17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567…เพราะในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำ หรือการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา การเติบโตอย่าง Resilience อาจไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เศรษฐกิจสำหรับอนาคตต้องมีความเป็น Future-Ready Economy
BRANDi เปิดบ้านหลังที่ 3 BRANDi HopeQuarter โดยปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี CEO BRANDi and Companies นักธุรกิจไทยหนึ่งเดียวในสภาที่ปรึกษาอนาคตแห่ง World Economic Forum และบทบาทในการขับเคลื่อน Future-Ready Economy
เมื่อมองในบริบทที่ใกล้ตัวมากขึ้น คือการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของ ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการเติบโตที่เปราะบางหรือไม่แน่นอน ไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนนั้น สามารถทำได้อยู่สามระดับใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การปรับจุดยืนของแบรนด์ หรือ Re-positioning
เปลี่ยนจากการ Capture Trend เป็นการ Capture Value
2. การปรับโมเดลของตลาด หรือ Re-modeling
เปลี่ยนจากการสร้างผลกำไร (Profitability Incentive) เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวก (Impact Incentive)
3. การปรับระบบของเศรษฐกิจ หรือ Re-engineering
เปลี่ยนจากการเติบโตโดยพึ่งพาทรัพยากร (Natural Resource-dependent Growth) เป็นการเติบโตโดยพึ่งพาทุนมนุษย์ (Human Capital-dependent Growth)
ปิยะชาติ ขยายตวามต่อเนื่อง การจะแก้ปัญหาเรื่องความยั่งยืนเราไม่พูดเรื่องเงินทองไม่ได้ ที่ผ่านมาทุกคนวิ่งหาเงิน และก็การสร้างการเติบโต แต่เศรษฐกิจในยุคต่อไปจะเป็นเศรษฐกิจที่เงินเป็นเครื่องมือให้เราเอามาช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้คนและโลกใบนี้ต่อไป วิธีการปลี่ยนไปค่อนข้างมากมากแล้วเป็น แล้วก็เปลี่ยนอย่างนั้นจริง ๆ
“ล่าสุดผมได้รับเชิญไปร่วมการประชุมประจําปีของไอเอ็มเอฟ เราจะเห็นว่าโลกการเงินไม่ได้คุยเรื่องของเงินต่อเงินกันแล้ว แต่เขาคุยว่าทําอย่างไร ที่เราจะเคลื่อนเงินไปช่วยเรื่องของการจัดการการปล่อยคาร์บอนให้ลดลง ทําอย่างไรเราจะเคลื่อนเงินไปช่วยคนในประเทศที่กําลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทําอย่างไรที่เราจะเคลื่อนเงินไปช่วยป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเช่นเรื่องของโควิด19เป็นต้น นั่นคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้องค์กรที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวใจสําคัญของการขับเคลื่อนระบบการเงินของโลก เรื่องนี้พอที่จะทําให้เราเห็นภาพว่าโลกใบนี้หมุนอย่างไรในมิติของเงินเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ Sustainable Development ,ESG ล้วนแล้วแต่มาจาก Tripple Bottom Line คือ People, Profit, Planet การที่เราบอกว่าถ้าวันนี้เราประสบความสําเร็จ ไม่ใช่เพียงเรารวยขึ้นมาเท่านั้น แต่คือคนรอบข้างประสบความสําเร็จไปพร้อมกับเราด้วย สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพที่ดี ช่วยให้เราดํารงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
“จะทําให้ระบบนิเวศเเข้มแข็งและเติบโตไปพร้อมกับเราได้อย่างไร ระบบนิเวศฟังดูซับซ้อนยาก จริง ๆ แล้วคือการพัฒนาในเชิงของพื้นที่ที่เราขีดเส้นขึ้นมา เช่นเราอยากทําให้ อําเภอหนึ่งหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งดีขึ้น เพราะภาคธุรกิจไม่สารถไปดูแลทั้งประเทศได้ เพราะไม่ใช่ภาครัฐแต่เราจะเริ่มเห็นแล้วว่าภาคธุรกิจกระโดดไปทําเรื่องของการพัฒนาในเชิงอีโคซิสเต็มส์มากยิ่งขึ้น”
ปิยะชาติ ขยายความต่อเนื่อง ปัจจุบัน บริษัทและผู้บริโภคเห็นภาพพร้อม ๆ กัน และเข้าใจว่า หลังจากนี้ไปจะไม่ใช่เพียง Profit ตัวเดียว แต่คือการหาสมดุลของ Profit People Planet ในแง่ของการเติบโต บนพื้นฐานที่บริษัทก็ต้องเติบโตและมีกําไร มิฉะนั้นบริษัทก็จะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไม่ใช่ทางออก
สิ่งที่จะทำควบคู่กับ Tripple Bottom Line คือการทํา Human Capital Development ในเรื่องของการ Up Skiil,Re Skill จะเป็น Agenda ของประเทศมากยิ่งขึ้น
“จริง ๆ แล้ว ณ วันนี้ มันไม่ใช่การขาดแคลนคนทํางาน แต่ไม่ Match กันระหว่างความต้องการของตลาดงานกับคนที่ว่างงาน และในยุค Silver Economy มีคนอายุเกิน 60 ปีมากมาย ซึ่งปัจจุบันคนอายุ 60 ปีขึ้นไปยังทํางานได้สบายอยู่ ในเชิงเศรษฐกิจของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเป็นคนที่มีประโยชน์ เพราะมีประสบการณ์มากอยู่ ดังนั้นบางคนมองกลุ่มนี้เป็น Risk บางคนมองเป็น Opportuniyt เราจะจัดระบบตรงนี้อย่างไร”
ปิยะชาติกล่าวในท้ายที่สุด ในฐานะที่ทุกคนล้วนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน หัวใจสำคัญของการทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมต่ออนาคต คือโครงสร้างของเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และทุนมนุษย์ที่มีความสามารถ ซึ่งทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชนเอง ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้ไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยเศรษฐกิจในอนาคตจะยั่งยืนได้ต้องมี Future-Ready Economy