TALK

เมื่อนักลงทุนถาม : แบรนด์คุณ Represents อะไร ?

23 สิงหาคม 2562…สิ่งที่ IR คุยกับนักลงทุนเป็น Elements ใหม่ เป็น Essences ใหม่ มีความสากลที่สามารถสร้าง Engagement กับลูกค้า ไม่น้อยกว่าคุณภาพสินค้า+เครือข่ายที่แข็งแรง นั่นคือแบรนด์จะต้องส่งต่อคุณค่าด้วย ESG เพิ่มขึ้น และจะกลับมาที่ Brand Purpose


จากเวทีเสวนา Cyber Wellness ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายป้องกันภัยออนไลน์ หรือ Cyberbullying หากทุกคนตระหนัก “เราทุกคน คือเครือข่าย” อุ่นใจ CYBER จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทั้ง DQ หรือ Digital Quotient อัจฉริยะทางดิจิทัล ซึ่งเป็นด้านการให้องค์ความรู้ และด้านป้องกัน จะประกอบด้วย Family Link ที่ทำงานกับกูเกิล และ AIS Secure Net ของคนไทยทุกคนนั้น

บนเวทีดังกล่าว ศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ และ นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (IR)บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ร่วมเปิดมุมมองของเอไอเอส กับ Stakeholder ของเอไอเอส

 Elements

ออกจะเป็นเรื่องใหม่ของวงการ ที่ผู้บริหารทั้ง 2 ส่วนมาเล่าเรื่อง “ประเด็นทางสังคม และสิ่งแวดล้อม”

เวที อุ่นใจ ไซเบอร์ (คลิกภาพ อ่านเรื่องราว อุ่นใจ ไซเบอร์)

“เรามองในเชิงความเสี่ยง เพราะเอไอเอสเป็น 1 ในท่อการส่งคอนเนคชั่นให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าเติบโตขึ้นมาแล้วใช้งานก็ใช้ผ่าน Operator จะเป็นค่ายใดก็ตาม แต่สุดท้าย เขาเอาการเชื่อมต่อตรงนี้ไปใช้ทำอะไร แง่มุมไหน กลับมาถามว่า เราในฐานะคนให้บริการต้องมีความรับผิดชอบในการให้ลูกค้าใช้บริการ เพราะเราไม่ได้รู้สึกว่า ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ยิ่งดี ได้กำไรมาก อันนั้นเป็นการมองมุมเดียว”

นัฐิยา เริ่มที่ประเด็นสำคัญ “ความเสี่ยง” จากการมองธุรกิจมุมเดียว ซึ่งจะย้อนกลับมาที่บริษัทคือ ทำไมบริษัทไม่เคยบอกลูกค้าเลย หรือไม่เคยให้องค์ความรู้ลูกค้าเลยว่า  ความเหมาะสมในการใช้งานสิ่งต่าง ๆ จะมากน้อยเพียงใด  เช่นเดียวกับการนำมือถือ และ Gadjet ต่าง ๆ ที่กี่ยวข้องมือถือขายให้ลูกค้า บริษัทจะต้องคิดเหมือนกันว่า สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม

ศิวลี ยอมรับว่าเมื่อธุรกิจเพิ่มฐานลูกค้าทุกวัน และต้องมีเจเนอเรชั่นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยที่ส่วนหนึ่งมีมือถือครั้งแรก มีเบอร์ครั้งแรก อีกส่วนหนึ่งก็คือ เอไอเอสจะทำอย่างไรให้การเพิ่มตรงนี้เติบโตไปกับสังคมที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

“แบรนด์จะต้องให้ความรู้กับเขาตั้งแต่ต้น เป็นการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนในสังคม  ถ้าวันนี้เอไอเอส ไม่ลุกมาพูดแบบนี้ เราไม่รู้เลยว่า อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง และจะแย่ไปถึงขั้นไหน เพราะอินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกคน ซึ่งในเชิงธุรกิจก็ต้องทำอินเตอร์เน็ตให้ดีที่สุด เพื่อติดต่อได้ง่ายที่สุด ส่วนในเรื่อง E-Waste หากนำไปทำลายไม่ถูก ก็จะกลายเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

ในฐานะแบรนด์เอไอเอส จะต้องสร้างให้รู้สึกว่า ทั้งเรื่อง Cyber Wellness และ E-Waste เป็นเรื่องของส่วนรวม เวลาจะทำอะไรก็ตาม ต้องนึกถึงเรื่องส่วนรวมไปด้วยกัน เพราะแบรนด์ก็อยากเติบโตไปด้วยกันกับสังคมที่ดี

