาร Sustainability สำหรับภายนอกคือ Branding และต้องมีการสื่อสายภายในองค์กรด้วย”

ดร.วิรไท กล่าวต่อไปว่า เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องกลยุทธ์ของธุรกิจ ต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้เท่าทันกับความท้าทายและความคาดหวังของสังคม ไม่เบียดเบียนสังคม และสร้างปัญหาให้กับคนรุ่นต่อไป ธุรกิจใดที่ทำเรื่องความยั่งยืนได้เป็นรูปธรรม จะเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้เหนือคู่แข่งแบบ “ธุรกิจชนะและสังคมวัฒนา” ไปพร้อมกัน ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่ไม่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง จะเปิดความเสี่ยงทางธุรกิจหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ หรือความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายบุคคลที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนพันธสัญญาเป็นการลงมือทำ อย่างอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า ความยั่งยืนของธุรกิจเกษตร ​​มาจากการเพิ่ม Value ให้ทุกผลิตภัณฑ์จากอ้อย ​ทั้งน้ำตาล กากน้ำตาล และชานอ้อย โดยเฉพาะอ้อยที่ถือได้ว่าเป็น Zero Waste ​​อย่างแท้จริงตามแนวคิด BCG สามารถนำมาต่อยอดสู่หลากหลาย​อุตสาหกรรมทั้งอาหาร เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ และพลังงานทดแทน

ปี 2565 มิตรผลมีพลังงานหมุนเวียนขายให้ภาครัฐ​ 210 เมกะวัตต์ ​รวมทั้งผลิตปริมาณคาร์บอนเครดิตจากโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง 7 โรงกว่า 8 แสนตันต่อปี ซึ่งถือว่าสามารถบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนได้แล้ว และตั้งเป้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050

“มิตรผลมีการร่วมมือกับหลายภาคส่วน พัฒนาเทคโนโลยี หนุนเงินทุนให้เกษตรกรไร่อ้อย มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกษตรกร และสิ่งแวดล้อมอยู่ได้ ธุรกิจก็จะอยู่ได้เช่นกัน”

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า SCGC มีแนวคิด Low Waste Low Carbon ด้วยการพัฒนานวัตกรรมสินค้า Green Polymer ใช้เทคโนโลยีลดปริมาณพลาสติกลง​ 20% ซึ่งมีความแข็งแรงมากขึ้น หรือทำให้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น โดย SCGC ตั้งเป้าในปี 2565 จะลดคาร์บอนลงได้ 6​ หมื่นตันคาร์บอน รวมถึงเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และจะลดลง 20% ภายในปี 2030

“ความสำเร็จความยั่งยืนของ SCGC คือ ความร่วมมือของคนในองค์กร และความร่วมมือกับบุคคลภายนอก อย่างพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ”

*จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

The post กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเวทีความยั่งยืน ชวนเปลี่ยน “พันธสัญญา” ให้เป็นการ “ลงมือทำ” รวมพลังเดินหน้าสู่ Net Zero appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
เอสซีจี ผู้นำธุรกิจยั่งยืนระดับโลก https://www.sdperspectives.com/sd-daily/21469-scg-esg-risk-rating-msci-esg-rating/ Sat, 16 Sep 2023 00:50:21 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21469 16 กันยายน 2566...ได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืน ESG Risk Rating ระดับ ESG Industry Top Rated และ MSCI ESG Rating ระดับ AA (Leader)

The post เอสซีจี ผู้นำธุรกิจยั่งยืนระดับโลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
16 กันยายน 2566…ได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืน ESG Risk Rating ระดับ ESG Industry Top Rated และ MSCI ESG Rating ระดับ AA (Leader)

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี (กลาง) ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี (ซ้าย) ชนะ ภูมี ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี (ขวา) อธิบายถึงเอสซีจีได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืนชั้นนำของโลกหรือ ESG Risk Rating เป็น ESG Industry Top Rated ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม (Industrial Conglomerates) จาก Morningstar Sustainalytics และได้รับ MSCI ESG Rating ระดับ AA (Leader) กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) จาก Morgan Stanley Capital International (MSCI)

