TALK

“ส่งกำลังใจ” วางแผนดี อุปกรณ์+กำลังคนพร้อม “พายุปาบึก” หนักแค่ไหนก็จะฝ่าไปได้

2 มกราคม 2562…บรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย เล่าถึงสิ่งต้องเตรียมพร้อม 7 เรื่อง หลังได้รับประสบการณ์จาก “พายุไต้ฝุ่นเกย์” รวมถึงพายุต่างๆ  หลังประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุ “ปาบึก” (PABUK)”

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุ “ปาบึก” (PABUK)”ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 02 มกราคม 2562 เวลา 17.00 น.

พายุเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 2-3 มกราคม 2562

และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ในช่วงค่ำของวันที่ 4 มกราคม 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำทวมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยมีผลกระทบดังนี้

ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากลมแรง และคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง

ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตั้งแต่วันที่ 2-5 มกราคม 2562

บรรจง มี 7 ข้อแนะนำดังนี้

1.ต้นไม้โค่นล้มปิดถนนหนทางออกไปไหนลำบาก เตรียมเครื่องเลื่อยไว้เลยครับ 
2.ไฟฟ้าดับนาน เตรียมไฟฉาย/เทียนไว้เลยครับ
3.การสื่อสารล่มใครมีวิทยุมือถือชาร์ตถ่านไว้ให้เต็ม
4.เตาแกสต้องพร้อม
5.เด็กอ่อนที่ต้องดื่มนมต้องมีกระติกน้ำร้อนสำรอง
6.ถ้าบ้านเรือนพังในเวลากลางคืนลำบากสุดๆ แต่ละหมู่บ้านควรจัดตั้งหน่วยเล็กๆเอาหนุ่มฉกรรจ์มารวมกันไว้คอยเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
7.คุยกันล่วงหน้าว่าแผน1แผน2สำหรับการรับมือ ในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นซึ่งแต่ละชุมชนแตกต่างกัน(ชายทะเล/เชิงเขา/ที่ราบ/)ไม่มีใครรู้พื้นที่ดีเท่าคนในชุมชน

จากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้ต้องกลับไปเปิดดูข้อมูลของ พายุไต้ฝุ่นเกย์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (อังกฤษ: Typhoon Gay) เป็นพายุหมุนเขตร้อนทรงพลังซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักในจังหวัดชุมพร และประเทศอินเดียฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เป็นพายุไต้ฝุ่นครั้งเลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี[1] พายุก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ในอ่าวไทยตอนล่าง ข้ามคาบสมุทรมลายู เคลื่อนเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียเหนือ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนระดับ 5 ก่อนขึ้นฝั่งในประเทศอินเดีย และสลายตัวเหนือเทือกเขากัตส์ตะวันตกในอินเดีย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พายุนั้นไม่แปลกเฉพาะแต่เพียงเป็นพายุหมุนเขตร้อนเพียงลูกเดียวที่พัดถล่มประเทศไทยขณะมีความเร็วลมในช่วงพายุไต้ฝุ่น (120 ไมล์ต่อชั่วโมงเมื่อขึ้นฝั่ง) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการก่อตัวขึ้นในอ่าว ขนาดที่เล็ก[2] ความหนาแน่นที่สูง และข้อเท็จจริงที่ว่าพายุนี้มีพลังอยู่ในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนสองแอ่ง ซึ่งไม่ปกติสำหรับพายุหมุนเขตร้อน

วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เวลา 08.30 น. พายุไต้ฝุ่นเกย์เคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นในระดับ 3 ถล่ม อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สร้างความเสียหาย มหาศาล แก่บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรม

เนื้อหาเกี่ยวข้อง

You Might Also Like