“ถือเป็นความรับผิดชอบในเรื่องที่แบรนด์ต้องลุกมาพูดเรื่องนี้ และไม่ใช่แค่การพูดเพื่อภาพลักษณ์ แต่เราต้องลงมือทำจริงๆ ด้วย อย่างวันงาน แม้เราจะพูดอุ่นใจ ไซเบอร์ แต่เราก็มีโพรดักส์ออกมารองรับว่า มีอีกเครื่องมือที่ช่วยคุณในการช่วยทำเรื่องนี้ แต่แน่นอนทั้งหมด เราก็อยากให้ทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราอยากสื่อ เราจึงครีเอทหนังโฆษณา คลิปวิดีโอต่าง ๆ เพื่อเป็น Awareness ให้เขารับรู้ก่อนว่า เรื่องนี้เกิดอยู่ในสังคมนะ เมื่อเอไอเอส จะชวนมาเป็นเครือข่าย เอไอเอสมีเครื่องมือแบบนี้ อยากให้ทุกคนช่วยอย่างไรบ้าง โดยการนำเครื่องมือเราไปใช้” ศิวลี กล่าวเสริม

นัฐิยาแสดงมุมมองต่อเนื่อง หากถามผู้บริหารแบรนด์ยุคใหม่ เมื่อมองเด็กรุ่นใหม่ ต้องคำนึงถึงว่า เขาจะอยู่ในโลกยาวกว่าพวกเรา เขาก็ไม่รู้ว่าโลกนี้ในอนาคตจะยั่งยืนหรือไม่ เพราะฉะนั้นคนทำธุรกิจ คนทำแบรนด์จะต้องนึกว่า แบรนด์เราจะต้องมีส่วนเชื่อมโยงกับเรื่องนี้

 Essences

จากองค์ประกอบใหม่ มาสู่สาระสำคัญใหม่ การดำเนินงานทางด้านสังคม “อุ่นใจ ไซเบอร์” จากวันที่เริ่มเปิดตัว ถึงปัจจุบัน AIS Secure Net เริ่มเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมมีจำนวนผู้สนใจไม่น้อย เช่นเดียวกับ Family Link เอไอเอสก็ไปพร้อม ๆ กูเกิล ซึ่งจะได้ฟรีอินเตอร์เนทในการใช้ 50 เมกต่อเดือนจะได้ใช้แอปนี้ด้วย

อุ่นใจCYBER (คลิกภาพ ชมคลิปวิดีโอ)

มาถึง DQ ที่เห็นวันนั้นจะต้องทำ DQ Test ก่อน ซึ่งไปอยู่ในเว็ปไซ์เรียบร้อย สามารถเข้าไปทำ DQ Test ออกมาเป็นผลของตัวเอง ตอนนี้ทำได้แล้ว และเมื่อเทสได้คะแนนเท่าไหร่แล้วต้องเข้าไปเรียน ซึ่งมีหลักสูตรแบบอี-เลิร์นนิ่งเข้าไปเรียนเลยมีบทเรียนต่าง ๆ เช่นวันนี้คุณจะเพิ่มพูนวิชาใดบ้าง

“เราต้องการให้แพร่หลาย ซึ่งทยอยคุยกับที่โรงเรียนแล้ว โดยเราส่งอีเมลไป 5 พันโรงเรียนในการแนะนำโครงการนี้ บางโรงเรียนเข้าไปนำเสนอโปรเจคนี้ มีหลายโรงเรียนสนใจ วันนี้ยังแสดงความสนใจเข้ามาได้”

ศิวลีกล่าวต่อเนื่องว่า เอไอเอสยังเตรียมเป็นชุด Kids DQ ซึ่งอาจารย์ท่านใดสนใจ สามารถดาวน์โหลดในเว็ปไซต์ได้เลย โดยจะทำวิธีการแนะการเรียนการสอน พร้อมทั้งแนบสื่อการสอน ประเภทใดที่จะให้บทเรียนสนุกมากยิ่งขึ้นในแต่ละเรื่อง ทั้งหมดดาวน์โหลดได้ทันทีจะมีข้อมูลให้อ่าน และสามารถนำไปสอนได้ ก็จะเป็นการช่าวยให้แพร่หลายได้เร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นจะมีโปรแกรมจัดอบรมครูที่สนใจเรื่องนี้ เป็นการ Train the Trainner น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

“ส่วนเรื่อง E-Waste อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยในประเทศไทย เราคุ้นเคยเรื่องพลาสติกเยอะ และคนพูดเรื่องการลดใช้พลาสติกเยอะมาก เราต้องให้ความรู้ E-Waste คือทุก Gadget ที่เกี่ยวข้องกับมือถือ เช่น หูฟัง สายชาร์จ พาวเวอร์ แบงก์ แบตเตอร์รี่ ที่เอไอเอสจะรับ โดยบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์เรารับของเหล่านี้ไปทำลาย เราก็เลือกมาว่าเขามีการทำลายแบบที่เป็น Zero Landfill จริง ๆ ที่เอาไปทิ้งแบบถูกต้อง”

ศิวลีขยายความว่า จะต้องครีเอท E-Waste ให้คนรู้ตรงนี้ก่อนว่า ต้องนำไปทิ้งให้ถูกที่ มิฉะนั้นจะทำความเสียหายอย่างไร จะต้องทำตรงนี้ให้เห็นได้ชัด เมื่อถึงเวลาลอนช์ ก็ต้องมีข้อมูล ความรู้เรื่องพวกนี้ว่า จะทำอย่างไรให้เขานำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวใกล้มือทั้งหมดเมื่อมันเสียแล้วเอาไปทิ้งที่ถูกต้อง

