TALK

RISC by MQDC เปิดตัวหนังสือ Sustainnovation หวังจุดประกาย+สร้างแนวร่วม ให้ทุกคนคิดค้นนวัตกรรมยั่งยืนเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่ง

4 มกราคม 2566… “ความยั่งยืน” ถูกกำหนดเป็นนโยบายในระดับโลก ย่อยลงมาในระดับประเทศ ระดับองค์กร และระดับบุคคลทั่วไปมานานมากแล้ว แต่เคยตั้งข้อสังเกตกันไหมว่า ทำไมโลกเรายังคงเต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทุกคนจะหันมา “ลงมือทำ” เพื่อ “สร้างความยั่งยืน” มากกว่าการให้คำนิยาม

นี่เป็นที่มาของหนังสือ “Sustainnovation” โดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายของความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ

รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวว่า นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation)” มาจาก 2 คำประสม ได้แก่ คำว่า “ความยั่งยืน (Sustainability)” และ “นวัตกรรม (Innovation)” โดยคำว่าความยั่งยืน (Sustainability) ยังมีความหมายที่แตกต่างกันผ่านมุมมองต่างๆ เช่น ความยั่งยืนด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ โดยทุกมุมมองล้วนมีเป้าหมายในการสร้างความอยู่ดีมีสุข (Well-being) ไม่เพียงแค่มนุษย์เราเท่านั้น แต่รวมถึงทุกสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและโลกของเรา

รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ อินทรชูโต

ดังนั้น การนำองค์ประกอบด้านนวัตกรรม (Innovation) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ จึงมีความสำคัญและสามารถร่วมสร้างแรงผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในโลกใบนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้จริงในทุกภาคส่วน และมีประสิทธิผลจริงทั้งในระดับบุคคล ชุมชน สังคม เมือง และประเทศ

“ยุค 70 สหประชาชาติได้ออกหลักการ Triple bottom line สร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านมากว่า 50 ปี ไม่ได้พิสูจน์ว่าโลกใบนี้ดีขึ้น จึงนำมาซึ่งหลักการใหม่ SDGs17 แน่นอนว่ายังไม่มีใครรู้ว่า SDGs17 จะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อย่างน้อยแสดงให้เห็นว่า สหประชาชาติก็กำลังหาทางใหม่เพื่อแสวงหาความยั่งยืนให้กับโลก เช่นเดียวกับสิ่งที่ RISC ทำอยู่ในเรื่องของ Sustainnovation คือ เราจะคิดและค้นหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน”

แนวทางสร้างความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม หรือ Sustainnovation ในมุมมองของหนังสือเล่มนี้จึงเน้นไปที่ For All Well-being ไม่ใช่ For Human Well-being โดยให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่มีชีวิตบนโลก จุดนี้เกิดมาจากความเชื่อในสมดุลของ Life Form ต่าง ๆ จะนำไปสู่ Well-being อย่างแท้จริง

“ที่ผ่านมาทุกคนเน้นไปที่ Human Centric อะไรก็ขอให้คนมีความสุข ขอให้คนรอด สุดท้ายคนก็ไม่รอดอยู่ดีถ้าสิ่งมีชีวิตอื่นไม่รอด นี่คือความจำเป็นที่เราต้องเปลี่ยนเป็น For All Well-being ไม่ใช่ For Human Well-being โดยทำดัชนี Biodiversity Standard ขึ้นมา ถือเป็นหนึ่งใน Sustainnovation ของ RISC ที่เราทำเป็นรายแรกและรายเดียวในกลุ่มอสังหาฯ เพราะเราให้ความหมายและวางจุดมุ่งหมายของคำว่า Sustainnovation คือการผนวกกันของความคิดระหว่าง Sustainability กับ Innovation โดย Sustainability หรือความยั่งยืน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการต่าง ๆ ของเรากับระบบนิเวศ สังคมและวัฒนธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน Innovation หรือ นวัตกรรม จะมี 3 องค์ประกอบ คือ หนึ่งต้องใหม่ สองเกิดการใช้งานจริง และสามคือ มีประโยชน์อย่างชัดเจน กล่าวคือ Sustainnovation หมายถึงเทคโนโลยีที่มุ่งแก้ปัญหาจากการเสียสมดุลจากการพัฒนาด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งต้องพัฒนานวัตกรรม ใช้แนวคิดใหม่ หรือสร้าง Framework ใหม่ เพื่อนำไปสู่ “ความยั่งยืน หรือความอยู่รอด” นั่นเอง”

หนังสือ Sustainnovation เล่มนี้ยังได้รวบรวมและจำแนกตัวอย่างนวัตกรรมจากการต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation) ให้เกิดขึ้นจริง และตัวอย่างเทรนด์นวัตกรรมจากทั่วโลก จำแนกออกเป็น 6 หมวดดังนี้