ผลการประเมินดังกล่าวมาจากการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG 4 Plus มุ่งแก้วิกฤตภาวะโลกเดือด ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2593 พร้อมเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมโซลูชัน เทคโนโลยีดิจิทัลใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม บริหารงานตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล มีกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของวิกฤตซ้อนวิกฤต ควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สินค้าและบริการที่อยู่ในตลาดแล้วเช่น SCG Cleanergy ผู้ให้บริการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดครบวงจร สำหรับภาครัฐ ธุรกิจและอุตสาหกรรม  ด้วยระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Grid) ให้ซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้สะดวก รวดเร็ว  ขณะเดียวกัน ได้ลงทุนกับ Rondo Energy สตาร์ทอัพด้านพลังงานสะอาดระดับโลก ผู้พัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บความร้อน (Thermal Energy Storage) อุณหภูมิสูงที่สุดในโลก เพื่อจ่ายพลังงานความร้อนให้โรงงานทดแทนการใช้บอยเลอร์ (Boiler) หรือเครื่องผลิตไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ นวัตกรรมอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพอากาศและประหยัดพลังงาน SCG Active AIR Quality, SCG Bi-ion และ SCG Air Scrubber โซลูชันจัดการคุณภาพอากาศ กำจัดเชื้อโรค ลดการใช้พลังงานในอาคาร SCGC GREEN POLYMERTM นวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสินค้าภายใต้ฉลาก Green Choice กว่า 250 รายการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี ขณะเดียวกันยังมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชนและ SMEs ให้โอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ รวม 50,000 คน เช่น อาชีพช่างก่อสร้าง พนักงานขับรถบรรทุก การแปรรูปและการขายสินค้าทางออนไลน์ ทั้งยังร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งไทย อาเซียนและโลก ให้ดำเนินงานด้วย ESG เพื่อส่งต่อโลกที่ยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไป

 

The post เอสซีจี ผู้นำธุรกิจยั่งยืนระดับโลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SCGC ร่วมทุน Braskem เป็นเครื่องเร่งให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอันดับ 2 ของโลก https://www.sdperspectives.com/next-gen/21229-scgc-x-braskem/ Tue, 29 Aug 2023 12:07:29 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=21229 29 สิงหาคม 2566...การร่วมทุนและเป็นพันธมิตรระหว่าง SCGC กับ Braskem ในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญของ SCGC ในการรุกธุรกิจกรีน ตอบเมกะเทรนด์

The post SCGC ร่วมทุน Braskem เป็นเครื่องเร่งให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอันดับ 2 ของโลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
29 สิงหาคม 2566…ข้อมูลจากบีโอไอ ระบุว่าอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บีโอไอให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตพลาสติกชีวภาพ จำนวน 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 37,000 ล้านบาท และกำลังเน้นการสร้างความเข้มแข็งด้านซัพพลายเชนของพลาสติกชีวภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย เพื่อสร้างมูลค่าต่อยอดวัตถุดิบทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นอกจากนี้ยังมุ่งเดินหน้าเชิญชวนบริษัทรายใหญ่ระดับโลกให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมากขึ้น ด้วยการดึงจุดแข็งที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งวัตถุดิบจากผลิตผลจากภาคเกษตรจำนวนมาก มีบุคลากรที่มีความพร้อมรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม รวมทั้งมีสิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอันดับ 2 ของโลก ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศ ตอบโจทย์ทิศทางเมกะเทรนด์ของโลกด้วยครอบคลุมต้นน้ำถึงปลายน้ำ

โดยล่าสุด บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint venture agreement) กับกลุ่มบริษัท Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ หรือ Green-Ethyleneจากเอทานอลที่ได้จากผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี

ส่วนของเอทิลีนชีวภาพที่ได้จะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพหรือ Green-PE ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) และรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลาย เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคล เครื่องใช้ในบ้าน ภายใต้แบรนด์ I’m green™ เพื่อตอบรับเมกะเทรนด์ ที่ต้องการพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและยุโรป

“SCGC มีเป้าหมายที่จะพัฒนา Green Innovation เช่น พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymer) และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้าน Low Carbon โดย SCGC ได้เพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer เป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 ตามแนวทาง ESG” ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวถึงความร่วมมือกันในครั้งนี้

การร่วมทุนและเป็นพันธมิตรระหว่าง SCGC กับ Braskem ในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญของ SCGC ในการรุกธุรกิจกรีน ตอบเมกะเทรนด์ที่มีความต้องการพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและยุโรป

