TALK

Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้า : ความร่วมมือทางสังคม เริ่มจากการสำนึก

19 ตุลาคม 2561… สำนึก ความหมายตามพจนานุกรมคือ ความรู้สึกซาบซึ้ง ซึ่งความสำนึก น่าจะเป็นหนึ่งในคำตอบระดับโลก Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้าเช่นกัน

ภาคเช้าจะเป็น Plenary Session เวทีหลักที่ผู้นำทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 คน 50 แบรนด์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ในรูปแบบ Ted Talk คนละ 15 นาที นั้น เราได้เริ่มเห็นการมีสำนึก โดยเฉพาะจาก 2 หนุ่มที่มาจากอินเดีย และญี่ปุ่น ที่เคยมาบางกะเจ้าก่อนหน้านี้

Afroz Sanh คุยเรื่อง Redesigning the Good Community มีอาชีพทนายความ ทำงานในศาลสูงประเทศอินเดีย ได้รับรางวัล UN Champion of Earth 2016 มาที่บางกะเจ้าเป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกมาในฐานะนักท่องเที่ยวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ครั้งนี้มาพูดงาน Sustainable Brand เขาเริ่มแชร์ประสบการณ์การเก็บขยะของเขาที่อินเดียว่า

“ผมเป็นคนมุมไบ อยากเห็นทะเลมุมไบปลอดพลาสติก อยากเห็นคนมีสุขภาพที่ดี สัตว์ต่างๆ มีชีวิตในทะเลอย่างมีความสุข บ้านผมอยู่ติดหาด จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมกับเพื่อนเคยวื่งที่เล่นที่ชายหาด แต่ปัจจุบันสกปรกมาก เพราะชีวิตมักง่าย ชีวิตสะดวกสบาย เวลามองออไปที่ชายหาดเห็นขยะพลาสติกพลาสติกสุดลูกหูลูกตาเต็มชายหาดและทั่วท้องทะเล ซึ่งเป็นการทำลายล้างวิถีชีวิตสัตว์ทะเล ซึ่งมนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะทำลายล้าสงแบบนี้ ซึ่งจะต้องหยุด และในส่วนของผมจะทำเท่าที่ทำได้ ”

Afroz เล่าต่อว่า เขาร้องไห้เมื่อเห็นทะเล แต่ก็เริ่มลงมือทำเก็บขยะ ตอนผมเริ่มเก็บขยะที่ชายหาดทะเลอินเดีย ก็มีคนบอกว่านี่เป็นหน้าที่เทศบาล แต่ผมก็เลือกจะทำ มุ่งมั่นจะสานสายสัมพันธุ์กับทะเลใหม่ แล้วชวนคนต่างๆ มาร่วมกัน และในเวลาต่อมากลายเป็นมหกรรมเก็บขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก

“ตลอดเวลาที่เก็บขยะไม่ได้ร้องเรียนกับใครๆ แม้แต่รัฐบาล หากแต่เสียงร้องเรียนอยู่ในใจของผมเอง การไม่ร้องเรียนกับใครเลย เพราะมองว่านี่เป็นหน้าที่ของผมเอง และเมื่อทำได้ 76 อาทิตย์ มีคนถามว่าต้องทำอีกนานเท่าไหร่ ซึ่งไม่ต้องถามเลยเพราะเมื่อขยะอยู่ชายหาดก็จะลอยลงไปที่ทะเล ซึ่งเราต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพราะเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ต้องทำอย่างถ้วนหน้าจนกว่าขยะพลาสติกจะหายไปจากทะเล”

(ภาพด้านล่าง  ก่อนที่จะขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์  Afroz Sanh พร้อมเพื่อนๆ Speakes ร่วมเก็บขยะในพื้นที่บางกะเจ้าบางส่วน)

Afroz กล่าวในท้ายที่สุดว่า พวกเราจะเป็นกองทัพปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่ละวันมีขยะมากมาย จะให้รัฐบาลมารับผิดชอบคนเดียวคงไม่ได้ “เรา” ต้องเริ่ม แล้วจะขยายไปยังหน่วยงานราชการในพื้นที่ อย่างที่มุมไบทำได้ …อยากให้เราเริ่มต้นในฐานะเจ้าของพื้นที่ ผู้บริโภค ในฐานะผู้ผลิต

มาถึง Kei Nakamaya ,Keihoku Community แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง Redesigning the Good Tourism ซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนชอบเที่ยว เที่ยวในแบบได้สัมผัสคลุกคลีกับคน วัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละประเทศกว่า 80 ประเทศ

เมื่อเที่ยวตามความชอบมากมาย แว่บแรกก็อดคิดไม่ได้ ประสบการณ์จากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นหลากหลายเรื่องเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งที่คิดตามมาทันทีคือ  “อยากนำมาแบ่งปันในบ้านตัวเองที่ Keihoku”

จากการมีสำนึกธรรมดาที่อยากทำ แล้ว “ลงมือทำ” ด้วยแนวคิดการทำการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในชุมชนได้อย่างไร รวมถึงการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง Kei ทำได้แล้วที่บ้านเกิด Keihoku และเห็นว่าสามารถที่จะทำได้ในบางกะเจ้า ในฐานะแฟนของบางกะเจ้า ซึ่งมาหลายครั้ง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มา 3 วันเพื่อเก็บข้อมูล มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดี ที่ชุมชนเองก็อยากนำเสนอต่อสายตาชาวโลกในฐานะแบรนด์ที่ยั่งยืน

“บริษัทของเราชื่อ Satoyama แปลว่าชุมชนยั่งยืน หรืออาศัยอยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ ทุกอย่างเชื่อมโยงอย่างเห็นได้ชัด เราต้องการให้นักท่องเที่ยวสัมผัสญี่ปุ่น ทำให้คนรู้จักชุมชน Keihoku ของเรา เราจะไม่ให้จุดท่องเที่ยวโหลๆ แต่จะให้ไปในจุดท่องเที่ยวยั่งยืน ไปดูให้ลึก อยากทดลองแบบนี้ที่บางกะเจ้า เพราะรู้ว่ามีภูมิปัญญาของชุมชนอยู่ “

Kei กล่าวในตอนท้ายว่า การที่นักท่องเที่ยวไปคุยกับชาวบ้าน ในบ้านของชุมชน หรือตัวเขาเองได้ชิมน้ำตาลมะพร้าว คุณลุงปีนต้นมะพร้าวเอามะพร้าวลงมาต้มมาเคี่ยว ทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งอร่อยมาก และได้ยินว่าไม่มีผู้สืบทอด เป็นคนเดียวที่ทำน้ำตาลมะพร้าวบางกะเจ้า เหล่านี้คือศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ในบางกะเจ้า

นี่คือความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน !

ก่อนเริ่มงาน Afroz Sanh พร้อมเพื่อนๆ Speakes ร่วมเก็บขยะในพื้นที่บางกะเจ้าบางส่วน

Cr.ภาพ

  • Afroz Sanh 
  • SB’18BKK

เรื่องเกี่ยวข้อง

You Might Also Like