13-14 กรกฎาคม 2562… SET Social Impact Day 2019 “ออกแบบ ทางออก มหาชน” ในวันพุธที่ 17 – วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2562 อธิบายความ Sexy ดังกล่าว
“สังคม” มีส่วนสำคัญมาก และเป็นโจทย์ตลาดทุนคือ SET ทำอย่างไรให้องค์กรทำงานเพื่อสังคมมีธุรกิจโตต่อเนื่อง โดยมี Partnership อย่างบจ.และประชาชน ที่จะมองเห็นองค์กรเหล่านี้ได้กว้างขวางขึ้นในหลายมิติ รวมถึงช่องทางการลงทุน ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์
ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อธิบายถึงความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสังคม นอกจากเป็นองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว นโยบายขององค์กรในการทำงานคือ กระบวนการผนวกแนวคิดด้านความยั่งยืนในมิติที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG เข้าเป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจ
Partnership for Impact Co-creation
“ประเทศไทย มีองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมไม่น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร หรือบางอย่างเป็นแสวงหากำไร แล้วแชร์ให้สังคม เช่น Social Enterprise แต่จุดขายหรือตลาดของเขายังไม่ใหญ่ ในวันเริ่มต้นจะต้องมีอะไรฝ่าด่านกันอีกมาก ถ้าให้เขาไปสู้เองเริ่มเองตั้งแต่แรก โดยไม่มี Partner หรือคนช่วยเหลืออะไรต่างๆ คงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นจะทำอย่างไรให้องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมให้อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง เขาสามารถดำเนินธุรกิจเขาไปได้”
จากโจทย์ดังกล่าว จึงเกิดงาน SET Social Impact Platform มาตลอด โดยที่ผ่านมา 3 ปี ตลท.ได้ทำหน้าที่เป็น Impact Multiplier เชื่อมตลาดทุนและภาคธุรกิจให้ทำงานร่วมกับภาคสังคมเพื่อเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
ครั้งนี้ งาน SET Social Impact Day 2019 “ออกแบบ ทางออก มหาชน” ในวันพุธที่ 17 – วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2562 เวลา 8.30 – 17.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ
การจัดครั้งที่ 4 มีความแตกต่างมากจาก 3 ครั้งที่ผ่านมา โดยได้ขยายบทบาทของแพลตฟอร์มให้มีกลไกเพิ่มพลังตัวคูณการเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมใน 2 มิติ คือ ขยายพันธมิตรและขยายพื้นที่ โดยมิติด้านการขยายพันธมิตร ใช้กลยุทธ์ 4E
1.Entertainment การขยายพันธมิตรสู่ภาคศิลปินในฐานะผู้มีอิทธิพลและมีบทบาทต่อผู้บริโภคเพื่อผลักดันการบริโภคอย่างยั่งยืน
2.Expert การขยายจำนวนพันธมิตรในตลาดทุนและผู้ทรงคุณวุฒิจิตอาสาที่ร่วมอุทิศความรู้ความสามารถเพื่อสร้างนักธุรกิจเพื่อสังคมรุ่นใหม่ให้เข้มแข็งและขับเคลื่อนธุรกิจยุคหน้าได้
3.Education ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาขยายความรู้และแรงบันดาลใจเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม
4.Exchange Information การขยายความจริงเกี่ยวกับปัญหาสังคมร่วมกับ Media Platform สื่อมวลชนที่นำเสนอเรื่องความยั่งยืน และมิติด้านการขยายพื้นที่ ได้แก่ การสร้างตัวคูณการทำงานร่วมกันในท้องถิ่น (Local-to-Local sustainable growth) ขับเคลื่อนความยั่งยืนโดยใช้พลังของภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคสังคมในจังหวัดต่างๆ
ตัวจริง เสียงจริง แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในสังคม
“ในปีนี้นี้ มีความหลากหลาย และงานใหญ่มากขึ้นทั้ง 4 มิติ อาจจะเป็นครั้งแรกๆ ที่ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ พูดเรื่องกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ใน Issue Education ทางออกอนาคตการศึกษาไทย ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) พูดเรื่อง Heart & Health ใน Issue คนไทยสุขภาพดี ทำให้เศรษฐกิจดีได้อย่างไร”