หมวดที่ 1: สุขภาวะ (Health & Wellness) นวัตกรรมด้านสุขภาพ ที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีด้านร่างกาย และจิตใจ
หมวดที่ 2: สิ่งแวดล้อม (Environment) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะ ภาวะโลกรวน มลภาวะทางน้ำ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
หมวดที่ 3: การจัดการทรัพยากร (Resource Management) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
หมวดที่ 4: พลังงาน (Energy) นวัตกรรมด้านพลังงาน นำเสนอแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ในอนาคต
หมวดที่ 5: การขนส่ง (Transportation) นวัตกรรมด้านการขนส่ง ที่ช่วยลดผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ ลดปัญหาขยะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Active Mobility) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดแนวโน้มของการแพร่กระจายเชื้อ
หมวดที่ 6: การบริโภคอาหาร (Food Consumption) นวัตกรรมด้านการบริโภคอาหาร ที่ช่วยสร้างทางเลือกด้านอาหารที่มีความยั่งยืน รวมถึงตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจาก Sustainable Trend แล้วยังมีตัวอย่าง Sustainable Technology เพื่อให้คนอ่านได้เห็นภาพถึงความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนความยั่งยืนที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาทิ AVA Carpet พรมฆ่าเชื้อโรคแก้ไขปัญหาโรคติดต่อร้ายแรง Covid-19 และภาวะภูมิแพ้อันเนื่องมาจากไรฝุ่น, หอฟอกอากาศระดับเมือง ฟอกอากาศที่เต็มไปด้วยมลภาวะให้ใสสะอาด ปลอดฝุ่นพิษ PM 2.5 , Nissan Leaf รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และสามารถชาร์จไฟได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด , Red Zip-lock ถุงแดงซิปล็อกจำกัดเชื้อ และ eSight 3 อุปกรณ์สวมศีรษะสำหรับการเติมความเสมือนจริงที่ถูกออกแบบมาช่วยผู้ที่ตาบอดให้มองเห็นได้โดยเฉพาะ เป็นต้น

รวมถึงเปิดมุมมองและแนวคิด Sustainnovation และประสบการณ์ของนวัตกร (Sustainnovators) จากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก วิศวกร บุคลากรทางการแพทย์ นักพัฒนาสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย ฯลฯ

ในการอธิบายความหมายของคำว่า “Sustainnovation” หรือ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” ในมิติต่างๆ และความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน เพื่อนำความคิดที่หลากหลายนี้มาถอดรหัส ทำความเข้าใจการพัฒนาองค์ความรู้ และช่วยสร้างความตระหนักและผลักดันไอเดียนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในอนาคต โดยมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ทั้ง 10 ท่าน ได้แก่

1.รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา RISC
2.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab)
3.รองศาสตราจารย์ นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
4.ดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและสุขภาวะ ที่ปรึกษา RISC
5.รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้ให้สัมภาษณ์ 5 ท่านแรก (แถวบน) ท่านที่ 6-10 แถวล่าง โดยภาพเรียงชื่อตามลำดับ

6.รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
7.ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8.คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC)
9.รองศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.อาจารย์ ทวีสุข ธรรมศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการเงิน บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยพัฒนาด้านความยั่งยืนไปในเชิงองค์ความรู้ และนโยบายมาก แต่กลับน้อยมากในเชิงปฏิบัติ ทำให้อัตราความสำเร็จน้อยลงไปด้วย เพราะไม่สามารถนำเอาองค์ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เปรียบเสมือนเรามีวัตถุดิบครบ แต่มีเชฟปรุงอาหารน้อยมาก สาเหตุที่ไม่ค่อยมีใครยอมทำเพราะถูกทัดทานจากคนส่วนใหญ่ แต่ใครที่เชื่อมั่นในแนวทางของ Sustainnovation มีเพียง 2 ทางเลือก คือ เลิกทำ กับลองทำ

สำหรับ RISC เลือกที่จะลองทำ แม้อัตราความสำเร็จจะน้อยกว่าล้มเหลวก็ตาม แต่ถ้าไม่ลองทำ ย่อมไม่รู้ว่ามันมีทางสำเร็จได้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้พยายามจะสื่อสารให้เห็นภาพว่า โลกใบนี้เริ่มมีเชฟปรุงอาหารมากขึ้นดังตัวอย่างที่มีให้เห็นในหนังสือ นอกจากสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนลงมือทำแล้ว น่าจะเป็น Benchmark ในการไปต่อในด้าน Sustainnovation ด้วย

บรรยากาศบางส่วนของ RISC เลือกที่จะลองทำ

“คนส่วนใหญ่จะคิดว่าไม่ควรทำ Sustainnovation มากกว่าลองทำดู แต่ก็พิสูจน์ว่ามีคนทั่วโลกที่ทำสำเร็จออกมาแล้วตลอดเวลาจากตัวอย่างในเล่มนี้ เพื่อจะบอกว่า Sustainnovation เกิดขึ้นแล้ว และส่วนใหญ่เกิดจากคนตัวเล็ก ๆ ด้วยซ้ำ ผมว่านี่คือหนึ่งใน Message ของหนังสือเล่มนี้ เราคาดหวังให้ผู้ที่สนใจมา Jump on the bandwagon กับเรา และขับเคลื่อนความยั่งยืนไปด้วยกัน” รองศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ กล่าวในท้ายที่สุด

คลิกอ่าน Sustainnovation ได้ที่ภาพ

ผู้ที่สนใจใน Sustainnovation สามารถดาวน์โหลดอีบุคได้แล้ววันนี้: QR CODE : https://online.anyflip.com/bpnjl/fqqy/mobile/
หรือ สนใจดูคลิปวิดีโอแนะนำหนังสือ Sustainnovation ได้ที่: QR CODE (https://youtu.be/NaWEP72Igok)

 

You Might Also Like