13-14 สิงหาคม 2567…ในยุคภาวะโลกเดือดที่สัมผัสได้จริงกับสภาพภูมิอากาศที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประเทศไทย เช่นในเวลานี้ น้ำท่วมจากน้ำป่าที่รุนแรง ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ขยะบนชายหาดมีให้เห็นประจำ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนกลายเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ แสนสิริ ในฐานะผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับแนวหน้าของไทย ตระหนักถึงความสำคัญนี้ และมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
แสนสิริลงมือทำทุกรูปแบบพร้อมกับการตระหนัก อาจจะกล่าวไม่ผิดนัก ทำตั้งแต่ก่อนจะมีคำว่า ESG ซึ่งการทุกการดำเนินการที่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 10 ปี จนกระทั่งในยุคการเดินทางสู่เป้าหมาย Net-Zero 2050 ก็คือสิ่งที่แสนสิริทำอยู่ในขอบเขตการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1,2,3) อย่างต่อเนื่อง
ในปีนี้ แสนสิริ เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่มี Journey มุ่งสู่ Scope 3 ซึ่งควบรวม Supply Chain ของแสนสิริทั้งหมด โดย “พันธมิตร” สร้าง Awareness เปิดเวทีสัมมนา “ร่วมตกผลึก Rethinking Sustainability ทำอย่างไรเมื่อกำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดเพียงอย่างเดียว” แสวงหาความยั่งยืนมากกว่าแสวงหาผลกำไร มุ่งหวังที่จะเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน พันธมิตรที่มีประสบการณ์แตกต่างกันจะสามารถแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่ Best Practice ในอุตสาหกรรมได้ (อ่านเพิ่มเติม คลิก)
ล่าสุด เปิดเวที SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM: Change Today, Chance Tomorrow ชวน “พาร์ทเนอร์” ร่วมรับมือโลกเดือด ที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โมเดล Green Supply Chain รองรับเศรษฐกิจสีเขียว นับเป็นครั้งแรก!ของวงการอสังหาริมทรัพย์
คุณอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเวที “นำร่องโมเดล Green Supply Chain เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยกติกาใหม่ พ.ร.บ.โลกร้อน”
“ภาวะปัญหาโลกเดือด ภัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก เรื่องแรกนี้สำคัญ เรามองว่าความยั่งยืนเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงของธุรกิจ ความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัทอย่างจริงจัง พร้อมกับดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราให้เติบโตไปด้วยกัน ในส่วนทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน อาจหมายถึงราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้น วัสดุทางเลือกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น Green Cement ซึ่งเราให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ที่จะสร้างผลกระทบต่อโลกให้น้อยลง”
คุณอุทัยกล่าวต่อเนื่องถึงเรื่อง ESG ในหัวข้อที่สองที่แสนสิริให้ความสำคัญมากเช่นเดียวกันคือเรื่องสังคม แสนสิริให้ความสำคัญเรื่องนี้มานาน จากพื้นที่ปลอดภัยในแคมป์ก่อสร้าง พัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตของแรงงาน ตั้งแต่การบริการพื้นฐาน เรื่องความสุขกี่ยวกับการทํางาน และความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน หรือแรงงาน หากพนักงานไม่มีความสุข ไม่มีความปลอดภัย Productivity จะเกิดยาก
“ที่กล่าวมา อาจจะไม่ได้ถึงขนาดทําให้ Operation หยุดชะงัก แต่เป็นความท้าทายของธุรกิจที่ต้องเข้าใจ เราต้องผนวกการปฏิบัติความยั่งยืนเข้าในธุรกิจทํางานอย่างบูรณาการ ครอบคลุมทุกด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ จนต้องพยายามสร้างสมดุลให้เหมาะสม ถ้าทําได้บริษัทจะลดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และที่สําคัญเชื่อว่า สามารถสร้างรายได้ ภายใต้ความท้าทายภาวะโลกเดือด” คุณอุทัยกล่าว
ดร.พิรุณ อธิบายต่อเนื่องถึงภาวะโลกเดือดในปัจจุบันไม่มีใครตั้งข้อสงสัยแล้ว และยังสัมผัสได้ถึงความรุนแรงที่มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน พ.ร.บ.โลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น หากเราไม่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ เราจะพบกฏเกณฑ์ต่าง ๆ มากมายของโลก