“เรามองเห็นโอกาสและความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด I’m green™ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ปล่อยคาร์บอนต่ำสำหรับลูกค้าที่มองหาโซลูชันเพื่อความยั่งยืน ความร่วมมือกับ SCGC นี้สอดคล้องกับเป้าหมายของ Braskem ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ 1ล้านตันภายในปี 2573 แทนที่ฟอสซิลด้วยวัตถุดิบหมุนเวียน และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรม” Roberto Bischoff ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Braskem กล่าว

สำหรับ แบรนด์ I’m green™ ถือเป็นพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน โดยใช้ผลิตผลจากภาคเกษตรแทนฟอสซิล เช่น น้ำมันดิบ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พลาสติกชีวภาพภายใต้แบรนด์ I’m green™ สามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recyclingและ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป

ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem มาผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาค โดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต I’m green™ แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

 

The post SCGC ร่วมทุน Braskem เป็นเครื่องเร่งให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอันดับ 2 ของโลก appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SCGC ร่วมมือ 2 บริษัทชั้นนำเร่งสปีดลด CO2 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน https://www.sdperspectives.com/next-gen/20609-scgc-co2/ Fri, 07 Jul 2023 09:55:12 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=20609 7 กรกฎาคม 2566...ผนึก Avantium เนเธอร์แลนด์ นำก๊าซ CO2 มาผลิตพอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบพร้อมเตรียมพัฒนาโรงงานนำร่อง ป้อนตลาดโลก และ จับมือบริษัทญี่ปุ่น IHI เล็งสร้างโรงงานต้นแบบ ทดลองเทคโนโลยีดักจับ CO2 เพื่อเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์เบา

The post SCGC ร่วมมือ 2 บริษัทชั้นนำเร่งสปีดลด CO2 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
7 กรกฎาคม 2566…ผนึก Avantium เนเธอร์แลนด์ นำก๊าซ COมาผลิตพอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบพร้อมเตรียมพัฒนาโรงงานนำร่อง ป้อนตลาดโลก และ จับมือบริษัทญี่ปุ่น IHI เล็งสร้างโรงงานต้นแบบ ทดลองเทคโนโลยีดักจับ CO2เพื่อเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์เบา

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เปิดเผยว่า

“SCGC มีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services – HVA) รวมไปถึงการพัฒนา นวัตกรรมรักษ์โลก (Green Innovation) เช่น พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้แบรนด์ SCGC Green Polymer และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) และเทคโนโลยีในการลดคาร์บอน (Decarbonization) โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ของปีฐาน 2564 ภายในปี 2573 และมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งนี้ SCGC ได้เร่งพัฒนานวัตกรรมร่วมกับองค์กรและสถาบันชั้นนำต่าง ๆ ของโลก”

การศึกษาพัฒนาพอลิเมอร์จาก CO2 จากความร่วมมือของ SCGC และ Avantium

ล่าสุด SCGC ได้ร่วมกับ Avantium จากเนเธอร์แลนด์ พัฒนาพอลิเมอร์ PLGA (polylactic-co-glycolic acid: PLGA) หรือ พอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ (carbon-negative plastic) โดยนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นสารตั้งต้น รวมทั้งไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังพบว่า พอลิเมอร์ PLGA ซึ่งมีส่วนผสมของกรดแลคติกและไกลโคลิค นอกจากจะมีประสิทธิภาพที่ดีมีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันออกซิเจน ความชื้น และรีไซเคิลได้นั้น ยังสามารถย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะธรรมชาติ และในทะเลอีกด้วย ซึ่งตอบโจทย์ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

“SCGC เป็นองค์กรนวัตกรรมที่ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้สำเร็จ การร่วมมือในครั้งนี้เสริมให้การพัฒนาพอลิเมอร์ PLGA เป็นไปได้ในอนาคต โดยมีเทคโนโลยี Volta ที่สามารถเปลี่ยน COให้เป็นพอลิเมอร์ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันออกซิเจนและความชื้น สามารถรีไซเคิลได้ พร้อมนำไปเป็นวัตถุดิบในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนต่อไป คาดว่าจะมีลูกค้าที่สนใจในเรื่องนี้มาร่วมเป็นพันธมิตรมากขึ้น” Tom van Aken, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Avantium กล่าว

คุณสมบัติพิเศษของพอลิเมอร์ PLGA

SCGC และ Avantium ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการผลิตเคมีภัณฑ์ และสารตั้งต้นจากวัตถุดิบที่ยั่งยืน เช่น คาร์บอนจากพืช และคาร์บอนจากอากาศ โดยร่วมกันพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ PLGA หรือ พอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ และได้ทำการทดสอบการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดย Norner AS ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติกระดับโลก ประเทศนอร์เวย์