ดร.ภากร เล่าต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมี Issue อย่าง Vulnerable Group ออกแบบโอกาสให้คนด้อยโอกาส คุณภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ ผู้ผลักดันโครงการ The Broken Violin เสน่ห์…รอยร้าว ร่วมเวที Issue ออกแบบโลกใบใหม่ Agriculture & Community Development โดย ดร. อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Social Lab Thailand หรือ Issue Environment คุณเจษฎาภรณ์ ผลดี จะเล่าถึงเสียงเรียกร้องจากป่าสู่เมือง เป็นต้น
เวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง How to Co-create & Collaborate: ออกแบบทางออกร่วมภาคธุรกิจและภาคสังคม คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล นายกสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม (SE Thailand)คุณทรงพล ชัญมาตรกิจประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) คุณอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้ริเริ่มสามพรานโมเดล คุณนภ พรชำนิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลฟ์อีส กรุ๊ป จำกัด และศิลปินนักร้อง เวที ออกแบบวิถีชุมชน ออกแบบเกษตรยั่งยืน ดร. ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการโครงการพอแล้วดี ร่วมเวทีนี้ หรือเรื่องสุขภาพกายใจคนไทย ใครออกแบบ ,ออกแบบทางออกให้น้ำ ทะเล ป่า ขยะ ก็มีนักแสดงที่ทำงานด้านนี้ คุณอเล็กซ์ เรนเดล ศิลปินผู้ก่อตั้ง EEC Thailand หรือ ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา คุณพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ศิลปินนักออกแบบความยั่งยืน
ในส่วนอื่นๆ จะเป็นบูธต่างๆ ของ SE 60 รายใน Impact Gallery ส่วน Impact Dialogue Room จะเปิดห้องเจรจา สร้าง Network และต่อยอดการทำงาน ร่วมสร้างกิจกรรมในงาน
“ห้องนี้มาคุยกันระหว่างบจ.และSE สิ่งสำคัญคือ เพื่อให้เขาเป็น Partner กัน เพราะ SE หากไม่มี Partner เหนื่อย เหมือนสตาร์ทอัพ ผมมอง 2 กลุ่มนี้เหมือนกัน เพียงแค่กลุ่มหนึ่ง เพื่อกำไร อีกกลุ่มเพื่อสังคม แต่มีกำไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยขณะนี้มีหลายบจ.มองเรื่อง CSR เป็นงาน R&D ในท้องถิ่น และ SE เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นเรื่องน่าสนใจมาก”
กล่าวได้ว่า ทุกภาคส่วนสามารถร่วมสร้างโมเดลที่เป็นนวัตกรรม โดยออกแบบความร่วมมือ ขยายมิติของพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดเป็นรูปธรรมและเติบโตไปพร้อมกัน หรือ Inclusive Growth
SET Social Impact คือจุดต่อจาก ESG,CG,CSR
กระบวนการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนกับตลท.ถ้าจะกล่าวว่า ได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ปีแรกที่ก่อตั้งเมื่อ 44 ปีที่แล้วคงไม่ผิด จากนักลงทุนบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ปรับตัวให้นักลงทุนสถาบันต่างประเทศเข้ามาสนใจให้มากขึ้นๆ นั่นหมายถึงจะต้องมีข้อมูลต่างๆ รายงานอย่างถูกต้องด้านบัญชีและอื่นๆ ซึ่งจะต้องมี Investor Protection รวมถึงเรื่อง Governance ก่อนปี 2540 และหลังจากนั้นตลท.แอคทีฟเรื่องนี้มากขึ้น ในเรื่องบรรษัทภิบาล การรายงานข้อมูลให้ตรง ให้กรรมการทำหน้าที่แทนผู้ถือหุ้นในการปกป้องสิทธิ์ต่างๆ ทำหน้าที่ตรวจสอบ และ บาลานซ์ของคณะผู้บริหาร เกิดสถาบัน IOD มี CG Center ในตลท. เมื่อ 19 ปีที่แล้ว
“สิ่งที่เราพยายามทำมาโดยตลอดคือ ทำให้บริษัทจดทะเบียนเข้าใจว่า หน้าที่ต่างๆ ของคณะกรรมการ บริษัทจะต้องมีเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจ และมั่นใจว่า บริษัทมีการดูแลเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นผลดี จะเห็นได้ว่านักลงทุนต่างชาติให้คะแนน Corporate Governance สถาบันต่างชาติให้คะแนนเรื่อง CG Score ของเราดีมาโดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเราได้อันดับ 1 ของอาเซียน และอันดันต้นๆ ของเอเชีย อันนี้เป็นจุfเริ่มต้นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำงานเริ่มต้นกับสมาคม บจ.ร่วมกับก.ล.ต. และสมาคมนักลงทุนต่างๆ เพื่อโปรโมทเรื่องเหล่านี้ให้เกิดขึ้น”