“ผมย้ำ วันนี้ถ้าเราไม่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยหลายคนยังกังวลว่าเอ๊ะ! ถ้าเราทําแล้วเราจะมีผลกระทบอย่างไร เรื่องนี้รัฐภายใต้กฎหมาย ต้องดูอย่างละเอียด โดยมีตัวช่วย Subsidize ในการที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านได้”
ดร.พิรุณ กล่าวต่อ วันนี้ถ้าไทยไม่รู้เรื่องนี้ โลกก็ไม่ได้รอประเทศไทย เพราะโลกก็ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ไปอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะสร้างโอกาสของเราได้ก็คือ ความร่วมมือทุกภาคส่วนรวมถึงภาครัฐและภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับสังคมไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่มาการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
มาถึงวงแลกเปลี่ยน Change Today, Chance Tomorrow มุมมองผู้บริหารแสนสิริ คุณศรีอำไพ รัตนมยูร ประธานผู้บริหารสายงานการตลาด คุณองอาจ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการแนวสูง คุณประเสริฐ ตระการวชิรหัตถ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อส่วนโครงการ ที่ทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ ซึ่งเป็น Ecosystem และคุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
เวลานี้ต้องไม่ปฏิเสธว่า การจะเดินหน้าไปสู่ Scope 3 ตามเป้าหมาย NetZero 2050 ของแสนสิริได้นั้น Green Supply Chain เป็นโมเดลกลยุทธ์ที่สำคัญ และต้องจับมือกับพันธมิตรให้แน่น โดยมีกลไกการทำงานที่สำคัญของแสนสิริ ได้แก่ Green Architecture and Design, Green Construction และ Green Procurement โดยหัวข้อของ Special Talks ในครั้งนี้คือ
-การดีไซน์ ต้องโอบรับความยั่งยืน
-ภาคอสังหาฯ ถูกตั้งคำถามว่าเป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
-Green Ecosystem คือคีย์ไดรฟ์สู่การเปลี่ยนแปลง
-เอสเอ็มอี คือหนึ่งใน Ecosystem ในการขับเคลื่อน
คุณศรีอำไพ กล่าวถึงกรอบใหญ่ในแนวคิด Design for Future และหนึ่งในแกนการออกแบบที่สำคัญคือ Design for Sustainability ที่พร้อมโอบรับความยั่งยืน รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
“การออกแบบถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนความยั่งยืน เพราะถือเป็นต้นน้ำในการพัฒนาโครงการ เป็นจุดเริ่มต้นที่กำหนดทิศทางและมาตรฐานของโครงการทั้งหมด การออกแบบที่ดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การก่อสร้าง การขาย และการดูแลรักษาอีกด้วย”
แสนสิริให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ผสานแนวคิดความเข้าใจธรรมชาติ ต่อยอดอย่างสร้างสรรค์กับงานออกแบบ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง ในแนวทาง Circular Economy การนำเศษวัสดุจากการสร้างบ้านมาต่อยอดกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งผ่านโครงการ Waste to Worth (หินอ่อน กระเบื้อง ไม้), ออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ติดตั้งโซลาร์เซลล์ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความยั่งยืน
แสนสิริเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการวัดผลที่ชัดเจน โดยมีการตั้งเป้าหมายในการลดผลกระทบจากงานก่อสร้าง เช่น การลดขยะก่อสร้างภายในไซต์งานลง 15% รวมถึงมีการกำหนดใช้วัสดุ Low Carbon 30% ใน TOR ซึ่งนอกจากการตั้งเป้าหมายแล้ว การวัดผล ก็เป็นที่ต้องให้ความสนใจ โดยมีการทำ Dashboard ในการเก็บข้อมูลและการจัดการขยะ ซึ่งเราพัฒนากันเองภายใน ปัจจุบันเราใช้เครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์ วัดผล และจัดการขยะในไซต์ก่อสร้าง
“เรานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยวางรากฐานให้การก่อสร้างยั่งยืน เช่น นำระบบ BIM หรือ Building Information Modelling มาใช้สำหรับการทำแบบก่อสร้างและการวางแผนก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรมากที่สุด พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าและบริหารจัดการทรัพยากรของโครงการ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานและการใช้งานร่วมกับพาร์ตเนอร์ของเราด้วยเช่นเดียวกัน”
องอาจขยายความต่อเนื่องในการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อลดขยะจากการก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการทำงานของแสนสิริ ตั้งแต่ยุคแรกในการลงทุนโรงงานพรีคาสท์สีเขียว นับเป็นรายแรกของอสังหาฯ ไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001 & ISO14001 ทั้งระบบบริหารงานคุณภาพและระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองฉลากเขียวจากกระทรวง ลดขยะภายในโรงงานได้มากถึง 98% (ไม่มีมลพิษทางเสียงและอากาศ) มีกำลังการผลิต 1,500,000 ตร.ม./ปี และสามารถผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย 3,700 ยูนิต/ปี