ขณะเดียวกัน SCGC ร่วมกับ ไอเอชไอ (IHI) บริษัทชั้นนำประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าและก่อสร้างขนาดใหญ่ ศึกษาและสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) เพื่อทดสอบเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Capture and Utilization (CCU) เพื่อเปลี่ยนเป็นโอเลฟินส์เบา บรรเทาปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) สะท้อนการดำเนินธุรกิจด้วย ESG (Environmental, Social and Governance) อย่างเป็นรูปธรรม

เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Capture and Utilization (CCU)

ความร่วมมือในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (New Energy and Industrial Technology Development Organization: NEDO) หน่วยงานภาครัฐบาล ทดสอบเทคโนโลยี CCU เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกระบวนการผลิต มาทำปฏิกิริยาเคมีกับไฮโดรเจน จนได้มาเป็นโอเลฟินส์ตัวเบา และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ให้สามารถหมุนเวียนนำมาใช้ในกระบวนการผลิต และช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุดิบแนฟทาได้อีกทางหนึ่ง ช่วยลดการปล่อย CO2ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่ง SCGC สามารถใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกในอนาคตต่อไป โดยจะทำการศึกษาความเป็นไปได้และเชื่อมต่อระบบกับโรงงานผลิตโอเลฟินส์ปัจจุบันในกลุ่มธุรกิจ SCGC ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2567 และทำการทดสอบจนถึงปี 2569

SCGC พัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ของปีฐาน 2564 ภายในปี 2573 และตั้งเป้าปริมาณการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ SCGC Green Polymer เป็น 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 ซึ่ง SCGC ดำเนินงานด้วยแนวทาง “Low Carbon Low Waste” ได้แก่ การปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น การใช้พลังงานสะอาดทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาและลงทุนในเทคโนโลยีที่ไม่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (carbon offset) เช่น การปลูกป่าในพื้นที่ลักษณะต่าง ๆ รวมถึงป่าชายเลน

 

The post SCGC ร่วมมือ 2 บริษัทชั้นนำเร่งสปีดลด CO2 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
นวัตกรรมทางเลือก ฝาปิดพลาสติกเครื่องดื่ม ต้องยึดติดกับคอขวดระหว่างใช้งาน https://www.sdperspectives.com/circular-economy/19870-scgc-sacmi/ Tue, 18 Apr 2023 09:46:44 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19870 18 เมษายน 2566...SCGC จับมือ SACMI พัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมรักษ์โลก ดีไซน์ใหม่เพื่อความยั่งยืน ช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างทางเลือกใหม่ให้วงการเครื่องดื่ม ที่พร้อมรองรับข้อกำหนด EU ในเรื่องนี้ที่จะมีผลบังคับใช้กลางปี 2567

The post นวัตกรรมทางเลือก ฝาปิดพลาสติกเครื่องดื่ม ต้องยึดติดกับคอขวดระหว่างใช้งาน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
18 เมษายน 2566…SCGC จับมือ SACMI พัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมรักษ์โลก ดีไซน์ใหม่เพื่อความยั่งยืน ช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างทางเลือกใหม่ให้วงการเครื่องดื่ม ที่พร้อมรองรับข้อกำหนด EU ในเรื่องนี้ที่จะมีผลบังคับใช้กลางปี 2567

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวถึง SCGC เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้คน ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้า และโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“ความร่วมมือกับ SACMI หรือ SACMI IMOLA S.C. ผู้ผลิตเครื่องจักร แม่พิมพ์ และผู้ออกแบบฝาขวดพลาสติกให้กับแบรนด์เครื่องดื่มชั้นนำของโลก ในการพัฒนาฝาขวดน้ำอัดลมดีไซน์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนในครั้งนี้ ทาง SCGC ได้นำนวัตกรรมเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER ที่มีความแข็งแรงและเหนียวเป็นพิเศษมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ฝาขวดและวงแหวนสามารถยึดติดกัน เมื่อผู้บริโภคเปิดฝาขวดเพื่อใช้งาน วงแหวนบริเวณรอบฝาจะยึดติดกับคอขวด ไม่หลุดออกจากตัวขวดเหมือนแบบเดิม จึงช่วยลดการหลุดลอดสู่สภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถนำฝาขวดทั้งชิ้นกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย เกิดการหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้ฝาขวดพลาสติกจากทั่วโลกจำนวนกว่า 1.3 แสนล้านฝาต่อปี หากมีการปรับเปลี่ยนเป็นดีไซน์แบบใหม่ทั้งหมด จะทำให้สามารถรวบรวมและจัดเก็บหลังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน”