ดร.ภากรเล่าต่อเนื่อง เมื่อตลท.เริ่มเข้ามาดูเรื่อง CSR เกี่ยวกับสังคมช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า CSR ช่วงแรกที่เห็น จะเป็นโปรเจคๆ ยังไม่เห็น CSR เข้าไปอยู่ในการทำงานของบจ. และนั่นคือการเริ่มต้นเคลื่อนเข้าสู่ ESG โดย CSR Corporate เข้ามาอยู่ในนโยบายการบริหารบริษัท นโยบายเป็นวิชั่นของบริษัท เป็นกลยุทธ์ของบริษัทเลยจริงๆ เพื่อให้ได้ผลออกมาว่า การเจริญเติบโตของบริษัทเป็นได้อย่างต่อเนื่อง
“เมื่อเรามาดูกันจะพบว่า เราเห็นการเติบโตของหลายบริษัทในช่วงสั้นๆ อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อจะขยายตัวต่อก็มีประเด็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม และสังคมเกิดขึ้น ทำให้เขาเกิดอุปสรรค แทนที่เขาจะโตอย่างรวดเร็ว ก็ต้องมาแก้ปัญหาก่อนค่อยโตได้ เรื่อง ESG ทำให้เราต้องทำงานกับบจ. ตั้งแต่คุณจรัมพร โชติกเสถียร เป็นกรรมการและผู้จัดการ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นประธาน เห็นประโยชน์เรื่องนี้และเริ่มเรื่อง ESG ในประเทศไทย”
หลังจากนั้น บจ.ของไทยได้เข้าไปอยู่ใน DJSI มากที่สุดในอาเซียน 19 บจ. รวมบจ.ไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศเป็น 20 บจ. แบ่งเป็น World Class 8 บจ. ส่วน 11 บจ.เป็น Emerging Market Class ส่วนบจ.รายเล็กๆ ก็อยู่ในเกณฑ์นี้จากที่ตลท.ตั้ง THSI (Thailand Sustainability Index) ขึ้นมา นอกจากนี้ก็มีโครงการใหญ่ๆที่ร่วมกับกบข. ร่วมกับสมาคม AIMC ออกมาเป็น CG Fund ออกมาเป็น Sustainability Fund
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ มองอนาคตได้ทำงานเรื่องนี้อย่างเป็นขั้นตอน มีแพลทฟอร์มต่างๆ มาช่วยเหลือบจ. ซึ่ง SET Social Impact Day ได้เข้ามาเป็นจุดเชื่อมต่อเรื่องนี้ให้ขยายวงเป็น Partnership”
Partnership ช่วยส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างยั่งยืน
ก่อนการพูดคุยจะจบลง ดร.ภากรได้เล่าถึงงานทางสังคมของตลท. ที่เกิดจากสิ่งเล็กๆ ในองค์กรคือ โครงการ Care the Bear วันแรกมาจากแค่การวัดคาร์บอนเครดิตเท่านั้นเลย วันนี้ขยายไปยังบจ.ที่ต้องการวัดคาร์บอนเครดิตแล้ว บอกได้เลยว่าแต่ละคนทำอะไรดี ทำอะไรไม่ดี ขั้นต่อไปต้องการส่งเสริมต่อ เมื่อได้คาร์บอนเครดิตที่ลดได้แล้ว อยากมีนักลงทุน หรือบจ.ใดก็ตามที่อยากซื้อคาร์บอนเครดิต ที่ทำเรื่องชดเชยกับคาร์บอนเครดิต ก็ซื้อคาร์บอนเครดิตอันนี้ไปด้วยเงินก้อนหนึ่งเป็น Funding จะดีไหม
ขั้นต่อไป Funding ก้อนนี้นำไปลงทุนจริงๆ เพื่อลดคาร์บอนเครดิต เช่นปลูกต้นไม้ต่างๆ แต่การปลูกต้นไม้ต้องมีการวัดผลให้ได้ จะปลูกที่ไหน มีระบบอะไรตามวัดผล ให้ใครมอนิเตอร์โครงการเหล่านี้
“อยากได้มากกว่านั้นคือ บจ.ที่ทำตามESG มีโปรเจคอะไรใหม่ๆ สามารถไป Verify โปรเจคเขาในการกู้เงิน โดยบอกว่าโครงการของเขาเป็นโครงการที่เป็น Green สามารถกู้ได้จะเป็น Green Bond หรือ Green Loan หรือเป็นการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดโลก อันนี้เป็นขั้นต่อไปที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องการทำต่อ”
ดร.ภากรเล่าให้ฟังในท้ายที่สุดว่า ถ้าหาก SE ทำเรื่องเหล่านี้ ก็สามารถที่จะเชื่อมโยงกับบจ. และแพลตฟอร์มที่ตลท.กำลังทำได้มากขึ้น ซึ่งในวันข้างหน้า SE จะมีโอกาสเข้ามาจดทะเบียนในตลท. เมื่อมีความเหมาะสม นี่คือความยั่งยืน นี่คือวัตถุประสงค์การเติบโตระยะยาวจากงาน SET Social Impact นี้
“เพราะมีทางเดินไม่เหมือนกัน บริษัทธรรมดาดูกำไร ส่วนดู ESG และ SE สินค้าคืออะไร Social Cotribution คืออะไรซึ่งก็วิ่งเข้ามาอีกทาง ซึ่งคือความ Sexy ของงานนี้”
เนื้อหาเกี่ยวเนื่อง