19 สิงหาคม 2566… วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ฉายแนวโน้มการทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทุกวัน ทำให้ประเด็นด้าน “ความยั่งยืน (Sustainability)” กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวมากขึ้น พร้อมแนะแนวทางทำธุรกิจแบบ ESG (Environment, Social, Governance) มากขึ้น เพื่อซื้อใจนักลงทุน โดย CMMU พร้อมผลักดันเรื่อง “ความยั่งยืน (Sustainability)” และ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)” ในทุกมิติ ส่งคอร์สพัฒนาบุคลากรในทุกองค์กร เน้นย้ำต้องมี 3 ทักษะสำคัญ ได้แก่ มายด์เซ็ต (Mindset) สกิลเซ็ต (Skillset) และทูลเซ็ต (Toolset) เพื่อร่วมกันพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย SDGs
20 ตุลาคม 2565…KBTG ยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีของไทย จับมือมหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยแพลตฟอร์ม EdTech และ Tech Community เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทางด้านไอทีในการเรียนรู้ และส่งเสริมงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการธุรกิจไทย และสร้างบุคลากรไอทีสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีไทยและในระดับโลก นำร่องที่แรกกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
CSR
ครั้งแรกของไทย!! มาตรฐานการศึกษาด้านดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” ภารกิจสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้คนไทย กับการทำงานของ AIS ร่วมกับ 3 กระทรวง 1 มหาวิทยาลัย
21 กันยายน 2565… SDGs ของ UN เป้าหมายข้อที่ 17 ว่าด้วยเรื่อง ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากการทำงานของ AIS ที่จับมือภาครัฐ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ลงนามความร่วมมือ พร้อมเปิดตัว “อุ่นใจไซเบอร์” เป็น “หลักสูตรการเรียนรู้” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย ที่เป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ยกระดับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อปกป้องภัยไซเบอร์
NEXT GEN
วิศวะฯจุฬา เปิด AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE แซนด์บ็อกซ์แห่งแรกในสถาบันการศึกษา ต่อยอด 5G Use case หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล
25 สิงหาคม 2565…ด้วยความมุ่งมั่นใจการสร้างบุคลากรทางด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงตอบโจทย์การเรียนไม่ได้มีแต่ในทฤษฎีอีกต่อไป ทำให้เกิดเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ AIS 5G ร่วมเป็นพันธมิตรทดลอง ทดสอบ 5G เปิดศูนย์ 5G R&D ในชื่อ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” แห่งแรกแห่งเดียวที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ณ อาคาร 100 ปี วิศวะฯ จุฬา พร้อม LIVE Private Network ด้วยการติดตั้งสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHzและ 26 GHz (mmWave) พร้อมให้นิสิตและคณาจารย์ ต่อยอดแนวคิดพัฒนา Use Case บนเครือข่าย 5G เพราะเครือข่าย 5G ไม่ใช่แค่เรื่อง โทรศัพท์มือถือ หรือความเร็วของมือถืออีกต่อไป เพราะ 5G เป็นเรื่องของ Use Case และการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ สู่ความต้องการใหม่ ๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
CSR