ฝาขวดน้ำอัดลมดีไซน์รักษ์โลกแบบยึดติดกับคอขวดที่พัฒนาร่วมกันในครั้งนี้ ได้แก่ รุ่น 26/22 ซึ่งใช้กับปากขวด PET รุ่น GME 30.40 โดยฝาขวดผลิตจากเม็ดพลาสติก SCGC GREEN POLYMER เกรด SX002J ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกที่มีคุณสมบัติด้านการทนทานต่อการแตกร้าวที่ดีเยี่ยม พร้อมกับความแข็งแรงและเหนียว ทำให้ฝาสามารถเปิด-ปิดซ้ำได้ดี ไม่ขาดง่ายในบริเวณส่วนที่ติดระหว่างตัวฝาและวงแหวน และสอดคล้องกับระเบียบ Directive (EU) 2019/94 ของสหภาพยุโรป ที่ได้กำหนดให้ฝาปิดพลาสติกของเครื่องดื่มที่มีความจุไม่เกิน 3 ลิตร ต้องยึดติดกับคอขวดในระหว่างการใช้งาน โดยจะมีผลบังคับใช้ทั่วสหภาพยุโรปในเดือนกรกฎาคม 2567

สำหรับนวัตกรรมเม็ดพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงพิเศษ เป็นหนึ่งในโซลูชันของพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER) ประกอบด้วยโซลูชันครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) REDUCE ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) RECYCLABLE การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (3) RECYCLE การนำกลับมาใช้ใหม่ และ (4) RENEWABLE โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน

 

The post นวัตกรรมทางเลือก ฝาปิดพลาสติกเครื่องดื่ม ต้องยึดติดกับคอขวดระหว่างใช้งาน appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
SCGC x Colgate เร่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบาเพื่อสิ่งแวดล้อม https://www.sdperspectives.com/sd-daily/19556-scgc-x-colgate-smx/ Mon, 20 Mar 2023 15:01:51 +0000 https://www.sdperspectives.com/?p=19556 21 มีนาคม 2566...การทำงานครั้งนี้ ภายใต้แบรนด์แคร์ และโพรเทคส์ โดยใช้โซลูชันพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงเป็นพิเศษจากเทคโนโลยี SMX™ ซึ่งแข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 20% สามารถลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ได้สูงสุดถึง 8%

The post SCGC x Colgate เร่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบาเพื่อสิ่งแวดล้อม appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>
21 มีนาคม 2566…การทำงานครั้งนี้ ภายใต้แบรนด์แคร์ และโพรเทคส์ โดยใช้โซลูชันพลาสติกที่ให้ความแข็งแรงเป็นพิเศษจากเทคโนโลยี SMX™ ซึ่งแข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไปถึง 20% สามารถลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ได้สูงสุดถึง 8% โดยยังคงความแข็งแรงเท่าเดิม ช่วยลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า SCGC เร่งพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้แนวทาง ESG พร้อมทั้งร่วมกับลูกค้าและเจ้าของแบรนด์สินค้าในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าเดินบนเส้นทางของความยั่งยืนร่วมกัน

SCGC ได้นำอีกหนึ่งโซลูชันจาก SCGC GREEN POLYMER ได้แก่ นวัตกรรมพลาสติกที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ด้วยเทคโนโลยี SMX™ สอดคล้องกับเป้าหมายคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งในมุมการสร้างคุณค่าทางสังคม การสนับสนุนไลฟ์สไตล์แบบยั่งยืน และการปกป้องสภาพแวดล้อม โดยตั้งเป้าลดการใช้พลาสติกใหม่ลงหนึ่งในสามภายในปี 2568 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2583

ทั้งนี้ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ ได้ร่วมกับ SCGC พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จากบรรจุภัณฑ์สำหรับครีมอาบน้ำปาล์มโอลีฟ ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) มาสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาลง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกรีนโซลูชันจาก SCGC GREEN POLYMER

สำหรับโซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ (SCGC GREEN POLYMER) ประกอบด้วยโซลูชันที่ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) REDUCE ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) RECYCLABLE การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (3) RECYCLE การนำกลับมาใช้ใหม่ และ (4) RENEWABLE โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน

 

The post SCGC x Colgate เร่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบาเพื่อสิ่งแวดล้อม appeared first on SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY.

]]>