11-12 มกราคม 2568… SCB EIC คาดปีนี้มีมูลค่าตลาดถึง 4,900 ล้านบาท ทั้ง Boy love และ Girl love ที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลถือเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้สื่อบันเทิงของไทยเข้าถึงผู้ชมผ่านทางออนไลน์จากบริการ OTT (Over The Top) หรือสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มได้มากขึ้น กีรติญา ครองแก้ว นักวิเคราะห์ SCB EIC ทำบทวิเคราะห์
NEXT GEN
“กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ดันไทยสู่เป้าหมาย SDGs 5 Gender Equality เพิ่มเม็ดเงินxนักท่องเที่ยวแบบตะโกน!
14-15 พฤศจิกายน 2567… งานวิจัยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งจัดทำโดยอโกด้าร่วมกับบริษัท Access Partnership ได้ประเมินถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับจากการบังคับใช้กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองกฎหมายนี้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันในปี 2562 และเนปาลเมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยวLGBTQIA+ ทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
19 มิถุนายน 2567…ชนาธิป ตติการุณวงศ์ นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อการผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ โดยวุฒิสภาว่า ประเทศไทยได้ก้าวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไปสู่การเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศในทางกฎหมาย ช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นรางวัลสำหรับการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของนักกิจกรรม ภาคประชาสังคม และสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ต่อสู้เพื่อชัยชนะครั้งนี้