“แม้ว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จะไม่ใช่กลุ่มที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แต่ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจนี้ต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง แสนสิริและคู่ค้าเราคำนึงถึงสิ่งนี้มาโดยตลอด และได้หาแนวทางและปรับกลไกการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงทางธุรกิจในอนาคต”
เมื่อมาถึงส่วนที่สำคัญของแสนสิริโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Scope 3 มีแนวทางปฏิบัติอย่างจริงจังในการพัฒนาโครงการไปสู่ความยั่งยืน
“วันนี้นโยบาย Green Procurement และ โมเดล Green Supply Chain เป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสําคัญ แสนสิริพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งมอบบ้านให้ผู้ซื้อหลากหลายระดับ ดังนั้นวัสดุต่าง ๆ มีความสำคัญมาก เราคัดเลือกซัพพลายเออร์ ที่มีแนวทางหลักเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ วัสดุต่าง ๆ ออกแบบแล้วมี Waste น้อยที่สุด มีวัสดุรีไซเคิล มีคาร์บอนต่ำ รวมถึงการขนส่ง”
แสนสิริยังสนับสนุนการใช้วัสดุที่มีการรับรองจากองค์กรอื่น ๆ หรือการรับรองด้วยตัวเอง (Self-Certified) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการในการพัฒนาโครงการจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 ที่ผ่านมามีการตั้งเป้าหมายการจัดซื้อวัสดุที่มีการรับรอง Self-Certified 30% ซึ่งเราบรรลุเกินกว่าเป้าหมายที่มีการจัดซื้อวัสดุดังกล่าวที่ 53% เรามีการวัดผลและติดตามผลที่จริงจัง และนำมาคำนวณในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร อีกทั้งในแง่ของการผลิตวัสดุ คู่ค้าแสนสิริเองก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเรานำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ บ้านที่เราส่งมอบให้กับลูกค้า
คุณประเสริฐย้ำว่า แสนสิริสนับสนุน SMEs ให้เป็นทีมพาร์ตเนอร์ ร่วมกันคิดค้น พัฒนาสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วก็เติบโตไปด้วยกันปรับตัวเพื่อโลก
เพราะ SMEs คือหนึ่งใน Ecosystem ขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในยุคนี้และอนาคตผู้ประกอบการ SMEs จะต้องพยายามปลดล็อกข้อจํากัด 4 เรื่องคือ การประยุกต์เทคโนโลยี ,แหล่งทุน,การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ สุดท้ายเป็นเรื่องมาตรฐาน และทั้ง 4 เรื่องจำเป็นที่จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
“แม้ว่า SMEs ที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์โดยตรงมีเพียง 35% แต่ความกังวลของ SMEs มีอยู่เยอะเหลือเกิน ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งการบริหารจัดการขยะ การบริหารจัดการน้ำเสีย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล บางส่วนเหล่านี้สามารถทำได้เลย และทางสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ก็มีตัวช่วยให้ SMEs อยู่ค่อนข้างมากสามารถที่จะปรึกษาได้”
คุณแสงชัยกล่าวเพิ่มเติมที่เป็นข้อคิดของ SMEs สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการทำงานสอดคล้องกับ ESG ที่ต้องขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะความเป็นผู้นำที่ดี ใช้ประโยชน์นวัตกรรม นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับขององค์กร มุ่งยกระดับขีดความสามารถเพื่อเพิ่มคุณค่าและก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับระบบนิเวศธุรกิจที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมพอเพียงเพื่อความยั่งยืน
คุณอุทัยกล่าวในท้ายที่สุดของงานว่า แสนสิริเริ่มปรับจากตัวเองก่อน และส่งต่อประสบการณ์และองค์ความรู้ให้กับพาร์ตเนอร์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และมั่นใจว่า Green Supply Chain ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ สามารถผลักดันให้เกิดเครือข่ายการทำงานใน Green Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาด Green Economy มากขึ้น และเชื่อว่างาน SANSIRI ECOLEADERSHIP FORUM ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญของแสนสิริในการมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการของความยั่งยืน และสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว