TALK

ดร.สุทัศน์ รงรอง “เทคโนโลยี คน ชุมชน และทรัพยากร ต้องทำ Redesign พร้อมกัน ต้องใช้เวลาต่อเนื่อง ”

8 ตุลาคม 2561…การทำงาน จะต้องให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของความยั่งยืนก่อน เพราะแม้ว่าเราจะนำเทคโนโลยีขั้นสุดยอดของโลกมา Optimize แค่ไหน หากคนไม่เห็นคุณค่า ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ดร.สุทัศน์ รงรอง Founder & CEO บริษัท Do in Thai จำกัด เป็นหนึ่งในSpeaker ที่จะแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที SB’18 BKK ในหัวข้อ How Technology Can Redesign Community,A case Study in Bangkacho ของวันที่ 13 ตุลาคม 2561

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การ Redesign ชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้อง Optimize เทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยง ซึ่งในมุมของ ดร.สุทัศน์ มองว่า ทางที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่านั้น คือ การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วร่วมใช้งานกับคนในชุมชนที่ถูก Optimize ไปพร้อมกันด้วย

นั่นหมายถึง การ Optimize “คน” ผ่านกระบวนการทำความเข้าใจตลอด Value Chain ซึ่งที่ผ่านมา ดร.สุทัศน์ ได้มีการ Optimize เทคโนโลยีเพื่อ Redesign การท่องเที่ยวในชุมชนบางกระเจ้า โดยทำใน 2 มุมด้วยกันคือ

-มุมหนึ่ง ทำงานร่วมกับชุมชนบางกะเจ้าที่ต้องการปรับตัวต่อการสร้างแบรนด์ชุมชน

-มุมหนึ่ง เป็นการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนำความรู้ทางเทคโนโลยี วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์เข้าไปเรียนรู้ และตรวจจับเอาความเป็นบางกระเจ้าออกมาเป็นตัวเลขทางวิทยาศาสตร์

“ตรงนี้สำคัญ เพราะถ้าเราไม่มีตัวเลขตรวจวัด ก็ไม่มีหลักฐานอะไรในการส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน ถ้าเราไม่เอาภูมิปัญญามาควบคู่วิทยาศาสตร์ องค์ความรู้มันอาจจะหายไปก็ได้ อีกส่วนหนึ่งเราพยายามมองเรื่องความยั่งยืน เวลาเราไปทำงาน ก็จะมีแกนนำ หรือคนที่มีความรู้ภูมิปัญญา มีไอเดียดีเยอะเต็มไปหมด เหล่านี้มันก็มีความหลากหลายเหมือนกัน การพยายามให้คนเข้าใจเรื่องแบรนด์ดิ้ง เข้าใจกระบวนการการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนบางกระเจ้า พร้อมช่วยสร้างการดูแลทรัพยากรในอนาคตได้ มันต้องเดินทางไปคู่กันระหว่างอัตลักษณ์ของชุมชนบางกระเจ้า โดยสร้างความรู้ความเข้าใจของคนบางกระเจ้า และนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ทำให้คนบางกระเจ้า และคนข้างนอก เข้าใจว่าเราต้องรักษาอะไร ก็จะมีเรื่องวิทยาศาสตร์ และตัวเลขมาชี้วัดให้เราเข้าใจได้มากขึ้น”

อย่างไรก็ดี ขั้นตอนแรกของการทำงานสำหรับดร.สุทัศน์ ก็คือ การทำให้คนในชุมชนเห็นค่าของความยั่งยืนก่อน เพราะแม้ว่าจะนำเทคโนโลยีขั้นสุดยอดของโลกมา Optimize เพียงใด หากคนไม่เห็นคุณค่า ก็ไม่มีประโยชน์อะไร 

ถือเป็นเรื่องเดียวกับ Hi-Tech/Hi-Touch ซึ่ง ดร.สุทัศน์ เล่ากรณีตัวอย่างที่เข้าไปทำกับชุมหนึ่งในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต ไว้เป็นเครื่องมือในการกรอกข้อมูลใส่ลงไปเพื่อทำการตรวจสอบย้อนกลับ และพบว่าขั้นตอนการเรียนรู้ของชุมชนในการใช้เครื่องมือกรอกข้อมูลมีอุปสรรคปัญหา และยากต่อการเรียนรู้มาก

ดังนั้น จึงแก้ปัญหานี้ด้วยการใส่ Hi-Touch เข้าไป เริ่มจากการเข้าไปหาคุณค่าร่วมกับชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมองเห็นภาพว่าเขามีศักยภาพที่จะพัฒนาคุณค่าของผลผลิตของเขาอย่างไร นำไปสู่การเพิ่มตลาดใหม่ และนำแบรนด์ที่ตัวเองผลิตนั้นไปสู่จุดที่กลุ่มเป้าหมายหาง่ายมากขึ้น

เมื่อเริ่มจากขั้นตอน Hi-Touch ก่อน ก็จะกระตุ้นให้คนในชุมชนพยายามที่จะเรียนรู้ Hi-Tech นำมาสู่การชี้วัดที่ออกมาเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ว่าทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้นได้อย่างไร เพราะทุกอย่างสามารถตรวจสอบการผลิตได้จากต้นทางทั้งหมด เช่น ใช้แหล่งน้ำจากที่ใดผลิต หรือใช้แรงงานที่ไม่ถูกกฎหมายหรือเปล่า เป็นต้น