“เรื่องเหล่านี้เราต้องสื่อสารให้เขารู้ทั้งหมดเพื่อที่เขาจะได้มั่นใจว่า เมื่อคนใช้เอามาทิ้งแล้ว มันจะไปไหนต่อ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ความท้าทายของแบรนด์คือ ทำอย่างไรให้คนรู้สึกอินกับสิ่งนี้ และเมื่อคนเข้าใจสิ่งนี้ เราต้องทำให้เกิดเป็นเทรนด์ขึ้นมา เรื่องนี้ไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้น เราอยากให้ทุกคนเข้าใจ”

นัฐิยากล่าวต่อเนื่อง แบรนด์เอไอเอสได้ทำธุรกิจที่ส่งต่อถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ใช้งาน เพราะเมื่อใช้งานแล้ว มีผลส่งต่อลูกค้าอย่างไรบ้าง ก็คงเหมือนกับใครหลายคนยอมซื้อแก้วทำจากฟางข้าว ใช้กระติกน้ำแทนขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ

เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่นักลงทุนห่วงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อโลกเป็น Capital Market เงินทุนที่อยู่ตรงนี้จะหาทางไหลไป ทุกวันนี้เริ่มมีคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า “โลกใบนี้จะเป็นอย่างไร” เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนจะต้องเอาเงินไปลงทุน ก็ขอให้ไปลงทุนกับธุรกิจที่ทำให้มั่นใจว่า “ทำให้โลกนี้อยู่ได้นานมากขึ้น”

“เพราะเชื่อว่า เอไอเอสเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อม แบรนด์โพรดักส์อย่างเอไอเอสเชื่อว่า ถ้าลูกค้าใช้งานไม่รั่วไหล หรือไปในพื้นที่ที่เราไม่อยากให้ลูกหลานเราไปบนมือถือ หรือเชื่อมั่นได้ว่า เมื่อมีเหตุการณ์อะไรใหม่ ๆ แบรนด์จะเป็นคนบอกเราเป็นคนแรกว่า ตอนนี้กำลังมีความเสี่ยงในเรื่องนี้เกิดขึ้น”

ศิวลีเห็นว่า ทั้ง 2 เรื่อง เป็นการสร้างความแตกต่างเชิงลึกของแบรนด์ และสร้างความยั่งยืน ไม่ใช่ความต่างระยะสั้น และสิ่งที่เอไอเอสทำ ก็ไม่ใช่โครงการระยะหนึ่ง แต่เมื่อทำไปได้และลูกค้าเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำ เป็นการมองคุณค่าของแบรนด์ที่อัพสเกลขึ้นมาอย่างยั่งยืน

“สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ลูกค้าเลือกใช้แบรนด์ มองปัจจัยเรื่องเหล่านี้ เมื่อจับกลุ่มเป้าหมายที่ใส่ใจเรื่องนี้ ส่วนตัวเห็นว่าจะช่วยยกระดับความศรัทธาในแบรนด์มากยิ่งขึ้น และจะกลับไปที่ Brand Purpose ของเรา”

นัฐิยาคาดหวังว่า หากเอไอเอสทำทั้ง 2 เรื่องสำเร็จ ในอนาคต IR จะตอบนักลงทุนใน 1 คำถาม

“บางครั้งจะถามเราว่า แบรนด์เอไอเอสแตกต่างอย่างไรกับคู่แข่ง หรือแบรนด์เอไอเอส Represent อะไร วันนี้อาจจะเป็นเรื่องคุณภาพของสินค้า เครือข่ายของเราที่แข็งแรง แต่สิ่งที่เรากำลังคุยกันเป็น Elements ใหม่ เป็น Essences ใหม่ มีความสากลที่สามารถสร้าง Engagement กับลูกค้าในระดับที่ไม่ใช่แค่ ของที่มีคุณภาพที่เราจับต้องได้ทั่ว ๆ ไป เพราะแบรนด์ไม่ใช่เพียงสินค้า เครือข่ายคุณภาพ แต่แบรนด์ต้อง Carry ถึงสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย”

ความท้าทายของแบรนด์เอไอเอส ต้องสร้างผลกำไรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย และก็วัดผลได้อย่างชัดเจน

“ถ้าวัดกำไรอยู่บนงบการเงิน เราก็ทำโครงการ แต่วัดผลไม่ออกว่า โครงการนี้ทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนมากเพียงใด จะตอบกำไรก้อนนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่ขณะนี้จะมีตัวชี้วัดว่า ธุรกิจยั่งยืน กำไรจะเติบโตไปอย่างยั่งยืน ในบริบท Sustainable Development” นัฐิยากล่าวในท้ายที่สุด

เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง

 

You Might Also Like