เมื่อต้นทางมีข้อมูลที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ ก็จะทำให้เกษตรกรเกิดความตระหนักในการผลิตที่ถูกต้อง ไม่ใช้สารเคมี ใช้แรงงานที่ถูกประเภท ส่งผลต่อปลายทาง ที่ทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าที่ดีขึ้น

“Redesign ในระดับชุมชน หรือสังคม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และความต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน เพราะต้อง Redesign ทุกกระบวนการตั้งแต่เทคโนโลยี คน ชุมชน และทรัพยากร ไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้”

พร้อมกันนี้ก็ต้องนำ People Ware ในการ Redesign

“Peopleware ในที่นี้คือการเข้าไปเปลี่ยน Mindset ให้ชุมชนเข้าใจก่อน โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้เขาเห็นภาพ และเกิดการยอมรับในการใช้เทคโนโลยีเข้าไป Redesign”

ดร.สุทัศน์ ยกกรณีตัวอย่าง ที่เขาเข้าไปร่วมทำงานกับชุมชนผลิตกาแฟแห่งหนึ่งว่า เขาได้นำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเข้าไปใช้ เพื่อให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของการทำการเกษตรแบบสมัยใหม่หรือมาตรฐานการเกษตรสมัยใหม่

“จากที่เมื่อก่อนเกษตรกรกลุ่มนี้ คิดว่าไม่ต้องทำมาตรฐานอะไร ผลิตได้เท่าไหร่ก็ขาย ตอนนี้เขาเริ่มเปลี่ยน Mindset จนต่อยอดเองได้ ทั้งในแง่การทำแบรนดิ้ง การคัดเมล็ดขาย หรือกระทั่งเอากาแฟมาแปรรูป โดยใช้กากกาแฟไปผสมกับกาวธรรมชาติ หรือน้ำยางธรรมชาติเป็นแก้วกาแฟที่มาจากกากกาแฟ เพราะเขาเกิดกระบวนการเรียนรู้ว่าทุกอย่างมัน Redesign ได้ ผมคิดว่าทั้งหมดมันคือการทำให้เทคโนโลยีไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการโครงสร้าง และสร้างความเชื่อใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชน แต่ก่อนที่จะนำเอาเทคโนโลยีไปสร้างความเปลี่ยนปลง และสร้างความเชื่อพวกนั้นได้ ก็ต้องไปทำงานคนเหล่านั้นก่อนว่า เทคโนโลยีไหนที่ดีที่สุดสำหรับเขาในแต่ละกระบวนการ”

หรือกรณีที่เขาเข้าไป Redesign เพื่อแก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยให้นักศึกษาออกไปสำรวจชุมชนรอบมหาวิทยาลัยในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อหาผู้ยากไร้ หรือผู้อดอยาก สำรวจกลับมาว่าเขามีหรือไม่มีอาชีพอะไร มีหน่วยสังคมยังไง แล้วกลับมา Optimize เพื่อ Redesign ชุมชน

“เคสนี้เรานำใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงโลเคชั่นของเขา เอาฐานข้อมูลออนไลน์ด้านประวัติขึ้นมา แต่ละคนเป็นโรคอะไร ต้องกาคุณค่าทางโภชนาการแบบไหน พออาหารเหลือจากมหาวิทยาลัย เราอยากบริจาคอาหาร เราก็เอาเทคโนโลยีมาคำณวนว่ามีอาหารเหลือเท่าไหร่ ควรส่งให้ใคร และควรเอาอาหารประเภทไหนส่งให้เขา นี่คือการเอาปัญหาที่เล็กที่สุด คืออาหารเหลือไปส่งต่อคนที่ควรได้กิน และถูกต้องตามโภชนาการ ข้อดีคือ เราลด Waste ลดคาร์บอนไดออกไซด์ ลดพลาสติกที่ต้องใส่รถ ลดกระบวนการขนส่ง ลดกระบวนการย่อยสมลายไขมัน ลดการบำบัดน้ำเสีย โดยเอาของที่ยังมีคุณภพดี ไปให้คนที่เขาควรกิน ใส่ในถุงที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ นี่คือการแก้ปัญหาที่เล็กที่สุด โดยใช้ชุมชนมามีส่วนร่วม เอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาวิเคราะห์ แล้วได้ผลลัทธ์ที่ดีที่สุด”

ในที่สุดทุกอย่างก็จะเป็นหนทางไปสู่ Sustainable Lifestyle !

เรื่องเกี่ยวข้อง

อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี “ของที่มีพอหรือเปล่า ถ้าพร่องต้องเติม ถ้าเกินต้องปัน ถ้าพอก็ต้องรู้จักหยุด”

ศรีภัทรา จันทร์แสงสุก “เพียงคนในครอบครัวนัดกันอาทิตย์ละ 1 มื้อ ล้อมวงกินข้าวมีแกงจืด ผัด ของทอด น้ำพริกและผักจิ้ม ก็เกิดRedesign the Good Life”

ศิรษา บุญมา “Redesign the Good Life ด้านการท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี”

ดั่งใจถวิล อนันตชัย “จากผลสำรวจ เราจะ Redefine อะไรก็ตาม แต่ละคนมองเป็นเรื่องของตัวเอง ไม่มีภารกิจร่วม ดังนั้น สิ่งที่มองจ ะRe อะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญคือตัว R และตัว E”

อเล็กซ์ เรนเดล “ความยั่งยืนไม่ได้เกิดจากทิ้งขยะให้เป็นที่ แต่เป็น Lifestyle ต้อง Redesign สิ่งใหม่ๆให้กับโลกนี้”

คำตอบระดับโลก Redesign the Good Life @ SB’18 Bangkok บางกะเจ้า

You Might Also Like